Author Archives: connectx

ข้อดีของระบบ Customer Data Platform (CDP) ที่จะช่วยเพิ่มการทำไรมากยิ่งขึ้น

สวัสดีทุกๆคนที่กำลังอ่านบทความนี้ค่ะ เริ่มแรกเลยเรามาย้อนกันสักนิดแบบสั้นๆว่า CDP คืออะไรกันก่อนเลย

Customer Data Platform หรือ CDP เป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยเก็บรวบรวมข้อมูลลูกค้าให้มาอยู่ในที่ที่เดียว เป็นโซลูชันที่ใช้ซอฟต์แวร์ซึ่งมีหน้าที่หลักๆก็คือช่วยในการรวมข้อมูลประเภทต่างๆ เกี่ยวกับข้อมูลประชากร พฤติกรรม และการโต้ตอบกับธุรกิจของเราไม่ว่าลูกค้าจะสื่อสารมาจากช่องทางไหนตัว CDP ก็จะเก็บรวบรวมข้อมูลของลูกค้าไว้ได้ทั้งหมดถึงแม้ว่าจะเป็น Unknown customer ก็ตาม มากไปกว่านั้นตัว CDP ยังช่วยให้เราสามารถสร้างโปรไฟล์ลูกค้าของแต่ละคนเพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์เจาะลึกเพื่อนำไปทำ Personalized marketing ได้อีกด้วย

ต่อไปทางทีมงาน ConnectX จะพาไปดู 3 ข้อดีของระบบ CDP ที่จะช่วยให้เราสามารถทำกำไรได้มากยิ่งขึ้น

The benefits of using a Customer Data Platform CDP

1.สามารถรวบรวมจัดเก็บข้อมูลจากทุกแหล่งมาไว้ในที่ที่เดียว

อย่างที่ได้เกริ่นไปข้างต้นว่า CDP เป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยเก็บรวบรวมข้อมูลลูกค้าให้มาอยู่ในที่ที่เดียว เนื่องจาก Painpoint ในหลายๆครั้งที่ทาง ConnectX ของเราเจอก็คือ บริษัทต่างๆ มักประสบปัญหาในการรวมและใช้ข้อมูลทั้งหมดที่รวบรวมมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลที่อยู่บนโลกออนไลน์และลูกค้าได้มีการนำเข้าข้อมูลมาจากแหล่งต่างกัน นั่นจึงทำให้ข้อมูลที่จะนำเอามาใช้เกิดข้อผิดพลาดบ้าง มีการตกหล่นของข้อมูลบ้างเลยทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลไม่ได้ประสิทธิภาพ 100% ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์ทำแคมเปญหรือทำการตลาดก็อาจที่จะผิดเพี้ยนไปได้ ไม่ตรงจุดที่ลูกค้าต้องการ และมากไปกว่านั้นไม่ใช่แค่ช่องทางออนไลน์ที่ CDP สามารถเก็บข้อมูลได้ ตัว CDP สามารถที่จะต่อ API เข้ามาเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจาก Offline มาอยู่บน CDP ได้อีกด้วย

2.รายได้เพิ่มขึ้น

หลายคนอาจจะถามว่าใช้ CDP แล้วรายได้ของบริษัทจะเพิ่มขึ้นได้อย่างไร

ทางทีมงานขออธิบายว่า รายได้เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากความพึงพอใจของลูกค้าที่สูงขึ้นและการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่เที่ยงตรงมากยิ่งขึ้น การนำข้อมูลจากทุกแหล่งมาใช้และแม่นยำจึงทำให้องค์กรสามารถดูลูกค้าได้ถูกต้องและทั่วถึง ดังนั้นโอกาสในการทำการตลาดที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายก็จะทำให้การตลาดหรือแคปเปญที่เราส่งออกไปนั้นมีประสิทธิภาพทำให้เกิดการอยากซื้อ หรือ ใช้บริการ ส่งผลให้เกิดการจดจำแบรนด์ว่ารู้ใจเราและการมีส่วนร่วมของลูกค้าเพิ่มขึ้น

3.ช่วยประหยัดเวลามากขึ้นจากระบบ Marketing Automation

การใช้ระบบ Marketing automation ในตัว CDP นั้นสามารถช่วยให้นักการตลาดประหยัดเวลาได้มากยิ่งขึ้นและมีเวลาที่จะไปคิดหรือทำอย่างอื่นต่อ

เนื่องจากระบบ Marketing automation จะใช้เวลาในการตั้งค่ากระบวนการภายในไม่กี่นาทีเราก็สามารถที่จะส่งข้อความหรือแคมเปญด้านการตลาดไปหาลูกค้าหรือผู้บริโภคได้หลักหมื่นคน จากในภาพเราจะเห็นได้ว่ามีให้เลือกทั้ง Sms, E-mail, Facebook messenger และ Line OA ซึ่งนั่นหมายความว่าเราต้องการที่จะส่งข้อมูลหรือข้อความไปหาลูกค้าผ่านช่องทางไหน ในส่วนของ Flow Control หมายความว่า เราจะต้องกำหนดเงื่อนไขให้กับตัว Marketing automation ของเรายกตัวอย่างเช่น เราต้องการส่ง SMS ไปหาลูกค้า 200 คน และเราต้องการรอจนถึงเดือนหน้าค่อยส่ง Line OA ตามไปอีกครั้ง เราก็สามารถที่จะลากตัว Wait until เพื่อให้ระบบรอจนถึงเดือนหน้าและส่ง Line OA ไปในเดือนถัดไปได้นั่นเอง ทั้งหมดเราจะขอเรียกกระบวนการนี้ว่า Marketing automation journey 

ซึ่งถ้าเพื่อนๆคนไหนอยากอ่านบทความ Marketing Automation แบบเต็มสามารถตามไปได้ที่ลิงค์นี้เลยค่ะ https://connect-x.tech/marketing-automation-2/

สรุป

ในปัจจุบันมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วหมายความว่าองค์กรต่างๆต้องเผชิญกับการจัดระเบียบข้อมูลตามอัตราที่เพิ่มสูงขึ้นที่กำลังเข้ามาในขณะเดียวกันลูกค้าก็รู้ว่ามีการแข่งขันกันมากขึ้นกับสิ่งที่ลูกค้าสนใจอยู่ ดังนั้นลูกค้าจึงคาดหวังว่าบริษัทต่างๆจะรู้ใจตัวเองมากยิ่งขึ้นในการที่จะส่งแต่ละแคมเปญมาหาลูกค้า

ข้อมูลลูกค้าที่ถูกนำมาใช้อย่างถูกต้องจะกลายเป็นข้อได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างมากและข้อมูลทั้งหมดที่เราต้องการก็เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีขึ้นให้กับผู้บริโภคนั่นเอง

สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

แนะนำ 5 ระบบรวมแชท ธุรกิจที่อยากเพิ่มยอดขายไม่ควรพลาด

ระบบรวมแชท คือโปรแกรมที่รวบรวมแชทจากทุกช่องทางมาไว้ในแพลตฟอร์มเดียวกัน โดยพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถตอบโต้ลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ สะดวก และรวดเร็วกว่าการตอบแชทแบบเดิมๆ ไปทีละช่องทาง ซึ่งระบบรวมแชทดังกล่าวเป็นซอฟต์แวร์แชทสด คือ สามารถใช้งานได้แบบเรียลไทม์ (Real-Time) มีการประมวลผลและตอบกลับได้ในทันทีทันใด ไม่เสียโอกาสในการขาย

นอกจากนี้ ระบบแชทสดเหล่านี้ยังมีฟีเจอร์ต่างๆ ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพิ่มเติม เช่น ระบบแชทบอท การนำ AI เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์และประมวลผล และระบบ CRM ในการบริหารความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้า เป็นต้น ซึ่งฟีเจอร์เหล่านี้จะแตกต่างกันไปตามผู้ให้บริการหรือผู้พัฒนาซอฟต์แวร์

วันนี้ Connect X จึงรวบรวม 5 ระบบรวมแชทที่ธุรกิจในยุคนี้ไม่ควรพลาด มีซอฟต์แวร์ไหนน่าใช้บ้าง มาดูกันเลย

แนะนำ 5 ระบบรวมแชทที่เหล่าธุรกิจไม่ควรพลาด

1. Ultimate.ai

แพลตฟอร์มอัตโนมัติเจ้าใหญ่ที่มีระบบแชทบอทในตัวและยังสามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องเขียนโค้ด ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานสามารถเปลี่ยนคำขอช่วยเหลือและบริการในส่วนสำคัญต่างๆ ให้เป็นงานอัตโนมัติได้ถึง 70% ทำให้ Ultimate.ai เป็นแพลตฟอร์มที่มีความยืดหยุ่นสูง สามารถรองรับธุรกิจได้ทุกตลาดและยังรองรับได้ถึง 109 ภาษา

ฟีเจอร์ที่น่าสนใจของ Utimate.ai

  • ให้คำแนะนำในการตอบกลับสำหรับเจ้าหน้าที่
  • สามารถวิเคราะห์สถิติการบริการและรายงานผลการวิเคราะห์สถิติที่ได้รับการพัฒนา
  • เชื่อมโยงกับระบบ CRM ทำให้เห็นทุกการเคลื่อนไหวได้ในหน้าเดียว ไม่ว่าจะเป็นการจัดการคำสั่งซื้อและระบบบริหารภายในองค์กร
  • ตัวช่วยในการลำดับความสำคัญและส่งต่อให้เจ้าหน้าที่ด้วยการกำหนดเส้นทางแชทให้เหมาะสมได้
[/col]

2. Digital Genius

เป็นแพลตฟอร์มสำหรับช่วยเหลือระบบการงานและการบริการด้วยระบบอัตโนมัติ โดยใช้ AI จัดการกับกระบวนการซ้ำๆ หรือใช้ตอบคำถามซ้ำๆ ได้อย่างอัตโนมัติ เช่น การสอบถามสถานะคำสั่งซื้อ การยกเลิก การขอเงินคืน เป็นต้น นอกจากนี้ธุรกิจยังสามารถกรอกแท็กต่างๆ เพื่อจัดประเภทลูกค้าได้อีกด้วย

ฟีเจอร์ที่น่าสนใจของ Digital Genius

  • งานอัตโนมัติที่ขับเคลื่อนด้วย AI เป็นหลัก พร้อมสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า และแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว
  • ใช้งานร่วมกันกับระบบ CMS, OMS เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลจากทุกที่เข้าหากันได้ภายในคลิกเดียว
  • การรายงานและการวิเคราะห์สถิติที่ได้รับการพัฒนา
  • มีการออกแบบที่ใช้งานง่าย สามารถปรับแต่ง Workflow ได้ตามประเภทของธุรกิจ

Image Credit By: https://digitalgenius.com

3. Cognigy

Cognigy.AI เป็นแพลตฟอร์มที่ผสานการทำงานกับ AI ขั้นสูง โดยมีความสามารถในการสร้างแชทบอทในรูปแบบข้อความ (Text) และเสียง (Voice) ได้ เพื่อยกระดับประสบการณ์การให้บริการลูกค้า ซึ่งสามารถใช้บริการในทุกอุตสาหกรรมและทุกระดับ สามารถปรับแต่งได้เพราะเป็น Low-Code Platform นอกจากนี้ยังรองรับการสนทนาในทุกช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นบนเว็บไซต์ โทรศัพท์ ข้อความ SMS และแอปสำหรับอุปกรณ์พกพา

ฟีเจอร์ที่น่าสนใจ

  •  ให้บริการสร้างบทสนทนาอัตโนมัติทั้งรูปแบบข้อความและเสียงในภาษาต่างๆ กว่า 100 ภาษาได้ในช่องทางการแชทที่หลากหลาย
  • งานอัตโนมัติที่ขับเคลื่อนด้วย AI ขั้นสูง สามารถพัฒนาความสามารถของ AI ให้ทำงานรวดเร็วและแม่นยำมากขึ้นได้
  • สามารถมอนิเตอร์ความเปลี่ยนแปลงได้อย่างเรียลไทม์ บน Dashboard KPI
  • การรายงานและการวิเคราะห์สถิติที่ได้รับการพัฒนา และเก็บข้อมูลด้วยความปลอดภัยขั้นสูง
  • การทำงานร่วมกันกับระบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ระบบ CRM, ระบบ ERP  หรือระบบ RPA

Image Credit By: https://www.cognigy.com

4. Zowie For Chat 

เป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มหรือระบบแชทบอทที่ขับเคลื่อนด้วย AI ที่สามารถช่วยจัดการปริมาณงานที่เกี่ยวข้องกับการบริการให้เป็นแบบอัตโนมัติ โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลจากประวัติการแชท และออกแบบกลยุทธ์งานอัตโนมัติโดยผู้เชี่ยวชาญร่วมกับความต้องการของแต่ละธุรกิจ เพื่อให้มีรูปแบบออกมาเหมาะสมที่สุด Zowie สามารถรองรับภาษาต่างๆ ได้ถึง 56 ภาษา และรองรับแชทบอทในแชทของเว็บไซต์ แชทในอุปกรณ์พกพา โซเชียลมีเดีย และแอปส่งข้อความต่างๆ

ฟีเจอร์ที่น่าสนใจ

  • การกำหนดเส้นทางแชทให้เหมาะสมกับการจัดการงาน
  • แชทบอทด้วยระบบ AI ที่สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง จนเพิ่มประสิทธิภาพได้อย่างไร้ขีดจำกัด
  • การตอบกลับที่เตรียมไว้ล่วงหน้า และให้คำแนะนำในการตอบคำถามได้
  • Automation ที่ช่วยจัดการปัญหาได้มากถึง 30% ต่อวัน
  • การรายงานและการวิเคราะห์สถิติ

Image credit by https://getzowie.com

5. Connect X ระบบรวม Social Chat

ตอบกลับทุก Platform ยอดฮิต ได้ในหน้าจอเดียว สามารถเก็บข้อมูลของลูกค้าและสามารถติดตามได้ว่าลูกค้าทักมาจากช่องทางใด เคยติดต่อจากแพลตฟอร์มไหน มีความสนใจสินค้าอะไร เปลี่ยนจาก Unknown Customer เป็น Known Customer ทำให้แอดมินตอบได้อย่างรู้ใจลูกค้ามากขึ้น อีกทั้งยังมีระบบ CRM และ Loyalty Program เพื่อรักษาความสัมพันธ์ ส่งโปรโมชันถูกใจลูกค้าได้ทันทีด้วย Marketing Automation ช่วยให้ปิดการขายและสร้างความประทับใจได้มากกว่าแพลตฟอร์มไหนๆ

ฟีเจอร์ที่น่าสนใจ

  • รองรับระบบแชทสดยอดนิยมของชาวไทย ไม่ว่าจะเป็น Facebook Messenger, LINE OA, Instagram, Website (Live Chat) และ Pantip (Social Listening)
  • ระบบการจัดการแบบ Ticket Management ให้ทุกข้อความส่งไปหาแอดมินที่ได้จัดแบ่งหน้าที่เอาไว้ และสามารถประเมินศักยภาพของแอดมินแต่ละคนได้อีกด้วย
  • ทำงานร่วมกับ CRM และ CDP เพิ่มประสิทธิภาพในการวิเคราะห์และติดตามลูกค้า เพื่อเห็นทุกความเคลื่อนไหวจากทุกช่องทาง และต่อยอดกิจกรรมทางการตลาดได้
  • ระบบการจับ Keyword ในกระทู้ Pantip เพื่อสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์ในสังคมออนไลน์ สามารถให้แอดมินตอบกลับได้ทันที ทุกครั้งที่มีลูกค้าพูดถึงแบรนด์

จะเห็นได้ว่าระบบรวมแชทที่ Connect X ได้คัดสรรมาให้นั้น มีประโยชน์ต่อธุรกิจหลากหลายรูปแบบ ซึ่งสามารถช่วยแก้ไขปัญหาที่พบเจอในปัจจุบันอย่างการตอบสนองลูกค้าให้ทันในทุกช่องทางได้อย่างง่ายดาย โดยจะช่วยสร้างความประทับใจให้ลูกค้า และยังช่วยในด้านการบริหารจัดการภายในได้ดีอีกด้วย นอกจากนี้ยังสามารถนำไปต่อยอดเพื่อพัฒนากิจกรรมทางการตลาดต่างๆ ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญไปสู่ความสำเร็จของธุรกิจได้อย่างง่ายดาย หากคุณกำลังมองหา ระบบรวมแชท ที่ตอบโจทย์กับธุรกิจของคุณอยู่ แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร Connect X เรามีบริการแนะนำให้ฟรี

[/row]

สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

    Yearly Budget

    How do you know us?

    ทำความรู้จัก Loyalty Program การสานสัมพันธ์ลูกค้าที่แบรนด์ยุคนี้ต้องมี

    ปัจจุบันแบรนด์สินค้าและธุรกิจต่างก็แข่งขันกันเพื่อเข้าหาลูกค้าอย่างดุเดือดมากขึ้นทุกปี นักการตลาดยุคใหม่จึงต้องหาวิธีในการเพิ่มยอดขาย ขยายธุรกิจ และรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้า ซึ่งหนึ่งในกลยุทธ์ที่หลายแบรนด์ชอบใช้ก็คือ Loyalty Program นั่นเองครับ

    บทความนี้ Connect X จะมาแนะนำ Loyalty Program ให้ทุกคนได้ทำความเข้าใจกันแบบง่ายๆ ครับ

    Loyalty Program คืออะไร

    Loyalty Program คือ โปรแกรมที่จะช่วยรักษาความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์และลูกค้า หากแปลเป็นไทยก็คือ ‘โปรแกรมความภักดี’ จุดเด่นของโปรแกรมนี้อยู่ที่การทำให้ลูกค้ารู้สึกเหมือนเป็นคนพิเศษกว่าลูกค้าทั่วไป ส่งผลให้เกิด Customer Retention หรือการกลับมาซื้อซ้ำไม่เปลี่ยนใจไปหาแบรนด์อื่น และสร้าง Customer Loyalty ได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย ท้ายที่สุดจะทำให้ธุรกิจเติบโตในระยะยาวนั่นเองครับ

    Loyalty Program เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า หรือที่เรารู้จักกันว่า ระบบ CRM (Customer Relationship Management) ซึ่ง Loyalty Program ที่เราเห็นได้กันบ่อยๆ ก็คือ ระบบสมาชิก บัตรสะสมแต้ม Cashback หรือกิจกรรมอื่นๆ ที่กระตุ้นให้ลูกค้ากลับมาซื้อสินค้าและใช้บริการซ้ำ

    นอกจากนี้ยังมีสถิติที่น่าสนใจ อย่างเช่น บริษัทที่มีกลยุทธ์ Loyalty Program ที่ดีจะสามารถสร้าง Revenue ได้เร็วกว่าคู่แข่งมากถึง 2.5 เท่า (อ้างอิง)

    Loyalty Program ทำงานยังไง

    อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า Loyalty Program นั้นเป็นส่วนหนึ่งของ CRM ดังนั้นขั้นในการเริ่มต้นทำโปรแกรมความภักดี ได้แก่

    1. รวบรวมข้อมูลลูกค้า (Customer’s Database) ธุรกิจอาจเริ่มจากการชักชวนให้ลูกค้าสมัครเข้ามาเป็นสมาชิก เพื่อลงทะเบียนข้อมูลอย่างเช่น ชื่อ นามสกุล เพศ วันเกิด ข้อมูลติดต่อเช่น ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ หรือ E-mail และสามารถเสนอของตอบแทนเล็กๆ น้อยๆ เป็นการแลกเปลี่ยนขอข้อมูลเหล่านั้น
    2. แบ่งกลุ่มลูกค้า (Segmentation) เราก็จะสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาจัดเป็นกลุ่มลูกค้าแต่ละกลุ่มได้หลากหลายรูปแบบ เพื่อสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมกับสร้างโปรโมชันตอบโจทย์ความต้องการที่ต่างกันของลูกค้าแต่ละกลุ่ม
    3. มีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า (Interaction) เมื่อแบ่งกลุ่มและมีข้อมูลลูกค้าครบถ้วนแล้ว แบรนด์จะสามารถทำ Personalized Marketing, Remarketing รวมไปถึงการทำการตลาดและมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าได้อย่างแม่นยำครับ

    Loyalty Program ส่งผลดีต่อธุรกิจอย่างไร

    จะเห็นได้ว่า Loyalty Program นั้นจะใช้ประโยชน์จากข้อมูลของลูกค้า ซึ่งก็แน่นอนว่าจะให้ประโยชน์ต่อธุรกิจอย่างแน่นอน ดังนี้

    • สามารถดูแล จัดกลุ่มลูกค้าได้อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ Loyalty Program จะประมวลผลข้อมูลจากระบบฐานข้อมูลลูกค้า ทำให้เข้าใจถึงความแตกต่างของลูกค้าแต่ละกลุ่มได้ ช่วยให้คุณสามารถวางแผนการตลาดหรือสร้างแคมเปญการตลาดที่จะเหมาะสมสำหรับลูกค้าแต่ละกลุ่มได้
    • ลูกค้ากลับมาใช้บริการอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นระบบสะสมคะแนนหรือสมาชิกที่มอบส่วนลดและสิทธิพิเศษ ก็จะทำให้ลูกค้าติดใจ ยิ่งหากมี Loyalty Program ที่มีประสิทธิภาพ ก็จะทำให้ลูกค้าไม่หันไปใช้บริการแบรนด์อื่นๆ
    • นำไปสู่ Brand Loyalty ที่เรียกได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญต่อการพัฒนาแบรนด์ในอนาคตอย่างมาก เพราะลูกค้าจะมีทัศนคติที่ดีต่อแบรนด์ มีความยินดีที่จะพูดคุยเกี่ยวกับแบรนด์ที่ตนชอบ รวมถึงการออกตัวปกป้องแบรนด์ที่เขารักเมื่อมีข่าวเสียหายเกิดขึ้นด้วย

    ตัวอย่าง Loyalty Program

    หากผู้ถึงแต่ทฤษฎีเพียงอย่างเดียวก็อาจจะไม่เห็นภาพใช่ไหมครับ ถ้าอย่างนั้นเรามาดูตัวอย่าง Loyalty Program ของแบรนด์ในไทยที่แสนจะใกล้ตัวกันเลย

    • All Member (7-Eleven) เซเว่นคงเป็นร้านสะดวกซื้อที่ทุกคนต้องเข้าไปกันแทบทุกวัน ที่มีระบบสมาชิกอย่าง All Member ที่ลูกค้าต้องสมัครหากต้องการสิทธิพิเศษต่างๆ อย่างเช่น ส่วนลดของสินค้าในร้าน หรือสะสมคะแนนที่สามารถใช้แทนเงินสดได้ ซึ่งข้อมูลของลูกค้าที่แบรนด์ได้เก็บรวบรวมมา ก็สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในอนาคตทางการตลาดได้อีก
    • Starbucks Rewards (Starbucks) ใครที่เป็นชาวสตาร์บัคส์คงจะไม่พลาด Starbucks Rewards อย่างแน่นอน ที่จะใช้ระบบสะสมแต้มจำนวน ‘ดาว’ จากการซื้อแต่ละครั้ง และแบ่ง Tier ลูกค้าออกเป็น 3 ระดับ (Welcome, Green, Gold level) ซึ่งทั้งสามระดับก็ได้รับสิทธิพิเศษที่แตกต่างกัน ยิ่งระดับสูง สิทธิพิเศษที่จะได้รับก็ยิ่งดีมากขึ้นครับ เป็นการกระตุ้นให้ลูกค้ากลับมาซื้อสินค้าอยู่เรื่อยๆ เพื่อเป็นการอัป Tier ของตัวเองนั่นเอง

    นอกจากตัวอย่างข้างต้น ก็ยังมีธุรกิจต่างๆ มากมายที่มี Loyalty Program อันน่าดึงดูดใจ แล้วท่านมีส่วนร่วมกับโปรแกรมของแบรนด์ไหนอยู่บ้างหรือเปล่า?

    Connect X กับ Loyalty Connect

    Connect X ที่เป็น CDP สำหรับธุรกิจยุค Digital ที่มาพร้อมกับ Loyalty Connect มีฟีเจอร์ต่างๆ มากมายที่รองรับการทำ Loyalty Program  ไม่ว่าจะเป็น

    • ระบบเก็บ Point ที่สามารถช่วยจัดการ Point และถ้าทางลูกค้ามีระบบสะสมคะแนนอยู่แล้ว ก็สามารถนำมาเชื่อมต่อกับ Connect X ได้โดยง่าย
    • Tier ที่จะจัดลำดับลูกค้าตามจำนวน Point ที่มี สามารถแบ่งได้เป็น Bronze, Silver, Diamond และยังสามารถส่งแคมเปญให้กับกลุ่มลูกค้าที่เป็น Potential Customer ได้อีกด้วย
    • สามารถเซ็ต Point ในระบบ Connect X ได้ทั้งรูปแบบการเก็บ Point และการแลก Pointไ
      • Point Earn เช่น ลูกค้าซื้อสินค้ามูลค่า รวม 2,000 บาท ได้ 20 Point, จับฉลากได้ 100 Point 
      • Point Burn เซต Rewards เวลาลูกค้าแลกสิทธิ์ เช่น 1,000 Point แลก Gift Card หรือ 500 Point แลก Discount Coupon
    • API Connect สามารถเชื่อมต่อระบบการแลก Point ได้ในหลายระบบเช่น POS, Website และ Application
    • Marketing Automation เมื่อลูกค้ามีการใช้ Point ข้อมูล จะถูกส่งมาที่ระบบ Connect X เพื่อทำ Marketing Automation ต่อได้ทันทีหรือจะส่ง ข้อความแจ้งเตือนให้ลูกค้ากลับมาซื้อภายหลังก็ทำได้เช่นกัน
    • Point หมดอายุ ทางแบรนด์สามารถกำหนดวันหมดอายุของ Point ของลูกค้าได้จากในระบบ Connect X ได้โดยตรง  และสามารถเซ็ต Marketing Automation ให้แจ้งเตือนหาลูกค้าได้เมื่อใกล้ถึงวันหมดอายุเพื่อส่งแคมเปญให้มาแลกหรือซื้อของ หรือ ส่งข้อความแจ้งเตือนลูกค้าให้กลับมาซื้อซ้ำ เช่น ส่ง SMS แจ้งเตือนให้ลูกค้าที่มี Point จำนวน 900 ขึ้นไปให้มาช้อปให้ครบ 1,000 Point เพื่อแลกแต้มเป็น Gift Card
    • Gift Management เมื่อแบรนด์มีแคมเปญแลกของสามารถเซ็ตของรางวัลและจำนวน Point ที่ลูกค้าต้องใช้แลกใน Connect X ได้เลย

    Loyalty Program นั้นมีความสำคัญมากต่อการตลาดในยุคดิจิทัลนี้ เพื่อเป็นการรักษาฐานลูกค้าเดิมให้อยู่กับแบรนด์ไปนานๆ รวมถึงดึงดูดให้ลูกค้าใหม่เข้ามาเป็น Loyalty Customer ส่งเสริมการเติบโตของธุรกิจครับผม

    สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

    เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

    Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

    อยากทำ Email Marketing ให้ประสบความสำเร็จ ต้องระวัง 5 สิ่งนี้

    หนึ่งในวิธีการที่มีความน่าสนใจแต่นักการตลาดรุ่นใหม่หลายคนมักมองข้ามคือการทำ Email Marketing หรือที่หลายคนเรียกกันว่า “การตลาดผ่านอีเมล” เพราะอย่าลืมว่าอีเมลเป็นองค์ประกอบสำคัญที่มีอยู่ในแทบทุกองค์กรด้วยความที่เป็นเครื่องมือพื้นฐานในการสื่อสารทางธุรกิจ ต้องบอกว่าการตลาดผ่านอีเมลนี้ไม่เพียงแค่ช่วยในการขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายให้กับธุรกิจเท่านั้น แต่ยังสามารถเพิ่มจำนวน Traffic บนเว็บไซต์ให้เติบโตแบบก้าวกระโดดได้ แถมยังเป็น Organic Traffic แบบที่ไม่ต้องเสียเงินโปรโมตแคมเปญใดๆ แม้แต่สตางค์เดียว

    ปฏิเสธไม่ได้ว่าเทรนด์การทำการตลาดออนไลน์ในปัจจุบัน เป็นการเปลี่ยนผ่านจากโลกการค้าขายแบบ Analog ไปสู่ยุค Digital Transformation โดยสมบูรณ์ ทำให้รูปแบบของการทำการตลาดของนักการตลาดและแบรนด์ต่างๆ ได้เปลี่ยนโฉมตามไปด้วยเช่นกัน และหนึ่งในแนวโน้มสำคัญที่เกิดขึ้นคือการที่กลุ่มธุรกิจในหลากหลายอุตสาหกรรมต่างใช้เทคโนโลยีอย่าง Marketing Automation และระบบ CRM กันมากขึ้น เพื่อตอบโจทย์การจัดเก็บข้อมูลและบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า รวมไปถึงความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงจากการทำการตลาดแบบเดิมๆ แต่ต้องสามารถนำเสนอความต้องการที่ตรงใจลูกค้ามากขึ้น

    อย่างไรก็ตาม หากแบรนด์หรือนักการตลาดไม่ระวังข้อผิดพลาดเกี่ยวกับ EDM ผลลัพธ์ที่ควรจะดีอาจจะกลายเป็นเรื่องร้ายๆ ที่สายเกินแก้ไข ดังนั้นในวันนี้ Connect X จะพาทุกคนมารู้จัก 5 ข้อควรระวังเกี่ยวกับ EDM (Electronic Direct Mail Marketing) กัน เพื่อให้แน่ใจว่ากลยุทธ์การตลาดของแบรนด์จะประสบความสำเร็จตลอดปี 2023 ถ้าพร้อมแล้ว ไปดูกันเลย

    1. เนื้อหาไม่ตรงกับความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย

    นักการตลาดหลายคนที่เริ่มต้นทำ Email Marketing มักจะพุ่งเป้าไปที่การสื่อสาร แต่กลับละเลยเรื่องเล็กๆ ที่เป็นสิ่งสำคัญที่สุดคือ ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายผู้ที่เป็นคนรับสาร เพราะต่อให้หัวข้อของอีเมลดูน่าสนใจและสร้างแรงดึงดูดได้มากแค่ไหน แต่ถ้าสาระสำคัญของเนื้อหาไม่สามารถให้คุณค่าหรือประโยชน์ที่ตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้จริง ก็ไม่ต่างอะไรกับอีเมลสแปมที่ใช้เวลาไม่เกิน 5 วินาที ก็กลายเป็นอีเมลที่อยู่ในถังขยะของลูกค้าไปแล้ว

    โดยประเภทของการส่งอีเมลสามารถแบ่งได้ 3 รูปแบบ คือ

    • Information Email – เป็นการให้ข้อมูลรายละเอียดต่างๆ ที่ช่วยสร้างความน่าสนใจให้กับกลุ่มเป้าหมาย โดยอาจจะเกิดจากการกดรับสมัครติดตามข้อมูลข่าวสารต่างๆ จากทางเว็บไซต์
    • Transactional Email – ส่วนมากจะเป็นอีเมลอัตโนมัติที่แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับการชำระเงินซื้อสินค้าหรือบริการ
    • Navigation Email – เป็นอีเมลที่มีหน้าที่ในการนำทางกลุ่มเป้าหมายไปยังเว็บไซต์ เช่น อาจมีการเปิดเว็บไซต์ใหม่ อัปเดตฟีเจอร์สำคัญๆ หรือมีการให้บริการอะไรใหม่ๆ

    เมื่อรู้แบบนี้แล้ว ก็อย่าลืมวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายก่อนเสมอ เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดในการทำ Email Marketing นั่นเอง

    2. ต้องทดสอบด้วยวิธี A/B Testing ก่อนเสมอ

    ไม่ว่าจะเป็นกลยุทธ์การตลาดออนไลน์วิธีใดก็ตาม การทำ A/B Testing ถือเป็นหัวใจสำคัญที่ควรทำควบคู่กันไปเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยเป็นการทดสอบเพื่อจับจุดว่าเนื้อหา ข้อความ รูปภาพ และ CTA แบบไหนที่กลุ่มเป้าหมายสนใจมากกว่ากัน ซึ่งเมื่อได้ข้อมูลมาแล้วก็จะสามารถปรับปรุงแก้ไขการทำ Email Marketing ต่อไปในอนาคตให้มีความน่าสนใจมากขึ้นได้

    3. กลยุทธ์ต้องพร้อมก่อนส่งอีเมล

    ใครที่คิดว่าการส่งอีเมลไม่เห็นจำเป็นต้องมีการวางแผนหรือคำนึงถึงกลยุทธ์การส่งอีเมล บอกได้เลยว่าความคิดดังกล่าวอาจเป็นสิ่งที่ย้อนกลับมาทำร้ายธุรกิจของคุณได้ในทันที ยกตัวอย่างเช่น หากแบรนด์ส่งอีเมลไปยังผู้ที่ไม่ต้องการที่จะได้รับอีเมลของเรา พูดง่ายๆ ก็คือ อยู่ดีๆ ก็มีอีเมลที่ไหนไม่รู้ส่งเข้ามาขายของ เชื่อได้เลยว่าร้อยทั้งร้อยก็กดลบอีเมลนั้นทิ้งเผลอๆ อาจกดปุ่ม Report เป็นของแถมด้วย ทำให้แบรนด์ต้องเสียเครดิตไป ดังนั้นหากแบรนด์มีเว็บไซต์ อาจตั้งค่าให้มีการกดรับสมัครหรือยินยอมในการรับอีเมลก่อนเสมอ เพื่อเป็นการล็อกกลุ่มเป้าหมาย แถมยังสามารถเก็บข้อมูลในส่วนนี้ นำมาแบ่งรายชื่อออกมาจัดกลุ่ม ใช้ระบบ Marketing Automation ช่วยในการติดตามผล ส่งอีเมลต่อในอนาคต

    4. ให้ความสำคัญกับ Mobile First

    อย่างที่รู้กันดีว่าเทรนด์ Mobile First กลายเป็นมาตรฐานใหม่ของการแสดงผลในทุกกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ ไม่เว้นแม้แต่การทำ Email Marketing ที่ต้องคำนึงถึงการแสดงผลอีเมลบนมือถือให้มีประสิทธิภาพที่ดีไม่ต่างกับบนเดสก์ท็อปและแท็บเล็ต แม้อาจจะดูเป็นรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ แต่หากอีเมลมีการแสดงผลที่ไม่ดี หรือกลุ่มเป้าหมายไม่สามารถเข้าถึงหรือมองเห็นได้อย่างชัดเจน ก็อาจกลายเป็นการทิ้งโอกาสในการขายสินค้าหรือบริการของแบรนด์ต่อๆ ไปในอนาคต

    5. ไม่ใส่ Alt ในภาพ

    ในกรณีที่อีเมลของแบรนด์ที่มีเนื้อหาหลักเป็นภาพ อาจเกิดปัญหากับกลุ่มเป้าหมายบางคนที่มีการตั้งค่าปิดกั้นการมองเห็นรูปภาพ นั่นหมายความว่าในอีเมลนั้นจะไม่สามารถปรากฏเนื้อหาใดๆ ก็ตามบนหน้าจอ ฉะนั้นอีกหนึ่งเคล็ดลับคือการเพิ่ม Alt ให้กับรูปภาพทุกครั้งในการทำ Email Marketing

    จบไปแล้วกับ 5 ข้อ ควรระวังเกี่ยวกับ EDM ที่ Connect X ได้นำมาฝากกัน ถ้าไม่อยากถูกคู่แข่งทิ้งห่างก็ถึงเวลาแล้วที่แบรนด์จะลองนำเทคนิคนี้ผสานเข้าไปในแผนการตลาดออนไลน์  เพื่อประสิทธิภาพที่สูงสุด รับรองได้เลยว่า 5 ข้อด้านบนนี้สามารถนำไปปรับใช้ได้ทันที

    [/col] [/row]

    6. บริการให้คำปรึกษาทั้งก่อนและหลัง

    สำหรับวิธีเลือกระบบ CRM ข้อนี้อาจจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับตัวแพลตฟอร์มโดยตรง อย่างไรก็ตาม ผู้ให้บริการก็เป็นส่วนหนึ่งที่สามารถช่วยธุรกิจได้ โดยควรมี “ศูนย์บริการลูกค้า” ไม่ว่าจะเป็นการให้คำแนะนำหรือการตอบคำถามของธุรกิจ มีการคลาสฝึกสอน (Training) ก่อนเริ่มต้นใช้งานระบบ รวมถึงเมื่อใช้งานระบบไปแล้ว แต่เกิดมีปัญหา ผู้ให้บริการก็ควรที่จะให้คำปรึกษาได้ สามารถติดต่อได้สะดวก และมีทางแก้ไขที่ชัดเจน ไม่ทิ้งกันไปกลางคัน

    เมื่อได้อ่านทั้ง 5 ข้อนี้ไปแล้ว ทุกท่านคงจะตระหนักดีว่าการเลือกระบบ CRM นั้นอาจจะต้องใช้เวลาและความละเอียดรอบคอบในการพิจารณาก่อนตัดสินใจ ซึ่งถ้าใครเลือกได้แล้วว่าต้องการใช้ Customer Relationship Management ตัวไหน ก็สามารถวางแผนในการเริ่มซื้อและใช้งานได้เลย ซึ่ง Connect X ขอแนะนำให้กำหนดวันที่ติดตั้งชัดเจนและเชื่อมกับแพลตฟอร์มอื่นๆ ให้เรียบร้อยก่อนใช้งานจริง ให้ทีมงานได้ทำความคุ้นเคยกับตัวระบบและเตรียมความพร้อมข้อมูลเพื่อที่จะติดตั้งระบบใหม่ได้อย่างสมบูรณ์

    สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

    เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

    Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

      Yearly Budget

      How do you know us?

      ระวัง 3 สิ่งนี้! ก่อน Marketing Automation จะทำร้ายลูกค้า

      การตลาดออนไลน์ในยุคนี้สามารถทำได้ง่ายมากกว่าแต่ก่อน เนื่องจากมีแพลตฟอร์มและเครื่องมือมากมายที่พัฒนาขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกกับธุรกิจ หนึ่งในนั้นคือการใช้ Marketing Automation ที่สามารถทำการตลาดได้รวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการทำ Lead Scoring จัดกลุ่มลูกค้า (Segmentation) ส่งโปรโมชันและประชาสัมพันธ์ ไปจนถึงการบริการความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้า ฯลฯ ทั้งหมดล้วนทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเก่าอย่างเห็นได้ชัด

      แม้จะมีข้อดีและประโยชน์มากขนาดนี้ แต่หากใช้งาน Marketing Automation อย่างไม่ระมัดระวังก็อาจจะเป็นการทำร้ายลูกค้าแทน ทั้งด้านความรู้สึกและประสบการณ์ที่ได้จากแบรนด์ สงสัยแล้วใช่ไหมว่า ข้อควรระวังของ Marketing Automation มีอะไรบ้าง? ตาม Connect X มาดูคำตอบกัน! ซึ่งอย่างแรก มาดูข้อดีของ Marketing Automation กันเลย

      ข้อดีที่ทำให้ใครๆ ต่างใช้ Marketing Automation

      Marketing Automation หรือ “ระบบการตลาดแบบอัตโนมัติ” ก็คือแพลตฟอร์มหรือซอฟต์แวร์ที่ออกแบบมาเพื่อทำการตลาดออนไลน์ ซึ่งฟังก์ชันและฟีเจอร์นับไม่ถ้วน แต่โดยทั่วไปแล้วมักจะมีฟีเจอร์ที่ช่วยในการตลาดด้านต่างๆ อาทิ

      • การเข้าถึง Potential Customer
      • การเก็บข้อมูลของลูกค้าและสร้างฐานข้อมูลให้กับธุรกิจ
      • ช่วยบริหารความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์และลูกค้า ซึ่งมักมาพร้อมกับระบบ CRM
      • สร้างและส่งแคมเปญการตลาด เช่น Email Marketing, SMS, Web Push Notification รวมไปถึงการโฆษณาบนสื่อ Social Media ยอดฮิตต่างๆ
      • ช่วย Save Cost ทั้งด้านเงินลงทุนและเวลาในการสร้างแคมเปญการตลาดให้ประสบความสำเร็จ

      นอกจากนี้ระบบ AI ที่ทำงานแบบอัตโนมัติยังช่วยลดภาระงานที่ซ้ำซ้อนอย่างการสร้าง Report การ Tracking ไปจนถึงการตอบกลับแชทข้อความของลูกค้า จึงสามารถลดความผิดพลาดที่เกิดจากคน (Human Error) ได้เป็นอย่างดี เห็นแล้วใช่ไหมว่าระบบ Marketing Automation นั้นเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจมากแค่ไหน โดยเฉพาะธุรกิจใหม่หรือ SME ที่มีงบประมาณไม่มาก ก็สามารถใช้ระบบการตลาดแบบอัตโนมัตินี้อัปเกรดตัวเองได้ให้แข่งขันกับแบรนด์ใหญ่ๆ ในตลาดได้

      คราวนี้มาศึกษาข้อควรระวังต่างๆ กันเลย

      3 ข้อควรระวังของ Marketing Automation

      ก่อนที่ระบบ Marketing Automation จะช่วยแบรนด์ได้ดีอย่างที่กล่าวไปข้างต้น แต่ในหลายๆ กรณีก็อาจจะมีปัญหาเกิดขึ้นจากการใช้งาน ทำให้แบรนด์ต้องปวดหัวกับการหาโซลูชัน

      ยกตัวอย่างเช่น ระบบตอบกลับอัตโนมัติไม่สามารถตอบคำถามของลูกค้าได้จริงๆ ทำให้แอดมินต้องมาตอบเอง ซึ่งทำให้เกิดปัญหาการทำงานซ้ำซ้อน หรือการยิงโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย แต่กลับไม่มี Lead กลับเข้ามา เพราะแคมเปญนั้นๆ ไม่ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้า และปัญหาร้อยแปดที่อาจเกิดขึ้นได้ไม่เว้นแต่ละวัน สุดท้ายแล้วหลายๆ แบรนด์ไล่ตามการทำ Marketing Automation เพื่อหวังทำกำไร แต่กลับกลายเป็นว่าได้ผลลัพธ์เหมือนเดิม ซึ่งมี 3 ข้อควรระวังในการใช้งานระบบการตลาดแบบอัตโนมัติดังนี้

      1. ไม่ทำความเข้าใจผู้บริโภคก่อนเริ่มทำแคมเปญ

      ความสะดวกสบายในการทำงาน คือ สิ่งที่ธุรกิจส่วนมากต้องการจาก Marketing Automation เพื่อลดภาระของตัวผู้ประกอบการที่ต้องดูแลในส่วนอื่นๆ ด้วย อย่างไรก็ตาม ตัว Marketing Automation นั้นเป็นเพียงแค่ “ระบบ” เท่านั้น จึงไม่ได้เข้าใจว่าผู้บริโภคตอนนั้นอยากได้อะไร เช่น เวลามีปัญหาร้ายแรงหรือเร่งด่วน ลูกค้าก็อยากคุยกับคนที่เข้าใจถึงปัญหามากกว่า ดังนั้นการจะทำ Marketing Automation ให้มีประสิทธิภาพ คือการทำความเข้าใจ Customer Journey ของลูกค้าเสียก่อน เพื่อที่จะออกแบบการใช้งาน Marketing Automation ให้ถูกต้องและแม่นยำ สร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ที่เข้ามาใช้บริการได้นั่นเอง

      2. แบรนด์พึ่งพาระบบ Marketing Automation มากเกินไป

      การปล่อยให้ระบบ Marketing Automation ดูแลลูกค้าของเราหรือทำการตลาดแทนคนมากเกินไป มักเป็นข้อผิดพลาดที่ทำให้หลายๆ แบรนด์เคยสะดุดมาแล้ว เพราะแทนที่จะช่วยให้ลูกค้าสะดวกสบายขึ้นกลับทำให้ลำบากแทน เช่น มีการส่งโปรโมชันที่ลูกค้าคนนั้นๆ ไม่ได้สนใจ ระบบ AI ตอบแชทที่เป็นคำถามซับซ้อนไม่ได้ เป็นต้น ซึ่งต้องขอบอกว่า Marketing Automation ในปัจจุบันยังไม่มีความฉลาดหรือมีสัญชาตญาณที่เข้าใจมนุษย์ขึ้นมา ไม่สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เหมือนกับมนุษย์เรา ดังนั้นก่อนที่จะนำระบบนี้เข้ามาช่วยในการทำการตลาด แบรนด์ต้องมีการวางแผนในจุดต่างๆ ให้รอบคอบก่อน พร้อมทดสอบการใช้งานก่อนนำไปใช้จริง

      3. ข้อมูล (Data) ที่มียังน้อยไป

      เข้าใจว่าเจ้าของแบรนด์ต่างต้องการให้ Marketing Automation ทำงานที่ซ้ำซ้อนแทน เช่น การยิงโฆษณาหรือแคมเปญการตลาด แต่บ่อยครั้งที่ธุรกิจมี “ข้อมูล” น้อยเกินไป ส่งผลให้กิจกรรมทางตลาดไม่มีประสิทธิภาพมากพอที่จะดึงดูดลูกค้า ระบบเรียนรู้ได้อย่างจำกัดและตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าไม่ได้ ทำให้เจ้าของแบรนด์มักเข้าใจผิดว่าระบบหรือแพลตฟอร์มที่ใช้นั้นไม่มีคุณภาพ ซึ่งแบรนด์และนักการตลาดต้องกลับมาย้อนดูว่า Data ของตัวเองนั้นมีใช้อย่างเพียงพอหรือไม่ Data ดังกล่าวนั้นถูกหรือไม่ เตรียมป้อน Data ทุกอย่างให้ระบบหรือยัง เพื่อทำให้ระบบสามารถต่อยอดและแสดงประสิทธิภาพให้ได้อย่างเต็มที่

      ทั้ง 3 ข้อควรระวังของ Marketing Automation นี้เป็นสิ่งที่เจ้าของแบรนด์และนักการตลาดต้องทบทวนเสมอ ก่อนที่จะจำระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้งานกับธุรกิจ เพื่อให้แน่ใจได้ว่าแบรนด์จะสามารถสร้างแคมเปญการตลาดได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ กระตุ้นการขาย และเพิ่มกำไรให้ธุรกิจสามารถแข่งขันในตลาดที่มีการแข่งขันสูงอย่างปัจจุบันได้

      แล้วผู้ให้บริการระบบ Marketing Automation เก่งๆ มีใครบ้าง? ไม่ต้องไปหาที่ไหนไกล เพราะ Connect X นั้นเป็น Marketing Platform ที่มาพร้อมกับ CDP (Customer Data Platform) ช่วยเก็บข้อมูลลูกค้าแบบ 360 องศาและระบบ Marketing Automation ที่มี AI แสนฉลาด สามารถเรียนรู้และรู้ใจลูกค้าได้ง่ายๆ ประกอบกับเครื่องมือสื่อสารการตลาดแบบ Real-Time ช่วยเพิ่มยอดขายกับธุรกิจอย่างรวดเร็วทันใจ หาจากที่ไหนไม่ได้อีกแล้ว!

      [/col] [/row]

      สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

      เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

      Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

      จริงหรือไม่? 3 เรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับ PDPA เปลี่ยนความคิดด่วน

      เพราะข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญ กฎหมาย PDPA จึงเกิดขึ้นเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล แต่หลายคนก็ยังสงสัยหรือเข้าใจผิดเกี่ยวกับ กฎหมาย PDPA อยู่ ดังนั้นมาไขข้อสงสัยกันดีกว่า

      พอกฎหมาย PDPA (Personal Data Protection Act) ได้ประกาศบังคับใช้อย่างเป็นทางการไปเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ทำให้ผู้ประกอบการและภาคธุรกิจต้องปรับตัวกันยกใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการขอความยินยอมในการเก็บข้อมูล การจัดทำนโยบายความเป็นส่วนตัว การนำข้อมูลไปใช้ ไปจนถึงการกำกับดูแลข้อมูล

      สำหรับการขอความยินยอมหรือ Consent เพื่อเก็บข้อมูลจากลูกค้าถือเป็นกุญแจสำคัญในการทำ Digital Marketing ซึ่งหลากหลายธุรกิจต่างก็ต้องหาข้อมูลอย่างเคร่งครัดเกี่ยวกับข้อห้าม PDPA ว่าอะไรที่สามารถทำได้หรือทำไม่ได้ แต่สำหรับมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มศึกษาก็ต้องเจอกับรายละเอียดข้อมูลมากมายที่อาจทำให้สับสนได้ง่ายๆ

      3 เรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับ PDPA ต้องเคลียร์ ไม่ให้สับสน

      เชื่อว่าทั้งผู้บริโภคและเจ้าของธุรกิจหลายๆ คนยังมีเรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับ PDPA อยู่ไม่น้อย ดังนั้น Connect X จะมาไขข้อสงสัยต่างๆ เกี่ยวกับพ.ร.บ. ฉบับนี้ให้กระจ่าง ตามมาดูกันได้เลย!

      1. ข้อห้าม PDPA มีเพียงผู้ประกอบการหรือธุรกิจเท่านั้นที่ต้องทำตาม

      จากชื่อ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หลายคนจึงเข้าใจว่ามีเพียงแค่ธุรกิจเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบและต้องปฏิบัติตามข้อบังคับต่างๆ ของ PDPA อย่างไรก็ตาม ต้องบอกว่ากฎหมายนี้ให้การคุ้มครองข้อมูลอย่างครอบคลุม เพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับเจ้าของข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทร อีเมล เลขบัตรประชาชน ข้อมูลลายนิ้วมือ เลขบัญชีธนาคาร หรือข้อมูลอื่นๆ ที่สามารถใช้ระบุตัวตนของเจ้าของข้อมูลได้ทั้งช่องทางออฟไลน์และออนไลน์

      โดยการบังคับใช้ PDPA มีผลกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง คือ เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Subject) ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Collector) และผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processor) พูดง่ายๆ ว่าทั้งภาครัฐ เอกชน กิจการ และผู้บริโภคต่างก็ต้องปฏิบัติตามข้อกฎหมายนี้ด้วยกันทั้งหมด ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น ในกรณีที่ซื้อสินค้าออนไลน์แล้วมีการติดต่อพ่อค้าแม่ค้าโดยตรง เราจะได้เลขบัญชีเพื่อโอนจ่ายเงิน จากนั้นต้องแจ้งสลิป พร้อมชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทร สำหรับจัดส่งสินค้า ซึ่งข้อมูลทั้งหมดนี้ถือว่าเป็นข้อมูลส่วนบุคคล เท่ากับว่าพ่อค้าแม่ค้าและเราก็ต้องปฏิบัติตาม PDPA ทั้งคู่ ไม่นำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว เป็นต้น

      2. ธุรกิจต้องได้รับความยินยอม (Consent) จากเจ้าของข้อมูลทุกครั้ง

      สำหรับ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ยังมีบทบัญญัติเกี่ยวกับหลักการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลตามกฎหมาย PDPA ในมาตรา 24 ซึ่งมีหลักการเกี่ยวกับเรื่องความยินยอม (Consent) ก่อนที่แบรนด์หรือนักการตลาดจะนำข้อมูลไปเก็บในระบบ CRM หรือนำไปประกอบแคมเปญต่างๆ ก็ต้องขอความยินยอมก่อน เช่น การขอ Cookie Consent เพื่อจัดเก็บไฟล์คุกกี้และข้อมูลของผู้เข้าชมเว็บไซต์ แต่ไม่ได้แปลว่าธุรกิจจะต้องขออนุญาตทุกครั้งที่ต้องเก็บข้อมูล

      misunderstood about pdpa

      ในความจริงแล้ว เจ้าของข้อมูลต้องให้ความยินยอม (Consent) ต่อผู้ควบคุมข้อมูลตามที่แจ้งไว้ตั้งแต่แรกเพียงครั้งเดียวเท่านั้น อาทิ เมื่อสมัครสมาชิกผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน หลังจากกรอกรายละเอียดแล้ว จะมีข้อความหรือเอกสารให้อ่านพร้อมปุ่มกด “ยินยอม” หรือ “ยอมรับ” เพื่ออนุญาตให้ธุรกิจเก็บรวบรวมข้อมูลนั่นเอง ซึ่งจะเป็นการทำเพียงครั้งเดียว ไม่จำเป็นต้องกดยินยอมทุกครั้งเมื่อเข้าสู่ระบบ สำหรับมุมมองของธุรกิจนั้น การขอความยินยอมเพียงครั้งเดียวนี้ก็เป็นการอำนวยความสะดวกให้สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลของผู้ใช้งานหรือลูกค้าได้ต่อเนื่องและมีฐานข้อมูลครบถ้วน สามารถใช้ในการทำการตลาดหรือเพื่อปรับปรุง Marketing Automation ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้นั่นเอง

      นอกจากนี้ ยังมีกรณีต่างๆ ที่ข้อมูลจะถูกเก็บรวบรวมได้ โดยได้รับข้อยกเว้น PDPA หรือไม่จำเป็นต้องขอความยินยอมดังนี้

      • กรณีป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพของเจ้าของข้อมูล รวมไปถึงการใช้ข้อมูลเพื่อประโยชน์สาธารณะ เช่น ป้องกันโรคระบาด ซึ่งผู้ควบคุมสามารถเก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผย ข้อมูลส่วนบุคคลได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอม
      • การปฏิบัติตามสัญญา ไม่ต้องขอความยินยอม
      • ปฏิบัติภารกิจของรัฐ ตามมาตรา 24(4) หากจำเป็นต่อการดำเนินภารกิจของรัฐเพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือเป็นการใช้อำนาจรัฐ การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อการนั้น ไม่ต้องขอความยินยอม อย่างไรก็ตาม แม้ไม่ต้องขอความยินยอม แต่ผู้ควบคุมยังคงมีหน้าที่ในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และคำนึงถึงความได้สัดส่วนความจำเป็นในการใช้ข้อมูล และผลกระทบต่อความเป็นส่วนตัวของเจ้าของข้อมูล
      • ปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่ต้องขอความยินยอม มาตรา 24(6)

      3. การโพสต์รูปโซเชียลโดยมีใบหน้าผู้อื่นติดมาด้วย ถือว่าผิดกฎหมาย PDPA

      ใจความสำคัญของ PDPA คือการปกป้องความเป็นส่วนตัว ซึ่งก็รวมไปถึงรูปถ่ายหรือวิดีโอที่มีใบหน้าของเจ้าของข้อมูลด้วย หลายคนเข้าใจว่าการที่ใครสักคนโพสต์รูปบนโซเชียลแล้วมีใบหน้าเราติดไปถือว่าเป็นการละเมิดพ.ร.บ. ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ “ผิด” จนกลายเป็นประเด็นร้อนในโลกโซเชียลกันไปแล้ว

      จริงๆ แล้ว การที่ผู้ถ่ายรูปหรือคลิปวิดีโอบังเอิญถ่ายติดใบหน้าของคนอื่นไปโดยไม่ได้เจตนา หรือไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ถูกถ่ายก็สามารถทำได้โดยไม่ผิดหลัก PDPA ส่วนในกรณีที่ได้นำรูปถ่ายหรือคลิปไปโพสต์บนโซเชียลก็สามารถทำได้ ถ้าเป็นการทำเพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว ไม่นำไปใช้เพื่อผลประโยชน์หรือทำกำไร และทำให้เจ้าของข้อมูลเสื่อมเสียชื่อเสียงหรือทำให้เกิดอันตราย

      เรื่องการติดตั้งกล้องวงจรปิด ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่หลายคนกังวลว่า หากถ่ายติดใบหน้าคนอื่นจะเป็นการทำผิดพ.ร.บ. หรือเปล่า ซึ่งถ้าเป็นการติดภายในบริเวณบ้านเพื่อรักษาความปลอดภัย ก็ไม่จำเป็นต้องทำป้ายแจ้งเตือน หมดห่วงได้เพราะไม่ผิดต่อข้อกฎหมายแน่นอน

      สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

      เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

      Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

      PDPA ในมุมมองของ SME ต้องเตรียมพร้อมด้านไหนบ้าง?

      เมื่อ PDPA ถูกบังคับใช้อย่างเป็นทางการ ธุรกิจเล็กใหญ่ต้องปรับตัว ให้สามารถแข่งขันและอยู่รอดได้ แล้วธุรกิจ SME เปิดใหม่ต้องเตรียมพร้อมด้านไหนบ้าง? มาหาคำตอบกัน

      การตลาดและแบรนด์ต่างๆ ถูกขับเคลื่อนด้วยข้อมูล เพื่อทำการเก็บรวบรวมและประเมินผลข้อมูลในการเข้าถึงความต้องการของลูกค้า กล่าวได้ว่าทุกวันนี้เป็นยุค “Data Driven” อย่างชัดเจน ทั้งยังมีระบบต่างๆ เกิดขึ้นมาสนับสนุน เช่น ระบบ AI, Marketing Automation, CRM หรือ CPD ฯลฯ ช่วยให้ธุรกิจดำเนินกิจกรรมทางการตลาดได้สะดวก รวดเร็ว และแม่นยำมากขึ้น

      อย่างไรก็ตาม หลังจากวันที่ 1 มิ.ย. พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา ได้มีการบังคับใช้ “PDPA” หรือ “พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562” ส่งผลให้ธุรกิจ SME และผู้ประกอบการต้องปรับตัวกันยกใหญ่ แล้วแบรนด์ต่างๆ ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้างเพื่อรับมือกับ PDPA?

      ทำความเข้าใจ PDPA

      เชื่อว่าด้วยกระแสของพรบ. ฉบับนี้ ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตหลายคนคงทราบกันอยู่แล้วว่าคืออะไร แต่สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่พึ่งเริ่มศึกษา PDPA นั้นย่อมาจาก Personal Data Protection Act ซึ่งหน้าที่ของมันเป็นก็ตามชื่อเลย คือการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลต่างๆ ที่องค์กรได้เก็บรวบรวมหรือครอบครองไว้

      พูดง่ายๆ ว่า ข้อดีของ คือความสามารถในการปกป้องข้อมูลของผู้บริโภคหรือลูกค้าเป็นหลัก ซึ่งถ้าถามว่าข้อเสียหากไม่มี PDPA คืออะไร? ก็ตอบได้ว่าเจ้าของข้อมูลอาจถูกละเมิด ข้อมูลถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด หรือมีผู้ไม่ประสงค์ดีนำข้อมูลไปใช้เพื่อผลประโยชน์ทางพาณิชย์ได้นั่นเอง

      แม้จะฟังดูเป็นเรื่องดี แต่ในมุมมองของธุรกิจแล้ว ก็ถือเป็นเรื่องน่าปวดหัวเลยทีเดียว เพราะพรบ. นี้ส่งผลให้บริษัทต้องเปลี่ยน นโยบายการจัดเก็บข้อมูลให้มีมาตรฐานมากขึ้น ทั้งส่วนของเอกสารแบบออฟไลน์และดิจิทัล รวมไปถึงการตรวจสอบนโยบาย Privacy Policy และ Cookies Consent ในการเก็บข้อมูล เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการฟ้องร้องในภายหลัง

      อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562  ที่นี่

      หน้าที่ของธุรกิจที่มีต่อข้อมูลลูกค้าในยุค PDPA

      แบรนด์และธุรกิจมีหน้าที่สำคัญในการดูแลข้อมูลของลูกค้า ในฐานะ Data Controller และ Data Processer โดยมีหน้าที่ดังนี้

      • จัดระเบียบข้อมูลและจำแนกความสำคัญของข้อมูล
      • นำข้อมูลไปใช้งานอย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการใช้ข้อมูลเพื่อปรับปรุงเว็บไซต์ บริการด้านการตลาด หรือคัดเลือกสิ่งที่ตอบโจทย์ความต้องการในการใช้งาน
      • การนำข้อมูลไปใช้ในการวิเคราะห์สำหรับการทำงานต่อไป
      • การให้ความคุ้มครองและป้องกันข้อมูล
      [/col] [/row]

      สิ่งที่ธุรกิจ SME ต้องเตรียมพร้อม รับกฎหมาย PDPA

      มาถึงคำถามที่เจ้าของแบรนด์หลายๆ คนสงสัย ซึ่งก็ต้องมีการเตรียมตัวในหลายๆ ด้าน  Connect X ขอยกตัวอย่างมาให้ 5 ข้อ ดังนี้

      1.ตั้ง Budget ให้พร้อม

      ในการบริหารข้อมูลทั้งในรูปแบบเอกสารและข้อมูลดิจิทัลนั้นมีค่าใช้จ่าย เช่น เครื่องเซิร์ฟเวอร์ (Server) สำหรับเก็บข้อมูล ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัส หรือ Ransomware และแพลตฟอร์มสำหรับจัดการข้อมูล นอกจากนี้ อาจมีค่าใช้จ่ายในด้านของการปรึกษานักกฎหมายอีกด้วย

      2.แต่งตั้ง DPO เพื่อดูแลข้อมูล

      DPO หรือ Data Protection Officer คือเจ้าหน้าที่ที่จะเข้ามาดูแลและให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลทั้งหมดในองค์กร เพื่อให้การจัดการข้อมูลเป็นไปตามกฎของ Personal Data Protection Act และประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐด้วยนั่นเอง

      3.กำหนดประเภทข้อมูลและวัตถุประสงค์

      อย่างที่กล่าวไปว่าธุรกิจต้องปรับโครงสร้างการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคล ให้จัดเก็บเพียงเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ไม่สอบถามหรือขอข้อมูลที่ละเอียดอ่อนหากไม่จำเป็น

      4.ทบทวน Data Protection Policy

      สำหรับธุรกิจที่ไม่ได้มีการร่างนโยบาย หรือมาตรการป้องกันข้อมูลที่ครอบคลุมมากนัก ก็ควรที่จะตรวจสอบและทบทวนใหม่ เพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้ปลอดภัยที่สุด พร้อม จัดทำเอกสารมาตรการความปลอดภัยและดำเนินการจริง เพื่อใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงว่าบริษัทมีการดำเนินการตามเกณฑ์

      5.ค้นหาแพลตฟอร์ม CRM หรือ CPD ที่สอดคล้องกับ PDPA

      ระบบ Customer Relationship Management (CRM) หรือ Customer Data Platform (CDP) ล้วนเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้แบรนด์บริหารความสัมพันธ์และจัดการข้อมูลของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งธุรกิจก็ควรเลือกใช้ระบบ CRM หรือ CDP ที่ใช้งานง่าย ครอบคลุม และปลอดภัย หากมีฟีเจอร์เด็ดๆ เสริมด้านการตลาดอย่าง Marketing Automation, Personalized Marketing, ระบบ AI หรืออื่นๆ จะยิ่งช่วยให้จัดการข้อมูลต่างๆ ของผู้บริโภคและลูกค้าเป็นไปได้อย่างราบรื่น

      ทั้ง 5 ข้อนี้ก็เป็นเพียงการเตรียมพร้อมเบื้องต้นสำหรับการรับมือ กับ พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 แล้วยังมีด้านอื่นๆ ที่ขอแนะนำให้เจ้าของธุรกิจศึกษาอย่างละเอียดและเข้าใจ เพื่อนำมาปรับใช้กับธุรกิจอย่างถูกต้อง และสามารถนำข้อมูลต่างไปใช้ในการตลาดได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

      ส่วนท่านใดกำลังที่กำลังมองหาตัวช่วยเก็บและบริหารข้อมูลที่สอดคล้องกับ พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 อย่างแพลตฟอร์ม CDP จาก Connect X และระบบ Marketing Automation ในตัว สามารถส่งแคมเปญทางการตลาดและสร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าได้หลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็น SMS, Email, Social Media และเว็บไซต์ มอบประสบการณ์แบบ Personalized แก่รายบุคคล ทั้งยังช่วยวิเคราะห์และวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดได้เหมาะสม เพื่อสร้างความประทับใจและประสบการณ์การใช้งานที่ไม่ซ้ำใคร

      Connect X เป็นระบบ Customer Data Platform (CPD) ที่มาพร้อมกับ Marketing Automation ที่สามารถวิเคราะห์ได้ลึกถึง Insight แบ่งกลุ่ม Audience Segment ชัดเจนเข้าใจความต้องการของลูกค้ามากขึ้น และสร้างแคมเปญ ด้านการตลาดพร้อมส่งไปยังลูกค้าที่ใช่ในทุกช่องทาง

      สร้างความประทับใจและประสบการณ์การใช้งานที่ลูกค้าต้องติดใจอย่างแน่นอน เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

      Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect หรือ เชื่อมต่อ กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

      Connect X เข้าใจนักการตลาดทุกคนว่าการเลือก Platform มันไม่ใช่เรื่องเล็กๆ

      ลงทะเบียนรับคำปรึกษาฟรี !

      *รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญจาก Connect X ด้าน Digital Tranformation พร้อมแนะนำ Marketing Technology (Martech) และ CDP ที่ตอบโจทย์ธุรกิจยุคใหม่โดยเฉพาะ

        Yearly Budget

        How do you know us?

        5 วิธีเลือกระบบ Customer Relationship Management ให้ปังที่สุด

        เจ้าของแบรนด์มือใหม่ที่อยากยกระดับการให้บริการจะเลือกระบบ Customer Relationship Management ให้เหมาะสมได้อย่างไร? Connect X จะมาบอกให้รู้เอง!

        การให้บริการและการรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้า เป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญที่สุดของธุรกิจยุคนี้เพื่อให้ “อยู่รอด” เพราะผู้บริโภคในปัจจุบันล้วนต้องการการบริการที่ดีและตอบโจทย์ความต้องการได้ทั้งนั้น หากแบรนด์ไหนที่ไม่สามารถให้บริการได้ดีเท่าที่ลูกค้าคาดหวัง ก็อาจจะต้องยุติธุรกิจลงเลยก็เป็นได้

        ในการบริหารความสัมพันธ์และให้บริการลูกค้านั้น แบรนด์จำเป็นต้องมีการ “จัดเก็บ” ข้อมูลและการ “จัดการ” ที่เหมาะสม ระบบ Customer Relationship Management (CRM) และกระบวนการ CRM จึงเป็นส่วนสำคัญที่จะเข้ามาเป็นตัวช่วยในการบริหาร จัดการข้อมูลลูกค้า และยกระดับการบริการลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่คำถามสำคัญคือเลือกระบบ CRM อย่างไร? ในบทความนี้ Connect X จะมาบอก 5 วิธีเลือกระบบ CRM ให้เจ้าของธุรกิจมือใหม่ได้ทราบกัน

        5 วิธีเลือกระบบ Customer Relationship Management

        หนึ่งในปัญหาหลักๆ ของแบรนด์เมื่อนำระบบ CRM เข้ามาใช้ในธุรกิจคือ พบว่าระบบไม่สามารถตอบโจทย์การใช้งานได้ดีที่เท่าที่คิด ทั้งๆ ที่ลงทุนไปแล้วแต่กลับไม่ได้รับผลตอบแทนกลับมา เชื่อว่าเจ้าของธุรกิจทุกคนคงไม่ต้องการให้เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นอย่างแน่นอน ดังนั้นการคัดเลือกระบบ C จึงเป็นขั้นตอนที่มองข้ามไปไม่ได้เด็ดขาด

        1. ตอบคำถามที่สำคัญก่อนเลือกระบบ CRM

        อย่างที่กล่าวไปข้างต้น การลงทุนในระบบ CRM นั้นต้องอาศัยงบประมาณ สิ่งแรกที่ควรทำคือ พิจารณาความต้องการและเป้าหมายของธุรกิจเสียก่อน ด้วยการตั้งคำถามเช่น

        • ลักษณะธุรกิจเป็นอย่างไร? – เป็นธุรกิจ B2C หรือ B2B ซึ่งจะบอกได้ว่าควรมุ่งเป้าหมายการใช้งานไปในด้านไหน
        • เซลหรือทีมขายเป็นอย่างไร? – ปัจจุบันทีมขายมีกี่คน ดำเนินการขายผ่านช่องทางไหนบ้าง เช่น โซเชียลมีเดีย ติดต่อผ่านโทรศัพท์ อีเมล หรือเว็บไซต์ แล้วนำมาใช้พิจารณาต่อไปในอนาคต
        • ข้อมูลที่ต้องการเก็บมีอะไรบ้าง  – ชื่อ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล รวมไปถึงความสนใจของลูกค้า อีกทั้งต้องคำนึงถึงลักษณะของธุรกิจด้วย เช่น ธุรกิจ B2B อาจจะต้องเก็บรวบรวมข้อมูลค่อนข้างเยอะกว่า B2C เป็นต
        • กระบวนการขายทำงานอย่างไร? – สำรวจกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขายให้ละเอียด ว่ามีขั้นตอนอย่างไร แล้วกระบวนการ CRM ที่เราเล็งไว้ เข้ากันได้ดีกับระบบของธุรกิจหรือเปล่า
        [/col]
        customer relationship management

        2. จดรายการสิ่งที่ต้องการจากระบบ Customer Relationship Management

        พอทราบแล้วว่าธุรกิจมีปัญหาด้านไหนและต้องความช่วยเหลืออะไรบ้าง วิธีเลือกระบบ CRM ต่อมาคือการทำรายการหรือลิสต์สิ่งที่ต้องการจากระบบ CRM อาทิ ฟีเจอร์การเชื่อมต่อกับ API ต่างๆ การเชื่อมต่อกับช่องทางแบบ Omni-Channel ระบบ AI รายละเอียดการรายงานของแดชบอร์ด ระบบ Marketing Automation รวมถึงฟังก์ชันอื่นๆ ที่ธุรกิจต้องการ ก็จะช่วยให้สามารถคัดกรองตัวเลือกที่ไม่จำเป็นหรือไม่ตอบโจทย์ออกไปได้นั่นเอง

        3. ความเป็นมิตรต่อผู้ใช้งานของระบบ CRM

        แม้จะมีฟีเจอร์ที่ครอบคลุมกิจกรรมการตลาดและการบริการรอบด้าน แต่หากตัวแพลตฟอร์มใช้งานยากหรือต้องอาศัยความรู้ด้านเทคนิคมากเกินไป ก็อาจจะส่งผลเสียต่อทีมขายและธุรกิจแทน เช่น การเรียกดู Insight ของลูกค้าแต่ละกลุ่ม การเชื่อมต่อระหว่างแพลตฟอร์มการขายอื่นๆ เป็นต้น ว่าสามารถอำนวยความสะดวกและลดงานที่ซ้ำซ้อนได้จริงหรือเปล่า

        4. ทดลองใช้หรือ Request Demo

        อีกหนึ่งวิธีเลือกระบบ Customer Relationship Management ที่สามารถช่วยได้อย่างมากคือ การทดลองใช้งานจริง ซึ่งถ้าผู้ให้บริการเปิดให้ทดลองได้ฟรีก็ขอแนะนำให้เข้าไปเริ่มเรียนรู้ระบบด้วยตัวเองได้เลย พร้อมทั้งศึกษาความคุ้มค่าของแพ็กเกจต่างๆ หรือผู้ให้บริการระบบ CRM บางรายอาจจะไม่ได้เปิดให้เข้าทดลองใช้ได้ทันที แต่ต้องติดต่อเข้าไปเพื่อคุยกับเจ้าหน้าที่ แจ้งข้อมูลและความต้องการเบื้องต้น ก่อนที่จะได้รับสิทธิ์ทดลองใช้

        ระบบ CRM ของบางแบรนด์อาจจะมีให้ “Request Demo” คือการขอให้ทางผู้ให้บริการทำการสาธิตกระบวนการ CRM ให้ดูนั่นเอง ให้ได้เห็นหน้าตาและความสามารถเบื้องต้นของระบบ เพื่อนำมาประกอบกับความต้องการของธุรกิจว่าตรงกันมากน้อยแค่ไหน

        customer relationship management
        [/row]

        5. บริการให้คำปรึกษาทั้งก่อนและหลัง

        สำหรับวิธีเลือกระบบ CRM ข้อนี้อาจจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับตัวแพลตฟอร์มโดยตรง อย่างไรก็ตาม ผู้ให้บริการก็เป็นส่วนหนึ่งที่สามารถช่วยธุรกิจได้ โดยควรมี “ศูนย์บริการลูกค้า” ไม่ว่าจะเป็นการให้คำแนะนำหรือการตอบคำถามของธุรกิจ มีการคลาสฝึกสอน (Training) ก่อนเริ่มต้นใช้งานระบบ รวมถึงเมื่อใช้งานระบบไปแล้ว แต่เกิดมีปัญหา ผู้ให้บริการก็ควรที่จะให้คำปรึกษาได้ สามารถติดต่อได้สะดวก และมีทางแก้ไขที่ชัดเจน ไม่ทิ้งกันไปกลางคัน

        เมื่อได้อ่านทั้ง 5 ข้อนี้ไปแล้ว ทุกท่านคงจะตระหนักดีว่าการเลือกระบบ CRM นั้นอาจจะต้องใช้เวลาและความละเอียดรอบคอบในการพิจารณาก่อนตัดสินใจ ซึ่งถ้าใครเลือกได้แล้วว่าต้องการใช้ Customer Relationship Management ตัวไหน ก็สามารถวางแผนในการเริ่มซื้อและใช้งานได้เลย ซึ่ง Connect X ขอแนะนำให้กำหนดวันที่ติดตั้งชัดเจนและเชื่อมกับแพลตฟอร์มอื่นๆ ให้เรียบร้อยก่อนใช้งานจริง ให้ทีมงานได้ทำความคุ้นเคยกับตัวระบบและเตรียมความพร้อมข้อมูลเพื่อที่จะติดตั้งระบบใหม่ได้อย่างสมบูรณ์

        สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

        เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

        Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

        ตอบ 3 คำถามยอดฮิต Marketing Automation ที่เจ้าของธุรกิจสงสัย!

        Marketing Automation เป็นเครื่องมือที่ช่วยทุ่นแรงธุรกิจได้ดี แต่เจ้าของแบรนด์ต่างก็มีข้อสงสัยเกี่ยวกับเครื่องมือนี้อยู่ วันนี้ Connect X จะมาตอบคำถามให้เอง

        การทำการตลาดออนไลน์หรือ Digital Marketing นั้นถือว่าเป็นสิ่งที่ต้องใส่ใจในรายละเอียดเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการสานสัมพันธ์กับลูกค้าเดิม เก็บข้อมูลเชิงลึกของผู้ที่สนใจสินค้า ค้นหา Lead และส่งแคมเปญหรือโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมายต่างๆ เพื่อกระตุ้นการขาย

        สำหรับนักการตลาดสายดิจิทัลและเจ้าของธุรกิจคงพอทราบเกี่ยวกับ Marketing Automation กันมาบ้างแล้ว แต่สำหรับมือใหม่หรือคนกำลังสร้างแบรนด์ธุรกิจของตัวเอง อาจจะมีคำถามเกี่ยวกับ “การตลาดอัตโนมัติ” อยู่ไม่น้อย

        Connect X จะมาตอบข้อสงสัยยอดฮิตต่างๆ ที่เจ้าของธุรกิจมักสงสัยกัน แต่ก่อนอื่นมาดูกันว่า จริงๆ แล้ว MA คืออะไรกันแน่?

        รู้จักกับ Marketing Automation

        MA หรือ การตลาดอัตโนมัติ หมายถึงเครื่องมือการตลาดออนไลน์ที่ประกอบไปด้วยเทคโนโลยีต่างๆ ที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถทำกิจกรรมทางการตลาดได้หลากหลาย ซึ่งจะช่วยประหยัดทั้งแรงงาน เวลา และงบประมาณที่แบรนด์ต้องลงทุน

        การตลาดอัตโนมัติสามารถเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้า และสร้างแคมเปญที่เฉพาะบุคคลได้ตรงจุด (Personalized Marketing) แล้วที่สำคัญยังสามารถตอบสนองได้ทันที (Real-Time) ทั้งนี้ก็เพื่อเพิ่ม Conversion และเพิ่มยอดขายในกับแบรนด์นั่นเอง

        เชื่อว่าเจ้าของแบรนด์อาจจะรู้สึกคุ้นขึ้นมากันบ้าง โดยเฉพาะแพลตฟอร์มการตลาดอัตโนมัติผ่านอีเมล (Email Marketing) ที่มีให้เห็นกันบ่อยๆ แต่ระบบ MA นั้นสามารถส่งผ่านแคมเปญไปได้อีกหลายช่องทาง อาทิ SMS, Facebook, Instagram, Google Ads หรือแม้กระทั่ง Web Push Notification ที่สื่อสารด้วยข้อความและแจ้งเตือนแบบเฉพาะเจาะจงกับกลุ่มลูกค้า (Customer segmentation) นั้นๆ ก็สามารถทำได้เช่นกัน จึงช่วยลดภาระการทำงานที่ซ้ำซ้อนได้ แถมยังเข้าถึงลูกค้าจำนวนมากใน Touch Point ต่างๆ ได้พร้อมกัน เพิ่ม Conversion ยอดขาย และช่วยสานสัมพันธ์ระหว่างลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

        เมื่อทราบกันแล้วว่าระบบ MA สามารถใช้ประโยชน์ต่อธุรกิจอย่างไรได้บ้าง มาดูคำถามและคำตอบที่หลายคนมีเกี่ยวกับเครื่องมือการตลาดออนไลน์กันเลย

        1. รู้ได้อย่างไรว่าธุรกิจเหมาะที่จะใช้ Marketing Automation หรือไม่?

        อย่างที่ได้กล่าวไป MA นั้นสามารถให้ประโยชน์แก่ธุรกิจได้หลากหลาย ซึ่งเหมาะอย่างมากสำหรับธุรกิจที่มีฐานลูกค้า และต้องการประหยัดงบประมาณกับเวลาให้มากขึ้น หากจะพูดว่า  MA เหมาะกับธุรกิจแทบทุกรูปแบบก็ไม่ผิดนัก แต่ก็ขึ้นอยู่กับตัวธุรกิจหรือแบรนด์ ว่าจะนำไปปรับใช้อย่างไรนั่นเอง อย่างไรก็ตาม ก่อนจะทำการตลาดอัตโนมัติได้ ธุรกิจควรมีลูกค้าเข้ามาติดต่อกับธุรกิจและต้องสามารถเก็บข้อมูล Lead มาได้ก่อน จึงจะนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้กับระบบ MA ได้

        ตัวอย่างเช่น การใช้ MA เพื่อเก็บข้อมูลอีเมลของลูกค้า จัดเรียงและวิเคราะห์ผู้ที่เป็น “Potential Customer” จากนั้นให้ทำการส่งแคมเปญ โปรโมชัน หรือข้อเสนอต่างๆ แบบ Personalized Email ให้แต่ละบุคคล เป็นต้น

        2. Marketing Automation สามารถสนับสนุนการตลาดใน Stage ใด?

        เมื่อทราบแล้วว่าธุรกิจนั้นเหมาะกับ MA มากน้อยแค่ไหน คำถามต่อมาคือ จะใช้เครื่องมือนี้ยังไง ในขั้น (Stage) ไหนของการตลาด? ซึ่งโดยปกติแล้วการทำการตลาดออนไลน์นั้นประกอบไปด้วย 3 Stage หลักๆ ได้แก่

        • Top of Funnel (TOFU) – ที่มุ่งเน้นการสร้าง Brand Awareness ให้เป็นที่รู้จักและให้ลูกค้าเกิดปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์
        • Middle of Funnel (MOFU) – เป็น Stage ที่สำคัญมากๆ ซึ่งก็คือการเปลี่ยน Leads เป็น Potential Customer ธุรกิจต้องเก็บข้อมูลของลูกค้า เพื่อนำมาทำการตลาดเพื่อปิดการขายต่อไป
        • Bottom of Funnel (BOFU) – คือลำดับขั้นสุดท้ายสำหรับปิดการขาย ซึ่งแบรนด์ต้องช่วยกระตุ้นการตัดสินใจของลูกค้าด้วยการมอบโปรโมชันต่างๆ หรือข้อเสนอทดลองใช้ฟรี และอื่นๆ

        ต้องบอกเลยว่า MA นั้นสามารถช่วยได้ทั้ง 3 Stage เลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นการยิงโฆษณาเพื่อสร้างการรับรู้ ส่งต่อโปรโมชันช่วยลูกค้าตัดสินใจ หรือแม้แต่ช่วยปิดการขาย แต่แบรนด์ต้องตอบคำถามที่ว่า ธุรกิจกำลังอยู่ใน Stage ไหนและมีเป้าหมายอะไร? ตัวอย่างเช่น ถ้าแบรนด์ต้องการสร้าง Awareness ให้มากขึ้น นั่นหมายความว่าธุรกิจควรนำเอาระบบ MA มาช่วยในขั้นตอน Top of Funnel นั่นเอง

        3. ระบบ Marketing Automation เหมาะที่จะใช้กับการตลาดในด้านไหน?

        การทำ Digital Marketing นั้น แต่ละแบรนด์ แต่ละแคมเปญ ล้วนมีจุดประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งระบบการตลาดอัตโนมัตินั้นสามารถช่วยสนับสนุนได้หลากหลายด้าน ยกตัวอย่างเช่น

        • สร้าง Awareness เพิ่มจำนวนคนที่รู้จักแบรนด์ให้มากขึ้น โดยอาศัย MA ในการจัดระเบียบการส่งโปรโมชันไปยังกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ที่มีความสนใจต่างกัน บนเว็บไซต์ ช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ ได้ในคราวเดียวกัน
        • เพิ่ม Engagement โดยการใช้ระบบวิเคราะห์ความชอบ ความสนใจของลูกค้า จากพฤติกรรมและ Customer Journey เพื่อนำไปปรับใช้ สร้างแคมเปญหรือคอนเทนต์ เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้ามีส่วนร่วมมากขึ้นนั่นเอง

        เพิ่ม Conversion Rate ผ่านระบบ Lead Scoring ให้คะแนนลูกค้าที่มีโอกาสที่จะซื้อสินค้าหรือบริการของธุรกิจมากที่สุด และสร้างแคมเปญการตลาดแบบ Personalized ไปยังลูกค้าได้อย่างแม่นยำ เพื่อให้ปิดการขายได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม

        [/col]
        marketing automation

        นอกจากนี้แพลตฟอร์มการตลาดอัตโนมัติยังสามารถสนับสนุนธุรกิจได้อีกหลายด้าน เช่นการรักษาความสัมพันธ์หรือตอบคำถามลูกค้าผ่านฟีเจอร์ Chatbot หรือ CRM ก็ตาม หวังว่าคำตอบที่ Connect X ได้นำมาตอบคำถามในบทความนี้ จะสามารถไขข้อสงสัยของเจ้าของแบรนด์ได้ และเป็นส่วนช่วยในการพิจารณาก่อนตัดสินใจนำระบบ MA มาประยุกต์ใช้กับธุรกิจ เพื่อให้สามารถเข้าถึงลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด ส่วนเจ้าของธุรกิจที่สนใจอยากนำเครื่องมือการตลาดอัตโนมัติเข้ามาใช้กับธุรกิจ

        [/row]

        Connect X เป็นระบบ Customer Data Platform (CPD) ที่มาพร้อมกับ MA ที่สามารถวิเคราะห์ได้ลึกถึง Insight แบ่งกลุ่ม Audience Segment ชัดเจนเข้าใจความต้องการของลูกค้ามากขึ้น และสร้างแคมเปญการตลาดพร้อมส่งไปยังลูกค้าที่ใช่ในทุกช่องทาง สร้างความประทับใจและประสบการณ์การใช้งานที่ลูกค้าต้องติดใจอย่างแน่นอน เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Platform ทางการตลาดที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

        Connect X เข้าใจนักการตลาดทุกคนว่าการเลือก Platform มันไม่ใช่เรื่องเล็กๆ

        *รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้าน Digital Transformation พร้อมแนะนำ Marketing Technology (Martech) และ CDP ที่ตอบโจทย์ธุรกิจยุคใหม่โดยเฉพาะ