Author Archives: connectx

การมีโปรแกรมเก็บข้อมูลลูกค้า เป็นผลดีต่อแบรนด์อย่างไร?

โปรแกรมเก็บข้อมูลลูกค้าเป็นสิ่งที่นักการตลาดยุคดิจิทัลขาดไม่ได้ สิ่งนี้มีผลดีต่อแบรนด์อย่างไร? Connect X จะมาบอกให้คุณได้รู้

ทำการตลาดต้องอาศัย “ข้อมูล”

ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ข้อมูลถือเป็นส่วนสำคัญในการทำการตลาดให้ประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มอายุ เพศ พฤติกรรม หรือความสนใจ ซึ่งทั้งหมดล้วนสามารถนำมาใช้ในการวิเคราะห์ การออกแบบสินค้าและบริการ การทำโปรโมชันต่าง ไปจนถึงการสร้าง Marketing Campaign ที่เหมาะจะดึงดูดผู้บริโภค

รูปแบบการเก็บข้อมูลที่เปลี่ยนไป

เมื่อก่อนที่สื่อออนไลน์ต่างๆ ยังไม่เกิดขึ้น การเก็บข้อมูลนั้นทำได้ยาก เพราะต้องอาศัยการลงพื้นที่ แจกแบบสำรวจ ซึ่งผู้คนมักปฏิเสธ ส่วนการสัมภาษณ์ข้อมูลก็ต้องทำแบบ Face-to-Face ใช้เวลาเก็บรวบรวมนาน และการเก็บข้อมูลมากๆ ก็มักทำได้อย่างไม่เป็นระเบียบ

ในปัจจุบัน “โปรแกรมเก็บข้อมูลลูกค้า” อย่างระบบ CRM (Customer Relationship Management) และ CDP (Customer Data Platform) จึงเป็นเครื่องมือที่คุ้มค่าต่อการลงทุนอย่างมาก เพราะสามารถจะรวบรวมข้อมูลลูกค้าจากช่องทางออนไลน์ต่างๆ เช่น Facebook, Instagram, LINE หรือเว็บไซต์ต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งโปรแกรมเก็บข้อมูลลูกค้าจะทำการจัดเก็บรายละเอียดต่างๆ ได้แบบอัตโนมัติ

โปรแกรมเก็บข้อมูลลูกค้าช่วยแบรนด์อย่างไร?

ข้อดีของโปรแกรมเก็บข้อมูลลูกค้าต่อแบรนด์นั้นมีมากมาย ขึ้นอยู่กับรูปแบบการทำธุรกิจและวิธีการนำข้อมูลไปใช้ในเชิงการตลาด ซึ่ง Connect X ขอยกตัวอย่างข้อดีมาให้เจ้าของธุรกิจทุกท่านได้ทราบ ดังนี้

เก็บข้อมูลได้เป็นระเบียบ

เมื่อแบรนด์เติบโตและเป็นที่รู้จักมากขึ้น ฐานข้อมูลลูกค้าก็จะขยายใหญ่ขึ้นเช่นกัน โปรแกรมเก็บข้อมูลลูกค้าจะสามารถช่วยในการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ได้อย่างเป็นระเบียบ จัดแบ่งข้อมูลตามกลุ่มลูกค้า และ Profile รายบุคคลได้

CDP ของ Connect X มีฟีเจอร์ Customer Single View ที่จะทำให้นักการตลาด สามารถสื่อสารไปยังลูกค้าแต่ละคนได้แบบแม่นยำ ข้อมูลไม่กระจัดกระจาย ไม่ว่าลูกค้าจะติดต่อจากช่องทางไหน หรือรู้จักแบรนด์จาก Ads ไหนก็ตาม ละยังผสานประสบการณ์ของลูกค้าได้แบบ Omni-Channel อีกด้วย

รู้ถึงความสนใจและพฤติกรรมลูกค้า

หลังจากรวบรวมข้อมูลได้อย่างเป็นระเบียบแล้ว โปรแกรมเก็บข้อมูลลูกค้าจะสามารถแสดงข้อมูลความสนใจและความต้องการของลูกค้าได้ด้วย ซึ่งแบรนด์สามารถนำการวิเคราะห์ส่วนนี้เพื่อทำ Campaign ต่างๆ ได้

Connect X นั้นมีความพิเศษต่างจากระบบ CDP อื่นๆ เพราะสามารถรู้ข้อมูลเชิงลึกถึงระดับ Insight ด้วยระบบ AI Predictive Lead Scoring ช่วยจัดลำดับลูกค้าที่มีโอกาสซื้อสินค้าสูงที่สุด สามารถทำแคมเปญการตลาดได้แม่นยำยิ่งขึ้น เข้าถึงลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม

ทำ Personalized Marketing ได้

ระบบ CRM ทั่วไปอาจสามารถจัดเก็บได้แค่เพียงข้อมูลพื้นฐาน เพื่อนำไปประกอบการตลาดกับกลุ่มเป้าหมายโดยรวม แต่แพลตฟอร์ม CDP อย่าง Connect X สามารถทำได้มากกว่านั้น เพราะสามารถเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก เปลี่ยน Unknown Customer เป็น Known Customer แม้ลูกค้าจะติดต่อมาจากช่องทางที่ต่างกัน ก็รู้ว่าเป็นคนเดียวกัน

จะทำ Personalized Marketing เอาใจลูกค้าก็ทำได้ง่ายๆ พร้อมกับระบุชื่อของแต่ละบุคคลได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็น SMS Marketing, Email Marketing, หรือจะส่งโปรโมชันพิเศษผ่านโซเชียลและแอปฯ ก็ทำได้ ด้วย Marketing Automation

โปรแกรมเก็บข้อมูลลูกค้ายังมีข้อดีอีกเพียบ หากคุณต้องการทำการตลาดในยุค Digital Distruption นี้ ไม่สามารถขาด “ข้อมูล” ไปไม่ได้เลย และก็ต้องขอย้ำอีกรอบว่า หากธุรกิจของคุณกำลังมองหาเครื่องมือที่จะช่วยเก็บและจัดการข้อมูลที่ครบครัน Connect X ก็ถือว่าเป็นคำตอบที่เหมาะสมและคุ้มค่ากับการลงทุนอย่างมาก

สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

ธุรกิจออนไลน์ห้ามพลาด! เตรียมตัวอย่างไรเมื่อ PDPA มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ

เตรียมตัวให้พร้อม! Connect X ขอพาเหล่าธุรกิจมาดู 5 วิธีการเตรียมความพร้อมด้านการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าให้ถูกต้องตามกฎหมาย PDPA

หลายคนอาจเคยสังเกตเห็นว่าเวลาที่เราเข้าเว็บไซต์ต่างๆ มักจะมีการให้เรากด “ยินยอม” หรือ ”ปฏิเสธ” ในการให้เว็บไซต์เหล่านั้นเก็บข้อมูลการใช้งาน หรือที่เรียกว่า “Cookies Consent” เป็นการเก็บข้อมูลผ่าน “คุกกี้” ซึ่งก็คือไฟล์ข้อมูลขนาดเล็กที่รวบรวมประวัติการเข้าชม การดาวน์โหลด ตำแหน่งที่ตั้ง และข้อมูลอื่นๆ ของผู้ใช้ สำหรับการสอบถามความยินยอมนี้ถือเป็นการเคารพสิทธิและความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน รวมถึงยังเป็นไปตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือกฎหมาย PDPA อีกด้วย

ในการตลาดยุคปัจจุบัน “ข้อมูล (Data)” ที่ถูกเก็บจากคุกกี้นั้นถือเป็นหัวใจสำคัญ เพราะสามารถนำไปต่อยอดให้กับธุรกิจได้อย่างมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนากลยุทธ์และกิจกรรมทางการตลาด ซึ่งช่วยในการเพิ่มยอดขายและยังสามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้กับลูกค้า จนนำไปสู่การสร้างความภักดีต่อแบรนด์ (Brand Loyalty) ได้อีกด้วย ทำให้เหล่าธุรกิจต่างๆ หันมาเก็บข้อมูลของลูกค้ากันอย่างแพร่หลาย แต่รู้หรือไม่ว่าการเก็บข้อมูลในทุกแพลตฟอร์มนั้นจะต้องได้รับการยินยอมจากผู้ใช้งานก่อนเสมอ มิเช่นนั้นผู้ที่นำข้อมูลไปใช้งานจะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA ที่กำลังจะบังคับใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 1 มิถุนายน 2565 นี้แล้ว

วันนี้ Connect X จึงขอพาทุกท่านไปเตรียมพร้อม ก่อน PDPA มีผลบังคับใช้ เพื่อให้ธุรกิจสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย และไม่ต้องห่วงว่าจะถูกฟ้องร้องจนส่งผลเสียต่อธุรกิจ

PDPA คืออะไร?

กฎหมาย PDPA (Personal Data Protection Act) หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 คือกฎหมายที่ช่วยคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภค ให้สามารถจัดเก็บหรือนำไปใช้ประโยชน์ได้ตามความยินยอมเท่านั้น ไม่สามารถเก็บข้อมูลหรือนำไปใช้โดยไม่แจ้งให้ผู้บริโภคทราบ และ/หรือได้รับความยินยอมในฐานะเจ้าของข้อมูลก่อน โดยครอบคลุมทั้งช่องทางออนไลน์และออฟไลน์จากองค์กรทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ

หากไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย PDPA จะเป็นอย่างไร?

สำหรับผู้ที่นำข้อมูลไปใช้ประโยชน์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลนั้น ไม่ว่าจะเป็นผู้ควบคุมข้อมูล (Data Controller) หรือผู้ประมวลผลข้อมูล (Data Processor) ก็มีโทษทางกฎหมายทั้งในทางแพ่ง อาญา และทางปกครอง ซึ่งมีโทษสูงสุดคือการปรับ 5 ล้านบาท จำคุกสูงสุด 1 ปี และต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนด้วย

5 ข้อที่ทุกธุรกิจห้ามพลาด ในการเตรียมตัวก่อน PDPA มีผลบังคับใช้

1. สร้าง Awareness ด้าน Data Privacy ให้กับบุคลากรในองค์กร

เพราะแทบทุกแผนกอาจมีความเกี่ยวข้องที่ทำให้ต้องใช้งาน เก็บรวบรวม และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า พนักงานบริษัท บริษัทคู่ค้า (Vendor) บริษัทที่ได้รับการว่าจ้าง (Outsource) ฯลฯ จึงจำเป็นจะต้องมีความตระหนักถึงความสำคัญของนโยบายความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคลเหล่านั้น นอกจากนี้ควรศึกษาข้อมูลและปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย PDPA เพราะทุกคนมีความเสี่ยงต่อการที่ข้อมูลส่วนบุคคลที่องค์กรประมวลผลอาจถูกละเมิดร่วมกัน รวมถึงช่วยกันการดำเนินการเพื่อลดความเสี่ยงเหล่านั้นลง

2. วางนโยบายความเป็นส่วนตัว Privacy Policy

นโยบายดังกล่าวควรครอบคลุมทั้งภายในองค์กร รวมถึงการสร้างเงื่อนไขสำหรับผู้ใช้บริการหรือลูกค้าของเรา ซึ่งองค์กรควรจัดหาเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือ Data Protection Officer: DPO เพื่อช่วยให้คำแนะนำและตรวจสอบการดำเนินงานขององค์กรให้ถูกต้องตามกฎหมาย PDPA สามารถลดความเสี่ยงได้อีกทางหนึ่ง

ในส่วนของนโยบายความเป็นส่วนตัวของลูกค้า ธุรกิจต้องระบุให้ชัดเจนว่าต้องการเก็บข้อมูลอะไร เพื่อใช้ประโยชน์อะไร มีการส่งต่อข้อมูลให้บริษัทภายนอกหรือไม่ และมีระยะเวลาในการเก็บนานเท่าใด รวมทั้งมีมาตรการในการคุ้มครองความเป็นส่วนตัวอย่างไรบ้าง พร้อมทั้งทำส่วนการแจ้งเตือนหรือฟอร์มในการสอบถามความยินยอมให้ชัดเจน เช่น บนเว็บไซต์อาจจะเป็น “รูปแบบคุกกี้แบนเนอร์ (Cookie Consent Banner)” โดยระบุเงื่อนไข Cookies Privacy Policy ให้ผู้ใช้งานอ่านและกดยินยอมหรือปฏิเสธ ทำให้เหล่าธุรกิจไม่ต้องห่วงปัญหาที่จะตามมาในเรื่อง PDPA กับเว็บไซต์อีกเลย ส่วนในช่องทางอื่นๆ อย่างแอปพลิเคชันก็สามารถแจ้งเตือนภายในแอป (In-App Notification) เมื่อผู้ใช้งานทำการเปิดแอปพลิเคชันครั้งแรก หรือทำการสมัครสมาชิกได้เช่นกัน

3. กำหนดมาตรการในการดูแลข้อมูลส่วนบุคคล

เมื่อองค์กรได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการหรือลูกค้าแล้วนั้น จะต้องจัดการระบบให้มีความปลอดภัย เพราะหากมีการรั่วไหลอาจทำให้เกิดการฟ้องร้องหรือดำเนินคดีได้ โดยอาจเริ่มจากการจัดทำ Access Control & Logging เพื่อตรวจสอบคนที่เข้าถึงข้อมูล และเพิ่ม IT Security เช่น Firewall หรือ Encryption เป็นต้น ควรเตรียมมาตรการในการรับมือเหตุการณ์ฉุกเฉิน เมื่อเกิดเหตุละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลโดยตั้งใจหรือมิได้ตั้งใจ ทางองค์กรจะต้องมีการรายงานผลและแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในทุกกรณี

4. สร้างระบบรองรับเมื่อมีการยกเลิกการยินยอมแบบอัตโนมัติ

ในเงื่อนไขนโยบายความเป็นส่วนตัว จะต้องมีการระบุว่าเมื่อผู้ใช้งานหรือลูกค้ากดยินยอมให้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลแล้ว ลูกค้าสามารถทำการยกเลิกการยินยอมก่อนระยะเวลาที่ธุรกิจกำหนดได้ ซึ่งหมายถึงว่าเจ้าของข้อมูลสามารถทำการยกเลิกได้ตลอดเวลา การมีระบบรองรับสำหรับการยกเลิกการยินยอมแบบอัตโนมัติจะช่วยให้สร้างความพึงพอใจต่อผู้ใช้บริการหรือลูกค้าได้มากกว่า เพราะสามารถดำเนินการได้ทันที จึงช่วยลดโอกาสในการฟ้องร้องดำเนินคดีจากความล่าช้าในการดำเนินการได้อีกด้วย

5. เตรียมเครื่องมือให้พร้อม

ให้ Connect X เป็นตัวช่วยให้กับธุรกิจของคุณ เราคือแพลตฟอร์ม CDP (Customer Data Platform) สามารถช่วยเก็บรวบรวมข้อมูลลูกค้าจากทุกช่องทางไว้ในที่เดียวกัน มาพร้อมกับระบบ Marketing Automation ที่ช่วยทำการตลาดแบบอัตโนมัติ โดยเป็นแพลตฟอร์มหรือระบบที่รองรับกฎหมาย PDPA เป็นระบบที่ได้รับมาตรฐานการเก็บข้อมูลอย่างปลอดภัย มีมาตรฐาน ISO27001 ทำให้เหล่าธุรกิจคลายกังวลได้เพราะข้อมูลของลูกค้าจะปลอดภัยและมีขั้นตอนการเก็บข้อมูลที่ถูกต้องตามกฎหมาย PDPA อย่างแน่นอน

จากที่ Connect X ได้แนะนำ 5 ข้อที่ธุรกิจควรเตรียมตัวก่อนที่กฎหมาย PDPA บังคับใช้กันไปแล้ว จะเห็นได้ว่าข้อมูลส่วนบุคคลนั้นมีความสำคัญที่เหล่าธุรกิจจะต้องคำนึงถึงโดยมีมาตรการสร้างทั้งความเข้าใจและความพร้อมของบุคลากรกับระบบที่ใช้งานให้พร้อมก่อน 1 มิถุนายนที่จะถึงนี้ ซึ่งหากไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย PDPA แล้วมีการนำข้อมูลไปใช้โดยไม่ได้รับความยินยอมหรือใช้ผิดวัตถุประสงค์ ก็อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินหรือความเป็นส่วนตัวของเจ้าของข้อมูลหรือลูกค้าของเรา และส่งผลกระทบต่อองค์กรเป็นวงกว้าง

หากองค์กรธุรกิจปฏิบัติตามกฎหมาย PDPA อย่างเคร่งครัด โดยที่มีการชี้แจงเรื่องการใช้ข้อมูลอย่างโปร่งใส ด้วยภาษาที่เข้าใจง่ายและตรงไปตรงมา ก็จะช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้กับธุรกิจ พร้อมสร้างความสบายใจจนเกิดเป็นความไว้วางใจให้กับลูกค้าได้อย่างแน่นอน

สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

Marketing Automation สามารถช่วยลดต้นทุนได้ทั้งด้านการเงินและช่วยประหยัดเวลา

Marketing Automation สามารถช่วยลดต้นทุนได้ทั้งด้านการเงินและช่วยประหยัดเวลา

วันนี้ทางทีมงาน ConnectX จะพาเพื่อนๆไปดูข้อดีของ Marketing Automation ว่ามีข้อดีมากกว่าที่เพื่อนๆคิดสามารถช่วยลดต้นทุนได้ทั้งเงินและเวลา

เริ่มแรกเลยหลายๆท่านอาจจะสงสัยว่าเจ้าตัว Marketing automation นั้นสามารถช่วยให้ประหยัดได้ทั้งต้นทุนและเวลาจริงหรือไม่ ขอตอบไว้ตรงนี้เลยว่าจริงค่ะ โดยแนวคิดเบื้องหลังการตลาดอัตโนมัติก็คือการทำให้การตลาดมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้ธุรกิจสามารถประหยัดเวลาและทรัพยากร ระบบอัตโนมัติทางการตลาดสามารถใช้สำหรับกลวิธีทางการตลาดที่หลากหลาย รวมถึงการสร้างโอกาสในการขาย การแบ่งกลุ่มลูกค้า การจัด Customer journey ของลูกค้า และอื่นๆ อีกมากมาย

Marketing automation คือ การตลาดแบบอัตโนมัติโดยใช้โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์เพื่อทำการตลาดออกไปหากลุ่มลูกค้าเป้าหมาย กระบวนการเหล่านี้อาจรวมทุกอย่างตั้งแต่การตลาดผ่านอีเมลไปจนถึงแคมเปญโซเชียลมีเดียไปจนถึงโฆษณาที่ตรงเป้าหมาย

แล้ว Marketing automation มีหน้าที่หลักๆอะไรบ้าง ?

อย่างที่ได้บอกไปก่อนหน้านี้ว่า Marketing automation เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำงานด้านการตลาดของธุรกิจในด้านต่างๆโดยอัตโนมัติ เรามาดูความสามารถของเจ้าตัว Marketing automation กันดีกว่าว่าหลักๆแล้วสามารถทำอะไรได้บ้าง

  • สร้างและดูแลฐานข้อมูลลูกค้าให้เป็นฐานข้อมูลเดียว
  • ทำงานซ้ำๆ โดยอัตโนมัติ เช่น อีเมลต้อนรับและการแท็กผู้ซื้อ
  • สร้างกลุ่มผู้ชม
  • ส่งข้อความที่กำหนดเองไปยังกลุ่มลูกค้ากลุ่มต่างๆ
  • ทดสอบข้อความต่างๆ เพื่อให้เห็นว่าแคมเปญไหนมีประสิทธิภาพมากที่สุด
  • สร้างรายงานการวิเคราะห์

ตัวอย่าง Use case ของ Marketing automation : เราตั้งค่าให้ตัว Marketing automation ส่งข้อความส่วนบุคคลที่ส่งถึงลูกค้าโดยอัตโนมัติเมื่อลูกค้าดำเนินการบางอย่าง เช่น ลงชื่อสมัครรับจดหมายข่าวหรือใส่ของในตะกร้าสินค้า

ข้อความเหล่านี้จะถูกส่งตามเวิร์กโฟลว์หรือชุดคำสั่งที่เราได้ตั้วค่าไว้ ซึ่งช่วยให้ธุรกิจสามารถส่งข้อความเฉพาะให้กับลูกค้าเมื่อลูกค้าทำบางอย่าง เวิร์กโฟลว์สามารถเป็นเทมเพลตหรือสร้างขึ้นใหม่ตั้งแต่ต้น และสามารถเปลี่ยนแปลงระหว่างแคมเปญเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพผลลัพธ์ให้กับ Marketing automation ได้

อีกหนึ่งตัวอย่าง สมมติว่ามีลูกค้าเยี่ยมชมเว็บไซต์และลงทะเบียนเพื่อรับ Code โปรโมชั่นส่วนลดผ่านการขายทางอีเมล การดำเนินการนั้นอาจเรียกชุดอีเมลที่เริ่มต้นด้วยข้อความต้อนรับและรหัสส่วนลด เมื่อลูกค้าลงทะเบียนขอรับโค้ดส่วนลด ในอีกสัปดาห์ถัดไปเราก็สามารถตั้งค่าให้ Marketing automation นั้นส่งข้อความอัตโนมัติ ที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือแบรนด์เพิ่มเติมได้

Marketing automation นั้นสามารถช่วยลดต้นทุนด้านการเงินและเวลา

เนื่องจากระบบ Marketing automation จะใช้เวลาในการตั้งค่าระบบภายในไม่กี่นาทีเราก็สามารถที่จะส่งข้อความหรือแคมเปญด้านการตลาดไปหาลูกค้าหรือผู้บริโภคได้หลักหมื่นคน จากในภาพด้านบนสุดของเราจะเห็นได้ว่ามีให้เลือกทั้ง Sms, E-mail, Facebook messenger และ Line OA ซึ่งนั่นหมายความว่าเราต้องการที่จะส่งข้อมูลหรือข้อความไปหาลูกค้าผ่านช่องทางไหน ในส่วนของ Flow Control หมายความว่า เราจะต้องกำหนดเงื่อนไขให้กับตัว Marketing automation ของเรา

สรุป

Marketing automation เป็นเครื่องมือของนักการตลาดที่จะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและยังช่วยให้นักการตลาดประได้ทั้งเงินและเวลา และลดขั้นตอนการทำงานในด้านการตลาดปัจจุบันที่มีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆเพราะมีหลายช่องทางให้สื่อสารออกไปนั่นเอง

สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

PDPA คืออะไร? เจาะลึกข้อจำกัดที่ธุรกิจต้องรู้ก่อนนำข้อมูลลูกค้าไปใช้งาน

Connect X จะมาแนะนำว่า PDPA คืออะไร หรือ พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลคืออะไร ครอบคลุมข้อมูลอะไรบ้าง ผู้ใช้บริการมีสิทธิในด้านใด และองค์กรธุรกิจต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

ทุกวันนี้ “ข้อมูล (Data)” มีประโยชน์มากสำหรับการต่อยอดทางธุรกิจในยุคปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นด้านกลยุทธ์ กิจกรรมทางการตลาด หรือตัวช่วยในด้านระบบการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relationship Management: CRM) และการบริหารความเสี่ยง รวมทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการให้ใช้งานได้สะดวก รวดเร็ว และเพิ่มโอกาสในการได้รับโปรโมชันดีๆ อีกด้วย

ในเว็บไซต์และแพลตฟอร์มซื้อ-ขายต่างๆ ล้วนมีการเก็บข้อมูลของลูกค้าเอาไว้ ยิ่งสามารถเก็บได้ละเอียดและมีจำนวนมากเท่าใด ก็จะยิ่งเป็นประโยชน์ให้ต่อยอดได้มากขึ้นเท่านั้น แต่การเก็บข้อมูลเหล่านี้ก็มีขอบเขตจำกัดอยู่ ว่าจะสามารถเก็บข้อมูลได้แค่ไหนและนำไปใช้อะไรได้บ้าง จะถูกกำหนดด้วยกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค วันนี้ Connect X จะพาไปเจาะลึกว่า พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA ว่าคืออะไร และมีข้อจำกัดอะไรที่องค์กรธุรกิจหรือร้านค้าควรทราบ

PDPA คืออะไร?

กฎหมาย PDPA (Personal Data Protection Act) หรือ พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.​ 2562 คือ กฎหมายที่ช่วยคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภค ให้สามารถจัดเก็บหรือนำไปใช้ประโยชน์ได้ตามความยินยอมเท่านั้น ไม่สามารถเก็บข้อมูลหรือนำไปใช้โดยไม่แจ้งให้ผู้บริโภคทราบ และ/หรือได้รับความยินยอมในฐานะเจ้าของข้อมูลก่อน ซึ่งมาพร้อมกับมาตรการเยียวยาหากผู้บริโภคถูกละเมิดสิทธิ์ไม่ว่าจะเกิดจากองค์กรภายในประเทศหรือต่างประเทศ หากองค์กรธุรกิจหรือร้านค้าไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย PDPA จะมีความผิดตามกฎหมาย โดยมีบทลงโทษทั้งในทางแพ่ง อาญา หรือโทษปรับทางปกครองสูงสุด 5 ล้านบาท จำคุกสูงสุด 1 ปี รวมถึงต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนอีกด้วย

ข้อมูลอะไรบ้างที่ PDPA คุ้มครอง

ข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป (Personal Data) ประกอบด้วย

  • ชื่อ-นามสกุล
  • หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน, เลขหนังสือเดินทาง, เลขใบอนุญาตขับขี่
  • หมายเลขโทรศัพท์, อีเมล, ที่อยู่
  • วันเดือนปีเกิด, อายุ, น้ำหนักส่วนสูง, สัญชาติ
  • รูปถ่าย, ประวัติการทำงาน และอายุ
  • ข้อมูลทางการศึกษา, ข้อมูลทางการเงิน, ข้อมูลทางการแพทย์
  • ทะเบียนรถยนต์, โฉนดที่ดิน, ทะเบียนบ้าน
  • ข้อมูลบนอื่นๆ บนอินเทอร์เน็ตที่สามารถระบุตัวตนได้ เช่น Username /Password, Cookies, IP address และ GPS Location

ข้อมูลที่มีความอ่อนไหว (Sensitive Personal Data) ประกอบด้วย

  • เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์
  • ความคิดเห็นทางการเมือง
  • ความเชื่อในลัทธิ, ศาสนา หรือปรัชญา
  • พฤติกรรมทางเพศ
  • ประวัติอาชญากรรม
  • ข้อมูลด้านสุขภาพ ความพิการ เช่น โรคประจำตัว, การฉีดวัคซีน, ใบรับรองแพทย์
  • ข้อมูลสหภาพแรงงาน
  • ข้อมูลพันธุกรรม
  • ข้อมูลชีวภาพ เช่น ลายนิ้วมือ, แบบจำลองใบหน้า, ข้อมูลม่านตา

ทั้งนี้ ข้อมูลบริษัทไม่ถือว่าเป็นข้อมูลที่ได้รับการคุ้มครองจาก PDPA เพราะไม่ถือว่าเป็นข้อมูลส่วนบุคคล และสำหรับข้อมูลที่มีความอ่อนไหว อาจส่งผลต่อเจ้าของข้อมูลในวงกว้าง ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของสังคม, ความเป็นอยู่ และการทำงาน จึงมีการกำหนดโทษหนักกว่าการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป ซึ่งอาจนำไปสู่โทษทางอาญาได้อีกด้วย

PDPA คุ้มครองสิทธิของผู้ใช้บริการด้านใดบ้าง?

  • สิทธิได้รับการแจ้งให้ทราบและขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล – ผู้ให้บริการจะต้องบอกให้ทราบถึงวัตถุประสงค์ในการเก็บข้อมูลและการนำไปใช้ และต้องได้รับความยินยอมจากผู้ใช้บริการก่อนเสมอ
  • สิทธิในการขอรับและโอนย้ายข้อมูลส่วนบุคคล – ผู้ใช้บริการสามารถขอรับสำเนาข้อมูลจากผู้ให้บริการ และหากมีการโอนย้ายข้อมูลจากผู้ควบคุมรายแรกไปยังผู้ควบคุมรายอื่นได้ แต่จะต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย สัญญา หรือละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น
  • สิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล – ผู้ใช้บริการสามารถคัดค้านการเก็บรวบรวม, ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้ โดยสามารถร้องขอต่อผู้ควบคุมข้อมูลผ่านแบบฟอร์มที่ผู้ให้บริการจัดไว้ หรือติดต่อกับผู้ดูแลระบบเมื่อไหร่ก็ได้
  • สิทธิขอให้ลบหรือทำลายและระงับการใช้ข้อมูล – หากข้อมูลที่ถูกจัดเก็บหมดความจำเป็นในการใช้งานตามวัตถุประสงค์ หรือมีการนำไปเผยแพร่ต่อสาธารณะหรือถูกเข้าถึงได้ง่าย ผู้ใช้บริการมีสิทธิขอให้ผู้ควบคุมลบหรือทำลายข้อมูลส่วนบุคคล หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ โดยผู้ควบคุมข้อมูลต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายและการดำเนินการนั้น
  • สิทธิในการขอให้แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล – ผู้ใช้บริการมีสิทธิในการขอแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลให้มีความถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดได้ โดยการแก้ไขดังกล่าวจะต้องเป็นไปด้วยความสุจริต และไม่ขัดต่อหลักกฎหมาย ไม่ว่าจะแก้ไขผ่านหน้าข้อมูลสมาชิก หรือติดต่อกับผู้ควบคุมระบบ
  • สิทธิในการร้องเรียน – หากมีการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล มีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นจากผู้ควบคุม, ผู้ประมวลผล, ลูกจ้าง และผู้รับจ้างของผู้ควบคุม ผู้ใช้บริการสามารถร้องเรียนได้ และมีสิทธิในการเรียกค่าสินไหมทดแทนทางศาลได้

องค์กรธุรกิจและร้านค้าจะต้องทำอย่างไรเมื่อ PDPA ถูกบังคับใช้

  • เตรียมเอกสารเพื่อบันทึกกิจกรรมการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Record of Processing หรือ ROP) เป็นเอกสารที่ใช้บันทึกรายละเอียดการจัดเก็บข้อมูล โดยระบุว่ามีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร และมีใครเกี่ยวข้องบ้าง
  • เตรียมแบบฟอร์มเพื่อให้ผู้ใช้บริการขอใช้สิทธิบนเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถขอสิทธิการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวได้ในทุกช่องทาง และต้องมีการดำเนินการตามคำร้องภายใน 30 วัน
  • แจ้งให้ผู้ใช้บริการทราบเกี่ยวกับนโยบายความเป็นส่วนตัวหรือ Privacy Policy และแจ้งวัตถุประสงค์ในการนำไปใช้ให้เข้าใจได้ง่าย มีเงื่อนไขอะไรบ้าง รวมถึงระยะเวลาในการจัดเก็บข้อมูล และต้องขอรับการยินยอมก่อนทุกครั้ง โดยที่จะต้องไม่เก็บข้อมูลมากกว่าความจำเป็นในการใช้ต่อธุรกิจ
  • การขอคำยินยอมในการใช้ Cookie ธุรกิจ หรือแต่ละเว็บไซต์จะต้องมีการแจ้งเตือนผ่านแบนเนอร์ (Cookie Consent Banner) เพื่อขอความยินยอมจากผู้ใช้บริการในการจัดเก็บข้อมูลของผู้ใช้งานออนไลน์ รวมถึงประเภทข้อมูลที่ถูกจัดเก็บ
  • การเก็บข้อมูลจะต้องจัดเก็บอย่างเหมาะสมและปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลที่มีความอ่อนไหวจะต้องเก็บรักษาให้รัดกุมที่สุด และจัดตั้ง DPO (Data Protection Officer) หรือเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัยของข้อมูลภายในและภายนอกองค์กร
  • การแจ้งเตือนผู้ใช้บริการหากข้อมูลเกิดการรั่วไหล จะต้องมีการแจ้งต่อผู้ใช้บริการ และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งจะมีการประเมินความเสียหาย และวิธีการเยียวยาเจ้าของข้อมูล

จากที่ Connect X ได้แนะนำไปแล้วว่า PDPA คืออะไร และครอบคลุมข้อมูลอะไรบ้าง รวมทั้งเรื่องที่องค์กรธุรกิจควรต้องรู้ ซึ่งกฎหมาย PDPA เกี่ยวกับธุรกิจจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มิ.ย. 65 นี้ องค์กรธุรกิจควรเตรียมตัวรับมือ ปรับตัว และสร้างความเข้าใจให้กับคนในองค์กรให้ตระหนักถึงความสำคัญของการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า รวมทั้งประเมินความเสี่ยงต่อการใช้ข้อมูลดังกล่าว และวางระบบที่สามารถรองรับให้สามารถบริหารจัดการข้อมูลได้ง่ายและปลอดภัยให้เร็วที่สุด ซึ่งแพลตฟอร์ม CDP ของ Connect X เป็นแพลตฟอร์มที่มีเครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูลลูกค้าเอาไว้ในที่เดียวกันและมี Marketing Automation คอยช่วยเรื่องการตลาดแบบอัตโนมัติด้วย ทั้งยังมีการรองรับ PDPA ผู้ประกอบการจึงไม่ต้องกังวลว่าพบปัญหาระหว่างการทำธุรกิจ และไม่ผ่านเกณฑ์ของ PDPA

สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

    Yearly Budget

    How do you know us?

    5 วิธีเลือกระบบ Customer Relationship Management ให้ปังที่สุด

    เจ้าของแบรนด์มือใหม่ที่อยากยกระดับการให้บริการจะเลือกระบบ Customer Relationship Management ให้เหมาะสมได้อย่างไร? Connect X จะมาบอกให้รู้เอง!

    การให้บริการและการรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้า เป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญที่สุดของธุรกิจยุคนี้เพื่อให้ “อยู่รอด” เพราะผู้บริโภคในปัจจุบันล้วนต้องการการบริการที่ดีและตอบโจทย์ความต้องการได้ทั้งนั้น หากแบรนด์ไหนที่ไม่สามารถให้บริการได้ดีเท่าที่ลูกค้าคาดหวัง ก็อาจจะต้องยุติธุรกิจลงเลยก็เป็นได้

    ในการบริหารความสัมพันธ์และให้บริการลูกค้านั้น แบรนด์จำเป็นต้องมีการ “จัดเก็บ” ข้อมูลและการ “จัดการ” ที่เหมาะสม ระบบ Customer Relationship Management (CRM) และกระบวนการ CRM จึงเป็นส่วนสำคัญที่จะเข้ามาเป็นตัวช่วยในการบริหาร จัดการข้อมูลลูกค้า และยกระดับการบริการลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่คำถามสำคัญคือเลือกระบบ CRM อย่างไร? ในบทความนี้ Connect X จะมาบอก 5 วิธีเลือกระบบ CRM ให้เจ้าของธุรกิจมือใหม่ได้ทราบกัน

    5 วิธีเลือกระบบ Customer Relationship Management

    หนึ่งในปัญหาหลักๆ ของแบรนด์เมื่อนำระบบ CRM เข้ามาใช้ในธุรกิจคือ พบว่าระบบไม่สามารถตอบโจทย์การใช้งานได้ดีที่เท่าที่คิด ทั้งๆ ที่ลงทุนไปแล้วแต่กลับไม่ได้รับผลตอบแทนกลับมา เชื่อว่าเจ้าของธุรกิจทุกคนคงไม่ต้องการให้เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นอย่างแน่นอน ดังนั้นการคัดเลือกระบบ Customer Relationship Management จึงเป็นขั้นตอนที่มองข้ามไปไม่ได้เด็ดขาด

    1. ตอบคำถามที่สำคัญก่อนเลือกระบบ CRM

    อย่างที่กล่าวไปข้างต้น การลงทุนในระบบ CRM นั้นต้องอาศัยงบประมาณ สิ่งแรกที่ควรทำคือ พิจารณาความต้องการและเป้าหมายของธุรกิจเสียก่อน ด้วยการตั้งคำถามเช่น

    • ลักษณะธุรกิจเป็นอย่างไร? – เป็นธุรกิจ B2C หรือ B2B ซึ่งจะบอกได้ว่าควรมุ่งเป้าหมายการใช้งานไปในด้านไหน
    • เซลหรือทีมขายเป็นอย่างไร? – ปัจจุบันทีมขายมีกี่คน ดำเนินการขายผ่านช่องทางไหนบ้าง เช่น โซเชียลมีเดีย ติดต่อผ่านโทรศัพท์ อีเมล หรือเว็บไซต์ แล้วนำมาใช้พิจารณาต่อไปในอนาคต
    • ข้อมูลที่ต้องการเก็บมีอะไรบ้าง  – ชื่อ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล รวมไปถึงความสนใจของลูกค้า อีกทั้งต้องคำนึงถึงลักษณะของธุรกิจด้วย เช่น ธุรกิจ B2B อาจจะต้องเก็บรวบรวมข้อมูลค่อนข้างเยอะกว่า B2C เป็นต
    • กระบวนการขายทำงานอย่างไร? – สำรวจกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขายให้ละเอียด ว่ามีขั้นตอนอย่างไร แล้วกระบวนการ CRM ที่เราเล็งไว้ เข้ากันได้ดีกับระบบของธุรกิจหรือเปล่า

    2. จดรายการสิ่งที่ต้องการจากระบบ Customer Relationship Management

    พอทราบแล้วว่าธุรกิจมีปัญหาด้านไหนและต้องความช่วยเหลืออะไรบ้าง วิธีเลือกระบบ CRM ต่อมาคือการทำรายการหรือลิสต์สิ่งที่ต้องการจากระบบ CRM อาทิ ฟีเจอร์การเชื่อมต่อกับ API ต่างๆ การเชื่อมต่อกับช่องทางแบบ Omni-Channel ระบบ AI รายละเอียดการรายงานของแดชบอร์ด ระบบ Marketing Automation รวมถึงฟังก์ชันอื่นๆ ที่ธุรกิจต้องการ ก็จะช่วยให้สามารถคัดกรองตัวเลือกที่ไม่จำเป็นหรือไม่ตอบโจทย์ออกไปได้นั่นเอง

    3. ความเป็นมิตรต่อผู้ใช้งานของระบบ CRM

    แม้จะมีฟีเจอร์ที่ครอบคลุมกิจกรรมการตลาดและการบริการรอบด้าน แต่หากตัวแพลตฟอร์มใช้งานยากหรือต้องอาศัยความรู้ด้านเทคนิคมากเกินไป ก็อาจจะส่งผลเสียต่อทีมขายและธุรกิจแทน เช่น การเรียกดู Insight ของลูกค้าแต่ละกลุ่ม การเชื่อมต่อระหว่างแพลตฟอร์มการขายอื่นๆ เป็นต้น ว่าสามารถอำนวยความสะดวกและลดงานที่ซ้ำซ้อนได้จริงหรือเปล่า

    4. ทดลองใช้หรือ Request Demo

    อีกหนึ่งวิธีเลือกระบบ Customer Relationship Management ที่สามารถช่วยได้อย่างมากคือ การทดลองใช้งานจริง ซึ่งถ้าผู้ให้บริการเปิดให้ทดลองได้ฟรีก็ขอแนะนำให้เข้าไปเริ่มเรียนรู้ระบบด้วยตัวเองได้เลย พร้อมทั้งศึกษาความคุ้มค่าของแพ็กเกจต่างๆ หรือผู้ให้บริการระบบ CRM บางรายอาจจะไม่ได้เปิดให้เข้าทดลองใช้ได้ทันที แต่ต้องติดต่อเข้าไปเพื่อคุยกับเจ้าหน้าที่ แจ้งข้อมูลและความต้องการเบื้องต้น ก่อนที่จะได้รับสิทธิ์ทดลองใช้

    ระบบ CRM ของบางแบรนด์อาจจะมีให้ “Request Demo” คือการขอให้ทางผู้ให้บริการทำการสาธิตกระบวนการ CRM ให้ดูนั่นเอง ให้ได้เห็นหน้าตาและความสามารถเบื้องต้นของระบบ เพื่อนำมาประกอบกับความต้องการของธุรกิจว่าตรงกันมากน้อยแค่ไหน

    5. บริการให้คำปรึกษาทั้งก่อนและหลัง

    สำหรับวิธีเลือกระบบ CRM ข้อนี้อาจจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับตัวแพลตฟอร์มโดยตรง อย่างไรก็ตาม ผู้ให้บริการก็เป็นส่วนหนึ่งที่สามารถช่วยธุรกิจได้ โดยควรมี “ศูนย์บริการลูกค้า” ไม่ว่าจะเป็นการให้คำแนะนำหรือการตอบคำถามของธุรกิจ มีการคลาสฝึกสอน (Training) ก่อนเริ่มต้นใช้งานระบบ รวมถึงเมื่อใช้งานระบบไปแล้ว แต่เกิดมีปัญหา ผู้ให้บริการก็ควรที่จะให้คำปรึกษาได้ สามารถติดต่อได้สะดวก และมีทางแก้ไขที่ชัดเจน ไม่ทิ้งกันไปกลางคัน

    เมื่อได้อ่านทั้ง 5 ข้อนี้ไปแล้ว ทุกท่านคงจะตระหนักดีว่าการเลือกระบบ CRM นั้นอาจจะต้องใช้เวลาและความละเอียดรอบคอบในการพิจารณาก่อนตัดสินใจ ซึ่งถ้าใครเลือกได้แล้วว่าต้องการใช้ Customer Relationship Management ตัวไหน ก็สามารถวางแผนในการเริ่มซื้อและใช้งานได้เลย ซึ่ง Connect X ขอแนะนำให้กำหนดวันที่ติดตั้งชัดเจนและเชื่อมกับแพลตฟอร์มอื่นๆ ให้เรียบร้อยก่อนใช้งานจริง ให้ทีมงานได้ทำความคุ้นเคยกับตัวระบบและเตรียมความพร้อมข้อมูลเพื่อที่จะติดตั้งระบบใหม่ได้อย่างสมบูรณ์

    สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

    เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

    สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

    เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

    Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

    Customer Relationship Management (ระบบ CRM) สำคัญอย่างไร ทำไมทุกธุรกิจต้องมี?

    ปัจจัยที่ทำให้องค์กรธุรกิจทั้งหลายประสบความสำเร็จได้ ไม่เป็นเพียงแค่การเพิ่มช่องทางการขายและการบริการที่ดีเท่านั้น แต่การบริหารความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้ากับองค์กรธุรกิจหรือ Customer Relationship Management (CRM) คือ “กุญแจ” สำคัญในยุคปัจจุบัน

    Customer Relationship Management (ระบบ CRM) สำคัญอย่างไร ทำไมทุกธุรกิจต้องมี?

    ปัจจัยที่ทำให้องค์กรธุรกิจทั้งหลายประสบความสำเร็จได้ ไม่เป็นเพียงแค่การเพิ่มช่องทางการขายและการบริการที่ดีเท่านั้น แต่การบริหารความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้ากับองค์กรธุรกิจหรือ CRM คือ “กุญแจ” สำคัญในยุคปัจจุบัน

    เนื่องจากการซื้อขายบนแพลตฟอร์มออนไลน์ทำให้ผู้ซื้อมีตัวเลือกมาก สามารถค้นหาสินค้าหรือบริการที่คล้ายกันพร้อมเปรียบเทียบราคาและคุณสมบัติต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย จึงต้องมีสิ่งที่องค์กรธุรกิจใช้มัดใจลูกค้าให้กลับมาซื้อซ้ำๆ และสร้างความภักดีต่อแบรนด์ (Brand Loyalty) ด้วยกลยุทธ์ทางการตลาดที่ปรับตัวให้ทันโลกตลอดเวลา

    วันนี้ Connect X จะพามาแนะนำให้รู้จัก CRM ว่าคืออะไร มีความสำคัญอย่างไรต่อธุรกิจ พร้อมพามาดูตัวอย่างแบรนด์ดังที่ประสบความสำเร็จจากการใช้ระบบ CRM เข้ามาบริหารจัดการองค์กรและการให้บริการลูกค้า

    Customer Relationship Management หรือ ระบบ CRM คืออะไร

    CRM คือ ระบบบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า ให้ธุรกิจหรือองค์กรสามารถสร้างและรักษาความสัมพันธ์ของลูกค้าเอาไว้ให้ได้นานที่สุด พร้อมสร้างโอกาสจากบุคคลที่มีศักยภาพในการเป็นลูกค้า (Potential Customer) โดยมุ่งเน้นไปในการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าและการปฏิสัมพันธ์แบบเฉพาะตัวอย่างมีคุณค่า รวมถึงการนำเสนอสินค้าอย่างถูกที่ถูกเวลาอีกด้วย ซึ่งกระบวนการดังกล่าวจะต้องอาศัยการเก็บข้อมูลของผู้บริโภคมาวิเคราะห์ เพื่อหากลยุทธ์ที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้มากที่สุด

    Tips: บทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบ CRM (Customer Relationship Management)

    ระบบ CRM สำคัญกับธุรกิจอย่างไร

    • ช่วยปรับปรุงการบริการ ตั้งแต่ช่วงต้นน้ำ-ปลายน้ำ กล่าวคือตั้งแต่เริ่มขายไปจนถึงการบริการหลังการขาย เช่น แบรนด์สามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับสินค้าได้ตรงความต้องการของลูกค้าตามข้อมูลที่ได้มา ทำให้ปิดการขายได้รวดเร็ว สามารถให้บริการหลังการขายได้อย่างตรงจุด และสามารถส่งโปรโมชันใหม่ๆ กับลูกค้าได้ผ่านระบบสมาชิก
    • เปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายเป็นลูกค้า เพราะสามารถนำข้อมูลประวัติการซื้อหรือความสนใจของบุคคลที่มีศักยภาพที่จะเป็นลูกค้าได้ มาวางแผนกลยุทธ์และทำการตลาด เพื่อโน้มน้าวให้ตัดสินใจซื้อสินค้า เช่น ส่งคำแนะนำสินค้าและโปรโมชัน ระบบการแจ้งเตือนผ่านแพลตฟอร์มให้ลองทบทวนการซื้ออีกครั้ง เป็นต้น
    • มัดใจลูกค้าขาจรเป็นขาประจำ เนื่องจากระบบ CRM จะช่วยติดตามและเก็บข้อมูลของลูกค้าแต่ละคนไว้ ซึ่งสามารถนำข้อมูลมาต่อยอดให้เกิดการตลาดแบบเฉพาะบุคคล (Personalized Marketing) เพื่อสร้างคุณค่าและสิทธิพิเศษให้กับลูกค้าได้ พร้อมกับช่วยให้พนักงานสามารถตอบคำถามหรือแนะนำการบริการได้อย่างรวดเร็วและตรงจุด ผ่านการรวบรวมช่องทางการบริการเข้าไว้ด้วยกันในรูปแบบ Omni Channel ไม่ว่าจะให้บริการที่หน้าร้านหรือบนแพลตฟอร์มออนไลน์ ก็สามารถเชื่อมกันได้อย่างไร้รอยต่อ จนทำให้ลูกค้าเกิดความประทับใจ และอยากกลับมาซื้อซ้ำ
    • มีความน่าเชื่อถือ เมื่อลูกค้าเกิดความประทับใจในการให้บริการทุกมิติแล้ว ก็สามารถแนะนำคนอื่นต่อๆ ไปได้ ไม่ว่าจะเป็นช่องทางปากต่อปาก (Word of Mouth) และการรีวิวในแพลตฟอร์มต่างๆ ซึ่งจะทำให้แบรนด์มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น มีชื่อเสียงด้านบวกเพิ่มมากกว่าเดิม
    • บริหารจัดการได้อย่างเป็นระบบและรวดเร็ว สำหรับองค์กรธุรกิจที่เลือกใช้ระบบ CRM จะทำให้มีการรวมข้อมูลไว้อย่างเป็นระเบียบ และมีช่องทางการให้บริการลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ช่วยเรื่องการบริหารจัดการ สามารถประเมินและวัดผลต่างๆ ได้ชัดเจน
    • สร้างแคมเปญการตลาดได้ตามเป้าหมาย เพราะระบบ CRM จะช่วยให้เห็นข้อมูลเชิงลึกและยังช่วยวิเคราะห์แนวโน้มในอนาคต ทั้งกำไร ปัญหาระยะสั้น ระยะยาว และกำหนดขอบเขตของกลุ่มเป้าหมายได้ชัดเจนขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการวางกลยุทธ์ในอนาคต
    • ลดค่าใช้จ่าย การใช้ระบบ CRM จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการทุ่มงบประชาสัมพันธ์สำหรับลูกค้าใหม่ ลดกิจกรรมทางการตลาดที่ได้ผลลัพธ์ไม่คุ้มค่า และสามารถนำต้นทุนส่วนนี้มาใช้ในการรักษาฐานลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น
    Tips: บทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับธุรกิจ และระบบ CRM

    3 แบรนด์ดังที่ประสบความสำเร็จจากการใช้ Customer Relationship Management

    • Apple

    ผู้ครองตลาดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลก ไม่ว่าคุณจะใช้อุปกรณ์ใดของ Apple อย่าง iPhone, iPad, MacBook จะมีการเข้าระบบด้วย Apple ID เพื่อใช้งานบริการของ Apple และเชื่อมทุกอุปกรณ์เข้าหากัน ซึ่ง Apple ได้ใช้ระบบ CRM ในการเก็บข้อมูล บันทึกการความสนใจต่างๆ ของผู้ใช้งาน พร้อมให้คำแนะนำตามความต้องการโดยอิงจากสิ่งที่ชอบ อีกทั้งยังเก็บข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรมและความชอบของลูกค้า เพื่อต่อยอดกลยุทธ์ทางการตลาดให้มีความแม่นยำ ตรงเป้าหมาย และตัดสินใจซื้อได้อย่างง่ายดาย

    • Amazon

    เว็บไซต์แพลตฟอร์ม E-Commerce เจ้าดังระดับโลก มีโครงสร้างพื้นฐาน CRM ที่สมบูรณ์แบบที่สุดแห่งหนึ่ง เพื่อแนะนำข้อเสนอพิเศษให้กับลูกค้าแบบรายบุคคล ไม่ว่าจะเป็นคำแนะนำและโปรโมชันต่างๆ ซึ่งสามารถปรับแต่งประสบการณ์ออนไลน์ของผู้ใช้ได้ทันที โดยใช้ข้อมูลจากบัญชี Amazon ที่สามารถติดตามประวัติการซื้อและการเข้าชม เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมและความสนใจของลูกค้า นอกจากนี้ยังมีระบบการแจ้งเตือนสินค้าที่เลือกไว้ในตะกร้าแต่ยังไม่ได้ชำระเงิน และระบบที่ทำให้ลูกค้าสามารถสั่งซื้อสินค้าใหม่ได้ง่ายในการคลิกเพียงไม่กี่ครั้ง

    • Coca Cola

    บริษัทเครื่องดื่มอัดลมระดับโลกที่มีประวัติมาอย่างยาวนาน บริษัท Coca-Cola ได้ใช้ CRM เพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการภายใน ซึ่งทำให้ช่วยแก้ไขปัญหาของลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยสามารถระบุและบันทึกปัญหาหรือข้อร้องเรียนที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะมาจากลูกค้าหรือซัพพลายเออร์ก็สามารถเข้าถึงได้อย่างง่ายดายและเป็นระบบ เพื่อส่งต่อให้ทีมช่างหรือทีมบริการหลังการขายเข้าไปแก้ไขได้แบบเรียลไทม์ นอกจากนี้สมาชิกของทีมสามารถเข้าถึงข้อมูลของลูกค้า ทั้งประวัติการซื้อ พฤติกรรม และความสนใจผ่านมือถือได้จากทั่วทุกมุมโลก ซึ่งช่วยให้ได้รับข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อส่งเสริมข้อเสนอพิเศษและโปรโมชันได้อย่างเจาะจงและตรงกลุ่มเป้าหมาย

    Tips: ตัวอย่างธุรกิจที่ประสบความสำเร็จและใช้ระบบ CRM

    หลังจาก Connect X ได้แนะนำมาทั้งหมด จะเห็นได้ว่า Customer Relationship Management (CRM) หรือระบบบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า เป็นตัวช่วยทางธุรกิจที่มีความสำคัญในยุคปัจจุบันและอนาคตเป็นอย่างมาก เนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภคในโลกออนไลน์นั้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา หากธุรกิจไหนสามารถเก็บข้อมูลและสานสัมพันธ์กับลูกค้าไว้ได้พร้อมๆ กันแล้วไม่ว่าจะโลกจะหมุนไปไวแค่ไหน ธุรกิจของก็จะก้าวข้ามคู่แข่ง และไม่ตกเทรนด์โลกอย่างแน่นอน

    ส่วนใครที่กำลังมองหาแพลตฟอร์มที่มีระบบ CRM ในตัวที่ใช้งานง่ายและมีประสิทธิภาพสูง Connect X คือแพลตฟอร์ม CDP ที่คุณกำลังมองหา เพราะมีการรองรับ PDPA และมีเครื่องมือเก็บข้อมูลลูกค้าที่มาพร้อมกับระบบ CRM ในตัว นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์ Marketing Automation กับ AI อัจฉริยะที่คอยช่วยเรื่องการตลาดแบบอัตโนมัติด้วย จึงมั่นใจได้ว่า Connect X มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย และพร้อมที่จะช่วยให้แบรนด์ของคุณเติบโตอย่างก้าวกระโดด

    สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

    เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

    Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

      Yearly Budget

      How do you know us?

      First-Party Data คืออะไร ?

      ConnectX พาไปทำความรู้จักกับ First Party Data ว่าทำไมถึงมีสำคัญในยุคปัจจุบันและทุกๆองค์กรควรมี First Party Data เป็นของตัวเอง

      วันนี้ทาง Connect-X จะพาเพื่อนๆมาทำความรู้จักกับ First-party data กันค่ะ 

      First-party data ก็คือ ข้อมูลที่คุณรวบรวมโดยตรงจากลูกค้า ผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ และผู้ใช้แอปพลิเคชั่นต่างๆ ตามการโต้ตอบจริงของพวกเขากับธุรกิจของคุณผ่านจุดติดต่อต่างๆมากมาย(Touchpoint) ทั้งในอดีตและแบบเรียลไทม์ โดยสรุปแล้ว First-party data คือข้อมูลที่คุณรวบรวมด้วยความยินยอมของผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์(Consent)

      “76% ของผู้บริโภคมีความพึงพอใจที่จะมอบข้อมูล(Consent) ให้กับธุรกิจเพื่อแลกกับประสบการณ์ที่เหนือกว่าไปทำการ Personalize Marketing”

      ข้อมูลจาก First-party data ช่วยให้ธุรกิจต่างๆ สามารถสร้างเนื้อหาที่มีความเป็น Personalize ได้สูงเป็นพิเศษรวมถึงการโฆษณาและที่สำคัญที่สุดคือประสบการณ์ที่ตอบสนองต่อผู้ใช้แต่ละราย เนื่องจากเป็นแหล่งข้อมูลที่แม่นยำที่สุดซึ่งคุณสามารถรวบรวมข้อมูลเชิงลึกของลูกค้าได้ (เช่น สิ่งที่ลูกค้าสนใจ ปัญหาอะไรที่พวกเขากำลังเผชิญ ความต้องการและความชอบของพวกเขาคืออะไร) อย่างไรก็ตาม การรวบรวมข้อมูลและการดำเนินการที่ทำให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจหรือตรงกับจริตของลูกค้าจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อคุณมีกลไกและการปรับแต่งในเว็บไซต์ของคุณที่ตรงกับลูกค้าในขณะนั้นเพื่อถามพวกเขาว่าพวกเขาต้องการอะไรและพึงพอใจกับสิ่งใด

      ในอดีต เราได้พูดคุยกันว่าประสบการณ์ของลูกค้าได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการดึงดูดและรักษาลูกค้าไว้ได้อย่างไร และข้อมูลของบุคคลที่หนึ่ง (First-party data) เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องมือสร้างประสบการณ์นั้น ในขณะที่ผู้บริโภคลังเลใจเกี่ยวกับการแบ่งปันข้อมูลในอดีต แต่ 76% ในปัจจุบันยินดีที่จะมอบข้อมูลนั้นให้กับธุรกิจเพื่อแลกกับประสบการณ์ ข้อเสนอ และผลิตภัณฑ์ที่เหนือกว่า นี่คือสิ่งที่ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์ทั้งเจ้าของธุรกิจและตัวลูกค้า

      “ช่องทางการสื่อสารแบบเปิดระหว่างลูกค้ากับธุรกิจและผลิตภัณฑ์จะต้องทำภายในช่วงเวลาและตามเงื่อนไขที่ถูกต้องและเหมาะสมเพราะเป็นสิ่งจำเป็นในการรวบรวมและควบคุมข้อมูลบุคคลที่หนึ่ง (First-party data) แต่การที่จะสร้าง Value ให้กับผลิตภัณฑ์จะทำได้ก็ต่อเมื่อคุณเปิดใช้งานช่องทางการมีส่วนร่วมนั้นตลอด Journey ของลูกค้าทั้งหมด”

      Anna Griffin ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาดของ Intercom

      ประสบการณ์การซื้อของลูกค้าในปัจจุบันไม่ใช่เป็นเส้นตรงแบบในอดีตอีกต่อไป ในปัจจุบันลูกค้าสามารถที่จะเจอประสบการณ์การซื้อได้จากหลากหลายช่องทางไม่ว่าจะเป็นทาง Website, Social หรือผ่านทาง E-commerce ยกตัวอย่างเช่น ลูกค้าอาจจะสอบถามข้อมูลผ่านทาง Social platform มีการคุยพูดคุยสอบถามรายละเอียดสินค้าแต่สุดท้ายแล้วลูกค้าซื้อของและชำระเงินผ่าน E-commece นั่นเป็นเหตุผลที่ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า CDP (Customer data platform) การผสานรวมข้อมูลจากแพลตฟอร์มต่างๆให้มาอยู่ในที่ที่เดียว ซึ่งหมายความว่าบริบทของลูกค้าจะถูกติดตาม ไม่ว่าพวกเขาจะอยู่ที่ใดในเส้นทางของลูกค้าหรือกำลังพูดคุยกับใคร แบรนด์พยายามทุกวิถีทางเพื่อนำเสนอประสบการณ์แบบ Omni-channel ที่ไร้รอยต่อ โดยผู้มีอำนาจตัดสินใจทางธุรกิจ(Senior) ประมาณครึ่งหนึ่งกล่าวว่าแบรนด์ของตนไม่มีความสามารถถ่ายทอดบริบท (Journey) ผ่านช่องทางต่างๆ นี่เป็นอุปสรรคสำคัญในการรักษาความสามารถในการแข่งขัน เนื่องจากประมาณ 85% ของผู้ตอบแบบสำรวจทางธุรกิจยังระบุด้วยว่าลูกค้าของพวกเขาต้องการให้บริบทของพวกเขาติดตามจากช่องทางหนึ่งไปอีกช่องทางหนึ่งเพื่อประสบการณ์แบรนด์ที่ราบรื่น ดังนั้น การนำแหล่งข้อมูลมารวมกันในที่ที่เดียวช่วยให้ทีมของคุณสามารถโต้ตอบกับลูกค้าในลักษณะที่ยังคงตอบสนองความคาดหวังที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

      https://www.infosum.com/blog/first-party-data-second-party-data-and-third-party-data

      ปัญหาของ Third-party data ในยุคปัจจุบัน

      ก่อนที่จะไปพูดถึง Third-party data เรามาทบทวนกันสักเล็กน้อยว่า Third-party data คืออะไร คือ data ที่ถูกรวบรวมมาจาก Data aggregators ข้อมูลที่ซื้อจากแหล่งภายนอกที่ไม่ใช่ผู้รวบรวมข้อมูลดั้งเดิมของข้อมูลนั้น แต่ซื้อจากผู้รวบรวมข้อมูลขนาดใหญ่ที่ดึงมาจากแพลตฟอร์มและเว็บไซต์อื่นๆ ที่สร้างขึ้น ผู้รวบรวมเหล่านี้จ่ายเงินให้ผู้เผยแพร่และเจ้าของข้อมูลอื่นๆ 

      แต่ปัญหาของมันอยู่ที่ปัจจุบัน ข้อมูลที่ได้มามีเยอะเกินทำให้ไม่มีคุณภาพเท่าที่ควรจะเป็นบวกกับในประเทศไทยเรามีการบังคับใช้กฏหมาย PDPA ซึ่งทำให้ยากต่อการจัดเก็บข้อมูลจาก Third-party data ยิ่งขึ้นไปอีก

      ทิ้งท้าย

      ก่อนจะจากกันไปขอทิ้งท้ายไว้ตรงนี้ว่าในปัจจุบันทุกๆธุรกิจควรที่จะเริ่มรีบเก็บข้อมูล First-party data เป็นของตัวเองได้แล้วค่ะ ใครที่มีข้อมูลเยอะก็จะยิ่งได้เปรียบเยอะในการแข่งขันในโลกธุรกิจปัจจุบันเนื่องจากข้อมูลไม่สามารถที่จะตามเก็บย้อนหลังได้ ดังนั้นถ้าธุรกิจไหนยิ่งมีข้อมูลของลูกค้าเยอะก็จะได้เปรียบในการแข่งขันมากยิ่งขึ้น

      สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

      เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

      Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

      เจาะลึก! ความเป็นมาของระบบ CRM เครื่องมือที่ธุรกิจยุคใหม่ต้องมี

      ระบบ CRM ที่ธุรกิจทั่วโลกใช้งานอยู่ในปัจจุบันนี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร? แล้วเป็นประโยชน์ต่อแบรนด์มากแค่ไหน? Connect X มีคำตอบ

      ปัจจุบันนี้กระบวนการตลาดสามารถดำเนินไปได้อย่างรวดเร็ว เข้าถึงง่าย และตรงกับความต้องการของผู้บริโภคได้มากขึ้น อันเนื่องจากข้อมูลดิจิทัลต่างๆ เช่น Cookies หรือ Big Data เป็นต้น รวมไปถึงเครื่องมือ Marketing Automation ต่างๆ ทั้งระบบ POS, ระบบ CDP, ระบบ CRM ที่กลายเป็นองค์ประกอบสำคัญที่นักการตลาดขาดไม่ได้ในยุคนี้

      Connect X จึงขอมาเจาะลึกถึงความเป็นมาของระบบ CRM หนึ่งในเครื่องมือสุดสำคัญของการตลาดยุคดิจิทัล

       

      ยุคการตลาดก่อน CRM

      หากจะพูดถึงระบบ CRM หรือ Customer Relationship Management ก็ต้องย้อนกลับไปในยุคแรกๆ ของการตลาดหรือก็คือในช่วง “Product Era” ในช่วงปี 1860s – 1920s ที่ธุรกิจต่างๆ เน้นการผลิตสินค้าจำนวนมากในต้นทุนต่ำและอาศัยการนำเสนอถึงคุณภาพและประสิทธิภาพของสินค้าเท่านั้น รวมถึงยังมีแนวคิดที่ว่า “หากผลิตได้ ก็ต้องมีคนซื้อ” ซึ่งอาจจะใช้ไม่ได้ผลนักในปัจจุบัน

      ต่อมาในช่วงปี 1920s-1940s เป็นยุคแห่ง “Sales Era” ที่ทุกคนจะโฟกัสไปที่การ “ขาย” ผ่านการทำโปรโมชันแบบหนักหน่วง ซึ่งทำให้สินค้าที่ไม่ค่อยได้ถูกเสาะหามากอย่าง เช่น ประกันชีวิตได้นำมาขาย หลายคนอาจคุ้นเคยกับเซลล์แมนที่จะไปขายของตามบ้านหรือที่เรียกว่า Hard Sell กันนั้นเอง

      เนื่องจากการ Hard Sell ไม่ได้เป็นแนวทางการตลาดที่ยั่งยืนมากนัก จึงได้เกิด “Marketing Era” ในช่วงปี 1950s – 1990s ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ ที่ได้มีการโฆษณามากขึ้น มีการตลาดอย่างเป็นระบบมากขึ้น เช่น แนวคิด Marketing Mix อย่าง 4P (Product, Promotion, Price, Place) ก็ได้เกิดขึ้นมาในยุคนี้เช่นกัน โดยจะโฟกัสไปที่การผลิตสินค้าและบริการที่ตรงความต้องการของลูกค้ามากขึ้น

      จุดเริ่มต้นของระบบ CRM

      แนวคิด CRM ได้ถือกำเนิดขึ้นช่วงปี 1990s หรือ “Relationship Marketing Era”  ซึ่งการตลาดนั้นจะเน้นการสร้างและรักษาความสัมพันธ์ระยะยาว ระหว่างแบรนด์และลูกค้า โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้าง Brand Loyalty ให้ลูกค้ากลับมาซื้อสินค้าหรือบริการอีกครั้งและไม่เปลี่ยนใจไปหาแบรนด์คู่แข่ง จึงส่งผลให้ Customer Relationship Management หรือการบริการความสัมพันธ์ลูกค้าเกิดขึ้นมานั่นเอง

      ตั้งแต่ตอนนั้นจนปัจจุบัน ด้วยการพัฒนาของเทคโนโลยีระบบ CRM จึงได้เกิดขึ้นมาเพื่อช่วยบริหารความสัมพันธ์และปฏิสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับลูกค้าหรือบุคคลที่มีศักยภาพที่จะกลายเป็นลูกค้า ให้ทำได้ง่ายและเป็นระเบียบมากกว่าเดิมนั่นเอง

      ประโยชน์ของระบบ CRM

      ระบบ CRM เป็นทางออกของปัญหาต่างๆ ทั้งในด้านการขายสินค้าและปัญหาที่ลูกค้ามักจะพบเจอบ่อยๆ เพราะสามารถช่วยจัดเก็บข้อมูลของลูกค้าจาก Point of Sales ได้อย่างเป็นระเบียบ ง่ายต่อการนำมาวิเคราะห์ ช่วยปรับปรุงการขายผ่าน Sales Funnel ได้ ติดตามการขาย จึงแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ในทันที

      นอกจากนี้ นักการตลาดยังสามารถนำข้อมูลที่ได้มาศึกษา ปรับเปลี่ยนกลวิธีการตลาด  ปรับปรุงแคมเปญและโปรโมชัน ช่วยให้แบรนด์เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในอนาคต ทั้งยังมีส่วนช่วยในการตัดสินใจได้ว่าจะลงทุนเท่าไหร่ต่อการรักษาฐานลูกค้าเดิม หรือสร้างฐานลูกค้าใหม่

      สิ่งที่ควรคำนึงในการทำ Customer Relationship Management

      ปฏิเสธไม่ได้ว่าในปัจจุบันนี้ระบบ CRM นั้นมีฟีเจอร์มากมายเข้ามาอำนวยความสะดวกให้กับธุรกิจ แต่ก็ยังคงมีปัญหาต่างๆ ที่อาจตามมาได้ ยกตัวอย่างเช่น

      • การจัดการข้อมูลมีความ “Silo” หรือแยกตามทีม ตามภาคส่วน และกระจัดกระจายไปตามแต่ละช่องทาง ส่งผลให้นักการตลาด เซลล์ขายของ และเจ้าของธุรกิจขาดความเข้าใจหรือเข้าใจผิดเกี่ยวกับ Customer Journey
      • แบรนด์ต้องเชื่อมโยงข้อมูลที่ได้จาก CRM เข้าด้วยกัน ทั้ง Online และ Offline เพื่อให้เข้าใจ Touch Point ของลูกค้าอย่างแท้จริงหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเป็นการมองแบบ Single View นั่นเอง

      ทั้งนี้เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงและลดโอกาสที่ปัญหาจะเกิดขึ้นระหว่าง Customer Journey ซึ่งจะทำให้ประสบการณ์การซื้อขายไม่เป็นไปอย่างที่คิด

       

      ข้อแนะนำในการพัฒนา CRM ให้มีประสิทธิภาพ

      การพัฒนา CRM ให้ดีขึ้นนั้นสามารถทำได้หลากหลายด้าน Connect X จึงขอมาแนะนำ 3 ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยพัฒนา CRM ให้ดีกว่าเดิม

      1. ปรับปรุงทุก Touch Point มอบประสบการณ์ที่ดีตั้งแต่ต้นจนจบ

      ปัญหาการทำงานแบบ Silo ที่ได้กล่าวไปข้างต้นนั้นสามารถแก้ไขได้ด้วยการวิเคราะห์​ Customer Journey และระบุ Touchpoint ที่สำคัญออกมา โดยเริ่มจากการใส่ข้อมูล ในแต่ละขั้นตอนที่ลูกค้ามี Interaction กับแบรนด์ เป็นการตอบคำถามดังต่อไปนี้

      • ลูกค้ากำลังคาดหวังอะไร?
      • ลูกค้าคิดอะไรอยู่หรือมีคำถามอะไรต่อสินค้า/บริการหรือไม่?
      • ลูกค้ารู้สึกอย่างไรในขณะนั้น?
      • ลูกค้ากำลังมีปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์ผ่านช่องทางไหนบ้าง?

      2. รับฟัง Feedback จากลูกค้าและนำมาพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

      เสียงและคำตอบรับของลูกค้าถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากที่จะส่งผลต่อการพัฒนาของแบรนด์ในอนาคต ซึ่งแบรนด์สามารถนำ Feedback จากลูกค้ามาวิเคราะห์ สร้างประสบการณ์ที่ตรงใจกลุ่มเป้าหมายได้ ไม่ว่าจะเป็นคำตอบรับแบบ

      • Feedback ทางตรง – จาก Survey/Poll, คำติชม หรือวิจัยการตลาด
      • Feedback ทางอ้อม – คอมเมนต์บนโซเชียลมีเดีย, อีเมลที่ลูกค้าส่งถึงแบรนด์, การสนทนาจากทีม Call Center
      • Feedback แบบ Inferred – เว็บไซต์, หน้าร้านค้า หรือ Contact Center

      โดยแบรนด์ควรนำคำตอบรับทั้งหมดจากทุกช่องทางมาวิเคราะห์ร่วมกัน และทำการอัปเดตแบบเรียลไทม์ และมอบหมายให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้แก้ปัญหาอย่างรวดเร็วกว่าเดิม

      3. สร้างประสบการณ์แบบ Personalized ให้แต่ละบุคคล

      การมีระบบ CRM ที่ดี จะสามารถส่งมอบประสบการณ์ที่ดีให้เหมาะสมกับลูกค้ารายบุคคลได้ ขึ้นอยู่กับการเก็บข้อมูลที่มีคุณภาพ เพื่อนำมาวิเคราะห์และเข้าใจความต้องการของลูกค้าแต่ละคน ซึ่ง ระบบ CRM ในปัจจุบันก็มักจะทำงานควบคู่กับ CDP (Customer Data Platform) เพื่อการตลาดที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยที่ธุรกิจไม่จำเป็นต้อง Integrate หลายๆ ระบบเข้าด้วยกันให้ซับซ้อน

      อย่าง Connect X ที่เป็น CDP พร้อมด้วย Marketing Automation และระบบ CRM ครอบคลุมการตลาดออนไลน์ในทุกด้าน สามารถรวบรวมและวิเคราะห์ Customer Insight ได้แบบ 360° เปลี่ยนจาก Unknown Customer เป็น Known Customer ได้ง่ายๆ มีระบบ Customer Journey แบบ Cross Channel หากส่งข้อความโปรโมชันหรือแคมเปญแล้วไม่มีการตอบรับ ระบบจะส่งผ่านไปยังช่องทางอื่นๆ ให้อัตโนมัติ สร้าง Brand Awareness, Conversion และรักษาความสัมพันธ์ระยะยาวได้ย่างแน่นอน

      บทความอื่นๆที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ระบบ CRM (Customer Relationship Management)

      เริ่มต้นประสบการณ์ดีๆ ให้กับลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

      สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

      เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

      Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

      CRM (Customer Relationship Management) กับ CDP แตกต่างกันอย่างไร?

      มาทราบถึงความแตกต่างของ CRM (Customer Relationship Management) และ CDP (Customer Data Platform)

      การทำ Digital Marketing (การตลาดดิจิทัล) เป็นสิ่งสำคัญที่มองข้ามไม่ได้สำหรับธุรกิจหรือแบรนด์ต่างๆ ในยุคปัจจุบันที่ต้องการเข้าหาลูกค้าอย่างทั่วถึง ประสิทธิภาพของการทำ Marketing จะเพิ่มมากขึ้นหากสามารถนำ ‘ข้อมูล’ มาใช้ได้ครับ จึงเป็นสาเหตุให้นักการตลาดเริ่มหันมาใช้ระบบต่างๆ ในการบริหารความสัมพันธ์และจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ของลูกค้า

      หลายคนอาจสับสนระหว่างระบบเหล่านี้ว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร และระบบทั้งสองจำเป็นจะต้องทำงานร่วมกันรึเปล่า ดังนั้นวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับระบบ CRM (Customer Relationship Management) และ CDP (Customer Data Platform) กันครับ

      CRM คืออะไร? 

      CRM หรือ Customer Relationship Management สามารถเรียกเป็นภาษาไทยได้ว่า ‘การบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า’ นิยามได้ว่าเป็นการบริหารความสัมพันธ์และปฏิสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับลูกค้าหรือบุคคลที่มีศักยภาพที่จะกลายเป็นลูกค้านั่นเองครับ เพราะไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ไหนๆ ก็ต้องการลูกค้าเพิ่มมากขึ้นและ Customer Loyalty ที่มากขึ้น

      ในปัจจุบันนี้ ด้วยเทคโนโลยีต่างๆ  ระบบ CRM (Customer Relationship Management) ก็คือโซลูชั่นที่เกิดมาเพื่อช่วยจัดการปัญหางานขายและปัญหาลูกค้าที่มักเกิดขึ้นบ่อยๆ ในธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการเก็บข้อมูลลูกค้าอย่างเป็นระบบ การปรับปรุงกระบวนการขายผ่าน Sales Funnel ที่ถูกออกแบบมาเพื่อการติดตามงานขาย และดูแลเคสปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งโดยปกติแล้ว CRM จะเป็นกระบวนที่เกิดขึ้นหลังการหลังจากการทำการตลาดครับ

      CDP คืออะไร?

      CDP มีชื่อเต็มๆ ว่า Customer Data Platform เป็นแพลตฟอร์มสำหรับจัดการข้อมูลลูกค้าในระบบต่างๆ และจากทุกแหล่งในองค์กรเข้าด้วยกัน ถือเป็นฐานลับของแบรนด์ก็ว่าได้ครับ เพราะนอกจากการเก็บข้อมูลแล้ว ยังสามารถวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกหรือ Customer Insight เพื่อให้นักการตลาดนำมาทำ Personalized Marketing ได้อย่างแม่นยำครับ ซึ่งระบบ CDP ในปัจจุบันจะมีความสามารถ ดังนี้

      • CDP สามารถรวมกับระบบ API ต่างๆ ได้ เช่น POS หรือ ERP
      • CDP เก็บข้อมูลในแหล่งเดียวได้ ทำให้วิเคราะห์ได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น
      • CDP สามารถเปิดเผยลักษณะของลูกค้าเพื่อใช้ทำการตลาดแบบ Personalized Marketing
      • CDP เก็บข้อมูลที่เป็นบริบท ประวัติย้อนหลัง และข้อมูลทั่วไปของลูกค้า แยกเป็นสัดส่วนได้แบบชัดเจน

      CRM vs. CDP ทั้งสองต่างกันอย่างไร? 

      ในขณะที่ CDP จะเก็บข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้าทุกคนจากหลายๆ แหล่งที่ลูกค้าเข้ามาเยี่ยมชมสินค้าและบริการของแบรนด์ ไม่ว่าจะผ่านโซเชียลมีเดีย, เว็บไซต์, POS, หรือ E-Commerce ไว้ในที่เดียวกัน ส่วนระบบ CRM (Customer Relationship Management) จะเก็บข้อมูลของลูกค้าจาก Point of Sale หรือจากจุดที่ลูกค้าได้มีการติดต่อ ซื้อขายสินค้าและบริการกับพนักงานของแบรนด์

      CRM จะบอกได้ถึงประวัติการซื้อขายและการติดต่อกับทีม Sale ส่วน CDP นั้นจะเก็บข้อมูลตั้งแต่เมื่อลูกค้าคลิกเข้ามาดูสินค้า ว่ามาจากช่องทางไหน เห็นสินค้าจากโฆษณาอะไร ลูกค้าคลิกเข้ามาดูสินค้ารึเปล่า ทำให้เกิดข้อมูลเชิงลึกมากกว่าครับ

      การทำงานควบคู่ไปด้วยกัน

      ปัจจุบันนี้แพลตฟอร์ม CDP มักมาพร้อมกับระบบ CRM ในตัว ทำให้นักการตลาดไม่ต้องสับสนกับการ Integrate หลายๆ ระบบเข้าด้วยกัน สามารถทำ Marketing ได้จากระบบเดียวอย่างสะดวก ซึ่ง ConnectX เป็นหนึ่ง Marketing Platform ที่มีระบบ Customer Relationship Management ในตัวพร้อมกับฟีเจอร์ทันสมัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การ Create Lead จากช่องทางต่างๆ, Sales Path ที่ทำให้พนักงานจัดการกับ Status ลูกค้าได้ง่ายขึ้น สามารถรองรับ Loyalty Program ได้ด้วยฟีเจอร์ต่างๆ รวมไปถึงการทำ Real-Time Marketing Automation อีกด้วย ครับ

      บทความอื่นๆที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ระบบ CRM (Customer Relationship Management)

      สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

      เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

      Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

        Yearly Budget

        How do you know us?

        ธุรกิจระวังไว้ จะเก็บข้อมูลลูกค้ายังไงไม่ให้ละเมิด PDPA

        ธุรกิจต้องเก็บรวบรวมข้อมูลลูกค้าอย่างรอบคอบไม่ให้ผิดกฎ PDPA เพื่อหลีกเลี่ยงการฟ้องร้องและภาพลักษณ์ที่เสียหาย แล้วต้องคำนึงเรื่องอะไรบ้าง? มาดูกันเลย

        ทุกคนล้วนต้องการความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว แต่ในยุคโลกออนไลน์ที่ธุรกิจและนักการตลาดสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้ง่ายๆ ก็อาจสร้างความกังวลให้ใครหลายๆ คน ซึ่งการบังคับใช้ของ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือ กฎหมาย PDPA เมื่อ 1 มิ.ย. 2565 ที่ผ่านมาช่วยรักษาความปลอดภัยแก่ข้อมูลส่วนบุคคลได้ดี

        สำหรับเจ้าของแบรนด์หรือธุรกิจแล้ว “การเก็บข้อมูลรักษา PDPA” ไม่ให้ตัวเองละเมิดกฎนั่นเป็นสิ่งที่ต้องคำนึกไว้เสมอ เพื่อไม่ให้เกิดภาพลักษณ์ที่เสียหายต่อแบรนด์หรือมีการฟ้องร้องนั่นเอง

        แล้วธุรกิจต้องคำนึงเรื่องอะไรบ้าง? มาหาคำตอบกันในบทความนี้ไปพร้อมกับ Connect X เลย!

        หน้าที่ของธุรกิจในการเก็บข้อมูลลูกค้า

        อย่างที่ทราบกันดี PDPA คือกฎหมายที่ถูกร่างมาเพื่อให้ความปลอดภัยต่อเจ้าของข้อมูล ป้องกันไม่ให้ผู้ประสงค์ร้ายนำข้อมูลไปใช้ในทางที่ผิดกฎหมายหรือใช้ข่มขู่เพื่อหวังผลประโยชน์ สำหรับแบรนด์ในฐานะ “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller)” มีหน้าที่อันแสนสำคัญต่อลูกค้า (เจ้าของข้อมูล) ตามกฎหมาย PDPA ในการรับผิดชอบข้อมูลต่างๆ ที่ได้มา ไม่ว่าจะเป็น

        • ระบุวัตถุประสงค์ในการเก็บข้อมูลให้ชัดเจนและครบถ้วน
        • ในกรณีที่ต้องขอความยินยอม ธุรกิจต้องมอบอิสระแก่เจ้าของข้อมูลในการเลือกให้ความยินยอม
        • ธุรกิจควรเก็บข้อมูลเท่าที่จำเป็นตามวัตถุประสงค์ และลบข้อมูลทั้งหมดเมื่อถึงกำหนดระยะเวลาที่ได้แจ้งเอาไว้
        • แจ้งเจ้าของข้อมูลให้ทราบถึงสถานที่ติดต่อและผู้ดูแลหรือผู้ประสานงานข้อมูล
        • ต้องเก็บของมูลจากเจ้าของเท่านั้น (1st Party Data) ไม่สามารถเก็บข้อมูลลูกค้าจากแหล่งอื่นๆ ได้ เช่น การซื้อข้อมูลจากที่อื่น  ในกรณีที่จำเป็นต้องใช้ข้อมูลจากแหล่งอื่น ก็ต้องแจ้งขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลโดยเร็วที่สุด หรือภายใน 30 วัน

        นอกจากความรับผิดชอบต่อข้อมูลเหล่านี้แล้ว ธุรกิจควรทำการกำหนดนโยบายในการเก็บข้อมูลอย่างชัดเจนที่สุด เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาหรือความเข้าใจผิดในภายหลังนั่นเอง ทั้งนี้ทุกฝ่ายในองค์กรหรือธุรกิจต้องรับรู้และเข้าใจตรงกัน

        สิ่งที่ธุรกิจต้องคำนึงถึง ก่อนเริ่มเก็บข้อมูลลูกค้า

        เมื่อทราบถึงหน้าที่ในด้านต่างๆ ที่ธุรกิจต้องปฏิบัติต่อเจ้าของข้อมูลแล้ว ยังมีอีกหลายสิ่งที่ต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วน เพื่อในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นไปอย่างราบรื่นและอยู่ภายใต้ PDPA โดยเริ่มจากบุคคลภายในองค์กรหรือบริษัท ดังนี้

        1. กำหนดมาตรฐานในการเก็บรักษาข้อมูล

        เมื่อข้อมูลสามารถเก็บรวบรวมได้จากหลายแหล่ง อาทิ การสมัครสมาชิกบนเว็บไซต์ ข้อมูลที่ลูกค้าให้ผ่านแชท หรือการกรอกแบบฟอร์ม ธุรกิจควรที่จะสร้างมาตรฐานในการเก็บและรักษาข้อมูลต่างๆ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพราะนอกจากจะเป็นการสร้างความปลอดภัยให้แก่เจ้าของข้อมูลแล้ว ยังทำให้ง่ายต่อการที่ธุรกิจจะต่อยอดกิจกรรมทางการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย โดยอาจทำผ่านระบบ CRM หรือระบบ CDP เป็นต้น

        2. ระบุข้อมูลที่จำเป็นต้องเก็บรวบรวม

        แต่ละฝ่ายในองค์กรต้องการข้อมูลที่แตกต่างไปเพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ฝ่ายการตลาด, ฝ่ายขาย ฝ่ายบัญชี หรือฝ่ายบริการลูกค้า ล้วนต้องการชุดข้อมูลที่ไม่ซ้ำกัน เจ้าของธุรกิจจึงควรให้แต่ละฝ่ายระบุข้อมูลที่จำเป็นต้องเก็บและระยะเวลาที่เก็บข้อมูลที่ชัดเจน ก่อนร่างนโยบายการเก็บรวบรวมข้อมูล

        3. จัดแยกประเภทของข้อมูล

        กฎหมาย PDPA นั้นครอบคลุมทั้งข้อมูลในรูปแบบออฟไลน์และออนไลน์ ดังนั้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการตรวจสอบ ธุรกิจควรจัดแบ่งประเภทของข้อมูลอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่จัดเก็บผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ข้อมูลที่จับต้องได้ (Hard Copy) จนกระทั่งรูปแบบข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป และข้อมูลส่วนบุคคลที่อ่อนไหว (Sensitive Personal Data) เพื่อสร้างความเป็นระเบียบ อีกทั้งทำให้มีหลักฐานพิสูจน์อำนาจในการจัดเก็บข้อมูลตามระยะเวลาที่กำหนดด้วย ซึ่งหากมีแพลตฟอร์มหรือซอฟต์แวร์ที่ช่วยจัดการข้อมูลที่เป็นไปตามกฎระเบียบของ PDPA จะช่วยธุรกิจได้อย่างมากเลยทีเดียว

        4. จัดตั้งเจ้าหน้าที่ Data Protection Officer

        เมื่อกฎหมาย PDPA ถูกบังคับใช้ เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูล หรือ Data Protection Officer (DPO) นั้นควรเป็นส่วนหนึ่งของทุกธุรกิจ โดยเป็นผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านกฎหมาย PDPA และ GDPR โดยเฉพาะ ซึ่งจะเป็นผู้ที่คอยให้คำปรึกษากับธุรกิจ คอยแนะนำหากบริษัทยังปฏิบัติไม่ถูกต้องตามระเบียบ และสามารถช่วยเหลือประสานงานกับหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องในกรณีที่ข้อมูลลูกค้าถูกล่วงละเมิด

        5. สร้าง Privacy Policy ให้สอดคล้อง PDPA

        เชื่อว่าหลายธุรกิจคงคุ้นเคยกับการร่างนโยบายความเป็นส่วนตัวหรือ Privacy Policy กันแล้ว แต่หากเป็นธุรกิจใหม่หรือยังไม่เคยร่างนโยบาย ก็ควรทำนโยบายให้ชัดเจนและสอดคล้องกับ PDPA ไม่ว่าจะเป็นการเก็บรักษาหรือการลบข้อมูลก็ตาม ยกตัวอย่างเช่น เมื่อลูกค้าไม่ได้ใช้บริการหรือยกเลิกสมาชิกแล้ว ก็ให้มีการกำจัดข้อมูลลูกค้าและข้อมูลการใช้บริการภายใน 3 ปี รวมไปถึงข้อมูลที่อ่อนไหวต่างๆ ทั้งนี้ระยะเวลาการจัดเก็บข้อมูลก็แตกต่างกันไป เจ้าของธุรกิจจึงควรศึกษาก่อนอย่างรอบคอบหรือปรึกษาเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลก่อนร่างนโยบายนั่นเอง

        จะเห็นได้ชัดเจนว่านโยบายการเก็บรักษาข้อมูลและ PDPA เป็นสิ่งสำคัญต่อความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าอย่างมาก เพียงธุรกิจทำความเข้าใจและปรับตัวให้เข้ากับกฎหมายได้ก็จะสามารถลดความเสี่ยงที่จะละเมิดข้อมูลของลูกค้าได้ ทั้งยังเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจแก่แบรนด์ในสายตาผู้บริโภคด้วย

        ส่วนเจ้าของธุรกิจท่านใดที่ต้องการตัวช่วยในการจัดระเบียบข้อมูลลูกค้าอย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งช่วยในด้านการตลาด ต้องไม่ลืมที่จะนึกถึง Connect X ซึ่งเป็นแพลตฟอร์ม CDP และ Marketing Automation อันทรงพลังที่จะช่วยยกระดับธุรกิจไปอีกขั้น

        สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

        เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

        Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย