Category Archives: other

มัดใจลูกค้าเก่า เข้าถึงลูกค้าใหม่ได้ง่ายขึ้นกว่าเดิมด้วย Marketing Automation

มาดูข้อดีและความสำคัญของ Marketing Automation เครื่องมือที่สามารถช่วยให้แบรนด์และนักการตลาดเข้าถึงลูกค้ายุคใหม่ได้อย่างตรงจุด

เจ้าของธุรกิจและนักการตลาดสมัยใหม่ทุกท่านคงจะมีเครื่องมือการตลาด ควบคู่กับกลยุทธ์อันหลากหลาย ซึ่งแต่ละวิธีการ แต่ละช่องทาง จะตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าที่แตกต่างกัน

อย่างไรก็ตามการจะเข้าหาลูกค้ายุคใหม่ที่ต้องการความรวดเร็วแบบเรียลไทม์ และความสะดวกสบายกว่าเดิม แบรนด์ก็ต้องมีเครื่องมือการตลาดอย่าง Marketing Automation เข้ามาตอบโจทย์ลูกค้าด้วย

Marketing Automation คืออะไร? ในบทความนี้ Connect X จะมาไขข้อสงสัยให้ทุกท่านได้ทราบกันครับ

การตลาด + เทคโนโลยี = Marketing Automation

หากจะให้คำจำกัดความสั้นๆ Marketing Automation คือการตลาดอัตโนมัติ โดยการนำเทคโนโลยีในรูปแบบต่างๆ เข้ามาช่วยทำกิจกรรมการตลาด อาทิ AI ในการวิเคราะห์พฤติกรรมและความสนใจของลูกค้า, Big Data เก็บรวบรวมข้อมูลของลูกค้า ไปจนกระทั่งการนำซอฟต์แวร์หรือแพลตฟอร์มการตลาดอย่างระบบ CRM  มาทำการตลาดในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Remarketing, Personalized Marketing, Content Marketing, Email Marketing, SMS Marketing หรือกลยุทธ์การตลาดรูปแบบอื่นๆ ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยให้แบรนด์บรรลุเป้าหมายทางการตลาดและการขายสินค้าได้ดียิ่งขึ้น

Marketing Automation กับลูกค้ายุคใหม่

ผู้บริโภคนั้นยุคนี้ต้องการแบรนด์ที่รู้ใจและสามารถต้องสนองความต้องการได้อย่างตรงจุด (Personalize Marketing) รวมไปถึงการให้บริการแบบเรียลไทม์ (Real-Time) ที่สำคัญคือ ต้องทำได้ตลอดทุกช่องทางออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นบนเว็บไซต์ สื่อโซเชียลมีเดีย (Facebook, Instagram, LINE) หรือช่องทางอื่นๆ

ทำไมธุรกิจต้องมี Marketing Automation?

1. ทำความเข้าใจลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น

ก่อนที่จะทำการตลาดไปยังกลุ่มลูกค้าที่ใช่ ในเวลาที่ดี และในช่องทางเหมาะสม คุณจะต้องเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้าของคุณก่อน และการทำความเข้าใจลูกค้านั้นจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีข้อมูล

อย่างที่กล่าวไปก่อนหน้านี้ การเก็บข้อมูลลูกค้าคือรากฐานที่สำคัญของ Marketing Automation เพราะซอฟต์แวร์หรือแพลตฟอร์มที่ดี (อย่าง Connect X)  จะช่วยให้ท่านสามารถเก็บข้อมูล เพื่อทำความเข้าใจลูกค้าของคุณแบบรายบุคคลได้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นดูสินค้าที่คนคนนั้นสนใจ หรือมีปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์ของท่านอย่างไร

2. ตัวเชื่อมระหว่าง Marketing และ Sale

หนึ่งในหน้าที่หลักของ Marketing Automation คือ “การฟูมฟัก” ให้ผู้คนที่เข้ามายังช่องทางการตลาดของท่านนั้นพร้อมสำหรับการถูกขาย ซึ่งเมื่อไหร่ก็ตามที่คนคนนั้นพร้อมซื้อ ข้อมูลต่างๆ ถึงค่อยถูกส่งไปให้ฝ่ายขายอีกที และเมื่อฝ่ายขายทำการติดต่อหรือทำการเสนอขายกับลูกค้าแล้ว ไม่ว่าจะสำเร็จหรือไม่สำเร็จ ข้อมูลต่างๆ ที่ได้มาจากปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าจะนำมาวิเคราะห์เพื่อทำความเข้าใจลูกค้าต่อด้วย

Marketing Automation ช่วยให้ฝ่ายการตลาดและฝ่ายขายสามารถทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนาแบรนด์และธุรกิจได้อย่างทรงประสิทธิภาพมากขึ้น

3. เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

การนำเครื่องมือ Marketing Automation เข้ามาปรับใช้ จะช่วยให้แบรนด์สามารถดำเนินธุรกิจได้ราบรื่นยิ่งขึ้น ลดภาระงาน เช่น การใส่ข้อมูลซ้ำซ้อน หรือ การส่ง กิจกรรมทางการตลาดและการขายไปยังผู้ที่สนใจอีกครั้ง นอกจากนี้ยังช่วยลดข้อผิดพลาดที่เกิดจากบุคคล (Human Error) ได้ด้วยนั่นเอง

Marketing Automation ทำงานอย่างไร?

การตลาดอัตโนมัตินั้นสามารถเริ่มใช้งานได้ตั้งแต่ขั้นตอนแรก Marketing Funnel หรือก็คือเมื่อลูกค้ารับรู้ถึงสินค้าหรือบริการ (Awareness) ยกตัวอย่างเช่น

คุณ A ได้เข้ามาดูสินค้าของแบรนด์ท่านมากถึง 3 ครั้ง ทั้งบนเว็บไซต์  Facebook และ Instagram แต่ยังไม่มีการติดต่อเข้ามา ท่านสามารถตั้งค่าให้ Marketing Automation ให้ทำการส่งคอนเทนต์ แคมเปญ หรือโปรโมชันต่างๆ ไปให้คุณ A ผ่านทางอีเมล และหากยังไม่สนใจเหมือนเดิม ก็อาจเปลี่ยนช่องทางเป็น ข้อความ SMS หรืออีกนัยหนึ่งก็คือสามารถทำ Personalized Marketing กับลูกค้าแต่ละคน พร้อมทำ Remarketing กับฐานลูกค้าเดิมด้วย

สำหรับแพลตฟอร์ม Connect X ท่านสามารถ ส่ง Personalized Message  ผ่าน Line Message, Facebook Message, Email เป็นต้น สร้างประสบการณ์เฉพาะตัวให้ลูกค้ารู้สึกประทับใจได้มากกว่า อีกทั้งยังเป็น CDP (Customer Data Platform)  เก็บข้อมูลลูกค้าได้ตั้งแต่ยังเป็น Unknown Data จนเป็น Known จะเป็นลูกค้าหน้าใหม่ก็สามารถส่งโปรโมชันที่ตรงใจได้ตลอด

สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

ห้ามพลาด! รวม 8 คำถามน่ารู้เกี่ยวกับ PDPA

Connect X จะมาตอบทุกคำถามที่หลายคนคาใจเกี่ยวกับ PDPA คืออะไร ให้ทุกคนเข้าใจและระมัดระวังกันมากยิ่งขึ้น

สำหรับการประกาศใช้ พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือ PDPA ไปเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา ทำให้หลายๆ คน เริ่มตระหนักและอยากรู้จักกับ PDPA ให้มากยิ่งขึ้น ทั้งในแง่ของผู้บริโภคที่ต้องการรักษาสิทธิ์ส่วนตัว และผู้ประกอบธุรกิจที่ต้องการนำข้อมูลของลูกค้ามาใช้งานในด้านต่างๆ ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาได้มีกระแสบนโลกออนไลน์หลากหลายแง่มุม จึงยิ่งทำให้ใครหลายๆ คน เกิดความสงสัยและเกิดคำถามเกี่ยวกับ PDPA อย่างมากมาย

วันนี้ Connect X จึงขอมาอาสามาตอบ 8 คำถามยอดฮิตที่คาใจเกี่ยวกับ PDPA เพื่อให้ทุกคนได้รับทราบ เข้าใจ และนำไปปรับใช้งานได้จริง

1. PDPA คืออะไร?

พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือ กฎหมาย PDPA (Personal Data Protection Act) คือ กฎหมายที่ช่วยคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภคในทุกช่องทางไม่ว่าจะเป็นช่องทางออนไลน์ (Online) หรือออฟไลน์ (Offline) จากองค์กรทั้งในและต่างประเทศ หากธุรกิจหรือองค์กรใดต้องการจัดเก็บหรือนำข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภคไปใช้ประโยชน์จะต้องได้รับความยินยอม (Consent) จากเจ้าของข้อมูลก่อน ซึ่งผู้บริโภคมีสิทธิ์ในการฟ้องร้องหากถูกละเมิดกฎหมายดังกล่าวได้อีกด้วย

2. PDPA มีผลกับใครบ้าง?

พูดได้อย่างเต็มปากว่า PDPA มีผลกับทุกๆ คน ไม่ว่าจะเป็นในแง่ขององค์กรหรือผู้ประกอบการ ผู้บริโภค รวมถึงประชาชนทั่วไป เพราะหากมีการนำข้อมูลของผู้อื่นไปใช้ ไม่ว่าจะเป็นรายละเอียดข้อมูล ภาพถ่าย วิดีโอ ก็จะครอบคลุมอยู่ในกฎหมาย PDPA ซึ่งบุคคลหรือองค์กรที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับกฎหมายดังกล่าว จะแบ่งออกเป็น

  • เจ้าของข้อมูล (Data Subject)
  • ผู้ควบคุมข้อมูล (Data Controller)
  • ผู้ประมวลผลข้อมูล (Data Processor)

3. PDPA คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลด้านไหน?

ข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) ที่กฎหมาย PDPA จะครอบคลุมนั้นมีอยู่มากมาย ตั้งแต่ข้อมูลพื้นฐานไปจนถึงข้อมูลที่มีความอ่อนไหว ซึ่งประกอบไปด้วย ชื่อ – นามสกุล, เลขประจำตัวประชาชน, เลขหนังสือเดินทาง, เลขใบอนุญาตขับขี่, ที่อยู่, เบอร์โทรศัพท์, วันเกิด, อีเมล, การศึกษา, เพศ, อาชีพ, รูปถ่าย, ข้อมูลทางการเงิน, ทะเบียนรถยนต์, โฉนดที่ดิน, ทะเบียนบ้าน

ในส่วนของข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตก็ครอบคลุมไปถึงข้อมูลที่สามารถใช้ระบุตัวตนได้ อาทิ Username/Password, Cookies IP Address, GPS Location เป็นต้น นอกจากนี้ยังรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อน (Sensitive Personal Data) อย่างข้อมูลทางการแพทย์หรือสุขภาพ, ข้อมูลทางพันธุกรรมและไบโอเมทริกซ์, เชื้อชาติ, ความคิดเห็นทางการเมือง, ความเชื่อทางศาสนาหรือปรัชญา, พฤติกรรมทางเพศ, ประวัติอาชญากรรม, ข้อมูลสหภาพแรงงาน เป็นต้น

เห็นได้ว่า PDPA นั้นเป็นกฎหมายที่สามารถคุ้มครองข้อมูลด้านต่างๆ ของแต่ละบุคคลได้อย่างครอบคลุมเลยทีเดียว

4. ในเมื่อ PDPA มีผลอย่างเป็นทางการแล้ว จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง?

ข้อเปลี่ยนแปลงสำคัญอย่างแรกคือ ผู้ที่เป็นเจ้าของข้อมูลจะได้รับการคุ้มครองมากขึ้น และมีสิทธิ์ในการควบคุมการประมวลผลข้อมูล รวมถึงสามารถเรียกร้องหรือฟ้องร้องได้ หากได้รับความเสียหายในกรณีที่มีบุคคลหรือหน่วยงานนำข้อมูลของตนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

ส่วนผู้ที่นำข้อมูลไปใช้ อย่างภาคธุรกิจ องค์กร หน่วยงาน และบุคคล จะต้องขออนุญาตและระมัดระวังในการใช้ข้อมูลดังกล่าว เพื่อประโยชน์ตามที่กฎหมายกำหนด และไม่ทำให้เจ้าของข้อมูลเสียหายหรือเสื่อมเสียชื่อเสียง

ผู้ที่นำข้อมูลไปใช้จะต้องทำตามข้อกำหนด ดังนี้

  • ต้องจำกัดการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเพียงเท่าที่จำเป็น
  • การประมวลผลข้อมูลต้องมีวัตถุประสงค์ ซึ่งมีฐานกฎหมายตามที่ พรบ. กำหนดรองรับ เช่น เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญา สิทธิ์อันชอบธรรม และหากเป็นการประมวลผลด้วยฐานความยินยอมต้องได้รับความยินยอมก่อน
  • ต้องอธิบายและแจ้งรายละเอียดการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลให้เจ้าของข้อมูลทราบ
  • ต้องมีการรับประกันความมั่นคงและความปลอดภัยของข้อมูล
  • หากมีข้อมูลรั่วไหลต้องทำการแจ้งเตือนให้เจ้าของข้อมูลทราบ รวมถึงแจ้งสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งจะมีการประเมินความเสียหาย และวิธีการเยียวยาเจ้าของข้อมูล

5. ถ่ายภาพหรือวิดีโอแล้วติดบุคคลอื่นผิดหรือไม่?

ถือเป็นหนึ่งในประเด็นที่ได้รับความสนใจค่อนข้างมากในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งการถ่ายภาพหรือวิดีโอที่มีหน้าของบุคคลอื่นติดมาด้วยนั้น สามารถแยกได้เป็น 3 กรณี ดังนี้

  1. กรณีที่ถ่ายภาพและวิดีโอติดบุคคลอื่นโดยไม่เจตนาหรือไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหาย – ถือว่าสามารถทำได้หากใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว และหากมีการนำไปโพสต์ลงโซเชียลมีเดีย ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน แต่ต้องไม่ใช้เพื่อการแสวงหากำไรทางการค้าและไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
  2. กรณีภาพของกล้องวงจรปิดถ่ายติดบุคคลอื่น – หากติดภายในบ้าน โดยมีจุดประสงค์เพื่อป้องกันอาชญากรรมและรักษาความปลอดภัย ไม่จำเป็นต้องมีป้ายแจ้งเตือน แต่หากเป็นกรณีที่ติดตั้งในที่สาธารณะ หน่วยงาน องค์กร ร้านค้า ห้างสรรพสินค้า จะต้องติดป้ายประกาศหรือสติกเกอร์เพื่อแจ้งให้ทราบว่ามีกล้องวงจรปิดและมีการบันทึกข้อมูล เพื่อเป็นการแจ้งให้ผู้คนรับทราบ
  3. กรณีของกล้องหน้ารถยนต์ – ไม่จำเป็นต้องติดประกาศแจ้งให้ทราบ หากนำภาพหรือวิดีโอที่มีบุคคลอื่นไปใช้โดยไม่ส่งผลกระทบหรือความเสียหายต่อบุคคลในภาพ/วิดีโอนั้นสามารถทำได้ แต่ไม่สามารถนำไปใช้ทางการค้า สร้างรายได้ สร้างความอับอาย ความเสียหาย หรือใช้ในรูปแบบอื่นๆ ที่ไม่ใช่วัตถุประสงค์ส่วนตัว

6. เจ้าของข้อมูลต้องให้ความยินยอมทุกครั้งก่อนนำข้อมูลไปใช้หรือไม่? 

โดยปกติหากนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้จะต้องขออนุญาตเจ้าของข้อมูลก่อนทุกครั้ง แต่ PDPA มีข้อยกเว้นที่สามารถนำข้อมูลไปใช้โดยไม่ต้องขอความยินยอม ซึ่งเป็นกรณีดังนี้

  • เป็นการทำตามสัญญา เช่น เว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน E-Commerce ที่ต้องใช้ชื่อและที่อยู่ในการส่งพัสดุให้ลูกค้า หรือเป็นข้อมูลที่จำเป็นต่อการทำงาน เช่น การเป็นสมาชิกหรือ Subscription Service ที่ต้องใช้ข้อมูลบัตรเครดิต เป็นต้น
  • เป็นการใช้ที่มีกฎหมายให้อำนาจ
  • เป็นการใช้เพื่อรักษาชีวิตและ/หรือ ร่างกายของบุคคล รวมถึงป้องกันอันตราย และการป้องกันโรคระบาด
  • เป็นการใช้เพื่อการค้นคว้าวิจัยทางสถิติ
  • เป็นการใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะ
  • เป็นการใช้เพื่อปกป้องผลประโยชน์หรือสิทธิ์ของตนเอง
  • เป็นการใช้เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับเอกสารประวัติศาสตร์
  • เป็นการใช้เพื่อประมวลผลเชิงเนื้อหาสำหรับสื่อมวลชน ซึ่งต้องเป็นไปตามจริยธรรมแห่งการประกอบวิชาชีพหรือเป็นประโยชน์สาธารณะเท่านั้น

ทั้งนี้ หลักการข้างต้น อาจเปลี่ยนแปลงตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเป็นกรณีๆ ไป ถึงไม่ต้องขอความยินยอม แต่ผู้ควบคุมข้อมูลยังต้องรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและคำนึงถึงสัดส่วนความจำเป็นของการใช้ข้อมูล และผลกระทบต่อความเป็นส่วนตัวของเจ้าของข้อมูล

7. เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล มีสิทธิ์อะไรเกี่ยวกับข้อมูลของตนบ้าง?

  • สิทธิ์ในการถอดถอนความยินยอมในกรณีที่ได้ให้ความยินยอมไว้
  • สิทธิ์ได้รับการแจ้งให้ทราบรายละเอียด (Privacy Notice)
  • สิทธิ์การขอเข้าถึงและการขอสำเนาข้อมูลส่วนบุคคล
  • สิทธิ์ขอให้โอนข้อมูลส่วนบุคคล
  • สิทธิ์คัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้งาน หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
  • สิทธิ์ขอให้ลบหรือทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลได้
  • สิทธิ์ขอให้ระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
  • สิทธิ์ขอให้แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล
  • สิทธิ์ในการร้องเรียนต่อคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญในกรณีที่มีการฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือประกาศที่ออกตามกฎหมาย PDPA

8.หากไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย PDPA จะเป็นอย่างไร?

สำหรับผู้ที่นำข้อมูลไปใช้ประโยชน์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลนั้น ไม่ว่าจะเป็นผู้ควบคุมข้อมูล (Data Controller) และผู้ประมวลผลข้อมูล (Data Processor) จะมีโทษทางกฎหมาย โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • ความรับผิดทางแพ่ง ตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง และอาจต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพิ่มขึ้นอีก โดยสูงสุดไม่เกิน 2 เท่าของค่าเสียหายที่แท้จริง
  • โทษทางอาญา จำคุกสูงสุดไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • โทษทางปกครอง ปรับสูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาท

จากที่ Connect X ได้พาเจอคำตอบของคำถามต่างๆ เกี่ยวกับกฎหมาย PDPA กันให้มากยิ่งขึ้นจากคำถามทั้ง 8 ข้อกันไปแล้ว น่าจะช่วยตอบข้อสงสัยของใครหลายๆ คน และช่วยให้เข้าใจเกี่ยวกับ PDPA มากขึ้น รวมถึงตระหนักถึงความสำคัญของการนำข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่นไปใช้กันมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในมุมของประชาชนทั่วไปที่เป็นผู้บริโภคหรือภาคธุรกิจก็ตาม

หากไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย มีการนำข้อมูลไปใช้โดยไม่ได้รับความยินยอมหรือผิดวัตถุประสงค์ ก็อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินหรือความเป็นส่วนตัวของเจ้าของข้อมูล และส่งผลกระทบต่อองค์กรเป็นวงกว้าง

นอกจากนี้ องค์กรหรือธุรกิจที่ปฏิบัติตามกฎหมาย PDPA อย่างเคร่งครัด จะช่วยเสิรมสร้างน่าเชื่อถือและภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กรได้อีกด้วย สำหรับใครกำลังมองหาตัวช่วยที่ปลอดภัยและสะดวกสบายอยู่นั้น Connect X เป็นแพลตฟอร์ม Customer Data Platform (CDP) ที่รองรับกฎหมาย PDPA และได้รับมาตรฐานการเก็บข้อมูลอย่างปลอดภัย มีมาตรฐาน ISO27001 ซึ่งสามารถช่วยเก็บรวบรวมข้อมูลลูกค้าจากทุกช่องทางไว้ในที่เดียวกัน และยังมี Marketing Automation ที่ช่วยทำการตลาดแบบอัตโนมัติ เพื่อให้ธุรกิจนำข้อมูลมาใช้ได้อย่างสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ พร้อมความปลอดภัยและมีขั้นตอนการขออนุญาตเก็บข้อมูลที่ถูกต้องตามกฎหมายอย่างแน่นอน

สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

จริงหรือไม่? 3 เรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับ PDPA เปลี่ยนความคิดด่วน

เพราะข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญ กฎหมาย PDPA จึงเกิดขึ้นเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล แต่หลายคนก็ยังสงสัยหรือเข้าใจผิดเกี่ยวกับ PDPA อยู่ ดังนั้นมาไขข้อสงสัยกันดีกว่า

พอกฎหมาย PDPA (Personal Data Protection Act) ได้ประกาศบังคับใช้อย่างเป็นทางการไปเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ทำให้ผู้ประกอบการและภาคธุรกิจต้องปรับตัวกันยกใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการขอความยินยอมในการเก็บข้อมูล การจัดทำนโยบายความเป็นส่วนตัว การนำข้อมูลไปใช้ ไปจนถึงการกำกับดูแลข้อมูล

สำหรับการขอความยินยอมหรือ Consent เพื่อเก็บข้อมูลจากลูกค้าถือเป็นกุญแจสำคัญในการทำ Digital Marketing ซึ่งหลากหลายธุรกิจต่างก็ต้องหาข้อมูลอย่างเคร่งครัดเกี่ยวกับข้อห้าม PDPA ว่าอะไรที่สามารถทำได้หรือทำไม่ได้ แต่สำหรับมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มศึกษาก็ต้องเจอกับรายละเอียดข้อมูลมากมายที่อาจทำให้สับสนได้ง่ายๆ

3 เรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับ PDPA ต้องเคลียร์ ไม่ให้สับสน

เชื่อว่าทั้งผู้บริโภคและเจ้าของธุรกิจหลายๆ คนยังมีเรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับ PDPA อยู่ไม่น้อย ดังนั้น Connect X จะมาไขข้อสงสัยต่างๆ เกี่ยวกับพ.ร.บ. ฉบับนี้ให้กระจ่าง ตามมาดูกันได้เลย!

1. ข้อห้าม PDPA มีเพียงผู้ประกอบการหรือธุรกิจเท่านั้นที่ต้องทำตาม

จากชื่อ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หลายคนจึงเข้าใจว่ามีเพียงแค่ธุรกิจเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบและต้องปฏิบัติตามข้อบังคับต่างๆ ของ PDPA อย่างไรก็ตาม ต้องบอกว่ากฎหมายนี้ให้การคุ้มครองข้อมูลอย่างครอบคลุม เพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับเจ้าของข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทร อีเมล เลขบัตรประชาชน ข้อมูลลายนิ้วมือ เลขบัญชีธนาคาร หรือข้อมูลอื่นๆ ที่สามารถใช้ระบุตัวตนของเจ้าของข้อมูลได้ทั้งช่องทางออฟไลน์และออนไลน์

โดยการบังคับใช้ PDPA มีผลกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง คือ เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Subject) ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Collector) และผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processor) พูดง่ายๆ ว่าทั้งภาครัฐ เอกชน กิจการ และผู้บริโภคต่างก็ต้องปฏิบัติตามข้อกฎหมายนี้ด้วยกันทั้งหมด ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น ในกรณีที่ซื้อสินค้าออนไลน์แล้วมีการติดต่อพ่อค้าแม่ค้าโดยตรง เราจะได้เลขบัญชีเพื่อโอนจ่ายเงิน จากนั้นต้องแจ้งสลิป พร้อมชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทร สำหรับจัดส่งสินค้า ซึ่งข้อมูลทั้งหมดนี้ถือว่าเป็นข้อมูลส่วนบุคคล เท่ากับว่าพ่อค้าแม่ค้าและเราก็ต้องปฏิบัติตาม PDPA ทั้งคู่ ไม่นำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว เป็นต้น

2. ธุรกิจต้องได้รับความยินยอม (Consent) จากเจ้าของข้อมูลทุกครั้ง

สำหรับ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ยังมีบทบัญญัติเกี่ยวกับหลักการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลตามกฎหมาย PDPA ในมาตรา 24 ซึ่งมีหลักการเกี่ยวกับเรื่องความยินยอม (Consent) ก่อนที่แบรนด์หรือนักการตลาดจะนำข้อมูลไปเก็บในระบบ CRM หรือนำไปประกอบแคมเปญต่างๆ ก็ต้องขอความยินยอมก่อน เช่น การขอ Cookie Consent เพื่อจัดเก็บไฟล์คุกกี้และข้อมูลของผู้เข้าชมเว็บไซต์ แต่ไม่ได้แปลว่าธุรกิจจะต้องขออนุญาตทุกครั้งที่ต้องเก็บข้อมูล

ในความจริงแล้ว เจ้าของข้อมูลต้องให้ความยินยอม (Consent) ต่อผู้ควบคุมข้อมูลตามที่แจ้งไว้ตั้งแต่แรกเพียงครั้งเดียวเท่านั้น อาทิ เมื่อสมัครสมาชิกผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน หลังจากกรอกรายละเอียดแล้ว จะมีข้อความหรือเอกสารให้อ่านพร้อมปุ่มกด “ยินยอม” หรือ “ยอมรับ” เพื่ออนุญาตให้ธุรกิจเก็บรวบรวมข้อมูลนั่นเอง ซึ่งจะเป็นการทำเพียงครั้งเดียว ไม่จำเป็นต้องกดยินยอมทุกครั้งเมื่อเข้าสู่ระบบ สำหรับมุมมองของธุรกิจนั้น การขอความยินยอมเพียงครั้งเดียวนี้ก็เป็นการอำนวยความสะดวกให้สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลของผู้ใช้งานหรือลูกค้าได้ต่อเนื่องและมีฐานข้อมูลครบถ้วน สามารถใช้ในการทำการตลาดหรือเพื่อปรับปรุง Marketing Automation ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้นั่นเอง

นอกจากนี้ ยังมีกรณีต่างๆ ที่ข้อมูลจะถูกเก็บรวบรวมได้ โดยได้รับข้อยกเว้น PDPA หรือไม่จำเป็นต้องขอความยินยอมดังนี้

  • กรณีป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพของเจ้าของข้อมูล รวมไปถึงการใช้ข้อมูลเพื่อประโยชน์สาธารณะ เช่น ป้องกันโรคระบาด ซึ่งผู้ควบคุมสามารถเก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผย ข้อมูลส่วนบุคคลได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอม
  • การปฏิบัติตามสัญญา ไม่ต้องขอความยินยอม
  • ปฏิบัติภารกิจของรัฐ ตามมาตรา 24(4) หากจำเป็นต่อการดำเนินภารกิจของรัฐเพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือเป็นการใช้อำนาจรัฐ การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อการนั้น ไม่ต้องขอความยินยอม อย่างไรก็ตาม แม้ไม่ต้องขอความยินยอม แต่ผู้ควบคุมยังคงมีหน้าที่ในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และคำนึงถึงความได้สัดส่วนความจำเป็นในการใช้ข้อมูล และผลกระทบต่อความเป็นส่วนตัวของเจ้าของข้อมูล
  • ปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่ต้องขอความยินยอม มาตรา 24(6)

3. การโพสต์รูปโซเชียลโดยมีใบหน้าผู้อื่นติดมาด้วย ถือว่าผิดกฎหมาย PDPA

ใจความสำคัญของ PDPA คือการปกป้องความเป็นส่วนตัว ซึ่งก็รวมไปถึงรูปถ่ายหรือวิดีโอที่มีใบหน้าของเจ้าของข้อมูลด้วย หลายคนเข้าใจว่าการที่ใครสักคนโพสต์รูปบนโซเชียลแล้วมีใบหน้าเราติดไปถือว่าเป็นการละเมิดพ.ร.บ. ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ “ผิด” จนกลายเป็นประเด็นร้อนในโลกโซเชียลกันไปแล้ว

จริงๆ แล้ว การที่ผู้ถ่ายรูปหรือคลิปวิดีโอบังเอิญถ่ายติดใบหน้าของคนอื่นไปโดยไม่ได้เจตนา หรือไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ถูกถ่ายก็สามารถทำได้โดยไม่ผิดหลัก PDPA ส่วนในกรณีที่ได้นำรูปถ่ายหรือคลิปไปโพสต์บนโซเชียลก็สามารถทำได้ ถ้าเป็นการทำเพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว ไม่นำไปใช้เพื่อผลประโยชน์หรือทำกำไร และทำให้เจ้าของข้อมูลเสื่อมเสียชื่อเสียงหรือทำให้เกิดอันตราย

เรื่องการติดตั้งกล้องวงจรปิด ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่หลายคนกังวลว่า หากถ่ายติดใบหน้าคนอื่นจะเป็นการทำผิดพ.ร.บ. หรือเปล่า ซึ่งถ้าเป็นการติดภายในบริเวณบ้านเพื่อรักษาความปลอดภัย ก็ไม่จำเป็นต้องทำป้ายแจ้งเตือน หมดห่วงได้เพราะไม่ผิดต่อข้อกฎหมายแน่นอน

ทั้งหมดนี้ก็เป็นข้อสงสัยหลักๆ ที่หลายคนยังมีอยู่ หวังว่าบทความนี้จะสามารถไขข้อสงสัยได้ไม่มากก็น้อย สำหรับธุรกิจและเจ้าของแบรนด์ทุกท่านต้องไม่ลืมที่จะค้นหา “เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูล” หรือ “Data Protection Officer (DPO)” เพื่อเข้ามาดูแลกฎหมาย PDPA ภายในองค์กรและตรวจสอบนโยบายการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า

ที่สำคัญ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบรนด์ควรมีระบบ CDP หรือระบบ CRM ที่เป็นไปตาม PDPA เพื่อรักษาและปกป้องข้อมูลของลูกค้า รวมถึงเป็นการหลีกเลี่ยงการฟ้องร้องที่อาจเกิดขึ้นได้หากเกิดข้อผิดพลาดขึ้นนั่นเอง

สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM หรือต้องการคำปรึกษา ทาง Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

Omni Channel Marketing กลยุทธ์ทางการตลาดที่คุณไม่ควรพลาดในปี 2023

Omni Channel Marketing คืออะไร มีคุณสมบัติอย่างไร ทำไมถึงเหมาะกับปี 2022 มาหาคำตอบไปพร้อมกันในบทความนี้ ที่ Connect-X

Omni Channel Marketing กลยุทธ์ทางการตลาดที่คุณไม่ควรพลาดในปี 2023

การซื้อขายผ่านช่องทางใดช่องทางเดียว อาจไม่ตอบโจทย์ลูกค้ายุคปัจจุบันอีกต่อไป เนื่องจากตัวเลือกที่มีมากขึ้น การขายผ่านหน้าร้านเพียงอย่างเดียวทำให้ยอดขายตก ขายได้ไม่มากเหมือนแต่ก่อน หลายๆ แบรนด์จึงหันมาปรับตัว โดยเปลี่ยนไปขายสินค้าและบริการในรูปแบบออนไลน์มากขึ้น

อย่างไรก็ตาม แม้จะขายสินค้าและบริการในตลาดโลกออนไลน์ ก็อาจไม่สามารถให้ประสบการณ์กับลูกค้าได้เพียงพอ และยังมีข้อจำกัดอีกหลายอย่าง อาทิ ไม่สามารถตรวจสอบคุณภาพสินค้าหรือทดลองใช้สินค้าได้ ทำให้ลูกค้าไม่สามารถตัดสินใจซื้อสินค้าได้ทันที แม้จะมีกลยุทธ์การตลาดที่ดีแค่ไหน แต่สามารถรวบรวมช่องทางการซื้อขายให้กับลูกค้าได้ ย่อมดีต่อธุรกิจอย่างแน่นอน

วันนี้ Connect X ขอแนะนำ Omni Channel Marketing กลยุทธ์การตลาดที่จะเข้ามาช่วยธุรกิจของคุณไม่ว่าจะมีประเภทธุรกิจแบบใด มีขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ Omni Channel Marketing จะช่วยเพิ่มยอดขายและให้บริการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถดึงลูกค้ารายใหม่เข้ามาเพิ่ม พร้อมสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าเก่าด้วยประสบการณ์การใช้งานที่ดี อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างแบรนด์ให้มีภาพลักษณ์ที่ดีและน่าจดจำอีกด้วย

Omni Channel คืออะไร 

Omni Channel คือ กลยุทธ์ทางการตลาดรูปแบบหนึ่งที่เป็นการ “ผสาน” ช่องทางการสื่อสารและการให้บริการลูกค้าเข้าเป็นหนึ่งเดียวกัน โดยมีการเชื่อมโยงกันทั้งรูปแบบออฟไลน์และออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นช่องทางหน้าร้าน ผ่าน Social Media, Website, Email, แอปพลิเคชัน หรือแพลตฟอร์มอื่นๆ โดยมีการเก็บข้อมูลการใช้งาน ความพึงพอใจ ประวัติการสั่งซื้อจากทุกช่องทางเข้ามาไว้เป็นข้อมูลกลางที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายและรวดเร็ว เพื่อให้ธุรกิจร้านค้าสามารถนำข้อมูลไปศึกษาและวิเคราะห์ พัฒนาสินค้าและบริการที่ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าแบบ Personalized ได้ง่ายขึ้น และไม่ว่าลูกค้าจะใช้บริการจากช่องทางไหน ก็จะได้รับประสบการณ์แบบไร้รอยต่อได้นั่นเอง (Seamless Customer Experience)

กล่าวคือการใช้ Omni Channel Marketing จะช่วยให้ธุรกิจร้านค้าของคุณ มีความสามารถในการตอบสนองลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุด โดยเป็นการเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงสินค้าและบริการได้หลากหลายช่องทาง รวมทั้งแพลตฟอร์ม Omni Channel ต่างๆ ยังเชื่อมโยงข้อมูลของลูกค้าอย่างรอบด้านผ่านทุกช่องทางการขาย ลูกค้าสามารถสอบถามข้อมูลของสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ก่อน แล้วไปทดลองใช้งานหรือขอดูตัวอย่างสินค้าจริงได้ เพื่อประกอบการตัดสินใจและซื้อได้ทันที โดยพนักงานหน้าร้านจะได้รับข้อมูลของลูกค้ามาแบบเดียวกันกับพนักงานฝ่ายบริการลูกค้าออนไลน์ ทำให้สามารถตอบสนองความต้องการและสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น

เหตุผลที่ธุรกิจควรเลือกใช้แพลตฟอร์มการตลาดแบบ Omni Channel

  • User Quality Data มีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้บริโภคได้อย่างละเอียด และเชื่อมต่อข้อมูลกันอย่างเป็นระบบ เพื่อให้สามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปต่อยอดให้เกิด Conversation Rate ที่สูงขึ้นและสร้าง Hyper-Personalization เพื่อประสบการณ์ของผู้บริโภค
  • Create Consistency Across Channel – สามารถสร้างมั่นคงและเชื่อมโยงการสื่อสารกับลูกค้าได้ทุกช่องทางแบบเรียลไทม์
  • Drive Revenue – ช่วยเพิ่มยอดขายให้สูงขึ้น เนื่องจากมีช่องทางให้เข้าถึงมากมาย จึงเหมาะกับไลฟ์สไตล์ที่หลากหลาย และยังช่วยเปลี่ยนลูกค้าใหม่ให้กลายเป็นลูกค้าประจำได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
  • Improve Customer Experience – ปรับปรุงประสบการณ์ของผู้บริโภคให้ดีกว่าเดิม โดยที่ผู้บริโภคสามารถเลือกดูข้อมูลเพิ่มเติมจากช่องทางที่หลากหลายเพื่อประกอบการตัดสินใจได้ง่ายขึ้น สามารถสั่งซื้อและชำระเงินได้ง่ายหลากหลายช่องทางตามความสะดวกของแต่ละคน
  • Increase Brand Loyalty – สร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์และกระตุ้นพฤติกรรมการซื้อได้มากยิ่งขึ้นได้มากขึ้น เนื่องจากมีการรีวิวสินค้าจากหลายช่องทาง

สุดยอด Platform ที่ตอบโจทย์ Omni Channel Marketing พร้อมฟีเจอร์สุดปัง

การใช้ Omni Channel Marketing ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด จะต้องมี แพลตฟอร์ม อย่างเช่น CDP (Customer Data Platform) ที่ช่วยเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าจากทุกช่องทาง และ Marketing Automation ที่เครื่องมือทำการตลาดแบบอัตโนมัติ ซึ่ง Connect X เป็นแพลตฟอร์มที่ครบครันและตอบโจทย์กลยุทธ์ธุรกิจแบบ Omni Channel ได้มากที่สุด

สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

CDP คืออะไร? แนะนำเครื่องมือทางการตลาดที่ทุกแบรนด์ควรมี

แนะนำว่า CDP หรือ Customer Data Platform คืออะไร สามารถเก็บข้อมูลอะไรได้บ้าง มีประโยชน์ที่จะช่วยเหลือแบรนด์ได้อย่างไร พร้อมแนะนำ Platform ของ Connect X ว่าน่าใช้อย่างไร

พฤติกรรมของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การเพิ่มยอดขายและสร้างความภักดีต่อแบรนด์ (Brand Lyoalty) ได้นั้น จะต้องใช้เครื่องมือทางการตลาดที่เหมาะสม ซึ่งอาศัยการบริการแบบเฉพาะเจาะจงและการเข้าถึงผู้บริโภคอย่างตรงจุด นับเป็นกระแสการตลาดที่มาแรงสุดๆ ในปี 2022 เพราะประสบการณ์ของลูกค้านั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เป็นปัจจัยช่วยให้เกิดการตัดสินใจเลือกใช้บริการสินค้าต่างๆ ได้มากขึ้น แบรนด์ที่สามารถเข้าถึงความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและตรงจุดที่สุด ก็ถือว่ามีชัยไปกว่าครึ่งแล้ว

วันนี้ Connect X ขอแนะนำ CDP หรือ Customer Data Platform เครื่องมือที่จะเข้ามาช่วยให้แบรนด์ให้สามารถเพิ่มยอดขาย สร้างการบริการที่มีประสิทธิภาพ สามารถสร้างความประทับใจให้กับผู้บริโภคได้ ไม่ว่าจะดึงดูดลูกค้าใหม่ๆ เข้ามาใช้บริการ หรือรักษาฐานลูกค้าเดิมเอาไว้ได้อย่างเหนียวแน่น

CDP คืออะไร?

CDP หรือ Customer Data Platform คือเครื่องมือทางการตลาดรูปแบบหนึ่ง ในลักษณะของ Digital Platform ที่ช่วยรวบรวมข้อมูล (Data) ของลูกค้าจากทุกช่องทางมาไว้ในที่เดียวกัน สามารถวิเคราะห์ข้อมูลทำให้นักการตลาดรู้ลึกถึง Customer Insight จึงทำให้สามารถสร้างกลยุทธ์การตลาดที่หลากหลาย รวมทั้งยังสามารถทำการตลาดแบบ Personalized Marketing ได้อย่างแม่นยำ

CDP (Customer Data Platform) เก็บข้อมูลแบบไหนได้บ้าง

  • ข้อมูลธุรกรรมและคำสั่งซื้อ – รวบรวมข้อมูลจากระบบการซื้อขาย E-Commerce จากแพลตฟอร์มต่างๆ ซึ่งสามารถเก็บรายละเอียดเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้งาน หรือความสนใจต่อสินค้าได้ เช่น สนใจสินค้าประเภทใด ไม่สนใจสินค้าประเภทใด และสินค้าที่กลับมาซื้อซ้ำ เป็นต้น
  • ข้อมูลด้านพฤติกรรมบนเว็บไซต์และมือถือ – สามารถเก็บข้อมูลของสินค้า การบริการ และหมวดหมู่ของสินค้าได้จากการเยี่ยมชมเว็บไซต์ หรือเมื่อลูกค้ามีการปฏิสัมพันธ์กับเว็บไซต์เหล่านั้นด้วยการคลิกดูเพิ่มเติม หรือใช้ระยะเวลารับชมสินค้า และอื่นๆ ซึ่งจะช่วยให้นักการตลาดวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้บริโภคในอนาคตได้
  • ข้อมูลส่วนบุคคล – เช่น เพศ อายุ อาชีพ รายได้ ไลฟ์สไตล์ เป็นต้น ช่วยให้แบรนด์สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ตรงจุดมากขึ้น แต่ต้องเป็นไปตามความยินยอมของลูกค้า และปฏิบัติตามข้อกำหนดของ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA)
  • ข้อมูลสินค้าและบริการ – การเก็บข้อมูลด้านราคาและสินค้าภายในคลัง ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกในการบริหารจัดการ และสามารถตอบสนองต่อผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว

ข้อดีของ CDP มีอะไรบ้าง ช่วยแบรนด์ได้อย่างไร?

  • รวบรวมข้อมูลให้เป็นหนึ่งเดียว

ไม่ว่าแบรนด์ของคุณจะมีแพลตฟอร์มหรือช่องทางในการขายมากแค่ไหน CDP จะช่วยรวบรวมข้อมูลในทุกๆ ช่องทางมาไว้ในที่เดียว  ไม่ว่าจะเป็น เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซหรือสื่อโซเชียลอย่าง LINE, Facebook และ Instagram โดยนำมาจัดเรียงให้เป็นกลุ่มอย่างมีระเบียบ เพื่อความสะดวกในการใช้งาน และประหยัดเวลาในการบริหารจัดการข้อมูลลูกค้า

  • เพิ่มยอดขายได้อย่างเห็นผล

เมื่อแบรนด์ของคุณมีข้อมูลของลูกค้า เช่น ข้อมูลติดต่อ ข้อมูลพฤติกรรมและความสนใจแล้ว ก็สามารถพัฒนากิจกรรมทางการตลาดได้อย่างตรงจุดแบบ Personalized และตอบสนองต่อกระแสที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะทำให้สามารถเข้าถึงลูกค้าใหม่ๆ ได้มากยิ่งขึ้น และไม่ละทิ้งลูกค้าเดิมไว้ข้างหลัง

  • ผลักดันศักยภาพในการแข่งขัน

ทุกวันนี้ใครๆ ก็หันมาทำการตลาดแบบออนไลน์ แต่ไม่ใช่ทุกแบรนด์ที่จะประสบความสำเร็จ ซึ่งหากแบรนด์ของคุณมีข้อมูลในมือก็สามารถทำให้วางกลยุทธ์ทางการตลาดที่เหมาะสม สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าและผู้บริโภคได้เหนือกว่าคู่แข่ง

  • กระตุ้นความภักดีต่อแบรนด์

หากสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าได้ โอกาสที่ลูกค้าจะกลับมาซื้อใหม่ย่อมเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน และถ้าหากสามารถให้บริการแบบเฉพาะเจาะจงจะยิ่งสร้างประสบการณ์และความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า โดยใช้ข้อมูลที่รวบรวมมาทำให้เกิดการตลาดแบบ Personalize Marketing ให้ความรู้สึกพิเศษ ซึ่งความภักดีต่อแบรนด์ก็จะค่อยๆ ก่อตัวมากยิ่งขึ้น

  • สร้างการบริการที่มีประสิทธิภาพ

เมื่อมีข้อมูลก็สามารถตอบสนองการบริการและแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด ตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ กล่าวคือตั้งแต่การเริ่มโฆษณา ขั้นตอนการซื้อขาย และการบริการหลังการขาย รับรองว่าสามารถสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าได้อย่างแน่นอน

สุดยอด Customer Data Platform จาก Connect X

การรวบรวม วิเคราะห์ และปรับใช้ข้อมูลให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด จำเป็นต้องมี CDP (Customer Data Platform) ที่ดี ใช้งานง่าย ตอบโจทย์และแก้ไขปัญหาของแบรนด์ได้ ซึ่ง Connect X เป็น CDP Platform ที่ครบครันและตอบโจทย์คุณได้มากที่สุด โดยมีตัวอย่างฟีเจอร์ที่เป็นประโยชน์ต่อแบรนด์มากมาย อาทิ

  • Real-time Marketing Automation ช่วยให้แบรนด์ของคุณสามารถสร้าง Customer Journey พร้อมบริการส่ง SMS, Email Marketing และการยิงโฆษณาผ่านสื่อออนไลน์ต่างๆ แบบอัตโนมัติ เช่น Facebook, Line, Twitter, Instragram หรือ Pantip ได้แบบ Real-Time อีกด้วย
  • Customer Single View ช่วยให้มองเห็นภาพรวมทุกการเชื่อมต่อของลูกค้ากับแบรนด์ในมุมมองเดียว และสามารถสื่อสารทางการตลาดได้อย่างเฉพาะเจาะจงและแม่นยำ ไม่ว่าลูกค้าจะติดต่อมาจากช่องทางออนไลน์ ออฟไลน์ หรือ Omni-Channel
  • API-Connect ช่วยให้แบรนด์สามารถเชื่อมต่อ (Integrate) กับทุกฐานข้อมูลลูกค้าในระบบหลังบ้านเพื่อเข้าถึงทุกข้อมูลของลูกค้าแบบศูนย์กลางเดียว เช่น พฤติกรรมการซื้อสินค้า แคมเปญโปรโมชันที่ลูกค้าแต่ละคนชื่นชอบ สินค้าที่ซื้อเป็นประจำ เป็นต้น
  • ระบบ AI ที่ช่วยให้แบรนด์รู้ใจลูกค้าถึง Insight ช่วยจัดลำดับลูกค้าที่มีโอกาสซื้อสินค้าสูงที่สุด ทำให้แบรนด์สามารถทำแคมเปญการตลาดได้แม่นยำยิ่งขึ้น

เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

แนะนำ 3 เทรนด์สำคัญของระบบ Customer Relationship Management ที่น่าจับตามองในปี 2022

3 เทรนด์สำคัญของระบบ Customer Relationship Management ที่น่าจับตามองในปี 2022 จะมีอะไรบ้าง มาดูกันเลย

สำหรับการทำธุรกิจ “ข้อมูล” คือกุญแจสำคัญของการวางกลยุทธ์ทางการตลาด หากไม่มีเครื่องมือดีๆ คอยจัดเก็บข้อมูลของลูกค้าในเชิงลึก ย่อมไม่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างตรงจุด ด้วยเหตุนี้ทุกธุรกิจจึงควรมีการบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า (Customer Relationship Management) หรือระบบ CRM ในการจัดเก็บข้อมูล โดยในปี 2022 ที่จะถึงนี้ Customer Relationship Management Trend ได้มีแนวทางใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้น โดยวันนี้ Connect X ขอแนะนำ 3 เทรนด์สำคัญที่น่าจับตามองที่สุดในปี 2022

1. การพัฒนาซอฟต์แวร์ของระบบ Customer Relationship Management ให้รองรับการใช้งานบนมือถือ

เริ่มต้นกันที่เทรนด์แรก คงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าโควิด-19 ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการทำงานของทุกธุรกิจทั่วโลก ส่งผลให้ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา บริษัทหลายแห่งได้มีการปรับเปลี่ยนให้พนักงานทำงานแบบ Work From Home ซึ่งแน่นอนว่าในช่วงแรกในการทำงานมีความติดขัด เนื่องจากต้องปรับตัวให้ชินกับระบบการทำงานแบบใหม่ แต่หลังจากผ่านไประยะเวลาหนึ่ง หลายธุรกิจก็สามารถปรับตัวได้ดีขึ้น และเริ่มมีการยกระดับการทำงานให้สะดวกมากขึ้นผ่านการทำงานบน Cloud และการทำงานจากระยะไกล (Remote Working)

ทางฝั่งของระบบ CRM เองก็เริ่มมีการปรับตัวเช่นเดียวกัน โดยมีแนวโน้มว่าในปี 2022 จะมีการพัฒนาให้ซอฟต์แวร์ของระบบ CRM ให้เข้ามาอยู่บนโทรศัพท์มือถือมากขึ้น เพื่อรองรับการทำงานระยะไกลและการทำงานแบบออนไลน์ อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีนี้ยังคงเป็นที่ถูกจับตามองว่าจะมีความปลอดภัยในระดับใด  เพราะข้อมูลของลูกค้าเป็นข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อน และต้องได้รับการป้องกันในระดับสูง แต่ระบบความปลอดภัยของมือถือ สามารถถูกเจาะระบบได้ง่ายกว่าฮาร์ดแวร์แบบอื่น จึงต้องคอยดูกันต่อไปว่าในอนาคตจะมีบริษัทไหนสามารถแก้จุดอ่อนในเรื่องนี้ได้ และจะทำให้ผู้ใช้งานมั่นใจในความปลอดภัยได้หรือไม่

2. เพิ่ม AI เข้ามาในระบบ Customer Relationship Management

เทรนด์ต่อมาคือการเพิ่ม AI เข้ามาในระบบ Customer Relationship Management เพื่อช่วยวิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงแบ่งหมวดหมู่การจัดเก็บข้อมูลให้ละเอียดยิ่งขึ้น โดยการเพิ่ม AI เข้ามา ซึ่งข้อดีของ AI ไม่เพียงช่วยพัฒนาระบบ CRM ให้มีคุณภาพและใช้งานได้ดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังช่วยทุ่นแรงให้กับนักการตลาดมากขึ้นอีกด้วย เพราะไม่ต้องคอยจัดการข้อมูลด้วยตัวเองทั้งหมดอีกต่อไป แต่มี AI คอยคัดแยกและวิเคราะห์ให้ เรียกว่าเป็นเทรนด์สำคัญที่มีประโยชน์ต่อผู้ใช้งานเป็นอย่างมาก ถ้าหากไม่อยากตกเทรนด์นี้ต้องเลือกแพลตฟอร์มที่มี AI คอยช่วยเหลือในการใช้งานด้วยถึงจะเกิดประสิทธิภาพที่สุด

3. เทคโนโลยีการจดจำเสียง การเก็บข้อมูลแนวใหม่ของระบบ Customer Relationship Management

ตลอดหลายปีที่ผ่านมา เทคโนโลยีการจดจำเสียง (Voice Recognition) ได้รับความนิยมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Alexa จาก Amazon หรือ Siri จาก Apple ส่งผลให้ในปี 2022 การจัดเก็บข้อมูลของลูกค้าจะไม่ได้จำกัดอยู่เพียงการเก็บข้อมูลจากพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ หรือความสนใจของลูกค้าอีกต่อไป แต่จะมีการจัดเก็บข้อมูลผ่านเทคโนโลยีการจดจำเสียงด้วย เนื่องจากการวิเคราะห์ผ่านน้ำเสียง จะทำให้คุณทราบถึงอารมณ์ความรู้สึก รวมถึงข้อมูลอีกหลายอย่างที่ละเอียดกว่าการเก็บข้อมูลในแบบเดิมๆ ถ้าอยากตามเทรนด์นี้ให้ทัน ควรเริ่มวิเคราะห์ความคุ้มค่าของเทคโนโลยีนี้ตั้งแต่เนิ่นๆ ว่าธุรกิจของคุณควรใช้งานเทคโนโลยีนี้หรือไม่ และเทคโนโลยีนี้จะคุ้มค่ากับการลงทุนแค่ไหน ตอนนี้ทุกอย่างขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของคุณแล้ว

ระบบ CRM กับพ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ข้อจำกัดของการเก็บข้อมูลที่ทุกธุรกิจต้องเตรียมตัวรับมือ

หลายคนคงทราบกันดีอยู่แล้วว่าระบบ CRM คือ การบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า ผ่านการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ รวมถึงจัดการปัญหาต่างๆ ที่ส่งผลต่อการขาย และช่วยปรับปรุงให้ธุรกิจของคุณมีวิธีการขายที่ดีขึ้น เพื่อสร้าง Brand Royalty ให้ลูกค้ากลับมาซื้อสินค้าของเราอีกครั้ง ทว่าในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ประเทศไทยจะมีผลบังคับใช้พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA ส่งผลให้ทุกธุรกิจไม่สามารถเก็บข้อมูลลูกค้าได้อย่างอิสระเหมือนเมื่อก่อน นี่จึงเป็นเหตุผลที่คุณต้องเลือกแพลตฟอร์มผู้ให้บริการที่รองรับ PDPA ด้วย จะได้ไม่เกิดปัญหาในอนาคต และสามารถผ่านเกณฑ์ PDPA ได้อย่างราบรื่น สำหรับใครที่อยากทราบข้อมูลวิธีการผ่านเกณฑ์ PDPA ให้ละเอียดขึ้น สามารถอ่านต่อได้ที่นี่

ส่วนใครที่กำลังมองหาแพลตฟอร์มที่พร้อมก้าวทันตามเทรนด์ในปี 2022  Connect X คือแพลตฟอร์มที่พร้อมรองรับ PDPA และมีเครื่องมือเก็บข้อมูลลูกค้าเอาไว้ในที่เดียวกัน (CDP) ที่มาพร้อมกับระบบ CRM ในตัว นอกจากนี้ยังมี Marketing Automation กับ AI อัจฉริยะที่คอยช่วยเรื่องการตลาดแบบอัตโนมัติด้วย ทุกคนจึงสามารถมั่นใจได้ว่า Connect X มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย และพร้อมที่จะช่วยให้คุณทำการตลาดได้ง่ายขึ้น

บทความอื่นๆที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ระบบ CRM (Customer Relationship Management)

สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

ปรับกลยุทธ์การขายให้ธุรกิจแบบใหม่ด้วยระบบ CRM

แนะนำ 5 กลยุทธ์การเพิ่มยอดขายเพียงใช้ระบบ CRM ที่มีประโยชน์ในการบริหารจัดการและการให้บริการในทุกกระบวนการ ซึ่งช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้อย่างยั่งยืน

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหลังจากการระบาดของโควิด-19 นั้น ส่งผลให้ธุรกิจทุกรูปแบบต้องปรับตัวและเปลี่ยนกลยุทธ์การขายใหม่ ผ่านการเปลี่ยนหรือเพิ่มช่องทางการขายบนแพลตฟอร์มออนไลน์กันมากขึ้น เนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภคได้เปลี่ยนแปลงไป ผู้คนหันไปใช้เวลาอยู่กับ Social Media มากขึ้น และกิจกรรมบน E-Commerce ก็ขยายตัวอย่างชัดเจน ซึ่งการที่เหล่าธุรกิจปรับเปลี่ยนรูปแบบและช่องทางการขายก็ยิ่งทำให้มียอดขายที่เพิ่มขึ้น และเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากยิ่งขึ้น

สำหรับปี 2022 รูปแบบพฤติกรรมของผู้บริโภคยังคงดำเนินไปทิศทางเดียวกับในช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมา และมีแนวโน้มการใช้งานแพลตฟอร์มออนไลน์ที่สูงขึ้นเรื่อยๆ กลยุทธ์ทางการตลาดแบบดิจิทัลจึงจำเป็นอย่างมาก เพราะไม่เพียงแต่การเพิ่มยอดขายมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังช่วยธุรกิจได้ในระยะยาวอีกด้วย ยกตัวอย่างเทรนด์การขายที่มาแรงในปี 2022 (Sales Trend 2022) คือ การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ควบคู่ไปกับกลยุทธ์ทางการตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำระบบ CRM หรือระบบบริหารความสัมพันธ์ลูกค้าเข้ามาช่วยนั้น จะสามารถช่วยเพิ่มยอดขายไปพร้อมกับการมัดใจลูกค้าให้เกิดความภักดีต่อแบรนด์หรือ Brand Loyalty ซึ่งเป็นการเพิ่มยอดขายและการสร้างแบรนด์ได้อย่างยั่งยืน

เพราะในปัจจุบันนี้การเพิ่มช่องทางการขายเพียงอย่างเดียวยังไม่เพียงพอ ที่จะทำให้ธุรกิจเติบโตและก้าวให้ทันการเปลี่ยนแปลงของโลก วันนี้ Connect X จะขอแนะนำการปรับกลยุทธ์การขายให้ธุรกิจแบบใหม่ด้วยระบบ CRM

Customer Relationship Management (CRM) คืออะไร

CRM คือ ระบบบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า ให้ธุรกิจหรือองค์กรสามารถสร้างและรักษาความสัมพันธ์ของลูกค้าเอาไว้ให้ได้นานที่สุด พร้อมสร้างโอกาสจาก Potential Customer โดยมุ่งเน้นไปในการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าและการปฏิสัมพันธ์แบบเฉพาะตัวอย่างมีคุณค่า รวมถึงการนำเสนอสินค้าอย่างถูกที่ถูกเวลาอีกด้วย

กระบวนการดังกล่าวจะต้องอาศัยการเก็บข้อมูลของผู้บริโภคมาวิเคราะห์ เพื่อหากลยุทธ์ที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้มากที่สุด นอกจากนี้ระบบ CRM ยังสามารถนำใช้กับธุรกิจ B2B (Business-to-Business) ได้อีกด้วย โดยที่จะเข้ามาช่วยให้ฝ่ายการขายจัดการ Sales Circle ได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

5 กลยุทธ์เพิ่มยอดขายด้วยระบบ CRM

1.โฆษณาให้ถูกช่องทางและถูกที่ถูกเวลา

ระบบ CRM จะเก็บข้อมูลด้านพฤติกรรมและความชอบของลูกค้า เพื่อต่อยอดกิจกรรมทางการตลาดให้ถูกจุด เช่น ข้อมูลความสนใจของลูกค้า ลูกค้านิยมใช้ช่องทางใดบ้าง เป็นต้น เป็นการช่วยทำให้ธุรกิจทำความเข้าใจลูกค้าได้มากขึ้น และสื่อสารได้อย่างตรงจุด ทำให้สามารถปิดการขายได้อย่างรวดเร็ว

2.ตอบแชทได้รวดเร็วทันใจ ลูกค้าตัดสินใจได้ทันที

ระบบ CRM สามารถเก็บข้อมูลของลูกค้าที่ติดต่อเข้ามาในทุกช่องทาง รวมไปถึงการรวบรวมช่องทางแชท เช่น Faceboo, LINE, Twitter หรือ Instagram  ให้สามารถตอบได้บนแพลตฟอร์มเดียวและตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังสามารถติดตามว่าลูกค้ากำลังอยู่ในกระบวนการใดของการซื้อ เพื่อช่วยแนะนำผลิตภัณฑ์หรือบริการได้ตรงกับความต้องการ ช่วยให้ลูกค้าสามารถตัดสินใจได้ในทันที

3.สร้างความประทับใจผ่านการตลาดแบบเฉพาะบุคคล (Personalize Marketing)

ระบบ CRM จะช่วยติดตามและเก็บข้อมูลของลูกค้าแต่ละคนไว้ว่ามีความสนใจด้านใด มีการดูสินค้าประเภทไหนเอาไว้บ้าง ซึ่งสามารถนำข้อมูลมาต่อยอดให้เกิดการตลาดแบบเฉพาะบุคคล (Personalized Marketing) เพื่อสร้างคุณค่าและสิทธิพิเศษให้กับลูกค้าคนนั้นๆ ได้ อาทิ การส่งโปรโมชันพิเศษเพื่อกระตุ้นการขาย หรือยิงโฆษณาความสินค้าที่ลูกค้าสนใจ ทำให้มัดใจลูกค้าขาจรเป็นขาประจำได้ไม่ยาก

4.ติดตามลูกค้าและให้บริการแบบไร้รอยต่อในทุกช่องทาง

ระบบ CRM ช่วยรวบรวมข้อมูลออกมาเป็นรายงานการขายที่สามารถเรียกดูได้ทุกเวลาแบบเรียลไทม์ ทำให้การติดตามลูกค้าทุกคนพร้อมกันได้อย่างง่ายดายมากขึ้น พร้อมช่วยให้สามารถตอบคำถามและให้บริการทุกช่องทางในรูปแบบ Omni Channel ไม่ว่าจะเป็นที่หน้าร้านหรือบนแพลตฟอร์มออนไลน์ ก็สามารถเชื่อมกันได้อย่างไร้รอยต่อ จนทำให้ลูกค้าเกิดความประทับใจ และอยากกลับมาซื้อซ้ำ

5.เพิ่มบริการหลังการขาย เพื่อมัดใจลูกค้า

จากที่ได้กล่าวไปข้างต้นระบบ CRM รวบรวมข้อมูลทุกความเคลื่อนไหวของลูกค้าทุกคนเอาไว้ จึงช่วยให้สามารถเพิ่มบริการหลังการขายได้อย่างตรงจุด และช่วยลูกค้าแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที ซึ่งการให้บริการที่เอาใจใส่และแก้ปัญหาได้รวดเร็วนั้นสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าเป็นอันดับต้นๆ จึงช่วยมัดใจลูกค้าให้เป็น Loyal Customer ของแบรนด์ได้นั่นเอง

จากที่ Connect X ได้แนะนำกลยุทธ์เด็ดเพิ่มยอดขายกันไปแล้ว จะเห็นว่าระบบ CRM เป็นหัวใจหลักที่ช่วยให้ธุรกิจเติบโตและประสบความสำเร็จได้อย่างยั่งยืนในยุคนี้ โดยช่วยปรับปรุงการบริการตั้งแต่กระบวนการช่วงต้นน้ำ-ปลายน้ำ กล่าวคือตั้งแต่เริ่มขายไปจนถึงการบริการหลังการขายได้อย่างครบวงจร และยังช่วยให้ธุรกิจพร้อมก้าวทัน Marketing Trend ใหม่ๆ ได้อีกด้วย ซึ่งเป็นตัวช่วยทางธุรกิจที่มีความสำคัญในยุคปัจจุบันและอนาคตเป็นอย่างมาก

สำหรับใครที่กำลังมองหาระบบ CRM มาเริ่มต้นใช้ในธุรกิจนั้น Connect X คือ แพลตฟอร์ม CDP ที่คุณกำลังมองหา มีเครื่องมือเก็บข้อมูลลูกค้าที่มาพร้อมกับระบบ CRM ในตัวที่ใช้งานง่ายและมีประสิทธิภาพสูง นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์ Marketing Automation กับ AI อัจฉริยะที่คอยช่วยเรื่องการตลาดแบบอัตโนมัติด้วย มั่นใจได้ว่า Connect X มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย และพร้อมที่จะช่วยให้แบรนด์ของคุณเติบโตอย่างก้าวกระโดด

บทความอื่นๆที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ระบบ CRM (Customer Relationship Management)

สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

PDPA ในประเทศไทยเหมือนกับ GDPR หรือไม่ และแบรนด์ต้องปรับตัวมากแค่ไหน?

PDPA ได้ถูกประกาศแล้ว หลายท่านอาจสงสัยว่ากฎหมายฉบับนี้เกี่ยวข้องกับ GDPR หรือไม่? และแบรนด์ในประเทศไทยควรปรับตัวอย่างไร?

เจ้าของธุรกิจออนไลน์ทุกท่านอาจเคยได้ยินหรือทราบถึง PDPA ซึ่งคือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ถูกบังคับใช้ในประเทศไทยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 แล้ว ถือได้ว่าเป็นข้อกฎหมายใหม่ที่มาพร้อมกับการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ

อย่างไรก็ตามบางท่านอาจจะกำลังสับสนระหว่าง “กฎหมาย PDPA” กับ “กฎหมาย GRPR” ว่าเหมือนหรือต่างกันอย่างไร?

ในบทความนี้ Connect X จะมาบอกข้อแตกต่างระหว่างกฎหมายทั้ง 2 แบบนี้ให้เจ้าของธุรกิจทุกท่านได้ทราบ และนำไปใช้ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน

กฎหมาย PDPA ในประเทศไทย

PDPA คือ Personal Data Protection Act หรือก็คือกฎหมายที่มีจุดประสงค์เพื่อป้องกันข้อมูลส่วนตัวที่สามารถทำให้ระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อมก็ตาม นอกจากนี้ PDPA ยังมีชื่อทางการเป็นภาษาไทยว่า “พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล” และเป็นกฎหมายที่มีไว้เพื่อป้องกันข้อมูลของประชาชนคนไทยทั้งในและต่างประเทศ

พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้ ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาไปเมื่อ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เริ่มแรก PDPA จะถูกบังคับใช้ในเต็มฉบับในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2564 ได้เลื่อนไปเป็นวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2565 แทน

PDPA ครอบคลุมข้อมูลด้านใดบ้าง?

กฎหมาย PDPA เป็นกฎหมายที่มาพร้อมกับการก้าวหน้าของเทคโนโลยีสื่อสาร ซึ่งแน่นอนว่าครอบคลุมข้อมูลบนสื่อออนไลน์ เช่น การเก็บข้อมูลผ่านระบบ CRM ไปจนถึงข้อมูลออฟไลน์อย่างการจดบันทึกอีกด้วย ทั้งยังเป็นกฎหมายที่ป้องกันการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Violation) แบบรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็น ชื่อ-นามสกุล หมายเลขบัตรประชาชน เบอร์โทรศัพท์ ที่อยู่ อีเมล รูปภาพใบหน้า ข้อมูลเสียง ลายนิ้วมือ ฯลฯ

ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ เพราะ PDPA นั้นครอบคลุมไปถึง Sensitive Data หรือข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหวด้วย อาทิ เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ความเห็นทางการเมือง ความเชื่อ ลัทธิ ศาสนา พฤติกรรมทางเพศ ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลทางด้านสุขภาพ ข้อมูลทางพันธุกรรม ข้อมูลชีวภาพ Cookies ID หรือ Device ID

จะเห็นได้ว่า PDPA นั้นครอบคลุมข้อมูลของผู้บริโภคแบบรอบด้านเลยทีเดียว ซึ่งการที่นิติบุคคล กิจการ หรือแบรนด์ต่างๆ จะเก็บรวบรวมข้อมูลได้นั้น ต้องได้รับการยินยอมจากเจ้าของข้อมูลเสียก่อน

GDPR มีข้อแตกต่างอย่างไร?

กฎหมาย GDPR นั้นย่อมาจาก General Data Protection Regulation ที่จริงๆ แล้วอาจไม่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยมากนัก เนื่องจากเป็นข้อบังคับในกฎหมายของสหภาพยุโรป (European Union หรือ EU) จะคุ้มครองข้อมูลของส่วนบุคคลของประชากรในสหภาพยุโรปและบุคคลสัญชาติยุโรปที่อยู่ในต่างประเทศ เพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลจะไม่ถูกนำไปใช้ในทางมิชอบ และได้เริ่มบังคับใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 เป็นที่เรียบร้อย หากท่านมีกิจการระหว่างประเทศ (International Business) อยู่ในสหภาพยุโรป ก็ควรพึงปฏิบัติตามข้อกฎหมายนี้ด้วย

GDPR ในยุโรปนั้นได้ถูกร่างและบังคับใช้มาก่อน PDPR ของไทย หรือพูดในอีกนัยหนึ่งว่า GDPR เป็นต้นแบบของ PDPR ก็ว่าได้ และมีข้อกำหนดที่มากกว่าด้วย แต่ในไม่ช้า พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนี้จะมีการร่างข้อบังคับเพิ่มเติมและประกาศใช้ภายหลัง เจ้าของธุรกิจทุกท่านควรศึกษาและปรับธุรกิจให้อยู่ภายใต้กฎหมายฉบับนี้

ผู้ประกอบการต้องปรับตัวอย่างไร?

สิ่งแรกๆ ที่ผู้ประกอบการและแบรนด์ควรให้ความสำคัญคือ การสร้าง Privacy Policy หรือนโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อ “แจ้ง” รายละเอียดเกี่ยวกับการจัดการข้อมูลส่วนบุคคล เช่น เก็บข้อมูลอะไร ใช้ทำอะไร ลบข้อมูลเมื่อใด เป็นต้น

นอกเหนือจากนั้น ในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2565 พ.ร.บ คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนี้ จะมีการบังคับใช้ให้ผู้ที่เก็บรวบรวมข้อมูลต้องทำ Privacy Policy ด้วยนั่นเอง เพื่อเป็นการป้องกันการถูกฟ้องร้อง แบรนด์ควรขอความยินยอมในการเก็บข้อมูล การใช้หรือการเปิดเผยข้อมูลเสียก่อน หรือที่เรียกว่า Consent Management นั่นเอง

การใช้ระบบเก็บข้อมูลอย่างระบบ CRM หรือ ระบบ CDP ที่ได้มาตรฐานและสามารถจัดการข้อมูลได้อย่างชาญฉลาด เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ประกอบการทุกท่าน

ดังนั้นการบริหารข้อมูลส่วนบุคคลจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์โดยตรง และจำเป็นต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพราะหากไม่มี “ข้อมูล” แล้ว การทำการตลาด เช่น Personalized Marketing หรือ Remarketing จะเป็นไปไม่ได้เลย

บทลงโทษหากไม่ปฏิบัติตาม PDPA

บทลงโทษของพ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสามารถแบ่งได้เป็นโทษ 3 แบบ ดังนี้

1. โทษทางแพ่ง – ตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงและอาจต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพิ่มขึ้นอีก โดยสูงสุดไม่เกิน 2 เท่าของค่าเสียหายที่แท้จริง

2. โทษทางอาญา – จำคุกสูงสุดไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

3. โทษทางปกครอง – ปรับสูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาท

แน่นอนว่าไม่มีผู้ประกอบการท่านไหนต้องการที่จะเสียค่าปรับหรือจำคุก การนำข้อมูลส่วนบุคคลถูกนำไปใช้ในทางที่เหมาะสมและการรู้ถึงขอบเขต การเข้าถึงข้อมูลจึงเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบทุกครั้ง

สำหรับผู้ประกอบการหรือเจ้าของแบรนด์ท่านใดที่กำลังมองหาแพลตฟอร์มคุณภาพ ในการจัดการข้อมูลของลูกค้าแบบรอบด้าน จะรวมข้อมูลจาก API ไหนก็ทำได้ เปลี่ยน Unknown เป็น Known Customer ได้ง่ายๆ พร้อมระบบ Ad Tracking, Web Tracking และ Marketing Automation ต้องที่ Connect X เท่านั้น

สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

ทำไมธุรกิจ SME ขนาดเล็กถึงควรมีระบบ CRM ติดตัว?

ธุรกิจ SME อยากเติบโตในตลาดที่แข่งขันสูงอย่างปัจจุบัน ต้องมีตัวช่วยอย่าง ระบบ CRM เพื่อให้การเข้าหาลูกค้าและการขายมีประสิทธิภาพมากขึ้น!

กุญแจสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จก็คือ “ลูกค้า” ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็ก-ใหญ่ หรืออยู่ในรูปของธุรกิจ B2B หรือธุรกิจ B2C ก็ตาม ซึ่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แพลตฟอร์มและระบบออนไลน์ต่างๆ ถูกพัฒนาอย่างก้าวกระโดด ส่งผลให้การบริหารจัดการลูกค้ากลายเป็นการแข่งขันที่ดุเดือดมากขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่มีทีท่าว่าจะลดลงในเร็ววันนี้

หนึ่งในเครื่องมือที่ว่านั้นก็คือ ระบบ CRM ที่เปรียบเสมือนเป็นตัวช่วยในการสานสัมพันธ์กับลูกค้านั่นเอง แต่สำหรับเจ้าของธุรกิจ SME ที่มีงบประมาณจำกัดคงสงสัยกันไม่น้อยว่า ระบบ CRM คุ้มค่าต่อการลงทุนหรือไม่ แล้วทำไมใครต่อใครถึงแนะนำให้ธุรกิจ SME หันมาใช้ระบบนี้?

ในบทความนี้เราจะมาบอกต่อข้อดีต่างๆ ของระบบ CRM ต่อธุรกิจ SME ว่ามีอะไรบ้างที่จะทำให้ธุรกิจได้เปรียบในยุคแห่งการแข่งขันนี้

ระบบ CRM เพื่อความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์และลูกค้า

เจ้าของธุรกิจหลายคนคงทราบกันดีอยู่แล้วว่าระบบ CRM หรือ Customer Relationship Management คือซอฟต์แวร์ที่มีไว้จัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า โดยการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเก็บข้อมูลลูกค้า วิเคราะห์ และต่อยอดกิจกรรมทางการตลาด เพื่อยกระดับการทำการตลาดแบบ Personalized Marketing สร้างความพึงพอใจและโน้มน้าวให้ลูกค้าสนใจซื้อสินค้าหรือใช้บริการต่อไปในอนาคต หรือก็คือเปลี่ยนให้ลูกค้าทั่วไปกลายเป็น Loyal Customer นั่นเอง ซึ่งจากสถิติของ Salesforce ระบบ CRM นั้นสามารถกระตุ้นยอดขายได้มากถึง 29% เลยทีเดียว

โดยระบบ CRM จะทำการรวบรวมข้อมูลลูกค้าผ่านช่องทางต่างๆ เช่น Facebook, Instagram, LINE หรือบนเว็บไซต์ของธุรกิจ โดยส่วนใหญ่ข้อมูลที่ได้มักมาจากการเก็บ Cookies ประวัติการซื้อ หรือรายละเอียดต่างๆ ที่ลูกค้ากรอกเข้ามาผ่านฟอร์มหรือการสมัครสมาชิก เป็นต้น ซึ่งต้องเป็นไปตามกฎหมาย PDPA ด้วยนั่นเอง (อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ PDPA)

ข้อดีของระบบ CRM ธุรกิจ SME ไม่ควรพลาด

เชื่อว่าธุรกิจ SME ต้องพยายามยกระดับตัวเองในการบริการลูกค้า เพื่อสร้างฐานลูกค้าที่จะเป็นส่วนช่วยค้ำจุนให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไปได้ และระบบ CRM นั้นสามารถช่วยเหลือในด้านนี้ได้เป็นอย่างดี ได้แก่

1. บริหารข้อมูลแบบศูนย์รวม

หนึ่งในปัญหาหลักของการเก็บข้อมูลคือเรื่องการ “จัดระเบียบ” เพราะข้อมูลนั้นสามารถเก็บได้จากหลาย Touch Point เช่น เซลล์กับแอดมินอาจมีการจัดเก็บข้อมูลจาก Lead ที่แยกกัน แต่ละคนถือไฟล์ลูกค้าแยกกันไป ทำให้เข้าถึงข้อมูลค่อนข้างยาก ใช้เวลานาน และอาจมีข้อมูลขาดหาย ซึ่ง CRM จะเข้ามาช่วยในจุดนี้ได้ โดยรวมฐานข้อมูลลูกค้าของทั้งบริษัทไว้ในที่เดียว ค้นหาง่าย แถมยังเห็นข้อมูลได้ครบถ้วนอีกด้วย

2. ติดตามสถานะการขายอย่างง่ายดาย

สืบจากการจัดข้อมูลลูกค้าที่เป็นระเบียบมากขึ้น ทำให้การติดตามสถานะของลูกค้ารายบุคคลเป็นไปได้อย่างง่ายดายมากขึ้น เพราะนอกจากข้อมูลรายละเอียดการติดต่อแล้ว ธุรกิจยังสามารถกำหนดสถานะได้ด้วย เช่น ลูกค้าคนที่ 1 เป็นลูกค้าเก่า ลูกค้าคนที่ 2 อยู่ระหว่างพิจารณาซื้อ ลูกค้าคนที่ 3 อยู่ระหว่างต่อรองราคา เป็นต้น ส่งผลให้การปิดการขายมีโอกาสสำเร็จมากขึ้น

3. สร้างแคมเปญการตลาดตรงจุด

เพราะระบบ CRM ช่วยให้แบรนด์มองข้อมูลทุกอย่างได้ครบถ้วน อีกทั้งบางซอฟต์แวร์สามารถทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกให้เห็น Customer Insight ได้ ช่วยให้ธุรกิจ SME สามารถกำหนดขอบเขตกลุ่มเป้าหมายได้ชัดเจนมากขึ้น ส่งข่าวสาร โปรโมชัน และการประชาสัมพันธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญต่อธุรกิจเล็กๆ ที่มีงบประมาณจำกัด เพราะหากลงทุนสร้างแคมเปญไปกับลูกค้าที่ไม่สนใจ ผลตอบรับที่ได้ก็อาจจะติดลบนั่นเอง

4. ลดค่าใช้จ่ายในระยะยาว

งบประมาณคือองค์ประกอบที่ธุรกิจ SME ต้องคอยพึงระวังเสมอ เนื่องจากการขาดทุนเพียงครั้งเดียว ก็อาจนำไปสู่การปิดตัวของธุรกิจได้ง่ายๆ ด้วยความสามารถของ CRM การจะลดค่าใช้จ่ายในการประชาสัมพันธ์สำหรับลูกค้าใหม่ ลดกิจกรรมทางการตลาดที่ไม่คุ้มค่าเงิน นอกจากนี้ ธุรกิจสามารถนำต้นทุนส่วนที่เหลือมาใช้ในการรักษาฐานลูกค้าเดิมให้ดียิ่งกว่าเก่าได้

5. ยกระดับ Customer Service

ข้อมูลของลูกค้าที่เก็บรวบรวมได้ อาทิ อายุ ที่อยู่ ความชอบความสนใจ สถิติการสั่งซื้อ ข้อมูลเหล่านี้สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในกลยุทธ์การตลาดของธุรกิจได้ คือสร้างความประทับใจเพื่อทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าได้รับการบริการที่ใส่ใจ พิถีพิถัน ที่คัดเลือกมาเฉพาะสำหรับลูกค้าเท่านั้น สร้างความรู้สึกเหมือนเป็นคนพิเศษ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความภักดี (Brand Loyalty) ต่อธุรกิจในระยะยาว นอกจากนี้ ยังเป็นโอกาสที่ดีในการกระตุ้นให้ลูกค้าเกิดการ “บอกต่อ” ซึ่งเป็นการประชาสัมพันธ์แบรนด์ผ่าน Word of Mouth ที่มีความน่าเชื่อถือ สร้างฐานลูกค้าใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง

ระบบ CRM ที่ดีต้องมาคู่กับระบบ CDP

คำว่า CRM อาจเป็นศัพท์ที่ใช้อย่างแพร่หลายจนหลายๆ คนเริ่มชิน และมองว่าเป็นซอฟต์แวร์ที่รวมทุกสิ่ง แต่นี่อาจเป็นความเชื่อที่ผิดไป เพราะแม้ระบบ CRM จะสามารถเก็บข้อมูลได้ดี แต่ยังคงต้องการอาศัยบุคคลในการนำข้อมูลเหล่านั้นไปต่อยอด ในหลายกรณี หลายธุรกิจจึงไม่สามารถทำการตลาดได้เต็มประสิทธิภาพ ดังนั้นการนำ CDP (Customer Data Platform) ที่มีการทำงานร่วมกับ CRM เข้ามาปรับใช้กับธุรกิจจึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่าในหลายๆ แง่มุม

ยกตัวอย่าง Connect X ที่เป็นทั้งแพลตฟอร์ม CDP และ Marketing Automation ที่มีฟังก์ชันหลากหลาย สามารถช่วยสนับสนุนธุรกิจ SME ได้มากกว่า เช่น

  • 360° Customer Insights – รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลลูกค้าได้แบบ 360 องศา ไม่ว่าจะติดต่อมาทาง Facebook Messenger, LINE หรืออื่นๆ ระบบจะจัดการข้อมูลอย่างชาญฉลาด คาดการณ์พฤติกรรมหรือความต้องการของลูกค้าเฉพาะบุคคลได้
  • Omni Channel – รวมทุกช่องทางการแชท การติดต่อที่เกิดขึ้นไว้บนแพลตฟอร์ม รวมไปถึงระบบ API ต่างๆ ทีมขายจึงสามารถประสานงานได้แบบไร้รอยต่อ ทำให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์การช้อปปิ้งแบบไม่มีสะดุด
  • ระบบ AI ช่วยสนับสนุน – Connect X มีระบบ AI สุดฉลาดที่ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก ทำนายและจัดอันดับผู้ที่มีแนวโน้มเป็นลูกค้า (Predictive Lead Scoring) พร้อมวิเคราะห์พฤติกรรมการซื้อ ตอบโจทย์การสื่อสารด้านการตลาดอย่างแม่นยำกว่าเดิม
  • Marketing Automation – ตอบสนองความต้องการลูกค้าได้แบบ Real-Time ช่วยยิงโฆษณาที่ตรงใจลูกค้า ในเวลาที่ใช่ ผ่านช่องทางที่เหมาะสมกับลูกค้ามากที่สุด

นอกจากนี้ ยังมีฟีเจอร์อีกเพียบที่สามารถสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจ SME ท่ามกลางยุคแห่งการแข่งขันทางตลาดที่ดุเดือดนี้ได้

พูดได้เต็มปากเลยว่าหากมีระบบ CRM ที่ดี มีฟีเจอร์และฟังก์ชันครบครัน ก็จะสามารถยกระดับธุรกิจ SME เล็กๆ ให้กลายเป็นธุรกิจที่ประสบความสำเร็จจนกลายเป็นผู้นำตลาดได้ ฉะนั้นต้องไม่ลืมที่จะพิจารณา เลือกใช้ระบบ CRM ที่เหมาะสมกับธุรกิจคุณ!

สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

5 เทคนิค Email Marketing จากแบรนด์ดังระดับโลกที่ใช้แล้วเวิร์คสุดๆ

Connect X ขอเผยเคล็ดลับกับ 5 เทคนิค Email Marketing ของแบรนด์ดังระดับโลกที่รับรองว่าเวิร์คสุดๆ ให้เหล่านักธุรกิจนำไปปรับใช้ได้ง่ายๆ

หากพูดถึง Digital Marketing หลายคนอาจนึกถึงการตลาดบนสื่อโซเชียล (Social Media Marketing) มาเป็นอันดับแรกๆ เพราะเป็นช่องทางที่สามารถเพิ่มโอกาสในการซื้อขายและขยายตลาดได้สะดวกและเห็นผลไวที่สุด จึงเกิดคำถามว่า “แล้วการตลาดรูปแบบอื่น อย่าง Email Marketing ยังเหมาะสมกับการตลาดในยุคปัจจุบันอยู่หรือไม่?” เพราะหลายคนเชื่อว่าเป็นช่องทางที่ได้รับความนิยมน้อยกว่าสื่อโซเชียล แต่รู้หรือไม่ว่า แบรนด์ดังระดับโลกยังคงใช้ Email Marketing ในการกระตุ้นยอดขาย และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าได้เป็นอย่างดี

Email Marketing ยังเป็นช่องทางที่มีประสิทธิภาพอย่างมาก เพราะข้อดีของ Email Marketing คือสามารถทำการตลาดแบบเฉพาะบุคคล (Personalized)  ที่ช่วยสร้างความรู้สึกพิเศษหรือ Customer Journey ที่น่าประทับใจให้กับลูกค้า ซึ่งธุรกิจสามารถส่งข้อความหรือข้อมูลข่าวสารซ้ำๆ (Auto Resend) ได้อย่างไม่จำกัด และส่งไปถึงเป้าหมายได้ 100% นอกจากนี้ ยังสามารถต่อยอดไปยังการตลาดรูปแบบอื่นๆ ได้ง่ายดาย พร้อมผสานการทำงานกับระบบอื่นๆ อย่างระบบ CRM, Marketing Automation และ CDP (Customer Data Platform) ได้อีกด้วย

วันนี้ Connect X จะมาแนะนำการใช้ Email Marketing ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดด้วย 5 เทคนิคที่แบรนด์ระดับโลกใช้แล้วเวิร์คสุดๆ

Email Marketing คืออะไร?

Email Marketing หรือ “การตลาดผ่านอีเมล” นั้นมีความหมายที่ตรงตัว เป็นการตลาดออนไลน์รูปแบบหนึ่งที่ใช้อีเมลเป็นช่องทางในการสื่อสาร โดยจะเน้นการส่งข้อมูลข่าวสาร แนะนำสินค้าและโปรโมชัน ประกาศสำคัญต่างๆ ของแบรนด์ เพื่อเป็นการเพิ่มยอด Engagement สู่เว็บไซต์หรือขยายช่องทางการขายหลักของร้านได้ กล่าวคือจุดประสงค์ในการทำ Email Marketing คือการกระตุ้นยอดขายให้ลูกค้ากลับมาซื้ออีกครั้ง (Remarketing)

นอกเหนือจากนั้น Email Marketing ยังสามารถใช้สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างแบรนด์กับกลุ่มลูกค้า ช่วยรักษากลุ่มลูกค้าเก่า พร้อมกับมัดใจลูกค้ารายใหม่ได้ง่ายๆ โดยผู้ใช้งานสามารถเลือกกลุ่มฐานลูกค้าที่ต้องการส่งอีเมลได้ ตลอดจนการทำการตลาดแบบรายบุคคล (Personalized Marketing) เพื่อแสดงความใส่ใจต่อลูกค้าแต่ละคนได้อีกด้วย

5 เทคนิค Email Marketing ที่แบรนด์ระดับโลกใช้แล้วเวิร์คสุดๆ

1. สร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ

แบรนด์ต้องไม่ปล่อยให้ความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้าเกิดระยะห่างขึ้น ซึ่งแบรนด์ชื่อดังอย่าง Adidas ได้มอบการบริการด้วยความใส่ใจในทุกเวลาไม่ว่าจะเป็น Welcome Email สำหรับผู้ติดตามคนใหม่ๆ โดยจะส่งอีเมลให้ลูกค้าสามารถปรับแต่งผลิตภัณฑ์ที่สนใจได้ พร้อมสอบถามความพึงพอใจหลังซื้อสินค้า และส่งโปรโมชันพิเศษเฉพาะของสาขาที่ลูกค้าลงทะเบียนเอาไว้ นอกจากนี้ Adidas ยังมอบความรู้สึกพิเศษให้กับลูกค้า ด้วยการมอบโอกาสการเป็นเจ้าของรองเท้าแบบปรับแต่งได้ด้วยตัวเอง จากการสะสมแต้มเพื่อปลดล็อกสิทธิ์ดังกล่าว

2. สร้างความดึงดูดด้วยวิดีโอหรือภาพเคลื่อนไหว

เพราะอีเมลจะมีแค่ตัวหนังสือหรือภาพธรรมดาๆ ไม่ได้อีกต่อไป เนื่องจากไม่อาจดึงความสนใจลูกค้าได้อย่างเต็มที่ ดังนั้น ลองดูตัวอย่างเทคนิคการใช้ Email Marketing ­ของแบรนด์คอมพิวเตอร์ชั้นนำอย่าง DELL เพราะไม่เพียงแค่แนบไฟล์ทั่วไปๆ เท่านั้น แต่ DELL ยังได้แนบภาพ .GIF ที่มีการเคลื่อนไหว สื่อถึงภาพลักษณ์ของแบรนด์และผลิตภัณฑ์ ด้วยภาพคอมพิวเตอร์ค่อยๆ เปลี่ยนรูปร่างกลายเป็นแท็บเล็ต ซึ่งแคมเปญดังกล่าวช่วยเพิ่มยอดขายให้กับ DELL ได้ถึง 109% เลยทีเดียว ผลลัพธ์นี่พิสูจน์ได้ว่า การใช้ภาพเคลื่อนไหวหรือวิดีโอช่วยให้ลูกค้าเข้าถึงข้อความที่แบรนด์ต้องการจะสื่อสาร เพิ่มความน่าดึงดูดได้อย่างรวดเร็ว และช่วยเพิ่ม Click Rate ที่นำไปสู่โอกาสในการซื้อสินค้าได้อย่างเห็นผล

3. ชนะใจด้วยการออกแบบที่แปลกใหม่อย่างโดนใจ

ปฏิเสธไม่ได้ว่าดีไซน์สวยๆ หรือสินค้าที่สะดุดตาสามารถช่วยดึงความสนใจของผู้บริโภคได้มาก แบรนด์ Dropbox ผู้ให้บริการระบบคลาวด์ชื่อดัง ก็ได้ใช้การออกแบบด้วยตัวการวาดการ์ตูนน่ารักๆ พร้อมข้อความที่สื่อสารไปถึงสมาชิกได้อย่างโดนใจ เช่น

“Recently your Dropbox has been feeling kind of lonely :-(”

แปลเป็นไทยได้ว่า “ช่วงนี้ Dropbox ­ของคุณกำลังรู้สึกเหงามากเลย” พร้อมภาพกล่องที่ว่างเปล่าที่ให้ความรู้สึกเศร้าๆ และภาพกล่องที่สดใสภายในมีเอกสารอยู่ เป็นต้น ซึ่งการออกแบบที่แปลกใหม่นี้ นอกจากจะสร้างความประทับใจให้กับสมาชิกแล้ว ยังสามารถช่วยกระตุ้นให้เกิดปฏิสัมพันธ์กับผลิตภัณฑ์ในแนวทางที่ดี และสามารถปรับเปลี่ยนการตัดสินใจให้ใช้บริการได้อย่างต่อเนื่องอีกด้วย

4. สร้างประสบการณ์แบบ Personalize อย่างเหนือชั้น

จุดเด่นของ Email Marketing คือสามารถทำการตลาดแบบ Personalize ได้ ซึ่งไม่เพียงแต่การใส่ชื่อของลูกค้าเข้าไปเท่านั้น แต่การลงรายละเอียดเฉพาะรายบุคคล จะช่วยสร้างความรู้สึกพิเศษได้มากยิ่งขึ้น เช่นเดียวกับ Spotify แอปพลิเคชันสตรีมมิ่งเพลงชื่อดัง ที่ในทุกสิ้นปีจะมีการส่งอีเมลสรุปสถิติการใช้งานของผู้ใช้งาน รวมถึงได้มีการรวบรวม Playlist เพลงที่ผู้ใช้งานฟังมากที่สุดประจำปีนั้นๆ ซึ่งแคมเปญดังกล่าวได้รับผลตอบรับและสร้างความประทับใจให้กับผู้ใช้งานได้เป็นอย่างมากเลยทีเดียว

5. มอบการบริการสุดพิเศษที่ต่อยอดจากผลิตภัณฑ์

ธุรกิจการให้บริการที่พักชื่อดังอย่าง Airbnb ได้มอบบริการสุดพิเศษภายหลังจากที่ลูกค้าได้จองที่พัก หรือระบุตำแหน่งที่ตั้งของเมืองที่ต้องการไปเที่ยว ด้วยการส่งอีเมลแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวเพิ่มเติมในเมืองนั้นๆ ให้กับลูกค้า ซึ่งเป็นการต่อยอดจากผลิตภัณฑ์ ผสมผสานกับการแนะนำข้อมูลด้วยความใส่ใจต่อลูกค้าแบบรายบุคคล รวมทั้งหากลูกค้าได้เลือก Keyword ที่ต้องการ เช่น เลือกคำว่าโรแมนติก อีเมลที่คัดสรรสถานที่ท่องเที่ยวสุดโรแมนติกก็ได้ถูกส่งให้ลูกค้าอย่างรวดเร็ว แคมเปญดังกล่าวทำให้ Airbnb ได้รับความเชื่อใจและเป็นที่นิยมที่เหล่าผู้ใช้บริการเลือกใช้จนกลายเป็นที่รู้จักเป็นวงกว้าง

สำหรับ 5 เทคนิค Email Marketing ที่ได้รวบรวมมาจากแบรนด์ดังทั่วโลกนี้ หากธุรกิจของคุณได้นำไปปรับใช้ ก็จะสามารถดึงจุดเด่นที่สร้างความประทับใจให้กับลูกค้าได้ไม่ยาก พร้อมโน้มน้าวให้กลับมาซื้อซ้ำหรือใช้บริการต่อเนื่องได้แน่นอน

หากใครกำลังมองหาว่าจะเริ่มต้นใช้งาน Email Marketing จากตรงไหน? ต้องมีเครื่องมืออะไร? Connect X มีบริการ CDP หรือ Customer Data Platform โปรแกรมที่ช่วยเก็บข้อมูลลูกค้าจากทุกช่องทางไว้ในที่เดียวกัน พร้อมตัวช่วยที่นักการตลาดไม่ควรพลาด ช่วยให้สามารถจัดการข้อมูลเพื่อจัดทำแคมเปญ Email Marketing ส่งอีเมลไปถึงลูกค้าได้แบบรายบุคคล อีกทั้งยังสามารถตั้งค่า Customer Journey แบบ Cross Channel ได้ ทำให้สามารถส่งโปรโมชันผ่านช่องทางอื่นได้พร้อมๆ กัน ไม่ว่าจะเป็น SMS, LINE หรือ Facebook เป็นต้น และนอกจากนี้ยังคงมีฟีเจอร์สุดล้ำมากมายที่เกิดมาเพื่อช่วยนักการตลาดยุคดิจิทัล

สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย