Author Archives: connectx

“ถูกที่ ถูกคน ถูกเวลา” SMS เรียกลูกค้า แค่เห็นก็ต้องหยุดอ่าน!

Personalized Marketing จึงเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญด้วยการใช้ 1st Party Data แบบรายบุคคล เริ่มต้นเรียนรู้ลูกค้าอยากเรียกลูกค้าให้กลับมา อย่ามองข้าม SMS

อยากเรียกลูกค้าให้กลับมา อย่ามองข้าม SMS
ถ้าถามคุณว่า คุณส่ง SMS หากันครั้งสุดท้ายเมื่อไร
เดือนที่แล้ว ปีที่แล้ว หรือมากกว่านั้น
 
แต่ถ้าถามว่า คุณได้รับ SMS ครั้งสุดท้ายเมื่อไร
คุณอาจจะตอบว่า เมื่อนาทีที่ผ่านมา เมื่อวันก่อน
หรือสัปดาห์ที่ผ่านมา เห็นได้ว่าคุณยังคงมีประสบการณ์
กับ SMS อยู่ แม้จะช่องทางอื่น ๆ
เป็นเครื่องมือสื่อสารให้ติดต่อหากันก็ตาม
 
แล้วจะส่ง SMS แบบไหนที่ลูกค้าต้องหยุดอ่าน ?
“ถูกที่ ถูกคน ถูกเวลา” SMS เรียกลูกค้า แค่เห็นก็ต้องหยุดอ่าน! SMS ถูกคน
หากเปิดออกมาเป็น SMS ที่ไม่เกี่ยวข้องกับตัวเอง
เป็นใครก็คงต้องรีบปิด
“ถูกที่ ถูกคน ถูกเวลา” SMS เรียกลูกค้า แค่เห็นก็ต้องหยุดอ่าน! SMS ถูกเวลา
หากเลือกเวลาส่งให้ดียิ่งมีโอกาสที่ลูกค้าจะเปิดอ่านสูง!
“ถูกที่ ถูกคน ถูกเวลา” SMS เรียกลูกค้า แค่เห็นก็ต้องหยุดอ่าน! SMS ถูกใจ
กระตุ้นด้วยโปรโมชันพิเศษ ใคร ๆ ก็ชอบ
 
3 เรื่องง่ายๆ ในการส่ง SMS ให้ได้ผลดี
ก็ต้องยกให้ Feature เด็ดจาก Connect X
วิเคราะห์ได้ลึกถึง Insight
แล้วทำแคมเปญการตลาดแบบ Personalized ได้ทันที
 
“ถูกที่ ถูกคน ถูกเวลา” SMS เรียกลูกค้า แค่เห็นก็ต้องหยุดอ่าน!ครบ จบ ง่าย ในที่เดียว ด้วย Connect X
เครื่องมือช่วยทำ Marketing Automation
.
ติดต่อกับทีมงานผู้เชี่ยวชาญ
ทั้งด้านการตลาดและเทคโนโลยี ได้ที่นี่เลยครับ

สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

การตลาดแบบสะสมแต้มดีอย่างไร? ระบบ CRM สะสมแต้มกลยุทธ์ที่แบรนด์ยุคใหม่ต้องมี

ใครที่เคยมีประสบการณ์การเข้าร้านสะดวกซื้อทุกวัน คงเคยได้ยินกับคำพูดที่ว่า “สะสมแต้มไหมคะ?” กันเป็นประจำ เพราะนี่ถือเป็นหนึ่งในกลยุทธ์สะสมแต้มของแบรนด์และร้านค้าที่ช่วยสานสัมพันธ์ให้กับลูกค้าเก่าแล้วยังเป็นแรงจูงใจในการดึงดูดลูกค้าหน้าใหม่ให้กลับมาซื้อสินค้าหรือบริการซ้ำอีกครั้ง ช่วยให้ลูกค้าไม่หันไปซื้อสินค้าหรือบริการจากคู่แข่งอีกด้วย เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ในระบบ CRM (Customer Relationship Management) ที่สามารถช่วยปรับปรุงกระบวนการขายให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าพฤติกรรมของคนไทยส่วนใหญ่คือนิยมการสะสมแต้มเพื่อลุ้นรางวัลที่ดึงดูดใจ  ทำให้เกิดการอุดหนุนสินค้าของร้านนั้นซ้ำๆ อย่างเช่น ร้านกาแฟ ร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อ หรือปั๊มน้ำมัน ดังนั้นระบบ CRM สะสมแต้มจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจและสอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคสมัยใหม่ได้เป็นอย่างดี ฉะนั้นในบทความนี้ Connect X จะพาทุกคนไปรู้จักกับกลยุทธ์สะสมแต้มให้มากขึ้น ถ้าพร้อมแล้ว ไปดูกันเลย

ระบบ CRM สะสมแต้ม คืออะไร?

ระบบ CRM สะสมแต้มหรือการสะสมแต้มเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่ธุรกิจประเภท SME นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เพราะสามารถเข้าช่วยเหลือธุรกิจในกระบวนการทำ CRM ได้เป็นอย่างดีแถมยังมีฟีเจอร์ที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถใช้ระบบสมาชิกสะสมคะแนน ให้ลูกค้าแลกรับสิทธิพิเศษ ทำให้เป็นการเพิ่มยอดขายและกำไรในการกลับมาซื้อสินค้าหรือบริการซ้ำของลูกค้า

ด้วยสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันที่กำลังอยู่ในช่วงเวลาอันยากลำบากของผู้ประกอบการหลายคน ที่เป็นปัจจัยหนึ่งที่บีบให้การแข่งขันการทำการตลาดออนไลน์ของธุรกิจต่างๆ มีความเข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้นักการตลาดส่วนใหญ่ต้องรู้จักที่จะมีการปรับแผนการตลาดเพื่อให้เตรียมพร้อมและรับมือกับความเข้มข้นของการแข่งขันที่สูงนี้ “ไม่ใช่แค่ให้เท่าทัน แต่ต้องก้าวข้ามและยืนอยู่เหนือคู่แข่งเสมอ” ฉะนั้นไม่ใช่แค่เพียงการหาลูกค้าหน้าใหม่ แต่ยังต้องรักษาความภักดีต่อแบรนด์ให้เหนียวแน่น ดังนั้นการทำการตลาดแบบสะสมแต้มจึงเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่ทุกแบรนด์ควรรู้จักและนำไปปรับใช้เพื่อให้ประสิทธิภาพในการขายสูงขึ้นเหนือกว่าใคร

ประโยชน์ของการตลาดแบบสะสมแต้ม

หลังจากอ่านมาถึงตรงนี้ หลายคนคงพอที่จะเข้าใจกลยุทธ์การสะสมแต้มเบื้องต้นกันบ้างแล้วใช่ไหม ดังนั้นมาดูกันดีกว่าว่าหากแบรนด์รู้จักใช้กลยุทธ์นี้ให้ถูกทางจะมีผลดีอย่างไร

  • การตลาดแบบสะสมแต้มได้ผลดีกว่าการให้ส่วนลด จากงานวิจัยที่น่าเชื่อถือหลายแห่งระบุตรงกันว่า ความพึงพอใจของผู้บริโภคของการทำการตลาดแบบสะสมแต้มดีกว่าการให้ส่วนลด เนื่องจากเมื่อลูกค้าซื้อสินค้าลดราคาแล้ว ลูกค้าไม่จำเป็นต้องกลับมาซื้อซ้ำอีก หรือบางรายอาจอยากทดลองซื้อสินค้าของแบรนด์คู่แข่งก็ได้ แต่หากเป็นการสะสมแต้มจากการซื้อสินค้าหรือบริการในครั้งแรก จะเป็นการจูงใจที่ดีเพื่อสร้างความพอใจและมีโอกาสที่ลูกค้าจะกลับมาซื้อสินค้าและบริการอีกในครั้งต่อไป
  • เป็นการตลาดโดยตรงที่คุ้มค่าการเงินที่ลงทุน การทำการตลาดแบบสะสมแต้มจะช่วยให้ธุรกิจได้เงินจากการใช้จ่ายของลูกค้าอย่างแน่นอนและค่อยตอบแทนกลับด้วยรูปแบบของสิทธิ์พิเศษจากแต้มสะสม ซึ่งต่างจากการลงทุนโฆษณาในแบบอื่นๆ ที่จะต้องลงทุนไปก่อน แล้วค่อยลุ้นว่าจะปังหรือแป๊ก แต่อย่างไรก็ตาม ควรรู้เอาไว้ว่าการตลาดแต่ละรูปแบบก็มีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน ต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วนก่อนดำเนินการรูปแบบใดๆ ก่อนเสมอ
  • ต่อยอดไปยังกระบวนการวิเคราะห์พฤติกรรม แน่นอนว่าในปัจจุบันกลยุทธ์การสะสมแต้มมักเป็นหนึ่งในฟีเจอร์ของระบบ CRM ทำให้มีการเก็บข้อมูลต่างๆ ของลูกค้ามาใช้ในการวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้า เพื่อนำไปใช้ในการทำการตลาดเชิงลึกโดยต้องอิงตามข้อกำหนดของ PDPA ต่อไป

Connect X กับ Loyalty Connect

สำหรับใครที่สนใจเราขอพาทุกท่านมารู้จักกับโปรแกรม Connect X ที่เป็นระบบ CDP สำหรับธุรกิจยุคใหม่ที่ต้องการยืนอยู่เหนือคู่แข่ง จึงได้ออกแบบโปรแกรมที่พร้อมรองรับผู้ประกอบการธุรกิจที่ต้องการบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า ที่ช่วยวิเคราะห์และเก็บข้อมูลลูกค้า พร้อมทำ Real Time Marketing แบบทันที มีฟีเจอร์ต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะบริการ Loyalty Connect ที่รองรับการทำ Loyalty Program อย่างครบครัน ไม่ว่าจะเป็น

  • ระบบเก็บ Point ที่ช่วยจัดการคะแนนสะสมของลูกค้าหรือหากลูกค้ามีระบบสะสมคะแนนอยู่แล้วก็สามารถนำมาเชื่อมต่อกับ Connect X ได้ทันที
  • ระบบ Tier  เป็นระบบจัดลำดับความสำคัญของลูกค้า สามารถแบ่งออกเป็น Bronze, Silver, Diamond ทำให้สามารถตั้งสิทธิพิเศษตามขั้นต่างๆ เพื่อเป็นแรงดึงดูดใจลูกค้าได้
  • ระบบจัดการ Point สามารถเซ็ต Point ได้ทั้งในรูปแบบการเก็บและการแลก เช่น ลูกค้าซื้อสินค้ารวม 1,000 บาท ได้ 10 Points และการเซ็ตรางวัลเอาไว้เพื่อให้ลูกค้าใช้แต้มในการแลกสิทธิ์
  • ระบบ API Connect สามารถเชื่อมต่อกับระบบการแลก Point อื่นๆ ได้ เช่น POS, Website และ Application
  • ระบบ Marketing Automation เมื่อลูกค้าใช้ Point ข้อมูลจะถูกส่งมาที่ระบบของ Connect X เพื่อทำ Marketing Automation ต่อได้ทันที
  • ระบบ Point Expire สามารถกำหนดวันหมดอายุ Point ของลูกค้าได้และสามารถแจ้งเตือนลูกค้าในกรณีต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ที่ Point ใกล้หมดอายุ แจ้งเตือนให้กลับมาซื้อสินค้าซ้ำเพื่อให้ได้แต้มครบตามกำหนด เป็นต้น
  • ระบบ Gift Management  เซ็ตของรางวัลเพื่อใช้ในแคมเปญต่างๆ ได้ตามต้องการ

สรุปสั้นๆ

ต้องบอกว่าในโลกของการตลาดออนไลน์ กลยุทธ์การทำการตลาดแบบสะสมแต้ม ได้พิสูจน์ตัวเองมาแล้วมากมายว่าเป็นกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพสูงและสามารถนำไปปรับใช้กับธุรกิจได้ในทุกระดับ เห็นได้ตั้งแต่ธุรกิจ SME ไปจนถึงกลุ่มบริษัทชั้นนำที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ดังนั้นหากคุณเป็นผู้ประกอบการมือใหม่ที่กำลังอยากได้ระบบ CRM เข้ามาช่วยเหลือในการดึงดูดลูกค้าหน้าใหม่ในขณะเดียวกันก็อยากรักษาฐานลูกค้าเก่าให้อยู่ด้วยกันไปนานๆ ก็สามารถมองหา Connect X เพื่อเป็นตัวช่วยได้ทันที สามารถขอรับตัวอย่าง Demo จากทางทีมงานได้ที่นี่

สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

Marketing Automation ช่วยสนับสนุน Real-Time Marketing ได้แค่ไหน?

Real-Time Marketing เป็นการตลาดแนวไหน แล้วระบบ Marketing Automation สามารถช่วยสนับสนุนการตลาดประเภทนี้ได้ดีมากน้อยแค่ไหน มาหาคำตอบได้กับ Connect X

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าการตลาดต้องแข่งขันกันที่ “ความเร็ว” แต่ด้วยโลกดิจิทัลในยุคนี้ทำให้แบรนด์และธุรกิจต่างต้องเร็วมากขึ้นไปอีก ถึงจะมีโอกาสขยายการรับรู้ทางการตลาดก่อนคู่แข่ง แล้วในปัจจุบันกระแสต่างๆ มักมาไวไปไวเหมือนสายฟ้าแลบแบบนี้ จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่มีกลยุทธ์ทางการตลาดรูปแบบใหม่อย่าง Real-Time Marketing ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อเอาใจผู้บริโภคยุคใหม่นี่เอง

มาดูกันเลยว่ากลยุทธ์ Real-Time Marketing มีรูปแบบอย่างไร? มีข้อดีข้อเสียอะไร? แล้วตัวช่วยอย่างระบบ Marketing Automation นั้นสามารถสนับสนุนการตลาดประเภทนี้ได้ดีแค่ไหน?

Real-Time Marketing คืออะไรกันแน่?

Real-Time Marketing หรือ Real-Time Content คือกลยุทธ์การตลาดที่อาศัย “กระแสหรือเทรนด์” ที่เกิดขึ้นในสังคมขณะนั้นมาประยุกต์หรือดัดแปลงเป็นคอนเทนต์ต่างๆ เพื่อให้แบรนด์เข้าถึงความต้องการและความสนใจของผู้บริโภค ณ ตอนนั้นแบบทันทีทันใด โดยกลยุทธ์ Real-time Marketing นี้แตกต่างจากการวางกลยุทธ์การตลาดแบบเดิมที่ต้องวางแผนหลายขั้นตอน แต่เปลี่ยนให้กลายเป็นการนำประเด็นร้อนในขณะนั้นมาประยุกต์ใช้ให้ผู้บริโภครู้สึกมีส่วนร่วม เกิดความชื่นชอบหรืออยากติดตามแบรนด์มากขึ้นจนเกิดการแชร์ต่อ ทำให้ผู้คนสนใจแบรนด์มากกว่าเดิม

แน่นอนว่าช่องทางหลักที่ทำให้ Real-Time Marketing เกิดผลอย่างทันท่วงที คงหนีไม่พ้นสื่อโซเชียลมีเดียทั้งหลาย อาทิ Facebook, Instagram, Twitter, LINE และ TikTok

หนึ่งในตัวอย่างของ Real-Time Marketing ที่หลายคนอาจเคยเห็น ก็คือ กระแสของละครบุพเพสันนิวาส ที่อยู่ดีๆ ทำให้ มะม่วงน้ำปลาหวานแทบหมดตลาด เมนูกุ้งเผาที่ทำให้ร้านอาหารทะเลไม่มีเวลาพักหรือจะเป็น “กระแสออเจ้า” ที่กลายเป็น Talk of The Town แบบหลบไม่พ้นกันเลย นอกจากนี้ยังมีกระแสจากละครเลือดข้นคนจาง ที่ทำให้หนึ่งในฉากไคลแมกซ์กลายเป็น Meme ไปซะอย่างนั้น หรือจะเป็นแบรนด์ MK ในช่วงที่เกิดกระแสไวรัล #ทีมไม่ลวกหมี่หยก กับ #ทีมลวกหมี่หยก เกิดขึ้นมาจากการที่เพื่อน 2 คน ถกเถียงเรื่องวิธีการกินเมนูหมี่หยกใน Twitter นั่นเอง

พอแบรนด์ไหนหยิบเทรนด์เหล่านี้มาทำเป็นคอนเทนต์ ประชาสัมพันธ์ หรือสร้างโปรโมชัน ก็เห็นได้ชัดเลยว่าได้รับความสนใจแบบปังๆ แทบทุกแบรนด์

ข้อดีและข้อเสียของ Real-Time Marketing

ข้อดี

  • ยอด Reach และ Engagement เพิ่มขึ้น –  เนื่องจากกระแสความนิยมในระยะเวลาหนึ่งที่ผู้คนให้ความสนใจ การเข้าถึงเหล่านี้จึงช่วยเพิ่มการรับรู้ให้แบรนด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ดึงดูดฐานลูกค้าใหม่ๆ – การทำคอนเทนต์ตามกระแส ช่วยเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคที่มีความสนใจในแบรนด์ แต่ยังไม่ใช้บริการได้มาเป็นลูกค้าในที่สุด หรือแม้แต่ผู้ที่ไม่เคยรู้จักก็มีโอกาสได้รับรู้ถึงสินค้าและบริการของแบรนด์
  • รู้ถึงความต้องการของผู้บริโภค – ต้องบอกว่า “กระแส” เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากความต้องการบางอย่างที่ทำให้ผู้คนจำนวนมากสนใจ หากแบรนด์สามารถจับจุดความต้องการนั้นๆ ได้ ก็เท่ากับเป็นการเปิดโอกาสในการสร้างสรรค์เนื้อหาให้ตรงความต้องการมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้ตัวแบรนด์กลายเป็นกระแสหรือกระตุ้นยอดขายได้อย่างล้นหลามก็เป็นไปได้

ข้อเสีย

  • ระยะเวลาจำกัด – เพราะ Real-Time Marketing นั้นคือการ “โหนกระแส” ซึ่งใช้เวลาไม่นานความสนใจที่ลูกค้ามีต่อกระแสนั้นๆ ก็จะลดลงไปอย่างรวดเร็ว ฉะนั้นแคมเปญหรือคอนเทนต์ประเภทนี้จะไม่สามารถคงอยู่ได้นานนัก
  • ความเสี่ยงในเรื่องลิขสิทธิ์ – บางครั้งการผลิต Artwork เพื่อสร้างคอนเทนต์ประเภทนี้อาจต้องอาศัยรูปภาพ, โลโก้ หรือรายละเอียดที่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของเจ้าของได้ จึงเป็นข้อควรระวังอันดับต้นๆ เลยทีเดียว
  • เสี่ยงต่อการปลุกประเด็นอ่อนไหว – การทำคอนเทนต์ที่รวดเร็วตามกระแส บางครั้งอาจมีการนำเสนอคอนเทนต์ออกไปในมุมมองที่แตกต่าง ซึ่งอาจจะกระทบต่อบทสนทนาหรือความคิดที่ละเอียดอ่อน อย่างเช่น เพศ รูปลักษณ์ เชื้อชาติ ความเชื่อ ศาสนา ฯลฯ

Marketing Automation สนับสนุน Real-Time Marketing ได้ยังไง?

เจ้าของธุรกิจหลายคนอาจรู้จักระบบ Marketing Automation กันดีอยู่แล้ว ซึ่งเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่สามารถสร้างประโยชน์ให้กับธุรกิจได้รอบด้าน โดยเมื่อนำมาใช้ควบคู่กับกลยุทธ์แบบ Real-Time Marketing แล้ว พูดได้ว่าจะช่วยให้แบรนด์ประสบความสำเร็จกับแคมเปญที่มาไวไปไวได้อย่างแน่นอน

อย่างแรก ระบบการแบ่งกลุ่มลูกค้า (Audience Segmentation) สามารถทำแคมเปญการตลาดแบบ Hyper-Personalization ทำให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้าได้อย่างลึกซึ้งและนำข้อมูลทั้งหมดมาสร้างประสบการณ์เฉพาะตัว (Customer Experience) แก่ลูกค้ารายบุคคลคนได้ เมื่อนำมาประกอบกับแคมเปญที่เป็นกระแส ทำให้ผู้บริโภคได้รู้สึกเหมือนตัวเองและแบรนด์ได้มีส่วนร่วมจริงๆ ซึ่งนำไปสู่การซื้อ-ขายหรือกระตุ้น Brand Loyalty ได้ นอกจากนี้ พอเป็นการ Personalize ข้อความแคมเปญแล้ว ก็สามารถหมดกังวลเรื่องการปลุกประเด็นอ่อนไหวได้ในระดับหนึ่ง

การทำ Lead Scoring  ผ่าน Marketing Automation สามารถช่วยให้ส่งแคมเปญไปยังลูกค้าที่สนใจจริงๆ ได้ในระยะเวลาอันสั้นที่กระแสยังคงอยู่ ไม่ต้องเสียเวลายิงแอดไปยังลูกค้าที่ไม่ได้สนใจนั่นเอง

อีกทั้งยังระบบ Marketing Automation นั้นสามารถสร้าง “Customer Journey” และนำข้อมูลลูกค้ามาต่อยอดเป็นแคมเปญการตลาด อย่างการส่ง Triggers ไปยังลูกค้าในทุกๆ ช่องทาง เช่น การส่ง SMS, Email Marketing, Push Notification รวมไปถึงการยิงโฆษณาผ่านทาง Social Media เช่น LINE, Facebook, Twitter และ Instagram ผู้บริโภคที่สนใจสินค้าและบริการแต่ยังไม่ตัดสินใจซื้อ พอได้มาเห็นแคมเปญจากแบรนด์ในจังหวะที่กระแสกำลังมา ผ่านแพลตฟอร์มที่ใช่ ก็มีโอกาสสูงที่จะกระตุ้นให้ผู้บริโภคหันมาซื้อสินค้าและกลายเป็น “ลูกค้า” ได้ในที่สุด

เห็นได้ว่า Marketing Automation สามารถช่วยให้กลยุทธ์ Real-Time Marketing ประสบความสำเร็จได้ดีมากยิ่งขึ้น ซึ่งนักการตลาดและแบรนด์ต้องไม่นิ่งนอนใจ เพราะกระแสดังครั้งต่อไปจะมาอีกทีเมื่อไหร่ก็ไม่ทราบได้ ดังนั้นการลงทุนในระบบ Marketing Automation ระบบ CRM หรือ CDP เป็นอีกหนึ่งการตัดสินใจที่ดีที่จะช่วยยกระดับการทำธุรกิจออนไลน์ให้รุ่งได้ในยุคนี้

สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

Email Marketing ยังสำคัญอยู่ไหม? มีเทคนิคการสร้างยอดขายด้วยเครื่องมือนี้อย่างไร?

การมาถึงของโซเชียลมีเดียและแพลตฟอร์มสื่อสารต่างๆ อาจทำให้หลายท่านสงสัยว่า Email Marketing ยังจำเป็นต่อการเข้าถึงลูกค้าหรือไม่? Connect X จะมาตอบคำถามนั้นให้ทุกท่านกันครับ

การตลาดดิจิทัลในปัจจุบันมีวิธีการใช้งานและเครื่องมือการเข้าถึงที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการโฆษณาผ่าน Google Ads, การทำ SEM (Search Engine Marketing) หรือแม้กระทั่ง Social Media Marketing ที่ได้รับความนิยมในหมู่ธุรกิจมากขึ้นทุกวัน แต่อย่างไรก็ตามยังมีอีกเครื่องมือหนึ่งที่มักถูกมองข้ามก็คือ Email Marketing 

Email Marketing ยังสำคัญอยู่ไหม?

Email นั้นได้กำเนิดมาตั้งแต่ปี 1971 ปัจจุบันก็มีอายุ 50 ปีแล้วครับ ซึ่งหลายๆ ท่านและเจ้าของธุรกิจบางคนก็อาจคิดว่าอีเมลนั้นได้ตายไปพร้อมกับการมาถึงของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ แต่ในความเป็นจริงแล้ว อีเมลยังคงเป็นช่องทางที่ผู้คนนิยมใช้กันอยู่ โดยเฉพาะการติดต่อสื่อสารระหว่างธุรกิจและองค์กร

จากสถิติของ Mailchimp ได้แสดงค่าเฉลี่ย Open Rate (การเปิดอีเมล) อยู่ที่ 20-25% และค่าเฉลี่ย Click Rate อยู่ที่ประมาณ 2-3% ซึ่งสถิติเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าอีเมลนั้นยังเป็นช่องทางการสื่อสารที่ยังมีประสิทธิภาพอยู่พอสมควรเลยครับ

นอกจากนั้น ธุรกิจ B2B ต่างๆ ก็ยังสามารถสร้าง Lead จากการทำ Email Marketing ได้อยู่ แต่อย่างไรก็ตามการทำ Email Marketing ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดก็ต้องมีเทคนิคที่ดีด้วย

ประโยชน์ในการทำ Email Marketing

สิ่งแรกที่แน่นอนได้เลยก็ในการทำ Email Marketing คือ ท่านมั่นใจได้เลยว่าอีเมลที่ถูกส่งออกไปจะถึงผู้รับซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายของคุณได้ 100% (แต่จะเปิดอีเมลหรือไม่นั้นอีกอีกเรื่องหนึ่ง) นอกจากนั้น Email Marketing สามารถรักษาฐานลูกค้าเก่า โดยการอัปเดตข่าวสารดีๆ สร้างความสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ หรือที่เรียกว่า Customer Relationship Management และสร้างลูกค้าใหม่ผ่านการนำเสนอโปรโมชันใหม่ๆ หรือสิทธิพิเศษแบบ Exclusive จนเกิดเป็น Brand Loyalty นั่นเองครับ

เทคนิคการทำ Email Marketing ให้มีประสิทธิภาพ

แน่นอนว่าหาก Email Marketing ของท่านไม่น่าสนใจหรือทำออกมาไม่เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย อีเมลของท่านก็จะตกไปอยู่ในโฟลเดอร์ Spam ได้ง่ายๆ ซึ่งวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพของอีเมลจะมีอะไรบ้างนั้น? มาดูกันเลยครับ

1. กำหนดรูปแบบในการทำ Email Marketing ต้องการส่งอีเมลให้ลูกค้าเนื่องจากอะไร?

เป็นหนึ่งคำถามที่ท่านควรมีคำตอบก่อน โดยการกำหนดวัตถุประสงค์ของการส่งอีเมลนั้น ซึ่ง Email Marketing นั้นมีอยู่ด้วยกัน 5 รูปแบบด้วยกัน ได้แก่

  1. Behavioral Email – มีเป้าหมายในการเชิญชวน กระตุ้นและตอบสนองต่อพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย เช่น การตอบสนองต่อความเห็น การทำ Consumer Survey ซึ่งควรมีดีไซน์อีเมลแบบกระชับ เข้าใจได้ง่าย
  2. Inaugural Emails – เป้าหมายของอีเมลนี้คือการทำการแสดงความยินดีและต้อนรับที่ลูกค้าได้รับสิ่งใหม่ๆ ครับ อาทิ อีเมลที่ยินดีในการได้รางวัล ยินดีในการสมัครสมาชิก ที่จะตามมาด้วย Call To Action หลายๆ แบบอยู่ด้านใน เพื่อกระตุ้นให้ผู้ที่รับอีเมลตัดสินใจทำอะไรบางอย่างไม่ว่าจะเป็นการให้เข้าไปดูหน้าเว็บไซต์ ดูแคตตาล็อกสินค้าและบริการ เป็นต้น
  3. Promotional Emails – เป็นการประกาศให้กับกลุ่มเป้าหมายเกี่ยวกับโปรโมชันหรือกิจกรรมต่างๆ ของแบรนด์นั่นเอง ที่หลายท่านน่าจะคุ้นเคยเป็นอย่างดี เช่น เชิญชวนทำกิจกรรม การลดราคา การสมนาคุณ รวมถึงการประกาศสินค้าใหม่ ซึ่งมักจะมาควบคู่กับ Visual Stunning นั้นคือการที่ต้องมีภาพใหญ่ๆ ตัวอักษรเน้นๆ มีสีที่กระตุ้นความต้องการเพื่อดึงดูดความสนใจ
  4. Punctual Emails –  อีเมลประเภทมีเป้าหมายเฉพาะตัว เช่น เมื่อเกิดเหตุการณ์สำคัญๆ ต่อธุรกิจ และเพื่อชี้แจงข้อมูลที่มีความอ่อนไหวสูง ยกตัวอย่างเช่น Newsletter ประกาศการเปลี่ยนแปลงนโยบาย การชี้แจงข้อมูลความปลอดภัย ฯลฯ
  5. Notification Emails – อีเมลสำหรับแจ้งเตือนลูกค้าในเรื่องต่างๆ เช่น กิจกรรมที่ทำไปของผู้บริโภค ข้อผิดพลาดในการใช้งาน ข้อมูลยืนยันการซื้อสินค้า หรือการแจ้งการรีเซตรหัสผ่านต่างๆ ซึ่งควรเป็นอีเมลที่ชัดเจน และมีรายละเอียดครบถ้วน

2. ตั้งชื่อหัวข้อให้ดี

ขั้นตอนนี้สำคัญเป็นอย่างมาก เพราะหากชื่ออีเมลของคุณไม่ดี ไม่น่าดึงดูด คนก็จะไม่คลิกเข้าไป อีเมลที่ส่งไปให้นั้นก็จะไม่มีความหมายครับ เทคนิคเบื้องต้นที่ผมอยากจะแนะนำสำหรับการตั้งชื่อหัวข้ออีเมลก็คือเทคนิคเดียวกับการตั้งชื่อบทความครับ เช่น การใช้ประโยคคำถาม ใช้ตัวเลข คำพูดน่าสนใจ (เจ๋ง! หายาก! ฟรี!) เล่นกับความกลัวหรือ Scarcity

นอกจากนี้ก็ควรมีการใส่ชื่อของผู้รับอีเมลลงไปในหัวข้อด้วย เพื่อแสดงความเป็น Personalized Marketing Email ให้ลูกค้ารู้สึกว่าแบรนด์ของท่านกำลังพูดกับเขาจริงๆ และเป็นอีกวิธีที่แสดงความใส่ใจต่อลูกค้า ซึ่งการตอบโจทย์ของลูกค้าแต่ละคนเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะลูกค้าอาจมีความต้องการที่ไม่เหมือนกัน จึงต้องมีการส่งโปรโมชันที่ไม่ซ้ำกันในแต่ละคนนั่นเอง

3. โฟกัสกับเป้าหมายทีละจุด

ในการส่ง Email Marketing นั้นทางแบรนด์ควรที่จะมีเป้าหมายเพียงหนึ่งหรือสองอย่างเท่านั้น เนื่องจากการกำหนดเป้าหมายหลายๆ อย่างอาจทำให้ลูกค้านั้นเกิดความสับสนว่าอีเมลนั้นต้องการสื่อสารในด้านไหน หรือลังเลที่จะทำ Action อะไรสักอย่างหนึ่ง เช่น หากในหนึ่งอีเมลมีปุ่ม Call To Action ให้ เข้าชมเว็บไซต์ เข้าไปซื้อของ บอกโปรโมชัน บอกการเปลี่ยนแปลงทางนโยบาย ทั้งหมดด้วยกัน ซึ่งจะส่งผลให้ลูกค้าหรือผู้รับอีเมลสับสน ตัดสินใจไม่ถูก จนในที่สุดอาจจะกด Unsubscribe ไปเลยก็เป็นได้

4. Auto Resend อันทรงพลัง

ระบบ CRM หรือระบบ CDP อย่าง Connect X จะสามารถกำหนด Flow ในการส่งอีเมลให้เป็นแบบ Auto Resend ได้ เช่น ตั้งค่าไว้ว่าหากลูกค้าไม่เปิดอีเมลอ่านหรือไม่คลิกปุ่ม/ข้อความในอีเมลแรก ให้ระบบทำการส่งอีเมลซ้ำอีกรอบ ซึ่งหากวางระบบไว้ได้เป็นอย่างดี โอกาสที่ลูกค้าที่พลาดอีเมลในครั้งแรก จะกลับมาอ่านอีเมลที่ส่งมาในรอบที่สองนั้นจะสูงขึ้น ทำให้แบรนด์มีโอกาสในการปิดการขายได้มากขึ้น

5. เลือกเครื่องมือที่ใช่ มีชัยไปกว่าครึ่ง

เทคนิคทั้งหมดที่กล่าวไปข้างต้นนั้นอาจเป็นไปไม่ได้เลยหากท่านขาด Marketing Platform ที่มีฟีเจอร์ครอบคลุม สามารถทำให้ Email Marketing กลายเป็นเรื่องง่ายๆ ได้ อย่างเช่น Connect X ที่เป็น CDP หรือ Customer Data Platform โปรแกรมที่ช่วยเก็บข้อมูลลูกค้าจากทุกช่องทางไว้ในที่เดียวกัน

Connect X นั้นสามารถเซ็ต Customer Journey แบบ Cross Channel ได้ เช่น ถ้าลูกค้าไม่อ่านอีเมล ก็สามารถเซ็ตให้ส่งโปรโมชั่นผ่านช่องทางอื่นได้ทันที ไม่ว่าจะเป็น SMS, LINE หรือ Facebook เป็นต้น และนอกจากนี้ยังคงมีฟีเจอร์สุดล้ำที่เกิดมาเพื่อช่วยนักการตลาดยุคดิจิทัล

สร้างประสบการณ์ดีๆ ผ่าน Email ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

มารู้จัก 3 ข้อดีของระบบรวมแชทที่คุณไม่เคยรู้ ผู้ประกอบการธุรกิจไม่ควรพลาด!

Connect X พาผู้ประกอบการธุรกิจมือใหม่ทุกคนมารู้จักกับ 3 ข้อดีของระบบรวมแชท บอกเลยว่าถ้าอยากทำงานง่ายขึ้นแบบก้าวกระโดด ต้องใช้ระบบรวมแชทเข้าช่วย

ในปี 2023 ที่จะถึงนี้ต้องยอมรับว่าหลากหลายธุรกิจของคนไทยเตรียมลงสนามแข่งขันที่เข้มข้นมากขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจการค้าขายออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ ที่ต้องลงทุนทั้งในเรื่องของตัวสินค้าเพียงอย่างเดียวไม่พอ แต่ยังต้องทำการตลาดออนไลน์ให้ดีอีกด้วย และแน่นอนว่าหากผู้ประกอบการท่านใดที่รู้จักการหาตัวช่วยดีๆ ให้กับธุรกิจได้ก่อน ก็มีโอกาสที่จะแซงนำหน้าคู่แข่งในตลาดได้ง่ายมากขึ้น

หนึ่งในกลุ่มธุรกิจที่มีโอกาสพบเจอกับการแข่งขันที่สูงเพิ่มขึ้นคงหนีไม่พ้นธุรกิจการขายของออนไลน์ ที่ในปัจจุบันการขายของให้กับลูกค้าตัดสินกัน ”เพียงไม่กี่ตัวอักษรในกล่องข้อความ” ยิ่งเป็นร้านที่กำลังอยู่ในความสนใจ มีลูกค้าเยอะ ทำให้เวลาตอบแชทลูกค้าบางครั้งก็ต้องตอบหลายช่องทาง เผลอตอบผิดแชทไปครั้งเดียว ก็มีโอกาสพานทำให้ลูกค้าอารมณ์เสียและพลาดยอดขายสินค้าไปอย่างน่าเสียดาย

แต่ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันที่มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา จึงมีระบบรวมแชทที่เข้ามาช่วยพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ยุคใหม่ ช่วยให้ร้านทำงานง่ายขึ้น ขายของได้คล่องตัวแถมยังได้ใจลูกค้าอีกด้วย ดังนั้นในบทความนี้ Connect X จะพามาดูข้อดีของระบบรวมแชทกัน ผู้ประกอบการมือใหม่ที่อยากทำงานง่ายขึ้นและมีโอกาสเพิ่มยอดขายได้แบบก้าวกระโดดต้องห้ามพลาด ถ้าพร้อมแล้ว ไปดูกันเลย

ระบบรวมแชทคืออะไร?

ระบบรวมแชทถือเป็นหนึ่งในโซลูชันใหม่ที่เข้ามาช่วยให้การขายของออนไลน์มีประสิทธิภาพที่เพิ่มมากขึ้น โดยเป็นโปรแกรมที่จะเข้ามาช่วยจัดระบบแชทให้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์พูดคุยสื่อสารกับลูกค้าได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะมาจากช่องทางแพลตฟอร์มใดก็ตาม ทั้ง Facebook, Line, Instagram, Websites ก็สามารถรวมแชทไว้ในที่เดียวทำให้ไม่ต้องมาคอยสลับหน้าจอไปมาเพื่อตอบ

นอกจากนี้ระบบรวมแชทในบางแพลตฟอร์มยังมีฟีเจอร์อื่นๆ นอกเหนือจากระบบรวมแชท เช่น ระบบ AI Chatbot ที่จะมีแชทบอทช่วยตอบแบบตลอด 24 ชั่วโมง รวมไปถึงอาจมีระบบ CRM ที่ช่วยวิเคราะห์พฤตกรรมลูกค้าได้แม่นยำ  เพื่อนำข้อมูลไปวิเคราะห์การตลาดออนไลน์ต่อได้ง่ายมากขึ้น เป็นต้น

ข้อดีของระบบรวมแชท

1.รวมแชทลูกค้าจากทุกช่องทาง

หนึ่งในข้อดีระบบรวมแชท คือ การจัดการปริมาณแชทในหลากหลายช่องทางให้มาอยู่รวมกันในแพลตฟอร์มเดียว ไม่ว่าลูกค้าจะทักมาจากบนเว็บไซต์หรือแพลตฟอร์ม Social Media ไหน ก็สามารถตอบได้ทันที ช่วยป้องกันปัญหาการลืมตอบลูกค้า อีกทั้งยังเป็นการจัดเก็บข้อมูลลูกค้าทั้งหมดไว้ที่เดียว ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลชื่อ เบอร์โทร อีเมล และช่องทางการติดต่อ Social Media ของลูกค้า ช่วยให้การติดตามการขายได้อย่างต่อเนื่องไม่มีสะดุด

2.ช่วยสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า

แน่นอนว่าหากสามารถโต้ตอบลูกค้าได้รวดเร็วทันใจ ก็แสดงให้เห็นถึงความใส่ใจ ความละเอียดและความเป็นมืออาชีพของร้านค้า เป็นการเพิ่มโอกาสในการสร้างความประทับใจของลูกค้าต่อแบรนด์ให้มากขึ้น แถมยังเป็นการช่วยสร้างลูกค้าประจำได้อีกด้วย อย่างที่ทราบกันดีว่าการหาลูกค้าใหม่นั้นยากกว่าการรักษาลูกค้าเก่าหลายเท่า ดังนั้นหากสามารถสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าได้ อย่างเช่น เมื่อลูกค้าเก่าทักแชทเข้ามาซื้อสินค้า ร้านอาจใช้ข้อมูลที่ถูกบันทึกเอาไว้ในโปรแกรมช่วยเหลือในการสร้างความประทับใจด้วยการเรียกชื่อลูกค้า จำสินค้าหรือไซส์ได้ หรืออาจใช้โปรโมชันเพิ่มความพิเศษโดยการมอบส่วนลด ก็เป็นการเพิ่มโอกาสให้ลูกค้าอยากกลับมาซื้อสินค้าซ้ำและเกิดการบอกต่ออย่างแน่นอน

3.ทำงานร่วมกับระบบ CRM และ CDP ได้ดี

ปัจจุบันการทำ Realtime Marketing เป็นสิ่งที่ร้านค้าออนไลน์ขาดไม่ได้ ทำให้ระบบรวมแชทของแต่ละแพลตฟอร์มถูกออกแบบมาให้ใช้งานร่วมระบบ CRM และ CDP เพื่อเป็นการช่วยสานสัมพันธ์ลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นการแสดงออเดอร์และระบบภายในร้าน ช่วยให้เห็นความเคลื่อนไหวได้ภายในหน้า Dashboard พร้อมส่งตรงข้อเสนอพิเศษให้ถูกใจลูกค้า ทำให้ช่วยปิดยอดขายได้ไวขึ้น พูดง่ายๆ ว่าไม่เพียงแค่ช่วยให้การแชทกับลูกค้าสะดวกขึ้นเพียงอย่างเดียว แต่ยังช่วยซัพพอร์ตการขายออนไลน์ได้อย่างเต็มที่

ระบบรวม Social Chat ตัวช่วยจาก Connect X

หากใครที่กำลังถามหาระบบตอบแชทลูกค้าที่สามารถตอบกลับได้ทุกแพลตฟอร์มพ่วงด้วยฟีเจอร์ที่ครอบคลุมการขายของออนไลน์ Connect X คือคำตอบที่เหมาะสมในทุกประการ เพราะระบบรวม Social Chat ของ Connect X คือระบบที่เก็บข้อมูลและติดตามลูกค้าได้จากทุกช่องทาง สามารถระบุได้ว่าแชทแต่ละแชทมาจากแพลตฟอร์มไหน กำลังมีความสนใจสินค้าอะไร พูดง่ายๆ ว่า สามารถจัดการแชทได้อย่างมีประสิทธิภาพ การันตีได้เลยว่าร้านสามารถสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าได้ง่ายมากขึ้น

 

ฟีเจอร์เด่นบน Connect X

  • รองรับระบบ Live Chat ในทุกแพลตฟอร์มยอดนิยมของคนไทย ไม่ว่าจะเป็น Messenger, LINE OA, Instagram ไปจนถึงระบบ Live Chat บนเว็บไซต์
  • ระบบการจัดการแบบ Ticket Management สามารถจัดแบ่งหน้าที่ให้แอดมิน แต่ละคนสามารถรับผิดชอบได้ มั่นใจได้ว่าทุกข้อความที่ส่งเข้ามาจะไม่มีการตกหล่น
  • สามารถทำงานร่วมกับระบบ CRM และ CDM ของ Connect X ได้เป็นอย่างดี เพิ่มประสิทธิภาพในการวิเคราะห์และติดตามลูกค้า และนำข้อมูลต่างๆ ไปต่อยอดการทำการตลาดออนไลน์ในอนาคตได้
  • มีฟีเจอร์ช่วยจับคีย์เวิร์ดในเว็บบอร์ด Pantip เพื่อให้แอดมินเข้าไปตอบคอมเมนต์ได้ทันทีที่มีกระทู้พูดถึงแบรนด์หรือร้านค้า

ทิ้งท้าย

กุญแจสู่ความสำเร็จของธุรกิจในยุคนี้คือการรู้จักเลือกใช้ตัวช่วยที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้ดี สร้างความประทับใจและรู้จักสานสัมพันธ์กับลูกค้า และในขณะเดียวกันก็ต้องช่วยให้ร้านสามารถทำงานได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการบริหารจัดการภายในหรือการมีข้อมูลเพื่อนำไปต่อยอดเพื่อพัฒนาแบรนด์ให้ดีมากขึ้น สำหรับใครที่กำลังมองหาตัวช่วยดีๆ แต่ยังลังเลไม่แน่ใจสามารถเข้ามาปรึกษาเราได้ทันที

สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

4 ขั้นตอนที่ต้องรู้ สำหรับผู้ประกอบการที่อยากผ่านเกณฑ์ PDPA

4 ขั้นตอนควรรู้สำหรับผู้ประกอบการที่อยากผ่านเกณฑ์ PDPA เตรียมความพร้อมก่อนจะเริ่มประกาศใช้จริง

หลังมีประกาศเรื่องพ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือ PDPA ออกมา ผู้ประกอบการหลายคนอาจเกิดคำถามว่า PDPA มีผลบังคับใช้เมื่อไหร่ แล้วจะเริ่มทำ PDPA อย่างไรให้ผ่านเกณฑ์ เนื่องจากพ.ร.บ. นี้มีความสำคัญต่อธุรกิจและการทำ Digital Marketing ที่จำเป็นต้องเก็บข้อมูลของลูกค้าเพื่อนำมาทำการตลาด แม้ปัจจุบันพ.ร.บ. PDPA จะถูกเลื่อนใช้ไปยังวันที่ 1 มิ.ย. 2565 แล้วก็ตาม แต่ Connect X อยากจะมาแนะนำ 4 ขั้นตอนควรรู้สำหรับผู้ประกอบการที่อยากผ่านเกณฑ์ PDPA เพื่อเตรียมพร้อมไว้ก่อนใคร

ขั้นตอนที่ 1: เตรียม “คน” ในองค์กรให้พร้อม

ในขั้นตอนแรก Connect X แนะนำว่าถ้าอยากผ่านเกณฑ์ PDPA ทุกองค์กรควรเริ่มต้นจัดการกับความพร้อมของคนในองค์กรก่อน โดยสามารถจัดการได้ดังนี้

จัดตั้ง DPO (Data Protection Officer)

DPO (Data Protection Officer) คือเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัยของข้อมูลภายในและภายนอกองค์กร ทุกองค์กรที่จัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งานเอาไว้จำเป็นต้องมีการจัดตั้ง DPO ขึ้น เพื่อให้สอดรับกับพ.ร.บ. PDPA มาตรา 41 และ 42 โดยหน้าที่ของ DPO คือการให้คำแนะนำ ตรวจสอบ จัดเก็บข้อมูล และประสานงานกับสำนักงานคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเมื่อเกิดปัญหา

ฝึกอบรมพนักงานภายในองค์กรให้ตระหนักรู้เรื่อง PDPA

เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ PDPA ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทุกองค์กรควรมีการจัดอบรมพนักงานให้เข้าใจถึงหลักการทำงานและความสำคัญของ PDPA และรู้จักวิธีแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม

ประเมินผลพนักงาน

หลังจัดอบรมพนักงานควรมีการทำแบบทดสอบเพื่อประเมินความเข้าใจหลังอบรม หากมีข้อมูลส่วนไหนตกหล่นไปก็จะได้แก้ไขได้อย่างตรงจุด

 

ขั้นตอนที่ 2: ปรับ “กระบวนการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคล” ให้ตรงตาม PDPA

สำหรับธุรกิจที่เน้นขายสินค้าบนเว็บไซต์อาจกังวลว่า PDPA กับเว็บไซต์ PDPA คือพ.ร.บ. ที่จะทำให้เว็บไซต์เก็บข้อมูลไม่ได้หรือเปล่า ความจริงแล้วไม่ว่าจะอยู่ในแพลตฟอร์มไหนก็ยังเก็บข้อมูลได้ แต่ต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด ซึ่งสามารถจัดการได้ดังนี้

ยื่นเรื่องขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล

เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานของพ.ร.บ. PDPA มาตรา 19, 41 และ 42 ธุรกิจจะต้องขอความยินยอมก่อนเก็บข้อมูลผู้ใช้งาน โดยอาจจะทำเป็นแบบฟอร์มขอความยินยอมพร้อมแจ้งรายละเอียดให้ผู้ใช้งานทราบว่าจะเก็บข้อมูลเพื่ออะไรและจะเก็บไว้นานแค่ไหน นอกจากนี้ทุกองค์กรยังค1วรทำสัญญา DPA (Data Processing Agreement) เพื่อทำข้อตกลงเรื่องขอบเขตความรับผิดชอบเอาไว้ด้วย

เพิ่มช่องทางการจัดการสิทธิ์ให้กับผู้ใช้งาน

แม้จะทำการขอความยินยอมแล้ว แต่ตามกฎหมายผู้ใช้งานยังคงเป็นเจ้าของข้อมูลและมีสิทธิ์จะยกเลิกข้อตกลงหรือแก้ไขความต้องการได้ตลอดเวลา ดังนั้นผู้ประกอบการต้องเพิ่มช่องทางให้ผู้ใช้งานสามารถเข้ามาแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลของตนเองได้

จัดทำ Data Inventory Mapping

กระบวนการนี้คือการจัดระเบียบข้อมูลทุกอย่างภายในองค์กร เพื่อแยกแยะว่ามีข้อมูลใดบ้าง แล้วข้อมูลเหล่านั้นอยู่ที่ไหน จัดเก็บอย่างไร ใครเป็นผู้ดูแล แล้วส่งข้อมูลเหล่านี้ไปให้องค์กรไหนบ้าง ซึ่งการบันทึกข้อมูลอย่างเป็นระบบจะช่วยให้องค์กรนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ได้ง่ายขึ้น

ประเมินความเสี่ยงก่อนใช้งานข้อมูลส่วนบุคคล

แน่นอนว่าแม้จะทำทุกขั้นตอนครบแล้ว แต่ก่อนจะนำข้อมูลส่วนบุคคลใดที่จัดเก็บไว้มาใช้งาน ผู้ประกอบการต้องพิจารณาความเสี่ยงก่อนทุกครั้งว่าจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจหรือไม่

ขั้นตอนที่ 3: “ความปลอดภัย” คือหัวใจของความเชื่อมั่น

ทุกคนคงรู้อยู่แล้วว่าความ “ปลอดภัยของข้อมูล” คือหัวใจหลักของพ.ร.บ. PDPA หากธุรกิจไหนไม่มีนโยบายที่รองรับเรื่องนี้ ย่อมไม่มีทางผ่านเกณฑ์แน่นอน โดยผู้ประกอบการสามารถจัดการกับความปลอดภัยได้ดังนี้

ต้องมีนโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy) 

ผู้ประกอบการต้องคำนึงไว้เสมอว่า ข้อมูลของผู้ใช้งานทุกคนจะต้องได้รับการปกป้องจากองค์กร ดังนั้นองค์กรจึงต้องมีนโยบายความเป็นส่วนตัวเข้ามาควบคุม เพื่อทำให้พนักงานทราบถึงกระบวนการทำงานว่าจะจัดการกับข้อมูลเหล่านี้อย่างไร รวมถึงต้องมีบทลงโทษสำหรับคนที่ทำข้อมูลรั่วไหล เป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้ให้ข้อมูลด้วย

ต้องมีมาตรการรับมือเมื่อเกิดปัญหา

ในกรณีที่ข้อมูลรั่วไหล เจ้าหน้าที่ DPO ขององค์กรจะต้องแจ้งกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลภายใน 72 ชั่วโมง รวมถึงแจ้งเตือนให้ผู้ให้ข้อมูลรับทราบด้วย และสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ องค์กรจะต้องมีมาตราการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ

ขั้นตอนที่ 4: เลือก “เทคโนโลยี” จัดเก็บข้อมูลที่รองรับ PDPA

ในการทำธุรกิจ การเก็บข้อมูลลูกค้าเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก แต่หลังจากพ.ร.บ. PDPA เริ่มใช้งาน การจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบเดิมอาจไม่สามารถทำได้แล้ว การเลือกเทคโนโลยีที่รองรับ PDPA จึงเป็นทางเลือกเดียวที่จะทำให้ธุรกิจของคุณผ่านเกณฑ์ได้ง่าย ยกตัวอย่างเช่น แพลตฟอร์มของ Connect X แพลตฟอร์มที่มีเครื่องมือเก็บข้อมูลลูกค้าเอาไว้ในที่เดียวกัน (CDP) และมี Marketing Automation คอยช่วยเรื่องการตลาดแบบอัตโนมัติด้วย ซึ่งแพลตฟอร์มนี้มีการรองรับ PDPA ผู้ประกอบการจึงไม่ต้องกังวลว่าจะไม่ผ่านเกณฑ์

หลังจากอ่านมาถึงตรงนี้ทุกคนคงทราบแล้วว่าจะทำให้ธุรกิจของตัวเองผ่านเกณฑ์ PDPA ได้อย่างไร แม้พ.ร.บ. PDPA จะเริ่มใช้จริงในอีก 1 ปีข้างหน้า แต่ Connect X ขอแนะนำให้ผู้ประกอบการทุกคนรีบเตรียมตัวตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อเตรียมธุรกิจของตัวเองให้พร้อม พอถึงเวลาจะได้ผ่านเกณฑ์ง่าย ๆ แบบไร้กังวล เพราะยิ่งเตรียมตัวได้เร็วและดีเท่าไร ก็จะนำหน้าคู่แข่งไปได้ไกลเท่านั้น

สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

SMS Marketing ยังสามารถตอบโจทย์แบรนด์ของคุณในยุคดิจิทัล ได้หรือไม่?

การตลาดแบบ SMS Marketing อาจเป็นกลยุทธ์ที่หลายแบรนด์อาจมองข้าม แล้วเครื่องมือการตลาดตัวนี้ยังช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้อยู่หรือไม่

กลยุทธ์และเครื่องมือทางการตลาดนั้นมีหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการตลาด เช่น Content Marketing, SEM, Email Marketing และอีกมากมาย แต่ในวันนี้รูปแบบการตลาดที่ Connect X จะมากล่าวถึงในบทความนี้ก็คือ SMS Marketing นั่นเองครับ ซึ่งเป็นเครื่องมือการตลาดที่หลายคนมักมองข้าม แบรนด์และนักการตลาดรุ่นใหม่จึงอาจมีคำถามว่า “แล้วการทำ SMS Marketing ยังตอบโจทย์แบรนด์ในปัจจุบันได้หรือไม่?” 

แต่ก่อนที่จะตอบคำถามนั้น มาดูกันว่า…

การตลาด SMS Marketing คืออะไร?

นับตั้งแต่มีการส่งข้อความ SMS (Short Message Service) เป็นครั้งแรกในปี 1992 นับว่าช่องทางการสื่อสารนี้ได้มีมานานเกือบ 30 ปีแล้ว การจากส่งข้อความพูดคุยกันธรรมดากลายเป็นช่องทางการตลาด แบรนด์และธุรกิจต่างก็ใช้ SMS Marketing เพื่อบอกข่าว มอบโปรโมชันพิเศษ และประชาสัมพันธ์สิ่งต่างๆ

แม้ SMS Marketing จะเป็นการตลาดผ่านข้อความสั้นๆ แต่ก็สามารถทำได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะส่งให้กับฐานลูกค้าที่มีอยู่แล้ว หรือแบ่งตาม Audience Segment เช่น มอบส่วนลดให้ลูกค้าใหม่เพื่อเพิ่ม Conversion รวมไปถึงการส่งข้อความแบบ Personalized ที่ต่างกันให้กับลูกค้ารายบุคคลเพื่อแสดงความใส่ใจแก่ลูกค้าแต่ละคน ซึ่ง Marketing Platform อย่าง Connect X สามารถทำได้อย่างง่ายดายครับ

SMS Marketing ยังตอบโจทย์แบรนด์ได้อยู่ไหม? 

สำหรับคำถามนี้ที่ทุกท่านสงสัย Connect X ขอตอบว่า SMS Marketing สามารถตอบโจทย์ของแบรนด์ในยุคดิจิทัลได้ครับ และยังเป็นหนึ่งในส่วนสำคัญของ Customer Relationship Management อีกด้วย โดยสถิติจากหลายแหล่งพบว่า มีรายละเอียด ดังนี้

  • Open Rate หรืออัตราการเปิด SMS นั้นอยู่ที่ 98% ซึ่งสูงมาก เมื่อเทียบกับ Email ที่มี Open Rate เพียง 20%  หรือการทำการตลาดแบบอื่น
  • อัตราการตอบสนอง (Response Rate) ของ SMS ยังสูงถึง 45%
  • เวลาที่ใช้ในการตอบ SMS ของคนส่วนใหญ่อยู่ที่ 90 วินาที ซึ่งถือว่าเร็วมาก

อย่างที่ทราบกันดีว่า SMS Marketing คือการส่งข้อความหากลุ่มเป้าหมายโดยตรง รวดเร็วกว่า และมีราคาที่ถูกกว่าเครื่องมือประเภทอื่น อีกทั้งเป็นรูปแบบการตลาดที่สร้างความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับกลุ่มเป้าหมาย หรือเป็นการสร้าง  Engagement และยังสามารถเพิ่ม Conversion Rate ได้อีกด้วย อาทิ เมื่อลูกค้าสนใจสิทธิพิเศษหรือโปรโมชันที่แบรนด์ส่งผ่าน SMS ก็จะสามารถกดลิงก์เข้าไปรับสิทธิ์ได้ทันทีครับ

ต้องขอบอกเลยครับว่าการทำ SMS Marketing สามารถตอบโจทย์การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะธุรกิจ B2C เพื่อสร้างความประทับใจตั้งแต่ครั้งแรกที่เห็นข้อความ

ทำ SMS Marketing ให้เกิดประสิทธิภาพได้อย่างไร?

แบรนด์ต่างๆ สามารถนำการทำ SMS Marketing ไปประยุกต์ใช้กับขั้นตอนการตลาดได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และเป้าหมายของธุรกิจหรือแคมเปญนั้นๆ โดยต้องมีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายอย่างชัดเจนเสียก่อน โดยคุณอาจใช้คำถามพื้นฐาน เช่น 5W1H หรือก็คือ Who, What, Where, When, Why และ How นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งกำหนดได้จาก Demographic ตาม อายุ เพศ อาชีพ รายได้ เป็นต้น 

นอกจากการกำหนดกลุ่มเป้าหมายด้วยตัวเองแล้ว คุณก็สามารถใช้ระบบ CRM เพื่อบริหารจัดการฐานข้อมูลของลูกค้าให้สะดวก ชัดเจนมากยิ่งขึ้น และจะยิ่งมีประสิทธิภาพมากกว่าหากคุณทำ SMS Marketing ผ่าน Connect X

SMS Marketing ผ่าน Connect X ดีกว่าอย่างไร? 

การทำ SMS Marketing บนแพลตฟอร์มอย่าง Connect X จะทำให้ธุรกิจคุณลืมการส่งข้อความแบบแมสๆ ไปได้เลย เพราะมีฟีเจอร์ SMS Personalization ที่ไม่ใช่แค่แจ้งเตือนข่าวหรือโปรโมชัน แต่ยังสามารถแจ้งเตือนโปรรู้ใจของแต่ละบุคคล พร้อมทั้งสามารถแนบชื่อลูกค้าแต่ละบุคคลให้ประทับใจอย่างมากที่สุด และมีฟีเจอร์อีกมากมาย เช่น 

  • CDP (Customer Data Platform) ช่วยเก็บข้อมูลลูกค้าจากทุกช่องทาง ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Line, IG, Shopee, Lazada, POS, Website หรือ ERP ทำให้แบรนด์รู้ว่าลูกค้าสนใจสินค้าอะไร และโปรโมชันแบบไหน
  • แบ่งกลุ่มลูกค้าได้ลึกถึง Insight ต่างๆ อย่างพฤติกรรม หรือสินค้าที่สนใจ และอีกมากมาย
  • แบรนด์รู้ได้ทันทีว่าลูกค้าได้เปิดลิงก์ SMS หรือไม่ พร้อมสามารถตั้งค่าให้ส่งผ่านช่องทางอื่นๆ ได้อีกด้วย
  • ส่ง SMS ผ่าน Marketing Automation บน Connect X ซึ่งความพิเศษของ Connect X คือ  ถ้าลูกค้าไม่กด Link ก็สามารถส่งไปช่องทางอื่นแบบ Cross Channel ได้ เช่น Email, Line, Facebook Message ทำให้ทุกแคมเปญที่ส่งมีโอกาสที่ลูกค้าจะเห็นได้อย่างแน่นอน

ฟีเจอร์ของ Connect X ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ หากท่านสนใจสามารถเข้าไปที่เว็บไซต์ connect-x.tech เพิ่มสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้อีกด้วย

…และอย่าลืมว่า SMS Marketing จะตอบโจทย์แบรนด์คุณได้อย่างแน่นอน!

สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

มัดใจลูกค้าเก่า เข้าถึงลูกค้าใหม่ได้ง่ายขึ้นกว่าเดิมด้วย Marketing Automation

มาดูข้อดีและความสำคัญของ Marketing Automation เครื่องมือที่สามารถช่วยให้แบรนด์และนักการตลาดเข้าถึงลูกค้ายุคใหม่ได้อย่างตรงจุด

เจ้าของธุรกิจและนักการตลาดสมัยใหม่ทุกท่านคงจะมีเครื่องมือการตลาด ควบคู่กับกลยุทธ์อันหลากหลาย ซึ่งแต่ละวิธีการ แต่ละช่องทาง จะตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าที่แตกต่างกัน

อย่างไรก็ตามการจะเข้าหาลูกค้ายุคใหม่ที่ต้องการความรวดเร็วแบบเรียลไทม์ และความสะดวกสบายกว่าเดิม แบรนด์ก็ต้องมีเครื่องมือการตลาดอย่าง Marketing Automation เข้ามาตอบโจทย์ลูกค้าด้วย

Marketing Automation คืออะไร? ในบทความนี้ Connect X จะมาไขข้อสงสัยให้ทุกท่านได้ทราบกันครับ

การตลาด + เทคโนโลยี = Marketing Automation

หากจะให้คำจำกัดความสั้นๆ Marketing Automation คือการตลาดอัตโนมัติ โดยการนำเทคโนโลยีในรูปแบบต่างๆ เข้ามาช่วยทำกิจกรรมการตลาด อาทิ AI ในการวิเคราะห์พฤติกรรมและความสนใจของลูกค้า, Big Data เก็บรวบรวมข้อมูลของลูกค้า ไปจนกระทั่งการนำซอฟต์แวร์หรือแพลตฟอร์มการตลาดอย่างระบบ CRM  มาทำการตลาดในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Remarketing, Personalized Marketing, Content Marketing, Email Marketing, SMS Marketing หรือกลยุทธ์การตลาดรูปแบบอื่นๆ ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยให้แบรนด์บรรลุเป้าหมายทางการตลาดและการขายสินค้าได้ดียิ่งขึ้น

Marketing Automation กับลูกค้ายุคใหม่

ผู้บริโภคนั้นยุคนี้ต้องการแบรนด์ที่รู้ใจและสามารถต้องสนองความต้องการได้อย่างตรงจุด (Personalize Marketing) รวมไปถึงการให้บริการแบบเรียลไทม์ (Real-Time) ที่สำคัญคือ ต้องทำได้ตลอดทุกช่องทางออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นบนเว็บไซต์ สื่อโซเชียลมีเดีย (Facebook, Instagram, LINE) หรือช่องทางอื่นๆ

ทำไมธุรกิจต้องมี Marketing Automation?

1. ทำความเข้าใจลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น

ก่อนที่จะทำการตลาดไปยังกลุ่มลูกค้าที่ใช่ ในเวลาที่ดี และในช่องทางเหมาะสม คุณจะต้องเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้าของคุณก่อน และการทำความเข้าใจลูกค้านั้นจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีข้อมูล

อย่างที่กล่าวไปก่อนหน้านี้ การเก็บข้อมูลลูกค้าคือรากฐานที่สำคัญของ Marketing Automation เพราะซอฟต์แวร์หรือแพลตฟอร์มที่ดี (อย่าง Connect X)  จะช่วยให้ท่านสามารถเก็บข้อมูล เพื่อทำความเข้าใจลูกค้าของคุณแบบรายบุคคลได้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นดูสินค้าที่คนคนนั้นสนใจ หรือมีปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์ของท่านอย่างไร

2. ตัวเชื่อมระหว่าง Marketing และ Sale

หนึ่งในหน้าที่หลักของ Marketing Automation คือ “การฟูมฟัก” ให้ผู้คนที่เข้ามายังช่องทางการตลาดของท่านนั้นพร้อมสำหรับการถูกขาย ซึ่งเมื่อไหร่ก็ตามที่คนคนนั้นพร้อมซื้อ ข้อมูลต่างๆ ถึงค่อยถูกส่งไปให้ฝ่ายขายอีกที และเมื่อฝ่ายขายทำการติดต่อหรือทำการเสนอขายกับลูกค้าแล้ว ไม่ว่าจะสำเร็จหรือไม่สำเร็จ ข้อมูลต่างๆ ที่ได้มาจากปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าจะนำมาวิเคราะห์เพื่อทำความเข้าใจลูกค้าต่อด้วย

Marketing Automation ช่วยให้ฝ่ายการตลาดและฝ่ายขายสามารถทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนาแบรนด์และธุรกิจได้อย่างทรงประสิทธิภาพมากขึ้น

3. เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

การนำเครื่องมือ Marketing Automation เข้ามาปรับใช้ จะช่วยให้แบรนด์สามารถดำเนินธุรกิจได้ราบรื่นยิ่งขึ้น ลดภาระงาน เช่น การใส่ข้อมูลซ้ำซ้อน หรือ การส่ง กิจกรรมทางการตลาดและการขายไปยังผู้ที่สนใจอีกครั้ง นอกจากนี้ยังช่วยลดข้อผิดพลาดที่เกิดจากบุคคล (Human Error) ได้ด้วยนั่นเอง

Marketing Automation ทำงานอย่างไร?

การตลาดอัตโนมัตินั้นสามารถเริ่มใช้งานได้ตั้งแต่ขั้นตอนแรก Marketing Funnel หรือก็คือเมื่อลูกค้ารับรู้ถึงสินค้าหรือบริการ (Awareness) ยกตัวอย่างเช่น

คุณ A ได้เข้ามาดูสินค้าของแบรนด์ท่านมากถึง 3 ครั้ง ทั้งบนเว็บไซต์  Facebook และ Instagram แต่ยังไม่มีการติดต่อเข้ามา ท่านสามารถตั้งค่าให้ Marketing Automation ให้ทำการส่งคอนเทนต์ แคมเปญ หรือโปรโมชันต่างๆ ไปให้คุณ A ผ่านทางอีเมล และหากยังไม่สนใจเหมือนเดิม ก็อาจเปลี่ยนช่องทางเป็น ข้อความ SMS หรืออีกนัยหนึ่งก็คือสามารถทำ Personalized Marketing กับลูกค้าแต่ละคน พร้อมทำ Remarketing กับฐานลูกค้าเดิมด้วย

สำหรับแพลตฟอร์ม Connect X ท่านสามารถ ส่ง Personalized Message  ผ่าน Line Message, Facebook Message, Email เป็นต้น สร้างประสบการณ์เฉพาะตัวให้ลูกค้ารู้สึกประทับใจได้มากกว่า อีกทั้งยังเป็น CDP (Customer Data Platform)  เก็บข้อมูลลูกค้าได้ตั้งแต่ยังเป็น Unknown Data จนเป็น Known จะเป็นลูกค้าหน้าใหม่ก็สามารถส่งโปรโมชันที่ตรงใจได้ตลอด

สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

ห้ามพลาด! รวม 8 คำถามน่ารู้เกี่ยวกับ PDPA

Connect X จะมาตอบทุกคำถามที่หลายคนคาใจเกี่ยวกับ PDPA คืออะไร ให้ทุกคนเข้าใจและระมัดระวังกันมากยิ่งขึ้น

สำหรับการประกาศใช้ พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือ PDPA ไปเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา ทำให้หลายๆ คน เริ่มตระหนักและอยากรู้จักกับ PDPA ให้มากยิ่งขึ้น ทั้งในแง่ของผู้บริโภคที่ต้องการรักษาสิทธิ์ส่วนตัว และผู้ประกอบธุรกิจที่ต้องการนำข้อมูลของลูกค้ามาใช้งานในด้านต่างๆ ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาได้มีกระแสบนโลกออนไลน์หลากหลายแง่มุม จึงยิ่งทำให้ใครหลายๆ คน เกิดความสงสัยและเกิดคำถามเกี่ยวกับ PDPA อย่างมากมาย

วันนี้ Connect X จึงขอมาอาสามาตอบ 8 คำถามยอดฮิตที่คาใจเกี่ยวกับ PDPA เพื่อให้ทุกคนได้รับทราบ เข้าใจ และนำไปปรับใช้งานได้จริง

1. PDPA คืออะไร?

พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือ กฎหมาย PDPA (Personal Data Protection Act) คือ กฎหมายที่ช่วยคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภคในทุกช่องทางไม่ว่าจะเป็นช่องทางออนไลน์ (Online) หรือออฟไลน์ (Offline) จากองค์กรทั้งในและต่างประเทศ หากธุรกิจหรือองค์กรใดต้องการจัดเก็บหรือนำข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภคไปใช้ประโยชน์จะต้องได้รับความยินยอม (Consent) จากเจ้าของข้อมูลก่อน ซึ่งผู้บริโภคมีสิทธิ์ในการฟ้องร้องหากถูกละเมิดกฎหมายดังกล่าวได้อีกด้วย

2. PDPA มีผลกับใครบ้าง?

พูดได้อย่างเต็มปากว่า PDPA มีผลกับทุกๆ คน ไม่ว่าจะเป็นในแง่ขององค์กรหรือผู้ประกอบการ ผู้บริโภค รวมถึงประชาชนทั่วไป เพราะหากมีการนำข้อมูลของผู้อื่นไปใช้ ไม่ว่าจะเป็นรายละเอียดข้อมูล ภาพถ่าย วิดีโอ ก็จะครอบคลุมอยู่ในกฎหมาย PDPA ซึ่งบุคคลหรือองค์กรที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับกฎหมายดังกล่าว จะแบ่งออกเป็น

  • เจ้าของข้อมูล (Data Subject)
  • ผู้ควบคุมข้อมูล (Data Controller)
  • ผู้ประมวลผลข้อมูล (Data Processor)

3. PDPA คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลด้านไหน?

ข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) ที่กฎหมาย PDPA จะครอบคลุมนั้นมีอยู่มากมาย ตั้งแต่ข้อมูลพื้นฐานไปจนถึงข้อมูลที่มีความอ่อนไหว ซึ่งประกอบไปด้วย ชื่อ – นามสกุล, เลขประจำตัวประชาชน, เลขหนังสือเดินทาง, เลขใบอนุญาตขับขี่, ที่อยู่, เบอร์โทรศัพท์, วันเกิด, อีเมล, การศึกษา, เพศ, อาชีพ, รูปถ่าย, ข้อมูลทางการเงิน, ทะเบียนรถยนต์, โฉนดที่ดิน, ทะเบียนบ้าน

ในส่วนของข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตก็ครอบคลุมไปถึงข้อมูลที่สามารถใช้ระบุตัวตนได้ อาทิ Username/Password, Cookies IP Address, GPS Location เป็นต้น นอกจากนี้ยังรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อน (Sensitive Personal Data) อย่างข้อมูลทางการแพทย์หรือสุขภาพ, ข้อมูลทางพันธุกรรมและไบโอเมทริกซ์, เชื้อชาติ, ความคิดเห็นทางการเมือง, ความเชื่อทางศาสนาหรือปรัชญา, พฤติกรรมทางเพศ, ประวัติอาชญากรรม, ข้อมูลสหภาพแรงงาน เป็นต้น

เห็นได้ว่า PDPA นั้นเป็นกฎหมายที่สามารถคุ้มครองข้อมูลด้านต่างๆ ของแต่ละบุคคลได้อย่างครอบคลุมเลยทีเดียว

 

4. ในเมื่อ PDPA มีผลอย่างเป็นทางการแล้ว จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง?

ข้อเปลี่ยนแปลงสำคัญอย่างแรกคือ ผู้ที่เป็นเจ้าของข้อมูลจะได้รับการคุ้มครองมากขึ้น และมีสิทธิ์ในการควบคุมการประมวลผลข้อมูล รวมถึงสามารถเรียกร้องหรือฟ้องร้องได้ หากได้รับความเสียหายในกรณีที่มีบุคคลหรือหน่วยงานนำข้อมูลของตนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

ส่วนผู้ที่นำข้อมูลไปใช้ อย่างภาคธุรกิจ องค์กร หน่วยงาน และบุคคล จะต้องขออนุญาตและระมัดระวังในการใช้ข้อมูลดังกล่าว เพื่อประโยชน์ตามที่กฎหมายกำหนด และไม่ทำให้เจ้าของข้อมูลเสียหายหรือเสื่อมเสียชื่อเสียง

ผู้ที่นำข้อมูลไปใช้จะต้องทำตามข้อกำหนด ดังนี้

  • ต้องจำกัดการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเพียงเท่าที่จำเป็น
  • การประมวลผลข้อมูลต้องมีวัตถุประสงค์ ซึ่งมีฐานกฎหมายตามที่ พรบ. กำหนดรองรับ เช่น เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญา สิทธิ์อันชอบธรรม และหากเป็นการประมวลผลด้วยฐานความยินยอมต้องได้รับความยินยอมก่อน
  • ต้องอธิบายและแจ้งรายละเอียดการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลให้เจ้าของข้อมูลทราบ
  • ต้องมีการรับประกันความมั่นคงและความปลอดภัยของข้อมูล
  • หากมีข้อมูลรั่วไหลต้องทำการแจ้งเตือนให้เจ้าของข้อมูลทราบ รวมถึงแจ้งสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งจะมีการประเมินความเสียหาย และวิธีการเยียวยาเจ้าของข้อมูล

5. ถ่ายภาพหรือวิดีโอแล้วติดบุคคลอื่นผิดหรือไม่?

ถือเป็นหนึ่งในประเด็นที่ได้รับความสนใจค่อนข้างมากในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งการถ่ายภาพหรือวิดีโอที่มีหน้าของบุคคลอื่นติดมาด้วยนั้น สามารถแยกได้เป็น 3 กรณี ดังนี้

  1. กรณีที่ถ่ายภาพและวิดีโอติดบุคคลอื่นโดยไม่เจตนาหรือไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหาย – ถือว่าสามารถทำได้หากใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว และหากมีการนำไปโพสต์ลงโซเชียลมีเดีย ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน แต่ต้องไม่ใช้เพื่อการแสวงหากำไรทางการค้าและไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
  2. กรณีภาพของกล้องวงจรปิดถ่ายติดบุคคลอื่น – หากติดภายในบ้าน โดยมีจุดประสงค์เพื่อป้องกันอาชญากรรมและรักษาความปลอดภัย ไม่จำเป็นต้องมีป้ายแจ้งเตือน แต่หากเป็นกรณีที่ติดตั้งในที่สาธารณะ หน่วยงาน องค์กร ร้านค้า ห้างสรรพสินค้า จะต้องติดป้ายประกาศหรือสติกเกอร์เพื่อแจ้งให้ทราบว่ามีกล้องวงจรปิดและมีการบันทึกข้อมูล เพื่อเป็นการแจ้งให้ผู้คนรับทราบ
  3. กรณีของกล้องหน้ารถยนต์ – ไม่จำเป็นต้องติดประกาศแจ้งให้ทราบ หากนำภาพหรือวิดีโอที่มีบุคคลอื่นไปใช้โดยไม่ส่งผลกระทบหรือความเสียหายต่อบุคคลในภาพ/วิดีโอนั้นสามารถทำได้ แต่ไม่สามารถนำไปใช้ทางการค้า สร้างรายได้ สร้างความอับอาย ความเสียหาย หรือใช้ในรูปแบบอื่นๆ ที่ไม่ใช่วัตถุประสงค์ส่วนตัว

6. เจ้าของข้อมูลต้องให้ความยินยอมทุกครั้งก่อนนำข้อมูลไปใช้หรือไม่? 

โดยปกติหากนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้จะต้องขออนุญาตเจ้าของข้อมูลก่อนทุกครั้ง แต่ PDPA มีข้อยกเว้นที่สามารถนำข้อมูลไปใช้โดยไม่ต้องขอความยินยอม ซึ่งเป็นกรณีดังนี้ 

  • เป็นการทำตามสัญญา เช่น เว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน E-Commerce ที่ต้องใช้ชื่อและที่อยู่ในการส่งพัสดุให้ลูกค้า หรือเป็นข้อมูลที่จำเป็นต่อการทำงาน เช่น การเป็นสมาชิกหรือ Subscription Service ที่ต้องใช้ข้อมูลบัตรเครดิต เป็นต้น 
  • เป็นการใช้ที่มีกฎหมายให้อำนาจ
  • เป็นการใช้เพื่อรักษาชีวิตและ/หรือ ร่างกายของบุคคล รวมถึงป้องกันอันตราย และการป้องกันโรคระบาด
  • เป็นการใช้เพื่อการค้นคว้าวิจัยทางสถิติ
  • เป็นการใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะ
  • เป็นการใช้เพื่อปกป้องผลประโยชน์หรือสิทธิ์ของตนเอง
  • เป็นการใช้เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับเอกสารประวัติศาสตร์
  • เป็นการใช้เพื่อประมวลผลเชิงเนื้อหาสำหรับสื่อมวลชน ซึ่งต้องเป็นไปตามจริยธรรมแห่งการประกอบวิชาชีพหรือเป็นประโยชน์สาธารณะเท่านั้น 

ทั้งนี้ หลักการข้างต้น อาจเปลี่ยนแปลงตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเป็นกรณีๆ ไป ถึงไม่ต้องขอความยินยอม แต่ผู้ควบคุมข้อมูลยังต้องรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและคำนึงถึงสัดส่วนความจำเป็นของการใช้ข้อมูล และผลกระทบต่อความเป็นส่วนตัวของเจ้าของข้อมูล 

7. เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล มีสิทธิ์อะไรเกี่ยวกับข้อมูลของตนบ้าง?

  • สิทธิ์ในการถอดถอนความยินยอมในกรณีที่ได้ให้ความยินยอมไว้
  • สิทธิ์ได้รับการแจ้งให้ทราบรายละเอียด (Privacy Notice)
  • สิทธิ์การขอเข้าถึงและการขอสำเนาข้อมูลส่วนบุคคล 
  • สิทธิ์ขอให้โอนข้อมูลส่วนบุคคล
  • สิทธิ์คัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้งาน หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล 
  • สิทธิ์ขอให้ลบหรือทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลได้
  • สิทธิ์ขอให้ระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
  • สิทธิ์ขอให้แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล
  • สิทธิ์ในการร้องเรียนต่อคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญในกรณีที่มีการฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือประกาศที่ออกตามกฎหมาย PDPA

8.หากไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย PDPA จะเป็นอย่างไร?

สำหรับผู้ที่นำข้อมูลไปใช้ประโยชน์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลนั้น ไม่ว่าจะเป็นผู้ควบคุมข้อมูล (Data Controller) และผู้ประมวลผลข้อมูล (Data Processor) จะมีโทษทางกฎหมาย โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • ความรับผิดทางแพ่ง ตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง และอาจต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพิ่มขึ้นอีก โดยสูงสุดไม่เกิน 2 เท่าของค่าเสียหายที่แท้จริง
  • โทษทางอาญา จำคุกสูงสุดไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • โทษทางปกครอง ปรับสูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาท

จากที่ Connect X ได้พาเจอคำตอบของคำถามต่างๆ เกี่ยวกับกฎหมาย PDPA กันให้มากยิ่งขึ้นจากคำถามทั้ง 8 ข้อกันไปแล้ว น่าจะช่วยตอบข้อสงสัยของใครหลายๆ คน และช่วยให้เข้าใจเกี่ยวกับ PDPA มากขึ้น รวมถึงตระหนักถึงความสำคัญของการนำข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่นไปใช้กันมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในมุมของประชาชนทั่วไปที่เป็นผู้บริโภคหรือภาคธุรกิจก็ตาม

หากไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย มีการนำข้อมูลไปใช้โดยไม่ได้รับความยินยอมหรือผิดวัตถุประสงค์ ก็อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินหรือความเป็นส่วนตัวของเจ้าของข้อมูล และส่งผลกระทบต่อองค์กรเป็นวงกว้าง

นอกจากนี้ องค์กรหรือธุรกิจที่ปฏิบัติตามกฎหมาย PDPA อย่างเคร่งครัด จะช่วยเสิรมสร้างน่าเชื่อถือและภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กรได้อีกด้วย สำหรับใครกำลังมองหาตัวช่วยที่ปลอดภัยและสะดวกสบายอยู่นั้น Connect X เป็นแพลตฟอร์ม Customer Data Platform (CDP) ที่รองรับกฎหมาย PDPA และได้รับมาตรฐานการเก็บข้อมูลอย่างปลอดภัย มีมาตรฐาน ISO27001 ซึ่งสามารถช่วยเก็บรวบรวมข้อมูลลูกค้าจากทุกช่องทางไว้ในที่เดียวกัน และยังมี Marketing Automation ที่ช่วยทำการตลาดแบบอัตโนมัติ เพื่อให้ธุรกิจนำข้อมูลมาใช้ได้อย่างสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ พร้อมความปลอดภัยและมีขั้นตอนการขออนุญาตเก็บข้อมูลที่ถูกต้องตามกฎหมายอย่างแน่นอน

สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

จริงหรือไม่? 3 เรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับ PDPA เปลี่ยนความคิดด่วน

เพราะข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญ กฎหมาย PDPA จึงเกิดขึ้นเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล แต่หลายคนก็ยังสงสัยหรือเข้าใจผิดเกี่ยวกับ PDPA อยู่ ดังนั้นมาไขข้อสงสัยกันดีกว่า

พอกฎหมาย PDPA (Personal Data Protection Act) ได้ประกาศบังคับใช้อย่างเป็นทางการไปเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ทำให้ผู้ประกอบการและภาคธุรกิจต้องปรับตัวกันยกใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการขอความยินยอมในการเก็บข้อมูล การจัดทำนโยบายความเป็นส่วนตัว การนำข้อมูลไปใช้ ไปจนถึงการกำกับดูแลข้อมูล

สำหรับการขอความยินยอมหรือ Consent เพื่อเก็บข้อมูลจากลูกค้าถือเป็นกุญแจสำคัญในการทำ Digital Marketing ซึ่งหลากหลายธุรกิจต่างก็ต้องหาข้อมูลอย่างเคร่งครัดเกี่ยวกับข้อห้าม PDPA ว่าอะไรที่สามารถทำได้หรือทำไม่ได้ แต่สำหรับมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มศึกษาก็ต้องเจอกับรายละเอียดข้อมูลมากมายที่อาจทำให้สับสนได้ง่ายๆ

3 เรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับ PDPA ต้องเคลียร์ ไม่ให้สับสน

เชื่อว่าทั้งผู้บริโภคและเจ้าของธุรกิจหลายๆ คนยังมีเรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับ PDPA อยู่ไม่น้อย ดังนั้น Connect X จะมาไขข้อสงสัยต่างๆ เกี่ยวกับพ.ร.บ. ฉบับนี้ให้กระจ่าง ตามมาดูกันได้เลย!

1. ข้อห้าม PDPA มีเพียงผู้ประกอบการหรือธุรกิจเท่านั้นที่ต้องทำตาม

จากชื่อ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หลายคนจึงเข้าใจว่ามีเพียงแค่ธุรกิจเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบและต้องปฏิบัติตามข้อบังคับต่างๆ ของ PDPA อย่างไรก็ตาม ต้องบอกว่ากฎหมายนี้ให้การคุ้มครองข้อมูลอย่างครอบคลุม เพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับเจ้าของข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทร อีเมล เลขบัตรประชาชน ข้อมูลลายนิ้วมือ เลขบัญชีธนาคาร หรือข้อมูลอื่นๆ ที่สามารถใช้ระบุตัวตนของเจ้าของข้อมูลได้ทั้งช่องทางออฟไลน์และออนไลน์

โดยการบังคับใช้ PDPA มีผลกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง คือ เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Subject) ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Collector) และผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processor) พูดง่ายๆ ว่าทั้งภาครัฐ เอกชน กิจการ และผู้บริโภคต่างก็ต้องปฏิบัติตามข้อกฎหมายนี้ด้วยกันทั้งหมด ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น ในกรณีที่ซื้อสินค้าออนไลน์แล้วมีการติดต่อพ่อค้าแม่ค้าโดยตรง เราจะได้เลขบัญชีเพื่อโอนจ่ายเงิน จากนั้นต้องแจ้งสลิป พร้อมชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทร สำหรับจัดส่งสินค้า ซึ่งข้อมูลทั้งหมดนี้ถือว่าเป็นข้อมูลส่วนบุคคล เท่ากับว่าพ่อค้าแม่ค้าและเราก็ต้องปฏิบัติตาม PDPA ทั้งคู่ ไม่นำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว เป็นต้น

2. ธุรกิจต้องได้รับความยินยอม (Consent) จากเจ้าของข้อมูลทุกครั้ง

สำหรับ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ยังมีบทบัญญัติเกี่ยวกับหลักการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลตามกฎหมาย PDPA ในมาตรา 24 ซึ่งมีหลักการเกี่ยวกับเรื่องความยินยอม (Consent) ก่อนที่แบรนด์หรือนักการตลาดจะนำข้อมูลไปเก็บในระบบ CRM หรือนำไปประกอบแคมเปญต่างๆ ก็ต้องขอความยินยอมก่อน เช่น การขอ Cookie Consent เพื่อจัดเก็บไฟล์คุกกี้และข้อมูลของผู้เข้าชมเว็บไซต์ แต่ไม่ได้แปลว่าธุรกิจจะต้องขออนุญาตทุกครั้งที่ต้องเก็บข้อมูล

ในความจริงแล้ว เจ้าของข้อมูลต้องให้ความยินยอม (Consent) ต่อผู้ควบคุมข้อมูลตามที่แจ้งไว้ตั้งแต่แรกเพียงครั้งเดียวเท่านั้น อาทิ เมื่อสมัครสมาชิกผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน หลังจากกรอกรายละเอียดแล้ว จะมีข้อความหรือเอกสารให้อ่านพร้อมปุ่มกด “ยินยอม” หรือ “ยอมรับ” เพื่ออนุญาตให้ธุรกิจเก็บรวบรวมข้อมูลนั่นเอง ซึ่งจะเป็นการทำเพียงครั้งเดียว ไม่จำเป็นต้องกดยินยอมทุกครั้งเมื่อเข้าสู่ระบบ สำหรับมุมมองของธุรกิจนั้น การขอความยินยอมเพียงครั้งเดียวนี้ก็เป็นการอำนวยความสะดวกให้สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลของผู้ใช้งานหรือลูกค้าได้ต่อเนื่องและมีฐานข้อมูลครบถ้วน สามารถใช้ในการทำการตลาดหรือเพื่อปรับปรุง Marketing Automation ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้นั่นเอง

นอกจากนี้ ยังมีกรณีต่างๆ ที่ข้อมูลจะถูกเก็บรวบรวมได้ โดยได้รับข้อยกเว้น PDPA หรือไม่จำเป็นต้องขอความยินยอมดังนี้

  • กรณีป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพของเจ้าของข้อมูล รวมไปถึงการใช้ข้อมูลเพื่อประโยชน์สาธารณะ เช่น ป้องกันโรคระบาด ซึ่งผู้ควบคุมสามารถเก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผย ข้อมูลส่วนบุคคลได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอม
  • การปฏิบัติตามสัญญา ไม่ต้องขอความยินยอม
  • ปฏิบัติภารกิจของรัฐ ตามมาตรา 24(4) หากจำเป็นต่อการดำเนินภารกิจของรัฐเพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือเป็นการใช้อำนาจรัฐ การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อการนั้น ไม่ต้องขอความยินยอม อย่างไรก็ตาม แม้ไม่ต้องขอความยินยอม แต่ผู้ควบคุมยังคงมีหน้าที่ในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และคำนึงถึงความได้สัดส่วนความจำเป็นในการใช้ข้อมูล และผลกระทบต่อความเป็นส่วนตัวของเจ้าของข้อมูล
  • ปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่ต้องขอความยินยอม มาตรา 24(6)

3. การโพสต์รูปโซเชียลโดยมีใบหน้าผู้อื่นติดมาด้วย ถือว่าผิดกฎหมาย PDPA

ใจความสำคัญของ PDPA คือการปกป้องความเป็นส่วนตัว ซึ่งก็รวมไปถึงรูปถ่ายหรือวิดีโอที่มีใบหน้าของเจ้าของข้อมูลด้วย หลายคนเข้าใจว่าการที่ใครสักคนโพสต์รูปบนโซเชียลแล้วมีใบหน้าเราติดไปถือว่าเป็นการละเมิดพ.ร.บ. ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ “ผิด” จนกลายเป็นประเด็นร้อนในโลกโซเชียลกันไปแล้ว

จริงๆ แล้ว การที่ผู้ถ่ายรูปหรือคลิปวิดีโอบังเอิญถ่ายติดใบหน้าของคนอื่นไปโดยไม่ได้เจตนา หรือไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ถูกถ่ายก็สามารถทำได้โดยไม่ผิดหลัก PDPA ส่วนในกรณีที่ได้นำรูปถ่ายหรือคลิปไปโพสต์บนโซเชียลก็สามารถทำได้ ถ้าเป็นการทำเพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว ไม่นำไปใช้เพื่อผลประโยชน์หรือทำกำไร และทำให้เจ้าของข้อมูลเสื่อมเสียชื่อเสียงหรือทำให้เกิดอันตราย

เรื่องการติดตั้งกล้องวงจรปิด ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่หลายคนกังวลว่า หากถ่ายติดใบหน้าคนอื่นจะเป็นการทำผิดพ.ร.บ. หรือเปล่า ซึ่งถ้าเป็นการติดภายในบริเวณบ้านเพื่อรักษาความปลอดภัย ก็ไม่จำเป็นต้องทำป้ายแจ้งเตือน หมดห่วงได้เพราะไม่ผิดต่อข้อกฎหมายแน่นอน

ทั้งหมดนี้ก็เป็นข้อสงสัยหลักๆ ที่หลายคนยังมีอยู่ หวังว่าบทความนี้จะสามารถไขข้อสงสัยได้ไม่มากก็น้อย สำหรับธุรกิจและเจ้าของแบรนด์ทุกท่านต้องไม่ลืมที่จะค้นหา “เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูล” หรือ “Data Protection Officer (DPO)” เพื่อเข้ามาดูแลกฎหมาย PDPA ภายในองค์กรและตรวจสอบนโยบายการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า

ที่สำคัญ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบรนด์ควรมีระบบ CDP หรือระบบ CRM ที่เป็นไปตาม PDPA เพื่อรักษาและปกป้องข้อมูลของลูกค้า รวมถึงเป็นการหลีกเลี่ยงการฟ้องร้องที่อาจเกิดขึ้นได้หากเกิดข้อผิดพลาดขึ้นนั่นเอง

สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM หรือต้องการคำปรึกษา ทาง Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย