Category Archives: other

5 เทคนิค Email Marketing จากแบรนด์ดังระดับโลกที่ใช้แล้วเวิร์คสุดๆ

Connect X ขอเผยเคล็ดลับกับ 5 เทคนิค Email Marketing ของแบรนด์ดังระดับโลกที่รับรองว่าเวิร์คสุดๆ ให้เหล่านักธุรกิจนำไปปรับใช้ได้ง่ายๆ

หากพูดถึง Digital Marketing หลายคนอาจนึกถึงการตลาดบนสื่อโซเชียล (Social Media Marketing) มาเป็นอันดับแรกๆ เพราะเป็นช่องทางที่สามารถเพิ่มโอกาสในการซื้อขายและขยายตลาดได้สะดวกและเห็นผลไวที่สุด จึงเกิดคำถามว่า “แล้วการตลาดรูปแบบอื่น อย่าง Email Marketing ยังเหมาะสมกับการตลาดในยุคปัจจุบันอยู่หรือไม่?” เพราะหลายคนเชื่อว่าเป็นช่องทางที่ได้รับความนิยมน้อยกว่าสื่อโซเชียล แต่รู้หรือไม่ว่า แบรนด์ดังระดับโลกยังคงใช้ Email Marketing ในการกระตุ้นยอดขาย และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าได้เป็นอย่างดี

Email Marketing ยังเป็นช่องทางที่มีประสิทธิภาพอย่างมาก เพราะข้อดีของ Email Marketing คือสามารถทำการตลาดแบบเฉพาะบุคคล (Personalized)  ที่ช่วยสร้างความรู้สึกพิเศษหรือ Customer Journey ที่น่าประทับใจให้กับลูกค้า ซึ่งธุรกิจสามารถส่งข้อความหรือข้อมูลข่าวสารซ้ำๆ (Auto Resend) ได้อย่างไม่จำกัด และส่งไปถึงเป้าหมายได้ 100% นอกจากนี้ ยังสามารถต่อยอดไปยังการตลาดรูปแบบอื่นๆ ได้ง่ายดาย พร้อมผสานการทำงานกับระบบอื่นๆ อย่างระบบ CRM, Marketing Automation และ CDP (Customer Data Platform) ได้อีกด้วย

วันนี้ Connect X จะมาแนะนำการใช้ Email Marketing ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดด้วย 5 เทคนิคที่แบรนด์ระดับโลกใช้แล้วเวิร์คสุดๆ

Email Marketing คืออะไร?

Email Marketing หรือ “การตลาดผ่านอีเมล” นั้นมีความหมายที่ตรงตัว เป็นการตลาดออนไลน์รูปแบบหนึ่งที่ใช้อีเมลเป็นช่องทางในการสื่อสาร โดยจะเน้นการส่งข้อมูลข่าวสาร แนะนำสินค้าและโปรโมชัน ประกาศสำคัญต่างๆ ของแบรนด์ เพื่อเป็นการเพิ่มยอด Engagement สู่เว็บไซต์หรือขยายช่องทางการขายหลักของร้านได้ กล่าวคือจุดประสงค์ในการทำ Email Marketing คือการกระตุ้นยอดขายให้ลูกค้ากลับมาซื้ออีกครั้ง (Remarketing)

นอกเหนือจากนั้น Email Marketing ยังสามารถใช้สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างแบรนด์กับกลุ่มลูกค้า ช่วยรักษากลุ่มลูกค้าเก่า พร้อมกับมัดใจลูกค้ารายใหม่ได้ง่ายๆ โดยผู้ใช้งานสามารถเลือกกลุ่มฐานลูกค้าที่ต้องการส่งอีเมลได้ ตลอดจนการทำการตลาดแบบรายบุคคล (Personalized Marketing) เพื่อแสดงความใส่ใจต่อลูกค้าแต่ละคนได้อีกด้วย

5 เทคนิค Email Marketing ที่แบรนด์ระดับโลกใช้แล้วเวิร์คสุดๆ

1. สร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ

แบรนด์ต้องไม่ปล่อยให้ความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้าเกิดระยะห่างขึ้น ซึ่งแบรนด์ชื่อดังอย่าง Adidas ได้มอบการบริการด้วยความใส่ใจในทุกเวลาไม่ว่าจะเป็น Welcome Email สำหรับผู้ติดตามคนใหม่ๆ โดยจะส่งอีเมลให้ลูกค้าสามารถปรับแต่งผลิตภัณฑ์ที่สนใจได้ พร้อมสอบถามความพึงพอใจหลังซื้อสินค้า และส่งโปรโมชันพิเศษเฉพาะของสาขาที่ลูกค้าลงทะเบียนเอาไว้ นอกจากนี้ Adidas ยังมอบความรู้สึกพิเศษให้กับลูกค้า ด้วยการมอบโอกาสการเป็นเจ้าของรองเท้าแบบปรับแต่งได้ด้วยตัวเอง จากการสะสมแต้มเพื่อปลดล็อกสิทธิ์ดังกล่าว

2. สร้างความดึงดูดด้วยวิดีโอหรือภาพเคลื่อนไหว

เพราะอีเมลจะมีแค่ตัวหนังสือหรือภาพธรรมดาๆ ไม่ได้อีกต่อไป เนื่องจากไม่อาจดึงความสนใจลูกค้าได้อย่างเต็มที่ ดังนั้น ลองดูตัวอย่างเทคนิคการใช้ Email Marketing ­ของแบรนด์คอมพิวเตอร์ชั้นนำอย่าง DELL เพราะไม่เพียงแค่แนบไฟล์ทั่วไปๆ เท่านั้น แต่ DELL ยังได้แนบภาพ .GIF ที่มีการเคลื่อนไหว สื่อถึงภาพลักษณ์ของแบรนด์และผลิตภัณฑ์ ด้วยภาพคอมพิวเตอร์ค่อยๆ เปลี่ยนรูปร่างกลายเป็นแท็บเล็ต ซึ่งแคมเปญดังกล่าวช่วยเพิ่มยอดขายให้กับ DELL ได้ถึง 109% เลยทีเดียว ผลลัพธ์นี่พิสูจน์ได้ว่า การใช้ภาพเคลื่อนไหวหรือวิดีโอช่วยให้ลูกค้าเข้าถึงข้อความที่แบรนด์ต้องการจะสื่อสาร เพิ่มความน่าดึงดูดได้อย่างรวดเร็ว และช่วยเพิ่ม Click Rate ที่นำไปสู่โอกาสในการซื้อสินค้าได้อย่างเห็นผล

3. ชนะใจด้วยการออกแบบที่แปลกใหม่อย่างโดนใจ

ปฏิเสธไม่ได้ว่าดีไซน์สวยๆ หรือสินค้าที่สะดุดตาสามารถช่วยดึงความสนใจของผู้บริโภคได้มาก แบรนด์ Dropbox ผู้ให้บริการระบบคลาวด์ชื่อดัง ก็ได้ใช้การออกแบบด้วยตัวการวาดการ์ตูนน่ารักๆ พร้อมข้อความที่สื่อสารไปถึงสมาชิกได้อย่างโดนใจ เช่น

“Recently your Dropbox has been feeling kind of lonely :-(”

แปลเป็นไทยได้ว่า “ช่วงนี้ Dropbox ­ของคุณกำลังรู้สึกเหงามากเลย” พร้อมภาพกล่องที่ว่างเปล่าที่ให้ความรู้สึกเศร้าๆ และภาพกล่องที่สดใสภายในมีเอกสารอยู่ เป็นต้น ซึ่งการออกแบบที่แปลกใหม่นี้ นอกจากจะสร้างความประทับใจให้กับสมาชิกแล้ว ยังสามารถช่วยกระตุ้นให้เกิดปฏิสัมพันธ์กับผลิตภัณฑ์ในแนวทางที่ดี และสามารถปรับเปลี่ยนการตัดสินใจให้ใช้บริการได้อย่างต่อเนื่องอีกด้วย

4. สร้างประสบการณ์แบบ Personalize อย่างเหนือชั้น

จุดเด่นของ Email Marketing คือสามารถทำการตลาดแบบ Personalize ได้ ซึ่งไม่เพียงแต่การใส่ชื่อของลูกค้าเข้าไปเท่านั้น แต่การลงรายละเอียดเฉพาะรายบุคคล จะช่วยสร้างความรู้สึกพิเศษได้มากยิ่งขึ้น เช่นเดียวกับ Spotify แอปพลิเคชันสตรีมมิ่งเพลงชื่อดัง ที่ในทุกสิ้นปีจะมีการส่งอีเมลสรุปสถิติการใช้งานของผู้ใช้งาน รวมถึงได้มีการรวบรวม Playlist เพลงที่ผู้ใช้งานฟังมากที่สุดประจำปีนั้นๆ ซึ่งแคมเปญดังกล่าวได้รับผลตอบรับและสร้างความประทับใจให้กับผู้ใช้งานได้เป็นอย่างมากเลยทีเดียว

5. มอบการบริการสุดพิเศษที่ต่อยอดจากผลิตภัณฑ์

ธุรกิจการให้บริการที่พักชื่อดังอย่าง Airbnb ได้มอบบริการสุดพิเศษภายหลังจากที่ลูกค้าได้จองที่พัก หรือระบุตำแหน่งที่ตั้งของเมืองที่ต้องการไปเที่ยว ด้วยการส่งอีเมลแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวเพิ่มเติมในเมืองนั้นๆ ให้กับลูกค้า ซึ่งเป็นการต่อยอดจากผลิตภัณฑ์ ผสมผสานกับการแนะนำข้อมูลด้วยความใส่ใจต่อลูกค้าแบบรายบุคคล รวมทั้งหากลูกค้าได้เลือก Keyword ที่ต้องการ เช่น เลือกคำว่าโรแมนติก อีเมลที่คัดสรรสถานที่ท่องเที่ยวสุดโรแมนติกก็ได้ถูกส่งให้ลูกค้าอย่างรวดเร็ว แคมเปญดังกล่าวทำให้ Airbnb ได้รับความเชื่อใจและเป็นที่นิยมที่เหล่าผู้ใช้บริการเลือกใช้จนกลายเป็นที่รู้จักเป็นวงกว้าง

สำหรับ 5 เทคนิค Email Marketing ที่ได้รวบรวมมาจากแบรนด์ดังทั่วโลกนี้ หากธุรกิจของคุณได้นำไปปรับใช้ ก็จะสามารถดึงจุดเด่นที่สร้างความประทับใจให้กับลูกค้าได้ไม่ยาก พร้อมโน้มน้าวให้กลับมาซื้อซ้ำหรือใช้บริการต่อเนื่องได้แน่นอน

หากใครกำลังมองหาว่าจะเริ่มต้นใช้งาน Email Marketing จากตรงไหน? ต้องมีเครื่องมืออะไร? Connect X มีบริการ CDP หรือ Customer Data Platform โปรแกรมที่ช่วยเก็บข้อมูลลูกค้าจากทุกช่องทางไว้ในที่เดียวกัน พร้อมตัวช่วยที่นักการตลาดไม่ควรพลาด ช่วยให้สามารถจัดการข้อมูลเพื่อจัดทำแคมเปญ Email Marketing ส่งอีเมลไปถึงลูกค้าได้แบบรายบุคคล อีกทั้งยังสามารถตั้งค่า Customer Journey แบบ Cross Channel ได้ ทำให้สามารถส่งโปรโมชันผ่านช่องทางอื่นได้พร้อมๆ กัน ไม่ว่าจะเป็น SMS, LINE หรือ Facebook เป็นต้น และนอกจากนี้ยังคงมีฟีเจอร์สุดล้ำมากมายที่เกิดมาเพื่อช่วยนักการตลาดยุคดิจิทัล

สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

ConnectX จะพาเพื่อนๆไปรู้จักกับ Marketing Automation ว่าคืออะไรและดีอย่างไร

ConnectX จะพาเพื่อนๆไปความรู้จักกับ Marketing Automation

ในปีสองปีที่ผ่านมาทุกๆท่านน่าจะเคยเห็นหรือผ่านตากันมาบ้างกับคำว่า Marketing Automation ตัวเปลี่ยนเกมสำหรับนักการตลาดดิจิทัลและเจ้าของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เรามาทำความรู้จักกันเลยดีกว่าว่าระบบอัตโนมัติทางการตลาด(Marketing automation) คืออะไรและจะช่วยนักการตลาดได้อย่างไร ?

Marketing automation (ระบบอัตโนมัติทางการตลาด) ก็คือ เครื่องมือที่ช่วยให้นักการตลาดทำงานได้ง่ายขึ้นและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น งานเหล่านี้อาจจะรวมถึงการตลาดทางอีเมล การโพสต์บนช่องทางโซเชียลมีเดีย และการติดตามลูกค้ากลุ่มเป้าหมายจากแบบฟอร์มสอบถามบนเว็บไซต์ ไม่ว่าฐานข้อมูลของเราจะประกอบด้วยผู้บริโภคลูกค้าหลายหมื่นคนหรือไม่กี่ร้อยคน ระบบ Marketing automation จะช่วยให้เข้าถึงผู้ติดต่อของเราทุกคนอย่างแม่นยำ มากไปกว่านั้นสิ่งที่เราสามารถคาดหวังได้หลังจากที่ใช้ระบบ Marketing automation ก็คือเราสร้างผลลัพธ์ที่วัดได้ทางการตลาดได้มากขึ้นโดยใช้อินพุตน้อยลง รายได้พุ่งสูงขึ้น ลูกค้ามีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้นเนื่องจากการทำ Marketing automation เราจะมีการจัด Segmentation ของลูกค้าก่อนอยู่แล้ว

Marketing Automation มีหน้าตาเป็นอย่างไรและทำงานอย่างไร ?

ด้วยระบบ Marketing automation เราจะใช้เวลาในการตั้งค่ากระบวนการเหล่านี้ภายในไม่กี่นาทีแต่เราสามารถส่งข้อความหรือแคมเปญด้านการตลาดไปหาลูกค้าหรือผู้บริโภคได้หลักหมื่นคน จากในภาพเราจะเห็นได้ว่ามีให้เลือกทั้ง Sms, E-mail, Facebook messenger และ Line OA ซึ่งนั่นหมายความว่าเราต้องการที่จะส่งข้อมูลหรือข้อความไปหาลูกค้าผ่านช่องทางไหน ในส่วนของ Flow Control หมายความว่า เราจะต้องกำหนดเงื่อนไขให้กับตัว Marketing automation ของเรายกตัวอย่างเช่น เราต้องการส่ง SMS ไปหาลูกค้า 200 คน และเราต้องการรอจนถึงเดือนหน้าค่อยส่ง Line OA ตามไปอีกครั้ง เราก็สามารถที่จะลากตัว Wait until เพื่อให้ระบบรอจนถึงเดือนหน้าและส่ง Line OA ไปในเดือนถัดไปได้นั่นเอง ทั้งหมดเราจะขอเรียกกระบวนการนี้ว่า Marketing automation journey 

ด้วยความที่ตัว Marketing automation นั้นง่ายในการตั้งค่ารวมถึงการใช้งานนี่เองเลยทำให้ Marketing automation เป็นที่นิยมมากขึ้นในหมู่นักการตลาดมากขึ้นเรื่อยๆ

https://ortto.com/blog/what-is-marketing-automation/

Marketing Automation กับผู้บริโภค

การใช้ Software เทคโนโลยี Marketing Automation เข้ามาช่วยนั้นได้สร้างผลกระทบในทางที่ดีต่อผู้บริโภคเป็นอย่างมากเนื่องจากทุกๆ การกระทำที่เราได้ตั้งค่า Flow ไว้เราจะต้องทำการ Segmentation หรือ แบ่งกลุ่มบริโภค audience ไว้อยู่ก่อนหน้านี้แล้วซึ่งในส่วนนี้เองที่เราเรียกว่า Personalized marketing เราอาจแบ่งกลุ่มของลูกค้าหรือผู้บริโภคตามความชื่นชอบในการซื้อสินค้า ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มลูกค้าอายุ 18-24 ปีชื่นชอบที่จะซื้อสินค้า A มากที่สุดเราก็ทำการ Segment ไว้ว่ากลุ่มลูกค้า อายุ 18-24 ปีนั้นมีความชื่นชอบในสินค้า A เมื่อใดก็ตามที่เราต้องการยิงแคมเปญที่เกี่ยวกับสินค้า A ออกไปนั้นเราก็จะเลือกแค่กลุ่มลูกค้าที่เราได้ทำการ Segment ไว้แล้วเพื่อให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายของเรามากที่สุดในการทำการตลาด

ทิ้งท้าย

จากที่ได้กล่าวมาทั้งหมดเราสามารถที่จะสรุปได้ว่า Marketing automation นั้นเรามีเพื่อสร้างประสิทธิภาพในการทำงานให้ดียิ่งขึ้น และลดขั้นตอนการทำงานในด้านการตลาดปัจจุบันที่มีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆเพราะมีหลายช่องทางให้สื่อสารออกไปนั่นเอง ส่วนท่านใดที่อ่านถึงตรงนี้แล้วสนใจที่จะใช้บริการ Marketing automation ทาง ConnectX ของเรายินดีให้คำปรึกษาฟรีพร้อมมีส่วนลดพิเศษ

สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

กลยุทธ์ Marketing Automation, กรณีศึกษา Marketing Automation

Connect X มาบอกเคล็ดลับเด็ดของ 3 แบรนด์ดัง ที่ใช้ Marketing Automation มัดใจลูกค้า เพื่อให้เหล่าธุรกิจนำไปปรับใช้ได้ง่ายๆ

ทุกวันนี้เราเชื่อมต่อเข้าหากันได้อย่างไร้พรมแดนจากทุกมุมโลก ในยุคที่มีอินเทอร์เน็ตเป็นปัจจัยหลักของชีวิต เราสามารถซื้อ-ขายสินค้าได้อย่างอิสระ พร้อมมีบริการขนส่งที่รวดเร็ว ในราคาที่เหมาะสม กลายเป็นว่าการแข่งขันทางธุรกิจที่เกิดขึ้นนั้น ไม่ได้แข่งขันกันภายในแวดวงธุรกิจประเภทเดียวกัน ในพื้นที่เดียวกัน หรือประเทศเดียวกันเหมือนในอดีตอีกแล้ว เพราะกลายเป็นตลาดแข่งขันในระดับโลก โดยที่ลูกค้ามีโอกาสในการเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมกันและมีสิทธิ์ในการเลือกซื้อได้อย่างอิสระ

การดึงความสนใจของคนทั่วโลกให้มาใช้บริการหรือซื้อสินค้าไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะผู้บริโภคยังมีตัวเลือกอีกมากมายในโลกไร้พรมแดนแห่งนี้ ธุรกิจต่างๆ จึงต้องงัดกลยุทธ์ทุกรูปแบบออกมาใช้ เพื่อสร้างยอดขายในยุคที่มีการแข่งขันสูงอย่างในปัจจุบัน หนึ่งในเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูง ที่แบรนด์ดังระดับโลกเลือกใช้ คือ “Marketing Automation” หรือ ”การตลาดแบบอัตโนมัติ” เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากในระยะเวลาสั้นๆ และช่วยเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายเหล่านั้นให้กลายเป็นลูกค้าได้อย่างง่ายดาย

Connect X อาสามาเผยเคล็ดลับการใช้ Marketing Automation ของแบรนด์ดังระดับโลก ว่ามีกลยุทธ์อย่างไรถึงกลายเป็นธุรกิจยักษ์ใหญ่ในยุคดิจิทัลที่มัดใจลูกค้าได้อย่างอยู่หมัด!

Marketing Automation คืออะไร? ทำงานอย่างไร?

Marketing Automation คือชื่อที่ใช้เรียกซอฟต์แวร์ (Software) หรือแพลตฟอร์ม (Platform) ที่เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพกิจกรรมทางการตลาด (Marketing Effort) ในด้านต่างๆ ตั้งแต่การเก็บข้อมูลของลูกค้า วิเคราะห์พฤติกรรม ส่งคอนเทนต์หรือแคมเปญโฆษณาให้กลุ่มเป้าหมาย โดยที่สามารถตอบสนองลูกค้าได้อย่างตรงจุดแบบถูกที่ถูกเวลา ซึ่งสามารถใช้งานได้หลากหลายช่องทางไม่ว่าจะเป็น Email, SMS, Social Media และ Website

โดย Marketing Automation Platform มีหลากหลายจากนักพัฒนาซอฟต์แวร์หลายเจ้า ซึ่งโดยทั่วไปแพลตฟอร์มดังกล่าวจะทำการรวบรวมข้อมูลพฤติกรรมและปฏิสัมพันธ์กับของลูกค้าที่เกิดขึ้นกับแอปพลิเคชัน เว็บไซต์ หรือ Touch Point อาทิ การเข้าชมสินค้า กดดูรายละเอียดสินค้า การเพิ่มสินค้าลงในตะกร้า การกดอ่านบทความ และการสมัครสมาชิก เป็นต้น จากนั้นนำมาคำนวณเป็นคะแนน “Leading Score” เมื่อมีคะแนนมากพอ ระบบจะจัดกลุ่มลูกค้าและส่งคอนเทนต์แคมเปญโฆษณาหรือโปรโมชันต่างๆ ให้กับลูกค้าแต่ละกลุ่มได้ตามความสนใจของลูกค้ากลุ่มนั้นๆ หรือแม้กระทั่งรายบุคคลแบบ “Personalized Marketing” เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ตรงจุด เพิ่มโอกาสในการขายสินค้าและบริการได้มากที่สุด

เคล็ดลับ Marketing Automation จากแบรนด์ดังระดับโลก

เมื่อรู้แล้วว่า Marketing Automation คืออะไร ถ้าอย่างนั้นขอพาเจ้าของแบรนด์ทุกท่านมาดูกันว่าแบรนด์ยอดนิยมระดับโลกใช้งานระบบนี้เพื่อเอาใจลูกค้าได้อย่างไรบ้าง โดย Connect X ได้คัดมาให้แล้ว 3 แบรนด์ดัง ได้แก่

1. Netflix

กรณีศึกษา Marketing Automation ที่ดีแบรนด์หนึ่งคือ Netflix เว็บสตรีมมิ่งที่มียอดผู้ใช้งานเป็นอันดับ 1 ของโลก ที่พัฒนาจากร้านเช่าวิดีโอเล็กๆ จนกลายเป็นแอปฯ ติดมือถือของคนทั่วโลก ตัวช่วยสำคัญให้ Netflix สร้างความประทับใจให้กับผู้ใช้งานในทุกวันนี้ได้ คงหนีไม่พ้น Marketing Automation ที่ช่วยเก็บข้อมูล วิเคราะห์ และประมวลผล ไปสู่การสร้างเนื้อหาแบบเฉพาะเจาะจงแบบรายบุคคล (Personalized Content) ได้เป็นอย่างดี เคล็ดลับของ Netflix คือ

  • การสร้างประสบการณ์เหนือระดับ Netflix ได้สร้างประสบการณ์ที่มีเฉพาะ “คุณ” เท่านั้น ด้วยการใช้ Marketing Automation รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลด้วย AI ขั้นสูง มีการใช้อัลกอริทึมที่ปรับแต่งมาอย่างดี เพื่อให้ผู้ชมได้รับประสบการณ์ที่แตกต่างไปจากที่อื่น สังเกตเห็นได้จากฟีเจอร์แนะนำหนังที่ผู้ชมน่าจะชอบ ซึ่งเป็นสิ่งที่สร้างความประทับใจให้กับผู้ชมเป็นอย่างมาก เพราะมีความแม่นยำสูงและตรงใจ โดยระบบนี้ส่งผลให้มีการรับชมเนื้อหามากถึง 80% บนแพลตฟอร์ม การสร้างประสบการณ์แบบเฉพาะแบบรายบุคคลอย่างละเอียดรูปแบบนี้ เกิดขึ้นจากการสร้างโปรไฟล์โดยการให้ผู้ชมเลือกประเภทของความชอบ ที่หลากหลาย ด้วยตัวกรองที่มีความยืดหยุ่นสูง เมื่อผู้ชมเลือกประเภทของหนังและตัวอย่างหนังที่ชอบ จะทำให้มีการจัดประเภทของความชอบที่เหมาะสมได้อย่างตรงจุด นอกจากนี้ทุกกิจกรรมไม่ว่าจะเป็นประวัติการเข้าชม รายการที่ชื่นชอบ และการตั้งค่าแจ้งเตือน ทั้งหมดจะถูกนำมาประมวลผล เพื่อสร้างประสบการณ์ให้กับผู้ชมที่ดียิ่งขึ้น
  • มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ชมด้วย Email Marketing เคล็ดไม่ลับที่เหล่าแบรนด์ดังใช้กันอย่างแพร่หลาย และยังคงได้ผลดีคือการใช้ Email Marketing ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนตั้งแต่การสมัครสมาชิกเสร็จสิ้น ด้วยการส่งอีเมลต้อนรับ หลังจากนั้น Netflix จะทำการจัดแบ่งกลุ่มของผู้ชม แล้วจึงส่งเนื้อหาที่แนะนำและข้อมูลข่าวสารต่างๆ ไปให้ โดยอ้างอิงจากความชอบของผู้ชมแต่ละบุคคล นอกจากนี้ยังมีการส่งเนื้อหาแนะนำที่ดึงดูดผู้คนด้วยเนื้อหาที่ติดเทรนด์ของภายในประเทศและติดเทรนด์ทั่วโลก รวมถึงการแนะนำเนื้อหาที่สอดคล้องกับเทศกาลต่างๆ เช่น คริสต์มาส ฮาโลวีน วาเลนไทน์ และอื่นๆ ซึ่งวิธีนี้ช่วยกระตุ้นให้ผู้ชมที่ห่างหายไปกลับมารับชมใหม่ได้อย่างเห็นผล

2. Panasonic

แบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าอันดับต้นๆ ของโลก ที่มีต้นกำเนิดจากประเทศญี่ปุ่น ไม่เพียงแต่การมียอดขายจำนวนมากจากรูปแบบ B2C (Business-to-Customer) เท่านั้น แต่ยังมียอดขายจากบริษัทกว่า 300,000 แห่งทั่วโลกในรูปแบบ B2B (Business-to-Business) อีกด้วย ซึ่ง Panasonic ก็ได้ใช้กลยุทธ์ Marketing Automation โดยเริ่มจากสาขาในฝั่งของยุโรปและนำไปปรับใช้กับสาขาทั่วโลก ซึ่งผลจากการใช้ Marketing Automation ทำให้มียอดขายเพิ่มขึ้นจาก 10% ไปถึง 26% และยังมีการประสานงานกับระบบ CRM (Customer Relationship Management) อีกทั้งยังเพิ่มจำนวนแคมเปญได้อีก 5 เท่า ซึ่งสิ่งที่ Panasonic ทำได้เป็นอย่างดี ได้แก่

  • การติดต่ออย่างเหมาะสมและถูกจังหวะ การที่มีระบบ Marketing Automation นั้นจะช่วยให้ธุรกิจส่งข้อมูลได้อย่างไม่จำกัดและยังสามารถส่งได้ตลอดเวลา แต่หากใช้เครื่องมือนี้อย่างไม่เหมาะสมด้วยการส่งข้อมูลจำนวนมากให้กับคู่ค้าหรือลูกค้าบ่อยเกินไป อาจส่งผลเสียต่อแบรนด์ได้ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหานี้ ทีมการตลาดของ Panasonic จึงมีการควบคุมการติดต่อสื่อสารให้ไม่เกิน 3 ครั้งต่อไตรมาส โดยมีฐานข้อมูลที่มีความละเอียดที่แบ่งตามภาษา ประเทศ ประเภทธุรกิจ และอื่นๆ เพื่อให้ความช่วยเหลือที่เหมาะสมกับสถานการณ์แก่ลูกค้า ซึ่งถือเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีงามกับลูกค้าได้รูปแบบหนึ่ง
  • เพิ่มโอกาสใหม่ๆ ด้วยช่องทางที่หลากหลาย จากรูปแบบการทำงานของระบบ Marketing Automation ทำให้แบรนด์สามารถเพิ่มช่องทางการสื่อสารได้ง่าย พร้อมการจัดการที่เป็นระบบ ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงและเพิ่มยอดขายได้มากขึ้นตามด้วยการเพิ่ม Lead ของระบบ Marketing Automation ถึงแม้ Panasonic จะเป็นแบรนด์ระดับโลกที่มียอดขายสูงอยู่แล้ว แต่ยังมีการปรับตัวเข้าสู่ยุคสมัยอยู่ตลอด ไม่เพียงแค่การมีแพลตฟอร์มหรือเว็บไซต์ของตัวเองเท่านั้น ยังมีการเพิ่มช่องทางบนสื่อสังคมออนไลน์อื่นๆ อีกด้วย ตัวอย่างที่ดีของ Panasonic คือ หลังจากเริ่มโปรโมทแบรนด์ผ่าน LinkedIn เพียง 18 เดือน มีผู้ติดตามถึง 3,000 คน และในแคมเปญที่มีการเผยแพร่จำนวนหนึ่งมีอัตราการมีส่วนร่วมสูงถึง 5% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของแพลตฟอร์มปกติ 2 – 3% เลยทีเดียว

3. McAfee

แน่นอนว่าหลายๆ คนคงเคยได้ยินชื่อหรือรู้จักบริษัทซอฟต์แวร์ป้องกันและกำจัดไวรัสบนคอมพิวเตอร์ชื่อดังนี้อยู่แล้ว ซึ่งปัจจุบันยังได้ให้บริการด้านความปลอดภัยของเครือข่ายและระบบคอมพิวเตอร์ที่ได้รับการยอมรับจากผู้ใช้งานทั่วโลก บริษัท McAfee มีการใช้ Marketing Automation เพื่อรวบรวมคนที่มีศักยภาพในการเป็นลูกค้า (Lead) และเพิ่มยอดขายได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมใช้เพื่อปรับปรุงการให้บริการที่ดียิ่งขึ้น จึงทำให้ McAfee มีอัตราของลูกค้าเก่าต่ออายุการใช้งานเพิ่มขึ้น 50% รวมทั้งยังได้ลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้นอีก 50% โดยเคล็ดลับของ McAfee คือ

  • กำหนด Lead Score อย่างเหนือชั้น จุดแข็งของ Marketing Automation คือระบบ Lead Scoring แต่ปัญหาคือเมื่อมีการเพิ่ม Lead ได้จำนวนมากแล้ว แต่ Lead เหล่านั้นอาจไม่มีคุณภาพมากพอ กล่าวคือ Lead ไม่ได้พัฒนาสู่การเป็นลูกค้าที่มีการซื้อสินค้าและปิดการขายได้จริง ส่งผลให้เกิดปัญหาระหว่างทีมการตลาดและทีมขายเป็นอย่างมาก แต่ McAfee ได้ทำการแก้ปัญหาโดยการยกระดับเรื่องการจัดแบ่งหมวดหมู่ลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมาย เพื่อติดตามและดูแล รวมถึงเพื่อให้คะแนนแบบรายบุคคล ซึ่งการจัดหมวดหมู่ Lead เพื่อติดตามและดูแลรายบุคคลนี้จะช่วยสร้างความประทับใจ และให้บริการที่ครอบคลุมได้มากกว่ารูปแบบเดิม ถึงแม้ว่าจำนวน Lead ในภาพรวมจะลดลงไป แต่ McAfee ก็ได้ Lead ที่มีคุณภาพมากขึ้นแทน จนปิดการขายได้สำเร็จ โดยมีอัตรา Conversion Rate มากขึ้นเป็น 4 เท่า กระบวนการดังกล่าวช่วยให้ฝ่ายการตลาดและฝ่ายขายทำงานร่วมกันได้ดีขึ้น และลดปัญหาที่เกิดตามมาได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังช่วยให้สามารถให้คำปรึกษาที่เหมาะสม และมีการบริการที่สร้างความประทับใจให้กับลูกค้าได้มากขึ้น ทั้งยังช่วยในด้านการจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย
  • รวมทุกอย่างไว้ในแพลตฟอร์มเดียว ปัจจุบันนี้เครื่องมือทางการตลาดที่เข้ามาช่วยธุรกิจในด้านต่างๆ นั้นมีจำนวนมาก หากภายในบริษัทหนึ่งมีการใช้งานแพลตฟอร์มที่มีความแตกต่างกันมากกว่า 1 แพลตฟอร์ม จะสร้างความสับสน ส่งผลให้เกิดความล่าช้าและเกิดความผิดพลาดต่อภาพรวมของธุรกิจได้ ซึ่ง McAfee ก็เคยพบปัญหาเหล่านั้น ทำให้เมื่อเกิดปัญหาขึ้น ต้องใช้เวลาถึง 3 วัน จึงจะรวบรวมข้อมูลทั้งหมดและพร้อมแก้ไขปัญหาได้ แต่เมื่อ McAfee เลือกใช้แพลตฟอร์มที่มี Marketing Automation ที่มีฟีเจอร์หลากหลายและให้พนักงานทุกแผนกใช้แพลตฟอร์มเดียวกันทั้งหมด ทำให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลและประสานงานกันได้อย่างสะดวกรวดเร็วมากขึ้น แพลตฟอร์มดังกล่าวได้ช่วยเก็บรวบรวม ประมวล และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกอย่างเป็นระบบ สามารถเข้าถึงได้ง่าย และมี UI (User Interface) ที่เป็นมิตรต่อผู้ใช้งาน เพื่อให้พนักงานทุกคนสามารถทำงานได้เต็มที่ นอกจากนี้แพลตฟอร์มดังกล่าวยังช่วยให้ฝ่ายขายสามารถติดต่อกับผู้ใช้งานได้โดยตรงอย่างไร้รอยต่อ เพื่อให้คำแนะนำและการบริการที่เหนือระดับ

จากที่ Connect X ได้แนะนำเคล็ดลับต่างๆ จาก 3 แบรนด์ดัง จะเห็นได้ว่าธุรกิจนั้นควรใช้ Marketing Automation ให้เหมาะสมกับรูปแบบและวิธีทำงาน และพร้อมที่จะทดลองและก้าวข้ามสิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ อีกทั้งยังมีจุดมุ่งหมายในการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้ประสบความสำเร็จได้ สำหรับ Marketing Automation นั้นเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่ได้รับความนิยม จนทำให้หลายๆ องค์กรนำมาใช้งานกันอย่างแพร่หลาย หากลองนำเคล็ดลับต่างๆ ไปปรับใช้รับรองว่าจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการทำงานในปัจจุบัน และมุ่งสู่การเป็นผู้นำทางการตลาดได้อย่างแน่นอน

สำหรับใครที่กำลังมองหาแพลตฟอร์มที่มี Marketing Automation ในตัว Connect X คือแพลตฟอร์ม Customer Data Platform (CDP) ที่รวมฟีเจอร์เด็ดๆ ไว้ในที่เดียว พร้อมการใช้งานที่ง่ายเพียงปลายนิ้ว พร้อมช่วยเหลือธุรกิจของคุณให้ Connect เข้าหาลูกค้าได้แบบไร้รอยต่อ

สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

ที่สุดของ Marketing Platform ที่นักการตลาดยุคนี้ขาดไม่ได้

ในยุคของ Personalized Marketing ที่แบรนด์ไหนไม่รู้ใจลูกค้าก็พร้อมเททันที ทำให้ Marketing Platform เป็นอาวุธที่แบรนด์ยุคนี้ขาดไม่ได้ แต่จะเลือก Platform ทั้งที ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะ Platform ที่ดีที่สุดไม่ใช่แค่มาพร้อม Feature ที่ตอบโจทย์ การตลาดยุคนี้ แต่ต้องสามารถปรับ Custumize ให้เข้ากับแบรนด์ที่สุดได้ด้วย

Connect X คัดที่สุดของ Feature ในฝันที่นักการตลาดยุคนี้ขาดไม่ได้ มาไว้ในที่เดียวกันแล้ว เพราะยุคนี้ ไม่ใช่แค่รู้ใจ แต่ถ้าไม่ไวก็ตามใครไม่ทัน เปลี่ยนจากเวลาเฟ้นหา Platform มาเริ่ม Connect กับ ประสบการณ์ของลูกค้าจริงๆ (Customer Experience) กับ Connect X กันเถอะ!

4 เหตุผลที่นักการตลาดยุคนี้ ต้องมี Connect X

1. เพราะเรามี Customer Data Platform (CDP)

CDP คืออะไร ถ้าจะว่ากันง่ายๆ CDP ก็คือ ฐานลับแรกชิ้นสำคัญของที่ทุกแบรนด์ต้องมีในการเก็บข้อมูลลูกค้า

  • ให้แบรนด์รู้ลึกถึง Customer Insight 360° เพราะไม่ใช่แค่เก็บแต่ต้องวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าอย่างเป็นอย่างระบบ (Data Analysis) Connect กับลูกค้าได้ในทุกๆการเชื่อมต่อทั้ง Offline และ Online ให้ลูกค้าฟินสุดกับประสบการณ์ไร้รอยต่อ (Seemless Experience)
  • มองเห็นภาพรวมของลูกค้าในมุมมองเดียว (Customer Single view 360°) ด้วย Global Id สุดยอดอาวุธลับแบบเฉพาะของ Connect X ที่สามารถจับคู่ทุกข้อมูลของลูกค้าเป็นหนึ่งเดียว
  • API Connect เข้าถึงทุกข้อมูลของลูกค้าใน Center เดียว แบบไม่มีสะดุด เชื่อมต่อได้กับทุกฐานข้อมูลที่แบรนด์ใช้รวมไว้ในที่เดียวเช่น POS, ERP

2. Marketing Automation

เพราะแค่ฐานลับเก็บข้อมูล อาวุธคงไม่ครบมือ เราจึงมาพร้อมกับเครื่องมือทำการตลาดแบบ Realtime Marketing พร้อมสร้าง Engagement ได้ทันที

  • Omni-channel ผสานทุกช่องทางการเชื่อมต่อของลูกค้าเป็นหนึ่งเดียว ให้ลูกค้าได้ประสบการณ์แบบไม่สะดุด เข้าเว็บดูรีวิว แล้วมาซื้อของหน้าร้าน พนักงานก็พร้อมต้อนรับได้แบบรู้ใจว่าลูกค้าชอบอะไรที่สุด
  • Audience segmentation แบ่งกลุ่มลูกค้าแล้วทำแคมเปญแบบ Hyper-personalization ให้ลูกค้ารับประสบการณ์สุดฟินแบบเฉพาะตัว
  • Customer Journey สร้างแคมเปญการตลาด พร้อม Triggers ไปยังลูกค้าที่ใช้ได้ทั้ง E-mail, SMS, Push notification รวมไปถึง Social Media สุดฮิต เช่น Line,Facebook
  • Social Media Connect (Live Chat) รวมทุกช่องทางการติดต่อไว้ในที่เดียว ไม่พลาดทุก Touch-Point ที่ลูกค้าติดต่อมา พร้อมตอบกลับได้ในทันทีแบบไม่ต้องเปลี่ยนหน้าจอ ไม่ว่าจะเป็น Website, Facebook, Line@, Pantip

3. Dashboard & Optimization

ที่สุดของ Dashboard ในฝันของนักการตลาด ออกแบบให้ Report ลูกค้าได้แบบ 360° ได้ตามความต้องการในแต่ละแคมเปญได้ (Customize Dashboard)

  • Campaign monitor ดูผลตอบรับทุกแคมเปญได้แบบ. Real-time ในหน้าจอเดียว (Single screen)
  • ROI เปรียบเทียบแต่ละแคมเปญ ได้ว่าแคมเปญไหนลงทุนแล้วคุ้มที่สุดเพื่อต่อยอดในอนาคต

4. ที่สุดของระบบ AI สำหรับนักการตลาดยุคใหม่ ไม่ใช่แค่ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก หรือทำนายยอดขาย แต่ต้องทำอะไรได้มากกว่านั้น

  • ช่วยแนะนำแคมเปญการตลาดที่ได้รับผลตอบแทนสูงสุดให้ด้วย
  • วิเคราะห์วิธีการสื่อสารกับลูกค้าที่ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ให้แบรนด์ตอบโจทย์ได้ตรงจุด พร้อม Connect กับลูกค้าแบบไร้รอยต่อ (Seamless experience devices)

สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

Email Marketing ยังสำคัญอยู่ไหม? มีเทคนิคการสร้างยอดขายด้วยเครื่องมือนี้อย่างไร?

การมาถึงของโซเชียลมีเดียและแพลตฟอร์มสื่อสารต่างๆ อาจทำให้หลายท่านสงสัยว่า Email Marketing ยังจำเป็นต่อการเข้าถึงลูกค้าหรือไม่? Connect X จะมาตอบคำถามนั้นให้ทุกท่านกันครับ

การตลาดดิจิทัลในปัจจุบันมีวิธีการใช้งานและเครื่องมือการเข้าถึงที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการโฆษณาผ่าน Google Ads, การทำ SEM (Search Engine Marketing) หรือแม้กระทั่ง Social Media Marketing ที่ได้รับความนิยมในหมู่ธุรกิจมากขึ้นทุกวัน แต่อย่างไรก็ตามยังมีอีกเครื่องมือหนึ่งที่มักถูกมองข้ามก็คือ Email Marketing 

Email Marketing ยังสำคัญอยู่ไหม?

Email นั้นได้กำเนิดมาตั้งแต่ปี 1971 ปัจจุบันก็มีอายุ 50 ปีแล้วครับ ซึ่งหลายๆ ท่านและเจ้าของธุรกิจบางคนก็อาจคิดว่าอีเมลนั้นได้ตายไปพร้อมกับการมาถึงของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ แต่ในความเป็นจริงแล้ว อีเมลยังคงเป็นช่องทางที่ผู้คนนิยมใช้กันอยู่ โดยเฉพาะการติดต่อสื่อสารระหว่างธุรกิจและองค์กร

จากสถิติของ Mailchimp ได้แสดงค่าเฉลี่ย Open Rate (การเปิดอีเมล) อยู่ที่ 20-25% และค่าเฉลี่ย Click Rate อยู่ที่ประมาณ 2-3% ซึ่งสถิติเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าอีเมลนั้นยังเป็นช่องทางการสื่อสารที่ยังมีประสิทธิภาพอยู่พอสมควรเลยครับ

นอกจากนั้น ธุรกิจ B2B ต่างๆ ก็ยังสามารถสร้าง Lead จากการทำ Email Marketing ได้อยู่ แต่อย่างไรก็ตามการทำ Email Marketing ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดก็ต้องมีเทคนิคที่ดีด้วย

ประโยชน์ในการทำ Email Marketing

สิ่งแรกที่แน่นอนได้เลยก็ในการทำ Email Marketing คือ ท่านมั่นใจได้เลยว่าอีเมลที่ถูกส่งออกไปจะถึงผู้รับซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายของคุณได้ 100% (แต่จะเปิดอีเมลหรือไม่นั้นอีกอีกเรื่องหนึ่ง) นอกจากนั้น Email Marketing สามารถรักษาฐานลูกค้าเก่า โดยการอัปเดตข่าวสารดีๆ สร้างความสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ หรือที่เรียกว่า Customer Relationship Management และสร้างลูกค้าใหม่ผ่านการนำเสนอโปรโมชันใหม่ๆ หรือสิทธิพิเศษแบบ Exclusive จนเกิดเป็น Brand Loyalty นั่นเองครับ

เทคนิคการทำ Email Marketing ให้มีประสิทธิภาพ

แน่นอนว่าหาก Email Marketing ของท่านไม่น่าสนใจหรือทำออกมาไม่เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย อีเมลของท่านก็จะตกไปอยู่ในโฟลเดอร์ Spam ได้ง่ายๆ ซึ่งวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพของอีเมลจะมีอะไรบ้างนั้น? มาดูกันเลยครับ

1. กำหนดรูปแบบในการทำ Email Marketing ต้องการส่งอีเมลให้ลูกค้าเนื่องจากอะไร?

เป็นหนึ่งคำถามที่ท่านควรมีคำตอบก่อน โดยการกำหนดวัตถุประสงค์ของการส่งอีเมลนั้น ซึ่ง Email Marketing นั้นมีอยู่ด้วยกัน 5 รูปแบบด้วยกัน ได้แก่

  1. Behavioral Email – มีเป้าหมายในการเชิญชวน กระตุ้นและตอบสนองต่อพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย เช่น การตอบสนองต่อความเห็น การทำ Consumer Survey ซึ่งควรมีดีไซน์อีเมลแบบกระชับ เข้าใจได้ง่าย
  2. Inaugural Emails – เป้าหมายของอีเมลนี้คือการทำการแสดงความยินดีและต้อนรับที่ลูกค้าได้รับสิ่งใหม่ๆ ครับ อาทิ อีเมลที่ยินดีในการได้รางวัล ยินดีในการสมัครสมาชิก ที่จะตามมาด้วย Call To Action หลายๆ แบบอยู่ด้านใน เพื่อกระตุ้นให้ผู้ที่รับอีเมลตัดสินใจทำอะไรบางอย่างไม่ว่าจะเป็นการให้เข้าไปดูหน้าเว็บไซต์ ดูแคตตาล็อกสินค้าและบริการ เป็นต้น
  3. Promotional Emails – เป็นการประกาศให้กับกลุ่มเป้าหมายเกี่ยวกับโปรโมชันหรือกิจกรรมต่างๆ ของแบรนด์นั่นเอง ที่หลายท่านน่าจะคุ้นเคยเป็นอย่างดี เช่น เชิญชวนทำกิจกรรม การลดราคา การสมนาคุณ รวมถึงการประกาศสินค้าใหม่ ซึ่งมักจะมาควบคู่กับ Visual Stunning นั้นคือการที่ต้องมีภาพใหญ่ๆ ตัวอักษรเน้นๆ มีสีที่กระตุ้นความต้องการเพื่อดึงดูดความสนใจ
  4. Punctual Emails –  อีเมลประเภทมีเป้าหมายเฉพาะตัว เช่น เมื่อเกิดเหตุการณ์สำคัญๆ ต่อธุรกิจ และเพื่อชี้แจงข้อมูลที่มีความอ่อนไหวสูง ยกตัวอย่างเช่น Newsletter ประกาศการเปลี่ยนแปลงนโยบาย การชี้แจงข้อมูลความปลอดภัย ฯลฯ
  5. Notification Emails – อีเมลสำหรับแจ้งเตือนลูกค้าในเรื่องต่างๆ เช่น กิจกรรมที่ทำไปของผู้บริโภค ข้อผิดพลาดในการใช้งาน ข้อมูลยืนยันการซื้อสินค้า หรือการแจ้งการรีเซตรหัสผ่านต่างๆ ซึ่งควรเป็นอีเมลที่ชัดเจน และมีรายละเอียดครบถ้วน

2. ตั้งชื่อหัวข้อให้ดี

ขั้นตอนนี้สำคัญเป็นอย่างมาก เพราะหากชื่ออีเมลของคุณไม่ดี ไม่น่าดึงดูด คนก็จะไม่คลิกเข้าไป อีเมลที่ส่งไปให้นั้นก็จะไม่มีความหมายครับ เทคนิคเบื้องต้นที่ผมอยากจะแนะนำสำหรับการตั้งชื่อหัวข้ออีเมลก็คือเทคนิคเดียวกับการตั้งชื่อบทความครับ เช่น การใช้ประโยคคำถาม ใช้ตัวเลข คำพูดน่าสนใจ (เจ๋ง! หายาก! ฟรี!) เล่นกับความกลัวหรือ Scarcity

นอกจากนี้ก็ควรมีการใส่ชื่อของผู้รับอีเมลลงไปในหัวข้อด้วย เพื่อแสดงความเป็น Personalized Marketing Email ให้ลูกค้ารู้สึกว่าแบรนด์ของท่านกำลังพูดกับเขาจริงๆ และเป็นอีกวิธีที่แสดงความใส่ใจต่อลูกค้า ซึ่งการตอบโจทย์ของลูกค้าแต่ละคนเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะลูกค้าอาจมีความต้องการที่ไม่เหมือนกัน จึงต้องมีการส่งโปรโมชันที่ไม่ซ้ำกันในแต่ละคนนั่นเอง

3. โฟกัสกับเป้าหมายทีละจุด

ในการส่ง Email Marketing นั้นทางแบรนด์ควรที่จะมีเป้าหมายเพียงหนึ่งหรือสองอย่างเท่านั้น เนื่องจากการกำหนดเป้าหมายหลายๆ อย่างอาจทำให้ลูกค้านั้นเกิดความสับสนว่าอีเมลนั้นต้องการสื่อสารในด้านไหน หรือลังเลที่จะทำ Action อะไรสักอย่างหนึ่ง เช่น หากในหนึ่งอีเมลมีปุ่ม Call To Action ให้ เข้าชมเว็บไซต์ เข้าไปซื้อของ บอกโปรโมชัน บอกการเปลี่ยนแปลงทางนโยบาย ทั้งหมดด้วยกัน ซึ่งจะส่งผลให้ลูกค้าหรือผู้รับอีเมลสับสน ตัดสินใจไม่ถูก จนในที่สุดอาจจะกด Unsubscribe ไปเลยก็เป็นได้

4. Auto Resend อันทรงพลัง

ระบบ CRM หรือระบบ CDP อย่าง Connect X จะสามารถกำหนด Flow ในการส่งอีเมลให้เป็นแบบ Auto Resend ได้ เช่น ตั้งค่าไว้ว่าหากลูกค้าไม่เปิดอีเมลอ่านหรือไม่คลิกปุ่ม/ข้อความในอีเมลแรก ให้ระบบทำการส่งอีเมลซ้ำอีกรอบ ซึ่งหากวางระบบไว้ได้เป็นอย่างดี โอกาสที่ลูกค้าที่พลาดอีเมลในครั้งแรก จะกลับมาอ่านอีเมลที่ส่งมาในรอบที่สองนั้นจะสูงขึ้น ทำให้แบรนด์มีโอกาสในการปิดการขายได้มากขึ้น

5. เลือกเครื่องมือที่ใช่ มีชัยไปกว่าครึ่ง

เทคนิคทั้งหมดที่กล่าวไปข้างต้นนั้นอาจเป็นไปไม่ได้เลยหากท่านขาด Marketing Platform ที่มีฟีเจอร์ครอบคลุม สามารถทำให้ Email Marketing กลายเป็นเรื่องง่ายๆ ได้ อย่างเช่น Connect X ที่เป็น CDP หรือ Customer Data Platform โปรแกรมที่ช่วยเก็บข้อมูลลูกค้าจากทุกช่องทางไว้ในที่เดียวกัน

Connect X นั้นสามารถเซ็ต Customer Journey แบบ Cross Channel ได้ เช่น ถ้าลูกค้าไม่อ่านอีเมล ก็สามารถเซ็ตให้ส่งโปรโมชั่นผ่านช่องทางอื่นได้ทันที ไม่ว่าจะเป็น SMS, LINE หรือ Facebook เป็นต้น และนอกจากนี้ยังคงมีฟีเจอร์สุดล้ำที่เกิดมาเพื่อช่วยนักการตลาดยุคดิจิทัล

สร้างประสบการณ์ดีๆ ผ่าน Email ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

มารู้จัก 3 ข้อดีของระบบรวมแชทที่คุณไม่เคยรู้ ผู้ประกอบการธุรกิจไม่ควรพลาด!

Connect X พาผู้ประกอบการธุรกิจมือใหม่ทุกคนมารู้จักกับ 3 ข้อดีของระบบรวมแชท บอกเลยว่าถ้าอยากทำงานง่ายขึ้นแบบก้าวกระโดด ต้องใช้ระบบรวมแชทเข้าช่วย

ในปี 2023 ที่จะถึงนี้ต้องยอมรับว่าหลากหลายธุรกิจของคนไทยเตรียมลงสนามแข่งขันที่เข้มข้นมากขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจการค้าขายออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ ที่ต้องลงทุนทั้งในเรื่องของตัวสินค้าเพียงอย่างเดียวไม่พอ แต่ยังต้องทำการตลาดออนไลน์ให้ดีอีกด้วย และแน่นอนว่าหากผู้ประกอบการท่านใดที่รู้จักการหาตัวช่วยดีๆ ให้กับธุรกิจได้ก่อน ก็มีโอกาสที่จะแซงนำหน้าคู่แข่งในตลาดได้ง่ายมากขึ้น

หนึ่งในกลุ่มธุรกิจที่มีโอกาสพบเจอกับการแข่งขันที่สูงเพิ่มขึ้นคงหนีไม่พ้นธุรกิจการขายของออนไลน์ ที่ในปัจจุบันการขายของให้กับลูกค้าตัดสินกัน ”เพียงไม่กี่ตัวอักษรในกล่องข้อความ” ยิ่งเป็นร้านที่กำลังอยู่ในความสนใจ มีลูกค้าเยอะ ทำให้เวลาตอบแชทลูกค้าบางครั้งก็ต้องตอบหลายช่องทาง เผลอตอบผิดแชทไปครั้งเดียว ก็มีโอกาสพานทำให้ลูกค้าอารมณ์เสียและพลาดยอดขายสินค้าไปอย่างน่าเสียดาย

แต่ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันที่มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา จึงมีระบบรวมแชทที่เข้ามาช่วยพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ยุคใหม่ ช่วยให้ร้านทำงานง่ายขึ้น ขายของได้คล่องตัวแถมยังได้ใจลูกค้าอีกด้วย ดังนั้นในบทความนี้ Connect X จะพามาดูข้อดีของระบบรวมแชทกัน ผู้ประกอบการมือใหม่ที่อยากทำงานง่ายขึ้นและมีโอกาสเพิ่มยอดขายได้แบบก้าวกระโดดต้องห้ามพลาด ถ้าพร้อมแล้ว ไปดูกันเลย

ระบบรวมแชทคืออะไร?

ระบบรวมแชทถือเป็นหนึ่งในโซลูชันใหม่ที่เข้ามาช่วยให้การขายของออนไลน์มีประสิทธิภาพที่เพิ่มมากขึ้น โดยเป็นโปรแกรมที่จะเข้ามาช่วยจัดระบบแชทให้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์พูดคุยสื่อสารกับลูกค้าได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะมาจากช่องทางแพลตฟอร์มใดก็ตาม ทั้ง Facebook, Line, Instagram, Websites ก็สามารถรวมแชทไว้ในที่เดียวทำให้ไม่ต้องมาคอยสลับหน้าจอไปมาเพื่อตอบ

นอกจากนี้ระบบรวมแชทในบางแพลตฟอร์มยังมีฟีเจอร์อื่นๆ นอกเหนือจากระบบรวมแชท เช่น ระบบ AI Chatbot ที่จะมีแชทบอทช่วยตอบแบบตลอด 24 ชั่วโมง รวมไปถึงอาจมีระบบ CRM ที่ช่วยวิเคราะห์พฤตกรรมลูกค้าได้แม่นยำ  เพื่อนำข้อมูลไปวิเคราะห์การตลาดออนไลน์ต่อได้ง่ายมากขึ้น เป็นต้น

ข้อดีของระบบรวมแชท

1.รวมแชทลูกค้าจากทุกช่องทาง

หนึ่งในข้อดีระบบรวมแชท คือ การจัดการปริมาณแชทในหลากหลายช่องทางให้มาอยู่รวมกันในแพลตฟอร์มเดียว ไม่ว่าลูกค้าจะทักมาจากบนเว็บไซต์หรือแพลตฟอร์ม Social Media ไหน ก็สามารถตอบได้ทันที ช่วยป้องกันปัญหาการลืมตอบลูกค้า อีกทั้งยังเป็นการจัดเก็บข้อมูลลูกค้าทั้งหมดไว้ที่เดียว ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลชื่อ เบอร์โทร อีเมล และช่องทางการติดต่อ Social Media ของลูกค้า ช่วยให้การติดตามการขายได้อย่างต่อเนื่องไม่มีสะดุด

2.ช่วยสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า

แน่นอนว่าหากสามารถโต้ตอบลูกค้าได้รวดเร็วทันใจ ก็แสดงให้เห็นถึงความใส่ใจ ความละเอียดและความเป็นมืออาชีพของร้านค้า เป็นการเพิ่มโอกาสในการสร้างความประทับใจของลูกค้าต่อแบรนด์ให้มากขึ้น แถมยังเป็นการช่วยสร้างลูกค้าประจำได้อีกด้วย อย่างที่ทราบกันดีว่าการหาลูกค้าใหม่นั้นยากกว่าการรักษาลูกค้าเก่าหลายเท่า ดังนั้นหากสามารถสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าได้ อย่างเช่น เมื่อลูกค้าเก่าทักแชทเข้ามาซื้อสินค้า ร้านอาจใช้ข้อมูลที่ถูกบันทึกเอาไว้ในโปรแกรมช่วยเหลือในการสร้างความประทับใจด้วยการเรียกชื่อลูกค้า จำสินค้าหรือไซส์ได้ หรืออาจใช้โปรโมชันเพิ่มความพิเศษโดยการมอบส่วนลด ก็เป็นการเพิ่มโอกาสให้ลูกค้าอยากกลับมาซื้อสินค้าซ้ำและเกิดการบอกต่ออย่างแน่นอน

3.ทำงานร่วมกับระบบ CRM และ CDP ได้ดี

ปัจจุบันการทำ Realtime Marketing เป็นสิ่งที่ร้านค้าออนไลน์ขาดไม่ได้ ทำให้ระบบรวมแชทของแต่ละแพลตฟอร์มถูกออกแบบมาให้ใช้งานร่วมระบบ CRM และ CDP เพื่อเป็นการช่วยสานสัมพันธ์ลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นการแสดงออเดอร์และระบบภายในร้าน ช่วยให้เห็นความเคลื่อนไหวได้ภายในหน้า Dashboard พร้อมส่งตรงข้อเสนอพิเศษให้ถูกใจลูกค้า ทำให้ช่วยปิดยอดขายได้ไวขึ้น พูดง่ายๆ ว่าไม่เพียงแค่ช่วยให้การแชทกับลูกค้าสะดวกขึ้นเพียงอย่างเดียว แต่ยังช่วยซัพพอร์ตการขายออนไลน์ได้อย่างเต็มที่

ระบบรวม Social Chat ตัวช่วยจาก Connect X

หากใครที่กำลังถามหาระบบตอบแชทลูกค้าที่สามารถตอบกลับได้ทุกแพลตฟอร์มพ่วงด้วยฟีเจอร์ที่ครอบคลุมการขายของออนไลน์ Connect X คือคำตอบที่เหมาะสมในทุกประการ เพราะระบบรวม Social Chat ของ Connect X คือระบบที่เก็บข้อมูลและติดตามลูกค้าได้จากทุกช่องทาง สามารถระบุได้ว่าแชทแต่ละแชทมาจากแพลตฟอร์มไหน กำลังมีความสนใจสินค้าอะไร พูดง่ายๆ ว่า สามารถจัดการแชทได้อย่างมีประสิทธิภาพ การันตีได้เลยว่าร้านสามารถสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าได้ง่ายมากขึ้น

 

ฟีเจอร์เด่นบน Connect X

  • รองรับระบบ Live Chat ในทุกแพลตฟอร์มยอดนิยมของคนไทย ไม่ว่าจะเป็น Messenger, LINE OA, Instagram ไปจนถึงระบบ Live Chat บนเว็บไซต์
  • ระบบการจัดการแบบ Ticket Management สามารถจัดแบ่งหน้าที่ให้แอดมิน แต่ละคนสามารถรับผิดชอบได้ มั่นใจได้ว่าทุกข้อความที่ส่งเข้ามาจะไม่มีการตกหล่น
  • สามารถทำงานร่วมกับระบบ CRM และ CDM ของ Connect X ได้เป็นอย่างดี เพิ่มประสิทธิภาพในการวิเคราะห์และติดตามลูกค้า และนำข้อมูลต่างๆ ไปต่อยอดการทำการตลาดออนไลน์ในอนาคตได้
  • มีฟีเจอร์ช่วยจับคีย์เวิร์ดในเว็บบอร์ด Pantip เพื่อให้แอดมินเข้าไปตอบคอมเมนต์ได้ทันทีที่มีกระทู้พูดถึงแบรนด์หรือร้านค้า

ทิ้งท้าย

กุญแจสู่ความสำเร็จของธุรกิจในยุคนี้คือการรู้จักเลือกใช้ตัวช่วยที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้ดี สร้างความประทับใจและรู้จักสานสัมพันธ์กับลูกค้า และในขณะเดียวกันก็ต้องช่วยให้ร้านสามารถทำงานได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการบริหารจัดการภายในหรือการมีข้อมูลเพื่อนำไปต่อยอดเพื่อพัฒนาแบรนด์ให้ดีมากขึ้น สำหรับใครที่กำลังมองหาตัวช่วยดีๆ แต่ยังลังเลไม่แน่ใจสามารถเข้ามาปรึกษาเราได้ทันที

สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

มัดใจลูกค้าเก่า เข้าถึงลูกค้าใหม่ได้ง่ายขึ้นกว่าเดิมด้วย Marketing Automation

มาดูข้อดีและความสำคัญของ Marketing Automation เครื่องมือที่สามารถช่วยให้แบรนด์และนักการตลาดเข้าถึงลูกค้ายุคใหม่ได้อย่างตรงจุด

เจ้าของธุรกิจและนักการตลาดสมัยใหม่ทุกท่านคงจะมีเครื่องมือการตลาด ควบคู่กับกลยุทธ์อันหลากหลาย ซึ่งแต่ละวิธีการ แต่ละช่องทาง จะตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าที่แตกต่างกัน

อย่างไรก็ตามการจะเข้าหาลูกค้ายุคใหม่ที่ต้องการความรวดเร็วแบบเรียลไทม์ และความสะดวกสบายกว่าเดิม แบรนด์ก็ต้องมีเครื่องมือการตลาดอย่าง Marketing Automation เข้ามาตอบโจทย์ลูกค้าด้วย

Marketing Automation คืออะไร? ในบทความนี้ Connect X จะมาไขข้อสงสัยให้ทุกท่านได้ทราบกันครับ

การตลาด + เทคโนโลยี = Marketing Automation

หากจะให้คำจำกัดความสั้นๆ Marketing Automation คือการตลาดอัตโนมัติ โดยการนำเทคโนโลยีในรูปแบบต่างๆ เข้ามาช่วยทำกิจกรรมการตลาด อาทิ AI ในการวิเคราะห์พฤติกรรมและความสนใจของลูกค้า, Big Data เก็บรวบรวมข้อมูลของลูกค้า ไปจนกระทั่งการนำซอฟต์แวร์หรือแพลตฟอร์มการตลาดอย่างระบบ CRM  มาทำการตลาดในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Remarketing, Personalized Marketing, Content Marketing, Email Marketing, SMS Marketing หรือกลยุทธ์การตลาดรูปแบบอื่นๆ ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยให้แบรนด์บรรลุเป้าหมายทางการตลาดและการขายสินค้าได้ดียิ่งขึ้น

Marketing Automation กับลูกค้ายุคใหม่

ผู้บริโภคนั้นยุคนี้ต้องการแบรนด์ที่รู้ใจและสามารถต้องสนองความต้องการได้อย่างตรงจุด (Personalize Marketing) รวมไปถึงการให้บริการแบบเรียลไทม์ (Real-Time) ที่สำคัญคือ ต้องทำได้ตลอดทุกช่องทางออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นบนเว็บไซต์ สื่อโซเชียลมีเดีย (Facebook, Instagram, LINE) หรือช่องทางอื่นๆ

ทำไมธุรกิจต้องมี Marketing Automation?

1. ทำความเข้าใจลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น

ก่อนที่จะทำการตลาดไปยังกลุ่มลูกค้าที่ใช่ ในเวลาที่ดี และในช่องทางเหมาะสม คุณจะต้องเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้าของคุณก่อน และการทำความเข้าใจลูกค้านั้นจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีข้อมูล

อย่างที่กล่าวไปก่อนหน้านี้ การเก็บข้อมูลลูกค้าคือรากฐานที่สำคัญของ Marketing Automation เพราะซอฟต์แวร์หรือแพลตฟอร์มที่ดี (อย่าง Connect X)  จะช่วยให้ท่านสามารถเก็บข้อมูล เพื่อทำความเข้าใจลูกค้าของคุณแบบรายบุคคลได้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นดูสินค้าที่คนคนนั้นสนใจ หรือมีปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์ของท่านอย่างไร

2. ตัวเชื่อมระหว่าง Marketing และ Sale

หนึ่งในหน้าที่หลักของ Marketing Automation คือ “การฟูมฟัก” ให้ผู้คนที่เข้ามายังช่องทางการตลาดของท่านนั้นพร้อมสำหรับการถูกขาย ซึ่งเมื่อไหร่ก็ตามที่คนคนนั้นพร้อมซื้อ ข้อมูลต่างๆ ถึงค่อยถูกส่งไปให้ฝ่ายขายอีกที และเมื่อฝ่ายขายทำการติดต่อหรือทำการเสนอขายกับลูกค้าแล้ว ไม่ว่าจะสำเร็จหรือไม่สำเร็จ ข้อมูลต่างๆ ที่ได้มาจากปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าจะนำมาวิเคราะห์เพื่อทำความเข้าใจลูกค้าต่อด้วย

Marketing Automation ช่วยให้ฝ่ายการตลาดและฝ่ายขายสามารถทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนาแบรนด์และธุรกิจได้อย่างทรงประสิทธิภาพมากขึ้น

3. เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

การนำเครื่องมือ Marketing Automation เข้ามาปรับใช้ จะช่วยให้แบรนด์สามารถดำเนินธุรกิจได้ราบรื่นยิ่งขึ้น ลดภาระงาน เช่น การใส่ข้อมูลซ้ำซ้อน หรือ การส่ง กิจกรรมทางการตลาดและการขายไปยังผู้ที่สนใจอีกครั้ง นอกจากนี้ยังช่วยลดข้อผิดพลาดที่เกิดจากบุคคล (Human Error) ได้ด้วยนั่นเอง

Marketing Automation ทำงานอย่างไร?

การตลาดอัตโนมัตินั้นสามารถเริ่มใช้งานได้ตั้งแต่ขั้นตอนแรก Marketing Funnel หรือก็คือเมื่อลูกค้ารับรู้ถึงสินค้าหรือบริการ (Awareness) ยกตัวอย่างเช่น

คุณ A ได้เข้ามาดูสินค้าของแบรนด์ท่านมากถึง 3 ครั้ง ทั้งบนเว็บไซต์  Facebook และ Instagram แต่ยังไม่มีการติดต่อเข้ามา ท่านสามารถตั้งค่าให้ Marketing Automation ให้ทำการส่งคอนเทนต์ แคมเปญ หรือโปรโมชันต่างๆ ไปให้คุณ A ผ่านทางอีเมล และหากยังไม่สนใจเหมือนเดิม ก็อาจเปลี่ยนช่องทางเป็น ข้อความ SMS หรืออีกนัยหนึ่งก็คือสามารถทำ Personalized Marketing กับลูกค้าแต่ละคน พร้อมทำ Remarketing กับฐานลูกค้าเดิมด้วย

สำหรับแพลตฟอร์ม Connect X ท่านสามารถ ส่ง Personalized Message  ผ่าน Line Message, Facebook Message, Email เป็นต้น สร้างประสบการณ์เฉพาะตัวให้ลูกค้ารู้สึกประทับใจได้มากกว่า อีกทั้งยังเป็น CDP (Customer Data Platform)  เก็บข้อมูลลูกค้าได้ตั้งแต่ยังเป็น Unknown Data จนเป็น Known จะเป็นลูกค้าหน้าใหม่ก็สามารถส่งโปรโมชันที่ตรงใจได้ตลอด

สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

ห้ามพลาด! รวม 8 คำถามน่ารู้เกี่ยวกับ PDPA

Connect X จะมาตอบทุกคำถามที่หลายคนคาใจเกี่ยวกับ PDPA คืออะไร ให้ทุกคนเข้าใจและระมัดระวังกันมากยิ่งขึ้น

สำหรับการประกาศใช้ พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือ PDPA ไปเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา ทำให้หลายๆ คน เริ่มตระหนักและอยากรู้จักกับ PDPA ให้มากยิ่งขึ้น ทั้งในแง่ของผู้บริโภคที่ต้องการรักษาสิทธิ์ส่วนตัว และผู้ประกอบธุรกิจที่ต้องการนำข้อมูลของลูกค้ามาใช้งานในด้านต่างๆ ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาได้มีกระแสบนโลกออนไลน์หลากหลายแง่มุม จึงยิ่งทำให้ใครหลายๆ คน เกิดความสงสัยและเกิดคำถามเกี่ยวกับ PDPA อย่างมากมาย

วันนี้ Connect X จึงขอมาอาสามาตอบ 8 คำถามยอดฮิตที่คาใจเกี่ยวกับ PDPA เพื่อให้ทุกคนได้รับทราบ เข้าใจ และนำไปปรับใช้งานได้จริง

1. PDPA คืออะไร?

พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือ กฎหมาย PDPA (Personal Data Protection Act) คือ กฎหมายที่ช่วยคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภคในทุกช่องทางไม่ว่าจะเป็นช่องทางออนไลน์ (Online) หรือออฟไลน์ (Offline) จากองค์กรทั้งในและต่างประเทศ หากธุรกิจหรือองค์กรใดต้องการจัดเก็บหรือนำข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภคไปใช้ประโยชน์จะต้องได้รับความยินยอม (Consent) จากเจ้าของข้อมูลก่อน ซึ่งผู้บริโภคมีสิทธิ์ในการฟ้องร้องหากถูกละเมิดกฎหมายดังกล่าวได้อีกด้วย

2. PDPA มีผลกับใครบ้าง?

พูดได้อย่างเต็มปากว่า PDPA มีผลกับทุกๆ คน ไม่ว่าจะเป็นในแง่ขององค์กรหรือผู้ประกอบการ ผู้บริโภค รวมถึงประชาชนทั่วไป เพราะหากมีการนำข้อมูลของผู้อื่นไปใช้ ไม่ว่าจะเป็นรายละเอียดข้อมูล ภาพถ่าย วิดีโอ ก็จะครอบคลุมอยู่ในกฎหมาย PDPA ซึ่งบุคคลหรือองค์กรที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับกฎหมายดังกล่าว จะแบ่งออกเป็น

  • เจ้าของข้อมูล (Data Subject)
  • ผู้ควบคุมข้อมูล (Data Controller)
  • ผู้ประมวลผลข้อมูล (Data Processor)

3. PDPA คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลด้านไหน?

ข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) ที่กฎหมาย PDPA จะครอบคลุมนั้นมีอยู่มากมาย ตั้งแต่ข้อมูลพื้นฐานไปจนถึงข้อมูลที่มีความอ่อนไหว ซึ่งประกอบไปด้วย ชื่อ – นามสกุล, เลขประจำตัวประชาชน, เลขหนังสือเดินทาง, เลขใบอนุญาตขับขี่, ที่อยู่, เบอร์โทรศัพท์, วันเกิด, อีเมล, การศึกษา, เพศ, อาชีพ, รูปถ่าย, ข้อมูลทางการเงิน, ทะเบียนรถยนต์, โฉนดที่ดิน, ทะเบียนบ้าน

ในส่วนของข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตก็ครอบคลุมไปถึงข้อมูลที่สามารถใช้ระบุตัวตนได้ อาทิ Username/Password, Cookies IP Address, GPS Location เป็นต้น นอกจากนี้ยังรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อน (Sensitive Personal Data) อย่างข้อมูลทางการแพทย์หรือสุขภาพ, ข้อมูลทางพันธุกรรมและไบโอเมทริกซ์, เชื้อชาติ, ความคิดเห็นทางการเมือง, ความเชื่อทางศาสนาหรือปรัชญา, พฤติกรรมทางเพศ, ประวัติอาชญากรรม, ข้อมูลสหภาพแรงงาน เป็นต้น

เห็นได้ว่า PDPA นั้นเป็นกฎหมายที่สามารถคุ้มครองข้อมูลด้านต่างๆ ของแต่ละบุคคลได้อย่างครอบคลุมเลยทีเดียว

 

4. ในเมื่อ PDPA มีผลอย่างเป็นทางการแล้ว จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง?

ข้อเปลี่ยนแปลงสำคัญอย่างแรกคือ ผู้ที่เป็นเจ้าของข้อมูลจะได้รับการคุ้มครองมากขึ้น และมีสิทธิ์ในการควบคุมการประมวลผลข้อมูล รวมถึงสามารถเรียกร้องหรือฟ้องร้องได้ หากได้รับความเสียหายในกรณีที่มีบุคคลหรือหน่วยงานนำข้อมูลของตนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

ส่วนผู้ที่นำข้อมูลไปใช้ อย่างภาคธุรกิจ องค์กร หน่วยงาน และบุคคล จะต้องขออนุญาตและระมัดระวังในการใช้ข้อมูลดังกล่าว เพื่อประโยชน์ตามที่กฎหมายกำหนด และไม่ทำให้เจ้าของข้อมูลเสียหายหรือเสื่อมเสียชื่อเสียง

ผู้ที่นำข้อมูลไปใช้จะต้องทำตามข้อกำหนด ดังนี้

  • ต้องจำกัดการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเพียงเท่าที่จำเป็น
  • การประมวลผลข้อมูลต้องมีวัตถุประสงค์ ซึ่งมีฐานกฎหมายตามที่ พรบ. กำหนดรองรับ เช่น เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญา สิทธิ์อันชอบธรรม และหากเป็นการประมวลผลด้วยฐานความยินยอมต้องได้รับความยินยอมก่อน
  • ต้องอธิบายและแจ้งรายละเอียดการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลให้เจ้าของข้อมูลทราบ
  • ต้องมีการรับประกันความมั่นคงและความปลอดภัยของข้อมูล
  • หากมีข้อมูลรั่วไหลต้องทำการแจ้งเตือนให้เจ้าของข้อมูลทราบ รวมถึงแจ้งสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งจะมีการประเมินความเสียหาย และวิธีการเยียวยาเจ้าของข้อมูล

5. ถ่ายภาพหรือวิดีโอแล้วติดบุคคลอื่นผิดหรือไม่?

ถือเป็นหนึ่งในประเด็นที่ได้รับความสนใจค่อนข้างมากในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งการถ่ายภาพหรือวิดีโอที่มีหน้าของบุคคลอื่นติดมาด้วยนั้น สามารถแยกได้เป็น 3 กรณี ดังนี้

  1. กรณีที่ถ่ายภาพและวิดีโอติดบุคคลอื่นโดยไม่เจตนาหรือไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหาย – ถือว่าสามารถทำได้หากใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว และหากมีการนำไปโพสต์ลงโซเชียลมีเดีย ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน แต่ต้องไม่ใช้เพื่อการแสวงหากำไรทางการค้าและไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
  2. กรณีภาพของกล้องวงจรปิดถ่ายติดบุคคลอื่น – หากติดภายในบ้าน โดยมีจุดประสงค์เพื่อป้องกันอาชญากรรมและรักษาความปลอดภัย ไม่จำเป็นต้องมีป้ายแจ้งเตือน แต่หากเป็นกรณีที่ติดตั้งในที่สาธารณะ หน่วยงาน องค์กร ร้านค้า ห้างสรรพสินค้า จะต้องติดป้ายประกาศหรือสติกเกอร์เพื่อแจ้งให้ทราบว่ามีกล้องวงจรปิดและมีการบันทึกข้อมูล เพื่อเป็นการแจ้งให้ผู้คนรับทราบ
  3. กรณีของกล้องหน้ารถยนต์ – ไม่จำเป็นต้องติดประกาศแจ้งให้ทราบ หากนำภาพหรือวิดีโอที่มีบุคคลอื่นไปใช้โดยไม่ส่งผลกระทบหรือความเสียหายต่อบุคคลในภาพ/วิดีโอนั้นสามารถทำได้ แต่ไม่สามารถนำไปใช้ทางการค้า สร้างรายได้ สร้างความอับอาย ความเสียหาย หรือใช้ในรูปแบบอื่นๆ ที่ไม่ใช่วัตถุประสงค์ส่วนตัว

6. เจ้าของข้อมูลต้องให้ความยินยอมทุกครั้งก่อนนำข้อมูลไปใช้หรือไม่? 

โดยปกติหากนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้จะต้องขออนุญาตเจ้าของข้อมูลก่อนทุกครั้ง แต่ PDPA มีข้อยกเว้นที่สามารถนำข้อมูลไปใช้โดยไม่ต้องขอความยินยอม ซึ่งเป็นกรณีดังนี้ 

  • เป็นการทำตามสัญญา เช่น เว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน E-Commerce ที่ต้องใช้ชื่อและที่อยู่ในการส่งพัสดุให้ลูกค้า หรือเป็นข้อมูลที่จำเป็นต่อการทำงาน เช่น การเป็นสมาชิกหรือ Subscription Service ที่ต้องใช้ข้อมูลบัตรเครดิต เป็นต้น 
  • เป็นการใช้ที่มีกฎหมายให้อำนาจ
  • เป็นการใช้เพื่อรักษาชีวิตและ/หรือ ร่างกายของบุคคล รวมถึงป้องกันอันตราย และการป้องกันโรคระบาด
  • เป็นการใช้เพื่อการค้นคว้าวิจัยทางสถิติ
  • เป็นการใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะ
  • เป็นการใช้เพื่อปกป้องผลประโยชน์หรือสิทธิ์ของตนเอง
  • เป็นการใช้เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับเอกสารประวัติศาสตร์
  • เป็นการใช้เพื่อประมวลผลเชิงเนื้อหาสำหรับสื่อมวลชน ซึ่งต้องเป็นไปตามจริยธรรมแห่งการประกอบวิชาชีพหรือเป็นประโยชน์สาธารณะเท่านั้น 

ทั้งนี้ หลักการข้างต้น อาจเปลี่ยนแปลงตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเป็นกรณีๆ ไป ถึงไม่ต้องขอความยินยอม แต่ผู้ควบคุมข้อมูลยังต้องรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและคำนึงถึงสัดส่วนความจำเป็นของการใช้ข้อมูล และผลกระทบต่อความเป็นส่วนตัวของเจ้าของข้อมูล 

7. เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล มีสิทธิ์อะไรเกี่ยวกับข้อมูลของตนบ้าง?

  • สิทธิ์ในการถอดถอนความยินยอมในกรณีที่ได้ให้ความยินยอมไว้
  • สิทธิ์ได้รับการแจ้งให้ทราบรายละเอียด (Privacy Notice)
  • สิทธิ์การขอเข้าถึงและการขอสำเนาข้อมูลส่วนบุคคล 
  • สิทธิ์ขอให้โอนข้อมูลส่วนบุคคล
  • สิทธิ์คัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้งาน หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล 
  • สิทธิ์ขอให้ลบหรือทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลได้
  • สิทธิ์ขอให้ระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
  • สิทธิ์ขอให้แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล
  • สิทธิ์ในการร้องเรียนต่อคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญในกรณีที่มีการฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือประกาศที่ออกตามกฎหมาย PDPA

8.หากไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย PDPA จะเป็นอย่างไร?

สำหรับผู้ที่นำข้อมูลไปใช้ประโยชน์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลนั้น ไม่ว่าจะเป็นผู้ควบคุมข้อมูล (Data Controller) และผู้ประมวลผลข้อมูล (Data Processor) จะมีโทษทางกฎหมาย โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • ความรับผิดทางแพ่ง ตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง และอาจต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพิ่มขึ้นอีก โดยสูงสุดไม่เกิน 2 เท่าของค่าเสียหายที่แท้จริง
  • โทษทางอาญา จำคุกสูงสุดไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • โทษทางปกครอง ปรับสูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาท

จากที่ Connect X ได้พาเจอคำตอบของคำถามต่างๆ เกี่ยวกับกฎหมาย PDPA กันให้มากยิ่งขึ้นจากคำถามทั้ง 8 ข้อกันไปแล้ว น่าจะช่วยตอบข้อสงสัยของใครหลายๆ คน และช่วยให้เข้าใจเกี่ยวกับ PDPA มากขึ้น รวมถึงตระหนักถึงความสำคัญของการนำข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่นไปใช้กันมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในมุมของประชาชนทั่วไปที่เป็นผู้บริโภคหรือภาคธุรกิจก็ตาม

หากไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย มีการนำข้อมูลไปใช้โดยไม่ได้รับความยินยอมหรือผิดวัตถุประสงค์ ก็อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินหรือความเป็นส่วนตัวของเจ้าของข้อมูล และส่งผลกระทบต่อองค์กรเป็นวงกว้าง

นอกจากนี้ องค์กรหรือธุรกิจที่ปฏิบัติตามกฎหมาย PDPA อย่างเคร่งครัด จะช่วยเสิรมสร้างน่าเชื่อถือและภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กรได้อีกด้วย สำหรับใครกำลังมองหาตัวช่วยที่ปลอดภัยและสะดวกสบายอยู่นั้น Connect X เป็นแพลตฟอร์ม Customer Data Platform (CDP) ที่รองรับกฎหมาย PDPA และได้รับมาตรฐานการเก็บข้อมูลอย่างปลอดภัย มีมาตรฐาน ISO27001 ซึ่งสามารถช่วยเก็บรวบรวมข้อมูลลูกค้าจากทุกช่องทางไว้ในที่เดียวกัน และยังมี Marketing Automation ที่ช่วยทำการตลาดแบบอัตโนมัติ เพื่อให้ธุรกิจนำข้อมูลมาใช้ได้อย่างสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ พร้อมความปลอดภัยและมีขั้นตอนการขออนุญาตเก็บข้อมูลที่ถูกต้องตามกฎหมายอย่างแน่นอน

สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

จริงหรือไม่? 3 เรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับ PDPA เปลี่ยนความคิดด่วน

เพราะข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญ กฎหมาย PDPA จึงเกิดขึ้นเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล แต่หลายคนก็ยังสงสัยหรือเข้าใจผิดเกี่ยวกับ PDPA อยู่ ดังนั้นมาไขข้อสงสัยกันดีกว่า

พอกฎหมาย PDPA (Personal Data Protection Act) ได้ประกาศบังคับใช้อย่างเป็นทางการไปเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ทำให้ผู้ประกอบการและภาคธุรกิจต้องปรับตัวกันยกใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการขอความยินยอมในการเก็บข้อมูล การจัดทำนโยบายความเป็นส่วนตัว การนำข้อมูลไปใช้ ไปจนถึงการกำกับดูแลข้อมูล

สำหรับการขอความยินยอมหรือ Consent เพื่อเก็บข้อมูลจากลูกค้าถือเป็นกุญแจสำคัญในการทำ Digital Marketing ซึ่งหลากหลายธุรกิจต่างก็ต้องหาข้อมูลอย่างเคร่งครัดเกี่ยวกับข้อห้าม PDPA ว่าอะไรที่สามารถทำได้หรือทำไม่ได้ แต่สำหรับมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มศึกษาก็ต้องเจอกับรายละเอียดข้อมูลมากมายที่อาจทำให้สับสนได้ง่ายๆ

3 เรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับ PDPA ต้องเคลียร์ ไม่ให้สับสน

เชื่อว่าทั้งผู้บริโภคและเจ้าของธุรกิจหลายๆ คนยังมีเรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับ PDPA อยู่ไม่น้อย ดังนั้น Connect X จะมาไขข้อสงสัยต่างๆ เกี่ยวกับพ.ร.บ. ฉบับนี้ให้กระจ่าง ตามมาดูกันได้เลย!

1. ข้อห้าม PDPA มีเพียงผู้ประกอบการหรือธุรกิจเท่านั้นที่ต้องทำตาม

จากชื่อ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หลายคนจึงเข้าใจว่ามีเพียงแค่ธุรกิจเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบและต้องปฏิบัติตามข้อบังคับต่างๆ ของ PDPA อย่างไรก็ตาม ต้องบอกว่ากฎหมายนี้ให้การคุ้มครองข้อมูลอย่างครอบคลุม เพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับเจ้าของข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทร อีเมล เลขบัตรประชาชน ข้อมูลลายนิ้วมือ เลขบัญชีธนาคาร หรือข้อมูลอื่นๆ ที่สามารถใช้ระบุตัวตนของเจ้าของข้อมูลได้ทั้งช่องทางออฟไลน์และออนไลน์

โดยการบังคับใช้ PDPA มีผลกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง คือ เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Subject) ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Collector) และผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processor) พูดง่ายๆ ว่าทั้งภาครัฐ เอกชน กิจการ และผู้บริโภคต่างก็ต้องปฏิบัติตามข้อกฎหมายนี้ด้วยกันทั้งหมด ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น ในกรณีที่ซื้อสินค้าออนไลน์แล้วมีการติดต่อพ่อค้าแม่ค้าโดยตรง เราจะได้เลขบัญชีเพื่อโอนจ่ายเงิน จากนั้นต้องแจ้งสลิป พร้อมชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทร สำหรับจัดส่งสินค้า ซึ่งข้อมูลทั้งหมดนี้ถือว่าเป็นข้อมูลส่วนบุคคล เท่ากับว่าพ่อค้าแม่ค้าและเราก็ต้องปฏิบัติตาม PDPA ทั้งคู่ ไม่นำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว เป็นต้น

2. ธุรกิจต้องได้รับความยินยอม (Consent) จากเจ้าของข้อมูลทุกครั้ง

สำหรับ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ยังมีบทบัญญัติเกี่ยวกับหลักการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลตามกฎหมาย PDPA ในมาตรา 24 ซึ่งมีหลักการเกี่ยวกับเรื่องความยินยอม (Consent) ก่อนที่แบรนด์หรือนักการตลาดจะนำข้อมูลไปเก็บในระบบ CRM หรือนำไปประกอบแคมเปญต่างๆ ก็ต้องขอความยินยอมก่อน เช่น การขอ Cookie Consent เพื่อจัดเก็บไฟล์คุกกี้และข้อมูลของผู้เข้าชมเว็บไซต์ แต่ไม่ได้แปลว่าธุรกิจจะต้องขออนุญาตทุกครั้งที่ต้องเก็บข้อมูล

ในความจริงแล้ว เจ้าของข้อมูลต้องให้ความยินยอม (Consent) ต่อผู้ควบคุมข้อมูลตามที่แจ้งไว้ตั้งแต่แรกเพียงครั้งเดียวเท่านั้น อาทิ เมื่อสมัครสมาชิกผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน หลังจากกรอกรายละเอียดแล้ว จะมีข้อความหรือเอกสารให้อ่านพร้อมปุ่มกด “ยินยอม” หรือ “ยอมรับ” เพื่ออนุญาตให้ธุรกิจเก็บรวบรวมข้อมูลนั่นเอง ซึ่งจะเป็นการทำเพียงครั้งเดียว ไม่จำเป็นต้องกดยินยอมทุกครั้งเมื่อเข้าสู่ระบบ สำหรับมุมมองของธุรกิจนั้น การขอความยินยอมเพียงครั้งเดียวนี้ก็เป็นการอำนวยความสะดวกให้สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลของผู้ใช้งานหรือลูกค้าได้ต่อเนื่องและมีฐานข้อมูลครบถ้วน สามารถใช้ในการทำการตลาดหรือเพื่อปรับปรุง Marketing Automation ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้นั่นเอง

นอกจากนี้ ยังมีกรณีต่างๆ ที่ข้อมูลจะถูกเก็บรวบรวมได้ โดยได้รับข้อยกเว้น PDPA หรือไม่จำเป็นต้องขอความยินยอมดังนี้

  • กรณีป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพของเจ้าของข้อมูล รวมไปถึงการใช้ข้อมูลเพื่อประโยชน์สาธารณะ เช่น ป้องกันโรคระบาด ซึ่งผู้ควบคุมสามารถเก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผย ข้อมูลส่วนบุคคลได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอม
  • การปฏิบัติตามสัญญา ไม่ต้องขอความยินยอม
  • ปฏิบัติภารกิจของรัฐ ตามมาตรา 24(4) หากจำเป็นต่อการดำเนินภารกิจของรัฐเพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือเป็นการใช้อำนาจรัฐ การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อการนั้น ไม่ต้องขอความยินยอม อย่างไรก็ตาม แม้ไม่ต้องขอความยินยอม แต่ผู้ควบคุมยังคงมีหน้าที่ในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และคำนึงถึงความได้สัดส่วนความจำเป็นในการใช้ข้อมูล และผลกระทบต่อความเป็นส่วนตัวของเจ้าของข้อมูล
  • ปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่ต้องขอความยินยอม มาตรา 24(6)

3. การโพสต์รูปโซเชียลโดยมีใบหน้าผู้อื่นติดมาด้วย ถือว่าผิดกฎหมาย PDPA

ใจความสำคัญของ PDPA คือการปกป้องความเป็นส่วนตัว ซึ่งก็รวมไปถึงรูปถ่ายหรือวิดีโอที่มีใบหน้าของเจ้าของข้อมูลด้วย หลายคนเข้าใจว่าการที่ใครสักคนโพสต์รูปบนโซเชียลแล้วมีใบหน้าเราติดไปถือว่าเป็นการละเมิดพ.ร.บ. ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ “ผิด” จนกลายเป็นประเด็นร้อนในโลกโซเชียลกันไปแล้ว

จริงๆ แล้ว การที่ผู้ถ่ายรูปหรือคลิปวิดีโอบังเอิญถ่ายติดใบหน้าของคนอื่นไปโดยไม่ได้เจตนา หรือไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ถูกถ่ายก็สามารถทำได้โดยไม่ผิดหลัก PDPA ส่วนในกรณีที่ได้นำรูปถ่ายหรือคลิปไปโพสต์บนโซเชียลก็สามารถทำได้ ถ้าเป็นการทำเพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว ไม่นำไปใช้เพื่อผลประโยชน์หรือทำกำไร และทำให้เจ้าของข้อมูลเสื่อมเสียชื่อเสียงหรือทำให้เกิดอันตราย

เรื่องการติดตั้งกล้องวงจรปิด ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่หลายคนกังวลว่า หากถ่ายติดใบหน้าคนอื่นจะเป็นการทำผิดพ.ร.บ. หรือเปล่า ซึ่งถ้าเป็นการติดภายในบริเวณบ้านเพื่อรักษาความปลอดภัย ก็ไม่จำเป็นต้องทำป้ายแจ้งเตือน หมดห่วงได้เพราะไม่ผิดต่อข้อกฎหมายแน่นอน

ทั้งหมดนี้ก็เป็นข้อสงสัยหลักๆ ที่หลายคนยังมีอยู่ หวังว่าบทความนี้จะสามารถไขข้อสงสัยได้ไม่มากก็น้อย สำหรับธุรกิจและเจ้าของแบรนด์ทุกท่านต้องไม่ลืมที่จะค้นหา “เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูล” หรือ “Data Protection Officer (DPO)” เพื่อเข้ามาดูแลกฎหมาย PDPA ภายในองค์กรและตรวจสอบนโยบายการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า

ที่สำคัญ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบรนด์ควรมีระบบ CDP หรือระบบ CRM ที่เป็นไปตาม PDPA เพื่อรักษาและปกป้องข้อมูลของลูกค้า รวมถึงเป็นการหลีกเลี่ยงการฟ้องร้องที่อาจเกิดขึ้นได้หากเกิดข้อผิดพลาดขึ้นนั่นเอง

สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM หรือต้องการคำปรึกษา ทาง Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

Omni Channel Marketing กลยุทธ์ทางการตลาดที่คุณไม่ควรพลาดในปี 2023

Omni Channel Marketing คืออะไร มีคุณสมบัติอย่างไร ทำไมถึงเหมาะกับปี 2022 มาหาคำตอบไปพร้อมกันในบทความนี้ ที่ Connect-X

Omni Channel Marketing กลยุทธ์ทางการตลาดที่คุณไม่ควรพลาดในปี 2023

การซื้อขายผ่านช่องทางใดช่องทางเดียว อาจไม่ตอบโจทย์ลูกค้ายุคปัจจุบันอีกต่อไป เนื่องจากตัวเลือกที่มีมากขึ้น การขายผ่านหน้าร้านเพียงอย่างเดียวทำให้ยอดขายตก ขายได้ไม่มากเหมือนแต่ก่อน หลายๆ แบรนด์จึงหันมาปรับตัว โดยเปลี่ยนไปขายสินค้าและบริการในรูปแบบออนไลน์มากขึ้น

อย่างไรก็ตาม แม้จะขายสินค้าและบริการในตลาดโลกออนไลน์ ก็อาจไม่สามารถให้ประสบการณ์กับลูกค้าได้เพียงพอ และยังมีข้อจำกัดอีกหลายอย่าง อาทิ ไม่สามารถตรวจสอบคุณภาพสินค้าหรือทดลองใช้สินค้าได้ ทำให้ลูกค้าไม่สามารถตัดสินใจซื้อสินค้าได้ทันที แม้จะมีกลยุทธ์การตลาดที่ดีแค่ไหน แต่สามารถรวบรวมช่องทางการซื้อขายให้กับลูกค้าได้ ย่อมดีต่อธุรกิจอย่างแน่นอน 

วันนี้ Connect X ขอแนะนำ Omni Channel Marketing กลยุทธ์การตลาดที่จะเข้ามาช่วยธุรกิจของคุณไม่ว่าจะมีประเภทธุรกิจแบบใด มีขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ Omni Channel Marketing จะช่วยเพิ่มยอดขายและให้บริการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถดึงลูกค้ารายใหม่เข้ามาเพิ่ม พร้อมสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าเก่าด้วยประสบการณ์การใช้งานที่ดี อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างแบรนด์ให้มีภาพลักษณ์ที่ดีและน่าจดจำอีกด้วย 

Omni Channel คืออะไร 

Omni Channel คือ กลยุทธ์ทางการตลาดรูปแบบหนึ่งที่เป็นการ “ผสาน” ช่องทางการสื่อสารและการให้บริการลูกค้าเข้าเป็นหนึ่งเดียวกัน โดยมีการเชื่อมโยงกันทั้งรูปแบบออฟไลน์และออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นช่องทางหน้าร้าน ผ่าน Social Media, Website, Email, แอปพลิเคชัน หรือแพลตฟอร์มอื่นๆ โดยมีการเก็บข้อมูลการใช้งาน ความพึงพอใจ ประวัติการสั่งซื้อจากทุกช่องทางเข้ามาไว้เป็นข้อมูลกลางที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายและรวดเร็ว เพื่อให้ธุรกิจร้านค้าสามารถนำข้อมูลไปศึกษาและวิเคราะห์ พัฒนาสินค้าและบริการที่ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าแบบ Personalized ได้ง่ายขึ้น และไม่ว่าลูกค้าจะใช้บริการจากช่องทางไหน ก็จะได้รับประสบการณ์แบบไร้รอยต่อได้นั่นเอง (Seamless Customer Experience)

กล่าวคือการใช้ Omni Channel Marketing จะช่วยให้ธุรกิจร้านค้าของคุณ มีความสามารถในการตอบสนองลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุด โดยเป็นการเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงสินค้าและบริการได้หลากหลายช่องทาง รวมทั้งแพลตฟอร์ม Omni Channel ต่างๆ ยังเชื่อมโยงข้อมูลของลูกค้าอย่างรอบด้านผ่านทุกช่องทางการขาย ลูกค้าสามารถสอบถามข้อมูลของสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ก่อน แล้วไปทดลองใช้งานหรือขอดูตัวอย่างสินค้าจริงได้ เพื่อประกอบการตัดสินใจและซื้อได้ทันที โดยพนักงานหน้าร้านจะได้รับข้อมูลของลูกค้ามาแบบเดียวกันกับพนักงานฝ่ายบริการลูกค้าออนไลน์ ทำให้สามารถตอบสนองความต้องการและสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น

เหตุผลที่ธุรกิจควรเลือกใช้แพลตฟอร์มการตลาดแบบ Omni Channel

  • User Quality Data มีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้บริโภคได้อย่างละเอียด และเชื่อมต่อข้อมูลกันอย่างเป็นระบบ เพื่อให้สามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปต่อยอดให้เกิด Conversation Rate ที่สูงขึ้นและสร้าง Hyper-Personalization เพื่อประสบการณ์ของผู้บริโภค
  • Create Consistency Across Channel – สามารถสร้างมั่นคงและเชื่อมโยงการสื่อสารกับลูกค้าได้ทุกช่องทางแบบเรียลไทม์  
  • Drive Revenue – ช่วยเพิ่มยอดขายให้สูงขึ้น เนื่องจากมีช่องทางให้เข้าถึงมากมาย จึงเหมาะกับไลฟ์สไตล์ที่หลากหลาย และยังช่วยเปลี่ยนลูกค้าใหม่ให้กลายเป็นลูกค้าประจำได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
  • Improve Customer Experience – ปรับปรุงประสบการณ์ของผู้บริโภคให้ดีกว่าเดิม โดยที่ผู้บริโภคสามารถเลือกดูข้อมูลเพิ่มเติมจากช่องทางที่หลากหลายเพื่อประกอบการตัดสินใจได้ง่ายขึ้น สามารถสั่งซื้อและชำระเงินได้ง่ายหลากหลายช่องทางตามความสะดวกของแต่ละคน 
  • Increase Brand Loyalty – สร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์และกระตุ้นพฤติกรรมการซื้อได้มากยิ่งขึ้นได้มากขึ้น เนื่องจากมีการรีวิวสินค้าจากหลายช่องทาง 

สุดยอด Platform ที่ตอบโจทย์ Omni Channel Marketing พร้อมฟีเจอร์สุดปัง

การใช้ Omni Channel Marketing ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด จะต้องมี แพลตฟอร์ม อย่างเช่น CDP (Customer Data Platform) ที่ช่วยเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าจากทุกช่องทาง และ Marketing Automation ที่เครื่องมือทำการตลาดแบบอัตโนมัติ ซึ่ง Connect X เป็นแพลตฟอร์มที่ครบครันและตอบโจทย์กลยุทธ์ธุรกิจแบบ Omni Channel ได้มากที่สุด 

สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย