Category Archives: other

การตลาดแบบสะสมแต้มดีอย่างไร? ระบบ CRM สะสมแต้มกลยุทธ์ที่แบรนด์ยุคใหม่ต้องมี

ใครที่เคยมีประสบการณ์การเข้าร้านสะดวกซื้อทุกวัน คงเคยได้ยินกับคำพูดที่ว่า “สะสมแต้มไหมคะ?” กันเป็นประจำ เพราะนี่ถือเป็นหนึ่งในกลยุทธ์สะสมแต้มของแบรนด์และร้านค้าที่ช่วยสานสัมพันธ์ให้กับลูกค้าเก่าแล้วยังเป็นแรงจูงใจในการดึงดูดลูกค้าหน้าใหม่ให้กลับมาซื้อสินค้าหรือบริการซ้ำอีกครั้ง ช่วยให้ลูกค้าไม่หันไปซื้อสินค้าหรือบริการจากคู่แข่งอีกด้วย เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ในระบบ CRM (Customer Relationship Management) ที่สามารถช่วยปรับปรุงกระบวนการขายให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าพฤติกรรมของคนไทยส่วนใหญ่คือนิยมการสะสมแต้มเพื่อลุ้นรางวัลที่ดึงดูดใจ  ทำให้เกิดการอุดหนุนสินค้าของร้านนั้นซ้ำๆ อย่างเช่น ร้านกาแฟ ร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อ หรือปั๊มน้ำมัน ดังนั้นระบบ CRM สะสมแต้มจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจและสอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคสมัยใหม่ได้เป็นอย่างดี ฉะนั้นในบทความนี้ Connect X จะพาทุกคนไปรู้จักกับกลยุทธ์สะสมแต้มให้มากขึ้น ถ้าพร้อมแล้ว ไปดูกันเลย

ระบบ CRM สะสมแต้ม คืออะไร?

ระบบ CRM สะสมแต้มหรือการสะสมแต้มเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่ธุรกิจประเภท SME นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เพราะสามารถเข้าช่วยเหลือธุรกิจในกระบวนการทำ CRM ได้เป็นอย่างดีแถมยังมีฟีเจอร์ที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถใช้ระบบสมาชิกสะสมคะแนน ให้ลูกค้าแลกรับสิทธิพิเศษ ทำให้เป็นการเพิ่มยอดขายและกำไรในการกลับมาซื้อสินค้าหรือบริการซ้ำของลูกค้า

ด้วยสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันที่กำลังอยู่ในช่วงเวลาอันยากลำบากของผู้ประกอบการหลายคน ที่เป็นปัจจัยหนึ่งที่บีบให้การแข่งขันการทำการตลาดออนไลน์ของธุรกิจต่างๆ มีความเข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้นักการตลาดส่วนใหญ่ต้องรู้จักที่จะมีการปรับแผนการตลาดเพื่อให้เตรียมพร้อมและรับมือกับความเข้มข้นของการแข่งขันที่สูงนี้ “ไม่ใช่แค่ให้เท่าทัน แต่ต้องก้าวข้ามและยืนอยู่เหนือคู่แข่งเสมอ” ฉะนั้นไม่ใช่แค่เพียงการหาลูกค้าหน้าใหม่ แต่ยังต้องรักษาความภักดีต่อแบรนด์ให้เหนียวแน่น ดังนั้นการทำการตลาดแบบสะสมแต้มจึงเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่ทุกแบรนด์ควรรู้จักและนำไปปรับใช้เพื่อให้ประสิทธิภาพในการขายสูงขึ้นเหนือกว่าใคร

ประโยชน์ของการตลาดแบบสะสมแต้ม

หลังจากอ่านมาถึงตรงนี้ หลายคนคงพอที่จะเข้าใจกลยุทธ์การสะสมแต้มเบื้องต้นกันบ้างแล้วใช่ไหม ดังนั้นมาดูกันดีกว่าว่าหากแบรนด์รู้จักใช้กลยุทธ์นี้ให้ถูกทางจะมีผลดีอย่างไร

  • การตลาดแบบสะสมแต้มได้ผลดีกว่าการให้ส่วนลด จากงานวิจัยที่น่าเชื่อถือหลายแห่งระบุตรงกันว่า ความพึงพอใจของผู้บริโภคของการทำการตลาดแบบสะสมแต้มดีกว่าการให้ส่วนลด เนื่องจากเมื่อลูกค้าซื้อสินค้าลดราคาแล้ว ลูกค้าไม่จำเป็นต้องกลับมาซื้อซ้ำอีก หรือบางรายอาจอยากทดลองซื้อสินค้าของแบรนด์คู่แข่งก็ได้ แต่หากเป็นการสะสมแต้มจากการซื้อสินค้าหรือบริการในครั้งแรก จะเป็นการจูงใจที่ดีเพื่อสร้างความพอใจและมีโอกาสที่ลูกค้าจะกลับมาซื้อสินค้าและบริการอีกในครั้งต่อไป
  • เป็นการตลาดโดยตรงที่คุ้มค่าการเงินที่ลงทุน การทำการตลาดแบบสะสมแต้มจะช่วยให้ธุรกิจได้เงินจากการใช้จ่ายของลูกค้าอย่างแน่นอนและค่อยตอบแทนกลับด้วยรูปแบบของสิทธิ์พิเศษจากแต้มสะสม ซึ่งต่างจากการลงทุนโฆษณาในแบบอื่นๆ ที่จะต้องลงทุนไปก่อน แล้วค่อยลุ้นว่าจะปังหรือแป๊ก แต่อย่างไรก็ตาม ควรรู้เอาไว้ว่าการตลาดแต่ละรูปแบบก็มีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน ต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วนก่อนดำเนินการรูปแบบใดๆ ก่อนเสมอ
  • ต่อยอดไปยังกระบวนการวิเคราะห์พฤติกรรม แน่นอนว่าในปัจจุบันกลยุทธ์การสะสมแต้มมักเป็นหนึ่งในฟีเจอร์ของระบบ CRM ทำให้มีการเก็บข้อมูลต่างๆ ของลูกค้ามาใช้ในการวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้า เพื่อนำไปใช้ในการทำการตลาดเชิงลึกโดยต้องอิงตามข้อกำหนดของ PDPA ต่อไป

Connect X กับ Loyalty Connect

สำหรับใครที่สนใจเราขอพาทุกท่านมารู้จักกับโปรแกรม Connect X ที่เป็นระบบ CDP สำหรับธุรกิจยุคใหม่ที่ต้องการยืนอยู่เหนือคู่แข่ง จึงได้ออกแบบโปรแกรมที่พร้อมรองรับผู้ประกอบการธุรกิจที่ต้องการบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า ที่ช่วยวิเคราะห์และเก็บข้อมูลลูกค้า พร้อมทำ Real Time Marketing แบบทันที มีฟีเจอร์ต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะบริการ Loyalty Connect ที่รองรับการทำ Loyalty Program อย่างครบครัน ไม่ว่าจะเป็น

  • ระบบเก็บ Point ที่ช่วยจัดการคะแนนสะสมของลูกค้าหรือหากลูกค้ามีระบบสะสมคะแนนอยู่แล้วก็สามารถนำมาเชื่อมต่อกับ Connect X ได้ทันที
  • ระบบ Tier  เป็นระบบจัดลำดับความสำคัญของลูกค้า สามารถแบ่งออกเป็น Bronze, Silver, Diamond ทำให้สามารถตั้งสิทธิพิเศษตามขั้นต่างๆ เพื่อเป็นแรงดึงดูดใจลูกค้าได้
  • ระบบจัดการ Point สามารถเซ็ต Point ได้ทั้งในรูปแบบการเก็บและการแลก เช่น ลูกค้าซื้อสินค้ารวม 1,000 บาท ได้ 10 Points และการเซ็ตรางวัลเอาไว้เพื่อให้ลูกค้าใช้แต้มในการแลกสิทธิ์
  • ระบบ API Connect สามารถเชื่อมต่อกับระบบการแลก Point อื่นๆ ได้ เช่น POS, Website และ Application
  • ระบบ Marketing Automation เมื่อลูกค้าใช้ Point ข้อมูลจะถูกส่งมาที่ระบบของ Connect X เพื่อทำ Marketing Automation ต่อได้ทันที
  • ระบบ Point Expire สามารถกำหนดวันหมดอายุ Point ของลูกค้าได้และสามารถแจ้งเตือนลูกค้าในกรณีต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ที่ Point ใกล้หมดอายุ แจ้งเตือนให้กลับมาซื้อสินค้าซ้ำเพื่อให้ได้แต้มครบตามกำหนด เป็นต้น
  • ระบบ Gift Management  เซ็ตของรางวัลเพื่อใช้ในแคมเปญต่างๆ ได้ตามต้องการ

สรุปสั้นๆ

ต้องบอกว่าในโลกของการตลาดออนไลน์ กลยุทธ์การทำการตลาดแบบสะสมแต้ม ได้พิสูจน์ตัวเองมาแล้วมากมายว่าเป็นกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพสูงและสามารถนำไปปรับใช้กับธุรกิจได้ในทุกระดับ เห็นได้ตั้งแต่ธุรกิจ SME ไปจนถึงกลุ่มบริษัทชั้นนำที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ดังนั้นหากคุณเป็นผู้ประกอบการมือใหม่ที่กำลังอยากได้ระบบ CRM เข้ามาช่วยเหลือในการดึงดูดลูกค้าหน้าใหม่ในขณะเดียวกันก็อยากรักษาฐานลูกค้าเก่าให้อยู่ด้วยกันไปนานๆ ก็สามารถมองหา Connect X เพื่อเป็นตัวช่วยได้ทันที สามารถขอรับตัวอย่าง Demo จากทางทีมงานได้ที่นี่

สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

Marketing Automation ช่วยสนับสนุน Real-Time Marketing ได้แค่ไหน?

Real-Time Marketing เป็นการตลาดแนวไหน แล้วระบบ Marketing Automation สามารถช่วยสนับสนุนการตลาดประเภทนี้ได้ดีมากน้อยแค่ไหน มาหาคำตอบได้กับ Connect X

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าการตลาดต้องแข่งขันกันที่ “ความเร็ว” แต่ด้วยโลกดิจิทัลในยุคนี้ทำให้แบรนด์และธุรกิจต่างต้องเร็วมากขึ้นไปอีก ถึงจะมีโอกาสขยายการรับรู้ทางการตลาดก่อนคู่แข่ง แล้วในปัจจุบันกระแสต่างๆ มักมาไวไปไวเหมือนสายฟ้าแลบแบบนี้ จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่มีกลยุทธ์ทางการตลาดรูปแบบใหม่อย่าง Real-Time Marketing ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อเอาใจผู้บริโภคยุคใหม่นี่เอง

มาดูกันเลยว่ากลยุทธ์ Real-Time Marketing มีรูปแบบอย่างไร? มีข้อดีข้อเสียอะไร? แล้วตัวช่วยอย่างระบบ Marketing Automation นั้นสามารถสนับสนุนการตลาดประเภทนี้ได้ดีแค่ไหน?

Real-Time Marketing คืออะไรกันแน่?

Real-Time Marketing หรือ Real-Time Content คือกลยุทธ์การตลาดที่อาศัย “กระแสหรือเทรนด์” ที่เกิดขึ้นในสังคมขณะนั้นมาประยุกต์หรือดัดแปลงเป็นคอนเทนต์ต่างๆ เพื่อให้แบรนด์เข้าถึงความต้องการและความสนใจของผู้บริโภค ณ ตอนนั้นแบบทันทีทันใด โดยกลยุทธ์ Real-time Marketing นี้แตกต่างจากการวางกลยุทธ์การตลาดแบบเดิมที่ต้องวางแผนหลายขั้นตอน แต่เปลี่ยนให้กลายเป็นการนำประเด็นร้อนในขณะนั้นมาประยุกต์ใช้ให้ผู้บริโภครู้สึกมีส่วนร่วม เกิดความชื่นชอบหรืออยากติดตามแบรนด์มากขึ้นจนเกิดการแชร์ต่อ ทำให้ผู้คนสนใจแบรนด์มากกว่าเดิม

แน่นอนว่าช่องทางหลักที่ทำให้ Real-Time Marketing เกิดผลอย่างทันท่วงที คงหนีไม่พ้นสื่อโซเชียลมีเดียทั้งหลาย อาทิ Facebook, Instagram, Twitter, LINE และ TikTok

หนึ่งในตัวอย่างของ Real-Time Marketing ที่หลายคนอาจเคยเห็น ก็คือ กระแสของละครบุพเพสันนิวาส ที่อยู่ดีๆ ทำให้ มะม่วงน้ำปลาหวานแทบหมดตลาด เมนูกุ้งเผาที่ทำให้ร้านอาหารทะเลไม่มีเวลาพักหรือจะเป็น “กระแสออเจ้า” ที่กลายเป็น Talk of The Town แบบหลบไม่พ้นกันเลย นอกจากนี้ยังมีกระแสจากละครเลือดข้นคนจาง ที่ทำให้หนึ่งในฉากไคลแมกซ์กลายเป็น Meme ไปซะอย่างนั้น หรือจะเป็นแบรนด์ MK ในช่วงที่เกิดกระแสไวรัล #ทีมไม่ลวกหมี่หยก กับ #ทีมลวกหมี่หยก เกิดขึ้นมาจากการที่เพื่อน 2 คน ถกเถียงเรื่องวิธีการกินเมนูหมี่หยกใน Twitter นั่นเอง

พอแบรนด์ไหนหยิบเทรนด์เหล่านี้มาทำเป็นคอนเทนต์ ประชาสัมพันธ์ หรือสร้างโปรโมชัน ก็เห็นได้ชัดเลยว่าได้รับความสนใจแบบปังๆ แทบทุกแบรนด์

ข้อดีและข้อเสียของ Real-Time Marketing

ข้อดี

  • ยอด Reach และ Engagement เพิ่มขึ้น –  เนื่องจากกระแสความนิยมในระยะเวลาหนึ่งที่ผู้คนให้ความสนใจ การเข้าถึงเหล่านี้จึงช่วยเพิ่มการรับรู้ให้แบรนด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ดึงดูดฐานลูกค้าใหม่ๆ – การทำคอนเทนต์ตามกระแส ช่วยเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคที่มีความสนใจในแบรนด์ แต่ยังไม่ใช้บริการได้มาเป็นลูกค้าในที่สุด หรือแม้แต่ผู้ที่ไม่เคยรู้จักก็มีโอกาสได้รับรู้ถึงสินค้าและบริการของแบรนด์
  • รู้ถึงความต้องการของผู้บริโภค – ต้องบอกว่า “กระแส” เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากความต้องการบางอย่างที่ทำให้ผู้คนจำนวนมากสนใจ หากแบรนด์สามารถจับจุดความต้องการนั้นๆ ได้ ก็เท่ากับเป็นการเปิดโอกาสในการสร้างสรรค์เนื้อหาให้ตรงความต้องการมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้ตัวแบรนด์กลายเป็นกระแสหรือกระตุ้นยอดขายได้อย่างล้นหลามก็เป็นไปได้

ข้อเสีย

  • ระยะเวลาจำกัด – เพราะ Real-Time Marketing นั้นคือการ “โหนกระแส” ซึ่งใช้เวลาไม่นานความสนใจที่ลูกค้ามีต่อกระแสนั้นๆ ก็จะลดลงไปอย่างรวดเร็ว ฉะนั้นแคมเปญหรือคอนเทนต์ประเภทนี้จะไม่สามารถคงอยู่ได้นานนัก
  • ความเสี่ยงในเรื่องลิขสิทธิ์ – บางครั้งการผลิต Artwork เพื่อสร้างคอนเทนต์ประเภทนี้อาจต้องอาศัยรูปภาพ, โลโก้ หรือรายละเอียดที่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของเจ้าของได้ จึงเป็นข้อควรระวังอันดับต้นๆ เลยทีเดียว
  • เสี่ยงต่อการปลุกประเด็นอ่อนไหว – การทำคอนเทนต์ที่รวดเร็วตามกระแส บางครั้งอาจมีการนำเสนอคอนเทนต์ออกไปในมุมมองที่แตกต่าง ซึ่งอาจจะกระทบต่อบทสนทนาหรือความคิดที่ละเอียดอ่อน อย่างเช่น เพศ รูปลักษณ์ เชื้อชาติ ความเชื่อ ศาสนา ฯลฯ

Marketing Automation สนับสนุน Real-Time Marketing ได้ยังไง?

เจ้าของธุรกิจหลายคนอาจรู้จักระบบ Marketing Automation กันดีอยู่แล้ว ซึ่งเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่สามารถสร้างประโยชน์ให้กับธุรกิจได้รอบด้าน โดยเมื่อนำมาใช้ควบคู่กับกลยุทธ์แบบ Real-Time Marketing แล้ว พูดได้ว่าจะช่วยให้แบรนด์ประสบความสำเร็จกับแคมเปญที่มาไวไปไวได้อย่างแน่นอน

อย่างแรก ระบบการแบ่งกลุ่มลูกค้า (Audience Segmentation) สามารถทำแคมเปญการตลาดแบบ Hyper-Personalization ทำให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้าได้อย่างลึกซึ้งและนำข้อมูลทั้งหมดมาสร้างประสบการณ์เฉพาะตัว (Customer Experience) แก่ลูกค้ารายบุคคลคนได้ เมื่อนำมาประกอบกับแคมเปญที่เป็นกระแส ทำให้ผู้บริโภคได้รู้สึกเหมือนตัวเองและแบรนด์ได้มีส่วนร่วมจริงๆ ซึ่งนำไปสู่การซื้อ-ขายหรือกระตุ้น Brand Loyalty ได้ นอกจากนี้ พอเป็นการ Personalize ข้อความแคมเปญแล้ว ก็สามารถหมดกังวลเรื่องการปลุกประเด็นอ่อนไหวได้ในระดับหนึ่ง

การทำ Lead Scoring  ผ่าน Marketing Automation สามารถช่วยให้ส่งแคมเปญไปยังลูกค้าที่สนใจจริงๆ ได้ในระยะเวลาอันสั้นที่กระแสยังคงอยู่ ไม่ต้องเสียเวลายิงแอดไปยังลูกค้าที่ไม่ได้สนใจนั่นเอง

อีกทั้งยังระบบ Marketing Automation นั้นสามารถสร้าง “Customer Journey” และนำข้อมูลลูกค้ามาต่อยอดเป็นแคมเปญการตลาด อย่างการส่ง Triggers ไปยังลูกค้าในทุกๆ ช่องทาง เช่น การส่ง SMS, Email Marketing, Push Notification รวมไปถึงการยิงโฆษณาผ่านทาง Social Media เช่น LINE, Facebook, Twitter และ Instagram ผู้บริโภคที่สนใจสินค้าและบริการแต่ยังไม่ตัดสินใจซื้อ พอได้มาเห็นแคมเปญจากแบรนด์ในจังหวะที่กระแสกำลังมา ผ่านแพลตฟอร์มที่ใช่ ก็มีโอกาสสูงที่จะกระตุ้นให้ผู้บริโภคหันมาซื้อสินค้าและกลายเป็น “ลูกค้า” ได้ในที่สุด

เห็นได้ว่า Marketing Automation สามารถช่วยให้กลยุทธ์ Real-Time Marketing ประสบความสำเร็จได้ดีมากยิ่งขึ้น ซึ่งนักการตลาดและแบรนด์ต้องไม่นิ่งนอนใจ เพราะกระแสดังครั้งต่อไปจะมาอีกทีเมื่อไหร่ก็ไม่ทราบได้ ดังนั้นการลงทุนในระบบ Marketing Automation ระบบ CRM หรือ CDP เป็นอีกหนึ่งการตัดสินใจที่ดีที่จะช่วยยกระดับการทำธุรกิจออนไลน์ให้รุ่งได้ในยุคนี้

สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

Marketing Automation คืออะไร ทำไมแบรนด์ยุคนี้ถึงขาดไม่ได้

Marketing Automation คืออะไร?

ทำไมแบรนด์ยุคนี้ ถึงขาดไม่ได้ ?

หลายคนคงเคยได้ยินคำนี้บ่อยมากในช่วงปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะคนที่ทำงานสาย Digital Marketing

วันนี้ Connect X จะมาเล่าให้ทุกคนฟังกันครับว่า แท้จริงแล้ว

Marketing Automatomation คืออะไร ?

Marketing Automation คือ การตลาดแบบอัตโนมัติ ที่ไม่ใช่แค่รู้ใจลูกค้า (Customer Insight) แต่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้แบบตรงจุด (Personalized Marketing)

แล้วที่สำคัญ ถ้าจะให้ดีในยุคนี้ ก็ต้องตอบสนองได้แบบทันที (Real-time Marketing) ไม่ว่าจะเป็น ทาง Email,sms, Facebook, Line,Twitter,Instragram, Web Push, Moblie Push,Google Ads หรือแม้แต่การบริการสุดรู้ใจที่หน้าร้าน

เพื่อให้เข้าใจ Marketing Automation แบบง่ายๆ

Connect X ขอเสนอ 4 Feature ที่จะทำให้ทุกคนเข้าใจ
โดยใช้เวลาไม่ถึง 1 นาทีกันครับผม

1. Omnichannel

Omnichannel คือ การรวมทุกช่องทางการติดต่อของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็น Offline หรือ Online ให้เป็นหนึ่งเดียว

ไม่ว่าลูกค้าจะติดต่อมาจากช่องทางไหน ก็จะได้รับประสบการณ์แบบไร้รอยต่อ (Seemless Customer Experience)

ด้วย Real-time Marketing Automation ทำให้แบรนด์สามารถตอบสนองและมอบประสบการณ์รู้ใจให้กับลูกค้าแบบได้แบบทันที (Personalized)

เช่น ลูกค้ากดดูลิปสติกจาก Website ของแบรนด์ พร้อมได้ส่วนลดรู้ใจที่แบรนด์ส่งมาให้ทาง Email แต่ลูกค้าไม่ตัดสินใจซื้อในทันที เมื่อมาที่หน้าร้านพนักงานขายสุดรู้ใจก็แนะนำลิปสติกแบบเดียวกันกับที่ลูกค้าอยากได้ในเว็บไซด์ ทำให้ลูกค้าประทับใจสุดๆ พร้อมปิดการขายได้แบบรวดเร็ว

2. Audience Segmentation

Audience Segmentation คือ การแบ่งกลุ่มลูกค้าเพื่อทำแคมเปญการตลาดแบบรู้ใจเฉพาะกลุ่ม (Personalized Markerting)

เช่น จัดลำดับลูกค้าที่มีโอกาสในการซื้อลิปสติกสูงที่สุด ผ่านการทำ Lead Scoring โดยคัดเฉพาะลูกค้าที่คลิกดูลิปสติกหน้าเว็บมากกว่า 5 ครั้ง จนได้ข้อมูลกลุ่มลูกค้าที่สนใจซื้อจริงๆ จากนั้นส่ง Email Personalized Marketing โค้ดส่วนลด Promotion ซื้อลิปสติดวันนี้แถมฟรีแปรงแต่งหน้า ให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อได้ทันที

3. Customer Journey

Customer Journey คือ เส้นทางการเดินทางของผู้บริโภค ตั้งแต่ก่อนจะตัดสินใจซื้อจนกลายเป็นลูกค้าจริงๆ

Marketing Automation ช่วยให้ Brand สร้าง Customer Journey เปลี่ยน Lead ให้กลายเป็นลูกค้า โดยสร้างแคมเปญการตลาด พร้อม Trigger ไปยัง ลูกค้าที่ใช่ ผ่านทาง Email,sms, Facebook, Line,Twitter,Instragram, Web Push, Moblie Push,Google Ads

เช่น ลูกค้าที่กดคลิกเข้ามาดูหน้าเว็บแล้วสนใจซื้อลิปสติก จากนั้น Brand ส่ง Web Push Notification มอบ Promotion ส่วนลดรู้ใจเด้งหน้าเว็บทันที ลูกค้าที่กดเข้าไปรับส่วนลด ก็สามารถกรอกข้อมูลเพื่อซื้อสินค้าได้เลย

แต่สำหรับลูกค้าที่ Web Push Notification แจ้งเตือนแล้วแต่กดออกจากเว็บ ทางแบรนด์ ก็ไม่พลาดทุก Touchpoint แล้วปล่อยลูกค้าออกไปง่าย ๆ แต่ยิง Ads Promotion ส่วนลดลิปสติก ตามเข้าไปใน Facebook เพื่อ Convert Lead ให้กลับมาเป็นลูกค้า

4. Social Media Connect (Live Chat)

ขจัดทุกดราม่าของแบรนด์ให้หมดสิ้นด้วย Live Chat ที่รวมทุกช่องทางการติดต่อของลูกค้ากับแบรนด์ไว้ในหน้าจอเดียว ไม่ว่าจะเป็น Website, Facebook Page, Line@,Pantip, Twitter, Instagram

ให้แอดมินเห็นทุกแชทและทุก # ที่ใคร Mention ถึงแบรนด์แบบไม่ต้องสลับหน้าจอ มาพร้อม AI Chat bot แอดมินด่านหน้าที่พร้อมตอบทุกคำถามแบบ Real time ที่ไม่ทำให้ลูกต้องหงุดหงิด รู้ใจว่าลูกค้าติดต่อมาทางไหน สนใจเรื่องอะไร แล้วลุยคุยด่านหน้า ก่อนส่งต่อมาให้ แอดมินตัวจริงได้เลย

ใครอ่านมาถึงตรงนี้ หลายคนคงพอเข้าใจแล้วว่า Marketing Automation คือ สิ่งที่ Brand ยุคในยุค Digital ขาดไม่ได้จริงๆ

แล้วถ้าจะเริ่มทำ Marketing Automation จะใช้ Marketing Platform แบบไหนดีที่จะตอบโจทย์ที่สุด

Connect X ที่สุดของ Marketing Platform
ที่นักการตลาดยุคนี้ขาดไม่ได้

ลองคิดดูว่า ถ้าทุกแบรนด์ มี Fearture ทั้งหมดนี้

แล้ว Brand ที่ยังไม่มี จะอยู่รอดได้ยังไง?

สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

4 ข้อดีของการใช้งาน Marketing Automation

วันนี้ทางทีมงาน ConnectX จะมาแนะนำเพื่อนๆเกี่ยวกับ 4ข้อดีของการใช้งาน Marketing Automation

วันนี้ทีมงาน ConnectX จะมานำเสนอ 4 ข้อดีของการใช้งาน Marketing Automation

Marketing Automation คือการใช้ซอฟต์แวร์ที่มีระบบและเทคโนโลยี Marketing Automation เพื่อทำให้งานและกระบวนการทางการตลาดเป็นไปโดยอัตโนมัติและคล่องตัว Marketing Automation ได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยให้ธุรกิจปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงาน ลดภาระงาน และมากไปกว่านั้นยังช่วยเพิ่มรายได้ การใช้ระบบ Marketing Automation มีประโยชน์อย่างมากเรามาดู 5 ข้อดีของการใช้ Marketing Automation กันดีกว่า

1. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

ประโยชน์หลักๆที่ไม่พูดถึงไม่ได้เลยกับเจ้าตัว Marketing Automation นั่นก็คือความสามารถในการทำงานซ้ำๆโดยอัตโนมัติ โดยตัว Marketing Automation จะทำให้นักการตลาดมีเวลามากยิ่งขึ้นเมื่อมีเวลาเพิ่มขึ้นก็จะทำให้สามารถเอาเวลาไปคิดแผนงานอื่นๆต่อไปได้มากกว่าที่จะต้องมานั่งทำงานซ้ำๆที่กินเวลา มากไปกว่านั้นระบบ Marketing Automation จะช่วยให้ธุรกิจต่างๆ สามารถตั้งค่าแคมเปญอีเมล โพสต์บนโซเชียลมีเดีย หรือกิจกรรมทางการตลาดอื่นๆ ได้ล่วงหน้าโดยที่เราไม่ต้องเข้าไปทำด้วยตนเองเมื่อถึงเวลาที่จะต้องยิงแคมเปญทางการตลาด ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลาและลดความเสี่ยงของข้อผิดพลาด ช่วยให้ธุรกิจดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น

2. ช่วยเพิ่มประสิทฑิภาพในการกำหนดกลุ่มเป้าหมายและการตลาดแบบ Personalization

Marketing Automation ยังสามารถช่วยให้ธุรกิจสามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายและทำ Personalized Marketing ได้ดียิ่งขึ้นเนื่องจากข้อมูลที่ได้รับก่อนที่จะมีการทำ Marketing Automation เราจะต้องมีการแบ่งกลุ่มลูกค้าให้เสร็จก่อน ยกตัวอย่างการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ได้จากการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมและความชอบของลูกค้า เช่นลูกค้าอายุ 18-25 ปีมีการเข้าดูเว็บไซต์เรามากที่สุดในช่วงเวลาตอนเย็นและชอบซื้อสินค้า A มากที่สุด เราสามารถสร้างแคมเปญการตลาดที่เกี่ยวข้องและเป็น Personalization เพื่อเพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จของแคมเปญทางการตลาดได้

3. ช่วยเพิ่ม Lead generation และ Conversion

มากไปกว่านั้นตัว Marketing Automation ยังสามารถช่วยให้ธุรกิจต่างๆ สามารถสร้างลีดที่จะเข้ามาได้มากยิ่งขึ้นจากข้อ 2 ที่ทางเราได้ยกตัวอย่างไปว่า Marketing Automation นั้นจะต้องมีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายเมื่อเรารู้แล้วว่ากลุ่มเป้าหมายเราคือใครที่ต้องการจะสื่อสารออกไปหาก็จะทำให้ข้อความที่เราส่งไปนั้นมีสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตรงใจกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น เราสามารถใช้ระบบ Marketing Automation เพื่อส่งอีเมลไปหาลูกค้ากลุ่มเป้าหมายหรือข้อความโซเชียลมีเดียไปยังลีดที่แสดงความสนใจในผลิตภัณฑ์หรือบริการ เพื่อกระตุ้นให้ลีดหรือลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของเรานั้นเห็นว่าบริษัทมีความใส่ใจในตัวเองแม้ว่าจะยังไม่ได้มีการซื้อสินค้า

4. ปรับปรุงการวิเคราะห์และการรายงาน

และมาถึงข้อสุดท้าย ระบบ Marketing Automation นั้นสามารถช่วยธุรกิจต่างๆในการปรับปรุงความสามารถในการวิเคราะห์และการรายงาน ด้วยการติดตามการโต้ตอบและพฤติกรรมของลูกค้า เราสามารถรับรู้ถึงข้อมูลเชิงลึก Insight และยังช่วยให้ระบุจุดที่ต้องแก้ไขปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพแคมเปญเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น Marketing Automation มักจะมาพร้อมกับเครื่องมือการรายงานในตัว(Report) ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจติดตามและวิเคราะห์ประสิทธิภาพทางการตลาดได้ตั้งแต่เริ่มจนจบแคมเปญ ซึ่งทาง ConnectX ของเราก็มีนะถ้าเพื่อนๆคนไหนสนใจ

สุดท้าย

โดยรวมแล้ว Marketing Automation สามารถสร้างประโยชน์ต่อธุรกิจได้มาก  เช่น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและช่วยปรับปรุงแคมเปญทางการตลาด ช่วยในการการกำหนดกลุ่มเป้าหมายและการปรับปรุงเรื่องของ Personalized Marketing การสร้างโอกาสในการขายและการแปลงที่ดีขึ้น และสุดท้ายในเรื่องของการวิเคราะห์และการทำรายงานที่ดีขึ้น

สิ่งที่ธุรกิจ SME ต้องเตรียมพร้อม รับกฎหมาย PDPA

มาถึงคำถามที่เจ้าของแบรนด์หลายๆ คนสงสัย ซึ่งก็ต้องมีการเตรียมตัวในหลายๆ ด้าน  Connect X ขอยกตัวอย่างมาให้ 5 ข้อ ดังนี้

1.ตั้ง Budget ให้พร้อม

ในการบริหารข้อมูลทั้งในรูปแบบเอกสารและข้อมูลดิจิทัลนั้นมีค่าใช้จ่าย เช่น เครื่องเซิร์ฟเวอร์ (Server) สำหรับเก็บข้อมูล ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสหรือ Ransomware และแพลตฟอร์มสำหรับจัดการข้อมูล นอกจากนี้อาจมีค่าใช้จ่ายในด้านของการปรึกษานักกฎหมายอีกด้วย

2.แต่งตั้ง DPO เพื่อดูแลข้อมูล

DPO หรือ Data Protection Officer คือเจ้าหน้าที่ที่จะเข้ามาดูแลและให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลทั้งหมดในองค์กร เพื่อให้การจัดการข้อมูลเป็นไปตามกฎของ PDPA และประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐด้วยนั่นเอง

3.กำหนดประเภทข้อมูลและวัตถุประสงค์

อย่างที่กล่าวไปว่าธุรกิจต้องปรับโครงสร้างการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคล ให้จัดเก็บเพียงเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ไม่สอบถามหรือขอข้อมูลที่ละเอียดอ่อนหากไม่จำเป็น

4.ทบทวน Data Protection Policy

สำหรับธุรกิจที่ไม่ได้มีการร่างนโยบายหรือมาตรการป้องกันข้อมูลที่ครอบคลุมมากนัก ก็ควรที่จะตรวจสอบและทบทวนใหม่เพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้ปลอดภัยที่สุด พร้อม จัดทำเอกสารมาตรการความปลอดภัยและดำเนินการจริง เพื่อใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงว่าบริษัทมีการดำเนินการตามเกณฑ์

5.ค้นหาแพลตฟอร์ม CRM หรือ CPD ที่สอดคล้องกับ PDPA

ระบบ Customer Relationship Management (CRM) หรือ Customer Data Platform (CDP) ล้วนเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้แบรนด์บริหารความสัมพันธ์และจัดการข้อมูลของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งธุรกิจก็ควรเลือกใช้ระบบ CRM หรือ CDP ที่ใช้งานง่าย ครอบคลุม และปลอดภัย หากมีฟีเจอร์เด็ดๆ เสริมด้านการตลาดอย่าง Marketing Automation, Personalized Marketing, ระบบ AI หรืออื่นๆ จะยิ่งช่วยให้จัดการข้อมูลต่างๆ ของผู้บริโภคและลูกค้าเป็นไปได้อย่างราบรื่น

ทั้ง 5 ข้อนี้ก็เป็นเพียงการเตรียมพร้อมเบื้องต้นสำหรับการรับมือ PDPA แล้วยังมีด้านอื่นๆ ที่ขอแนะนำให้เจ้าของธุรกิจศึกษาอย่างละเอียดและเข้าใจ เพื่อนำมาปรับใช้กับธุรกิจอย่างถูกต้อง และสามารถนำข้อมูลต่างไปใช้ในการตลาดได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

ส่วนท่านใดกำลังที่กำลังมองหาตัวช่วยเก็บและบริหารข้อมูลที่สอดคล้องกับ PDPA อย่างแพลตฟอร์ม CDP จาก Connect X และระบบ Marketing Automation ในตัว สามารถส่งแคมเปญทางการตลาดและสร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าได้หลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็น SMS, Email, Social Media และเว็บไซต์ มอบประสบการณ์แบบ Personalized แก่รายบุคคล ทั้งยังช่วยวิเคราะห์และวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดได้เหมาะสม เพื่อสร้างความประทับใจและประสบการณ์การใช้งานที่ไม่ซ้ำใคร

สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

5 ข้อดีและประโยชน์ของ Customer Data Platform (CDP)

วันนี้ทีมงาน ConnectX จะมาแนะนำทุกคนเกี่ยวกับ 5 ข้อดีและประโยชน์ของ Customer Data Platform (CDP)

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา CDP ได้รับการพูดถึงและความนิยมเพิ่มมากขึ้นเป็นอย่างมาก เนื่องจากธุรกิจต่างๆกำลังมองหาวิธีที่จะทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นในด้านของการจัดการ วิเคราะห์ และใช้ข้อมูลลูกค้าเพื่อปรับปรุงในด้านการตลาดและประสบการณ์ของลูกค้า วันนี้เรามาดู 5 ข้อดีและประโยชน์ของ Customer Data Platform (CDP) กันดีกว่าว่าทำไมถึงเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ

1.ช่วยในการแบ่งกลุ่มลูกค้ากลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

CDP ช่วยให้ธุรกิจต่างๆสามารถแบ่งกลุ่มลูกค้าออกเป็นกลุ่มที่ละเอียดมากยิ่งขึ้นและเกี่ยวข้องมากขึ้นตามข้อมูลที่หลากหลาย เช่น ข้อมูลประชากร ข้อมูลด้านพฤติกรรม และความชอบส่วนบุคคล สิ่งนี้ทำให้นักการตลาดสามารถสร้างแคมเปญการตลาดที่เป็นแบบ Personalized Marketing และตรงกับกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่ conversion rates ที่สูงขึ้นและทำให้เกิด customer loyalty

2.การตลาดข้ามช่องทางที่ได้รับการปรับปรุง:

CDP ช่วยให้ธุรกิจสามารถจัดการและดำเนินแคมเปญการตลาดผ่านช่องทางต่างๆได้ง่ายขึ้นโดยใช้ข้อมูลจากแหล่งเดียวนั่นก็คือ CDP เนื่องจากไม่ว่าลูกค้าจะเข้ามาจากช่องทางไหน CDP ก็สามารถที่จะเก็บข้อมูลให้มาอยู่ในที่ที่เดียวได้ ซึ่งช่วยให้นักการตลาดดำเนินการแคมเปญได้อย่างราบรื่นในหลายช่องทาง เช่น อีเมล โซเชียลมีเดีย และโฆษณา มากไปกว่านั้นยังสามารถวัดประสิทธิภาพของแต่ละช่องทางได้แบบเรียลไทม์

3. ช่วยประหยัดต้นทุนมากยิ่งขึ้น

CDP สามารถช่วยให้เราประหยัดเวลาและเงินได้โดยการทำให้กระบวนการที่ต้องทำด้วยตนเองจำนวนมาก กลายเป็นทำโดยอัตโนมัติ ตัวอย่างเช่น CDP สามารถแบ่งกลุ่มลูกค้าโดยอัตโนมัติ เรียกใช้แคมเปญการตลาด และติดตามผลลัพธ์ของแคมเปญ ทำให้นักการตลาดมีเวลาที่จะมุ่งเน้นไปทำงานวางแผนด้านอื่นๆมากยิ่งขึ้น

4.คุณภาพและความแม่นยำของข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้น

CDP ช่วยปรับปรุงคุณภาพและความถูกต้องของข้อมูลลูกค้าโดย CDP สามารถรวบรวมข้อมูลได้จากหลายช่องทางไม่ว่าจะเป็น เว็บไซต์ หรือ โซเชียลมีเดียต่างๆ เช่น Facebook, Line หรือ Instagram CDP ทำให้สามารถมั่นใจได้ว่าเราจะไม่ได้ข้อมูลมาผิดๆแน่นอนเนื่องจากทุกข้อมูลที่ตัว CDP ได้เก็บมานั้นจะมาจากข้อมูลของลูกค้าโดยตรงที่ได้กรอกเข้ามา หรือมีการทักแชทเข้ามา มากไปกว่านั้นยังสามารถดูพฤติกรรมของลูกค้าได้อีกด้วย ดังนั้นจึงเป็นเหตุว่าทำไมนักการตลาดจะสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เชื่อถือได้และถูกต้อง ซึ่งสามารถใช้ในการตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลและนำไปปรับปรุงประสิทธิภาพทางการตลาดต่อไป

5.ปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น

CDP สามารถช่วยธุรกิจนำเสนอประสบการณ์ของลูกค้าที่เป็น Personalization และสอดคล้องกับลูกค้ามากยิ่งขึ้นในทุกๆ Touchpoint สิ่งนี้จะทำให้เกิดความพึงพอใจและความภักดีที่มีต่อแบรนด์หรือสินค้าของลูกค้าจะเพิ่มขึ้น

ก่อนจากกัน

อย่างที่ได้เกริ่นไปในช่วงต้นของบทความว่า ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา CDP นั้นได้รับการพูดถึงและความนิยมเพิ่มมากขึ้นเป็นอย่างมากก็เพราะมันสามารถเก็บข้อมูลรวบรวมข้อมูลได้จากทุกช่องทางให้มาอยู่ในที่ที่เดียวที่เราเรียกว่า CDP และนำข้อมูลเหล่านั้นไปวิเคราะห์เพื่อทำแคมเปญด้านการตลาดต่อไป

สำหรับเพื่อนๆคนไหนที่ยังไม่มี Customer Data Platform (CDP) และกำลังสนใจสามารถติดต่อหาเราได้เลยนะคะ

สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

ห้ามพลาด! รวม 8 คำถามน่ารู้เกี่ยวกับ PDPA

Connect X จะมาตอบทุกคำถามที่หลายคนคาใจเกี่ยวกับ PDPA คืออะไร ให้ทุกคนเข้าใจและระมัดระวังกันมากยิ่งขึ้น

สำหรับการประกาศใช้ พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือ PDPA ไปเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา ทำให้หลายๆ คน เริ่มตระหนักและอยากรู้จักกับ PDPA ให้มากยิ่งขึ้น ทั้งในแง่ของผู้บริโภคที่ต้องการรักษาสิทธิ์ส่วนตัว และผู้ประกอบธุรกิจที่ต้องการนำข้อมูลของลูกค้ามาใช้งานในด้านต่างๆ ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาได้มีกระแสบนโลกออนไลน์หลากหลายแง่มุม จึงยิ่งทำให้ใครหลายๆ คน เกิดความสงสัยและเกิดคำถามเกี่ยวกับ PDPA อย่างมากมาย

วันนี้ Connect X จึงขอมาอาสามาตอบ 8 คำถามยอดฮิตที่คาใจเกี่ยวกับ PDPA เพื่อให้ทุกคนได้รับทราบ เข้าใจ และนำไปปรับใช้งานได้จริง

1. PDPA คืออะไร?

พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือ กฎหมาย PDPA (Personal Data Protection Act) คือ กฎหมายที่ช่วยคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภคในทุกช่องทางไม่ว่าจะเป็นช่องทางออนไลน์ (Online) หรือออฟไลน์ (Offline) จากองค์กรทั้งในและต่างประเทศ หากธุรกิจหรือองค์กรใดต้องการจัดเก็บหรือนำข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภคไปใช้ประโยชน์จะต้องได้รับความยินยอม (Consent) จากเจ้าของข้อมูลก่อน ซึ่งผู้บริโภคมีสิทธิ์ในการฟ้องร้องหากถูกละเมิดกฎหมายดังกล่าวได้อีกด้วย

2. PDPA มีผลกับใครบ้าง?

พูดได้อย่างเต็มปากว่า PDPA มีผลกับทุกๆ คน ไม่ว่าจะเป็นในแง่ขององค์กรหรือผู้ประกอบการ ผู้บริโภค รวมถึงประชาชนทั่วไป เพราะหากมีการนำข้อมูลของผู้อื่นไปใช้ ไม่ว่าจะเป็นรายละเอียดข้อมูล ภาพถ่าย วิดีโอ ก็จะครอบคลุมอยู่ในกฎหมาย PDPA ซึ่งบุคคลหรือองค์กรที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับกฎหมายดังกล่าว จะแบ่งออกเป็น

  • เจ้าของข้อมูล (Data Subject)
  • ผู้ควบคุมข้อมูล (Data Controller)
  • ผู้ประมวลผลข้อมูล (Data Processor)

3. PDPA คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลด้านไหน?

ข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) ที่กฎหมาย PDPA จะครอบคลุมนั้นมีอยู่มากมาย ตั้งแต่ข้อมูลพื้นฐานไปจนถึงข้อมูลที่มีความอ่อนไหว ซึ่งประกอบไปด้วย ชื่อ – นามสกุล, เลขประจำตัวประชาชน, เลขหนังสือเดินทาง, เลขใบอนุญาตขับขี่, ที่อยู่, เบอร์โทรศัพท์, วันเกิด, อีเมล, การศึกษา, เพศ, อาชีพ, รูปถ่าย, ข้อมูลทางการเงิน, ทะเบียนรถยนต์, โฉนดที่ดิน, ทะเบียนบ้าน

ในส่วนของข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตก็ครอบคลุมไปถึงข้อมูลที่สามารถใช้ระบุตัวตนได้ อาทิ Username/Password, Cookies IP Address, GPS Location เป็นต้น นอกจากนี้ยังรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อน (Sensitive Personal Data) อย่างข้อมูลทางการแพทย์หรือสุขภาพ, ข้อมูลทางพันธุกรรมและไบโอเมทริกซ์, เชื้อชาติ, ความคิดเห็นทางการเมือง, ความเชื่อทางศาสนาหรือปรัชญา, พฤติกรรมทางเพศ, ประวัติอาชญากรรม, ข้อมูลสหภาพแรงงาน เป็นต้น

เห็นได้ว่า PDPA นั้นเป็นกฎหมายที่สามารถคุ้มครองข้อมูลด้านต่างๆ ของแต่ละบุคคลได้อย่างครอบคลุมเลยทีเดียว

4. ในเมื่อ PDPA มีผลอย่างเป็นทางการแล้ว จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง?

ข้อเปลี่ยนแปลงสำคัญอย่างแรกคือ ผู้ที่เป็นเจ้าของข้อมูลจะได้รับการคุ้มครองมากขึ้น และมีสิทธิ์ในการควบคุมการประมวลผลข้อมูล รวมถึงสามารถเรียกร้องหรือฟ้องร้องได้ หากได้รับความเสียหายในกรณีที่มีบุคคลหรือหน่วยงานนำข้อมูลของตนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

ส่วนผู้ที่นำข้อมูลไปใช้ อย่างภาคธุรกิจ องค์กร หน่วยงาน และบุคคล จะต้องขออนุญาตและระมัดระวังในการใช้ข้อมูลดังกล่าว เพื่อประโยชน์ตามที่กฎหมายกำหนด และไม่ทำให้เจ้าของข้อมูลเสียหายหรือเสื่อมเสียชื่อเสียง

ผู้ที่นำข้อมูลไปใช้จะต้องทำตามข้อกำหนด ดังนี้

  • ต้องจำกัดการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเพียงเท่าที่จำเป็น
  • การประมวลผลข้อมูลต้องมีวัตถุประสงค์ ซึ่งมีฐานกฎหมายตามที่ พรบ. กำหนดรองรับ เช่น เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญา สิทธิ์อันชอบธรรม และหากเป็นการประมวลผลด้วยฐานความยินยอมต้องได้รับความยินยอมก่อน
  • ต้องอธิบายและแจ้งรายละเอียดการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลให้เจ้าของข้อมูลทราบ
  • ต้องมีการรับประกันความมั่นคงและความปลอดภัยของข้อมูล
  • หากมีข้อมูลรั่วไหลต้องทำการแจ้งเตือนให้เจ้าของข้อมูลทราบ รวมถึงแจ้งสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งจะมีการประเมินความเสียหาย และวิธีการเยียวยาเจ้าของข้อมูล

5. ถ่ายภาพหรือวิดีโอแล้วติดบุคคลอื่นผิดหรือไม่?

ถือเป็นหนึ่งในประเด็นที่ได้รับความสนใจค่อนข้างมากในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งการถ่ายภาพหรือวิดีโอที่มีหน้าของบุคคลอื่นติดมาด้วยนั้น สามารถแยกได้เป็น 3 กรณี ดังนี้

  1. กรณีที่ถ่ายภาพและวิดีโอติดบุคคลอื่นโดยไม่เจตนาหรือไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหาย – ถือว่าสามารถทำได้หากใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว และหากมีการนำไปโพสต์ลงโซเชียลมีเดีย ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน แต่ต้องไม่ใช้เพื่อการแสวงหากำไรทางการค้าและไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
  2. กรณีภาพของกล้องวงจรปิดถ่ายติดบุคคลอื่น – หากติดภายในบ้าน โดยมีจุดประสงค์เพื่อป้องกันอาชญากรรมและรักษาความปลอดภัย ไม่จำเป็นต้องมีป้ายแจ้งเตือน แต่หากเป็นกรณีที่ติดตั้งในที่สาธารณะ หน่วยงาน องค์กร ร้านค้า ห้างสรรพสินค้า จะต้องติดป้ายประกาศหรือสติกเกอร์เพื่อแจ้งให้ทราบว่ามีกล้องวงจรปิดและมีการบันทึกข้อมูล เพื่อเป็นการแจ้งให้ผู้คนรับทราบ
  3. กรณีของกล้องหน้ารถยนต์ – ไม่จำเป็นต้องติดประกาศแจ้งให้ทราบ หากนำภาพหรือวิดีโอที่มีบุคคลอื่นไปใช้โดยไม่ส่งผลกระทบหรือความเสียหายต่อบุคคลในภาพ/วิดีโอนั้นสามารถทำได้ แต่ไม่สามารถนำไปใช้ทางการค้า สร้างรายได้ สร้างความอับอาย ความเสียหาย หรือใช้ในรูปแบบอื่นๆ ที่ไม่ใช่วัตถุประสงค์ส่วนตัว

6. เจ้าของข้อมูลต้องให้ความยินยอมทุกครั้งก่อนนำข้อมูลไปใช้หรือไม่? 

โดยปกติหากนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้จะต้องขออนุญาตเจ้าของข้อมูลก่อนทุกครั้ง แต่ PDPA มีข้อยกเว้นที่สามารถนำข้อมูลไปใช้โดยไม่ต้องขอความยินยอม ซึ่งเป็นกรณีดังนี้

  • เป็นการทำตามสัญญา เช่น เว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน E-Commerce ที่ต้องใช้ชื่อและที่อยู่ในการส่งพัสดุให้ลูกค้า หรือเป็นข้อมูลที่จำเป็นต่อการทำงาน เช่น การเป็นสมาชิกหรือ Subscription Service ที่ต้องใช้ข้อมูลบัตรเครดิต เป็นต้น
  • เป็นการใช้ที่มีกฎหมายให้อำนาจ
  • เป็นการใช้เพื่อรักษาชีวิตและ/หรือ ร่างกายของบุคคล รวมถึงป้องกันอันตราย และการป้องกันโรคระบาด
  • เป็นการใช้เพื่อการค้นคว้าวิจัยทางสถิติ
  • เป็นการใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะ
  • เป็นการใช้เพื่อปกป้องผลประโยชน์หรือสิทธิ์ของตนเอง
  • เป็นการใช้เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับเอกสารประวัติศาสตร์
  • เป็นการใช้เพื่อประมวลผลเชิงเนื้อหาสำหรับสื่อมวลชน ซึ่งต้องเป็นไปตามจริยธรรมแห่งการประกอบวิชาชีพหรือเป็นประโยชน์สาธารณะเท่านั้น

ทั้งนี้ หลักการข้างต้น อาจเปลี่ยนแปลงตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเป็นกรณีๆ ไป ถึงไม่ต้องขอความยินยอม แต่ผู้ควบคุมข้อมูลยังต้องรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและคำนึงถึงสัดส่วนความจำเป็นของการใช้ข้อมูล และผลกระทบต่อความเป็นส่วนตัวของเจ้าของข้อมูล

7. เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล มีสิทธิ์อะไรเกี่ยวกับข้อมูลของตนบ้าง?

  • สิทธิ์ในการถอดถอนความยินยอมในกรณีที่ได้ให้ความยินยอมไว้
  • สิทธิ์ได้รับการแจ้งให้ทราบรายละเอียด (Privacy Notice)
  • สิทธิ์การขอเข้าถึงและการขอสำเนาข้อมูลส่วนบุคคล
  • สิทธิ์ขอให้โอนข้อมูลส่วนบุคคล
  • สิทธิ์คัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้งาน หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
  • สิทธิ์ขอให้ลบหรือทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลได้
  • สิทธิ์ขอให้ระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
  • สิทธิ์ขอให้แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล
  • สิทธิ์ในการร้องเรียนต่อคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญในกรณีที่มีการฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือประกาศที่ออกตามกฎหมาย PDPA

8.หากไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย PDPA จะเป็นอย่างไร?

สำหรับผู้ที่นำข้อมูลไปใช้ประโยชน์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลนั้น ไม่ว่าจะเป็นผู้ควบคุมข้อมูล (Data Controller) และผู้ประมวลผลข้อมูล (Data Processor) จะมีโทษทางกฎหมาย โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • ความรับผิดทางแพ่ง ตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง และอาจต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพิ่มขึ้นอีก โดยสูงสุดไม่เกิน 2 เท่าของค่าเสียหายที่แท้จริง
  • โทษทางอาญา จำคุกสูงสุดไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • โทษทางปกครอง ปรับสูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาท

จากที่ Connect X ได้พาเจอคำตอบของคำถามต่างๆ เกี่ยวกับกฎหมาย PDPA กันให้มากยิ่งขึ้นจากคำถามทั้ง 8 ข้อกันไปแล้ว น่าจะช่วยตอบข้อสงสัยของใครหลายๆ คน และช่วยให้เข้าใจเกี่ยวกับ PDPA มากขึ้น รวมถึงตระหนักถึงความสำคัญของการนำข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่นไปใช้กันมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในมุมของประชาชนทั่วไปที่เป็นผู้บริโภคหรือภาคธุรกิจก็ตาม

หากไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย มีการนำข้อมูลไปใช้โดยไม่ได้รับความยินยอมหรือผิดวัตถุประสงค์ ก็อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินหรือความเป็นส่วนตัวของเจ้าของข้อมูล และส่งผลกระทบต่อองค์กรเป็นวงกว้าง

นอกจากนี้ องค์กรหรือธุรกิจที่ปฏิบัติตามกฎหมาย PDPA อย่างเคร่งครัด จะช่วยเสิรมสร้างน่าเชื่อถือและภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กรได้อีกด้วย สำหรับใครกำลังมองหาตัวช่วยที่ปลอดภัยและสะดวกสบายอยู่นั้น Connect X เป็นแพลตฟอร์ม Customer Data Platform (CDP) ที่รองรับกฎหมาย PDPA และได้รับมาตรฐานการเก็บข้อมูลอย่างปลอดภัย มีมาตรฐาน ISO27001 ซึ่งสามารถช่วยเก็บรวบรวมข้อมูลลูกค้าจากทุกช่องทางไว้ในที่เดียวกัน และยังมี Marketing Automation ที่ช่วยทำการตลาดแบบอัตโนมัติ เพื่อให้ธุรกิจนำข้อมูลมาใช้ได้อย่างสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ พร้อมความปลอดภัยและมีขั้นตอนการขออนุญาตเก็บข้อมูลที่ถูกต้องตามกฎหมายอย่างแน่นอน

สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

จริงหรือไม่? 3 เรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับ PDPA เปลี่ยนความคิดด่วน

เพราะข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญ กฎหมาย PDPA จึงเกิดขึ้นเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล แต่หลายคนก็ยังสงสัยหรือเข้าใจผิดเกี่ยวกับ PDPA อยู่ ดังนั้นมาไขข้อสงสัยกันดีกว่า

พอกฎหมาย PDPA (Personal Data Protection Act) ได้ประกาศบังคับใช้อย่างเป็นทางการไปเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ทำให้ผู้ประกอบการและภาคธุรกิจต้องปรับตัวกันยกใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการขอความยินยอมในการเก็บข้อมูล การจัดทำนโยบายความเป็นส่วนตัว การนำข้อมูลไปใช้ ไปจนถึงการกำกับดูแลข้อมูล

สำหรับการขอความยินยอมหรือ Consent เพื่อเก็บข้อมูลจากลูกค้าถือเป็นกุญแจสำคัญในการทำ Digital Marketing ซึ่งหลากหลายธุรกิจต่างก็ต้องหาข้อมูลอย่างเคร่งครัดเกี่ยวกับข้อห้าม PDPA ว่าอะไรที่สามารถทำได้หรือทำไม่ได้ แต่สำหรับมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มศึกษาก็ต้องเจอกับรายละเอียดข้อมูลมากมายที่อาจทำให้สับสนได้ง่ายๆ

3 เรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับ PDPA ต้องเคลียร์ ไม่ให้สับสน

เชื่อว่าทั้งผู้บริโภคและเจ้าของธุรกิจหลายๆ คนยังมีเรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับ PDPA อยู่ไม่น้อย ดังนั้น Connect X จะมาไขข้อสงสัยต่างๆ เกี่ยวกับพ.ร.บ. ฉบับนี้ให้กระจ่าง ตามมาดูกันได้เลย!

1. ข้อห้าม PDPA มีเพียงผู้ประกอบการหรือธุรกิจเท่านั้นที่ต้องทำตาม

จากชื่อ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หลายคนจึงเข้าใจว่ามีเพียงแค่ธุรกิจเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบและต้องปฏิบัติตามข้อบังคับต่างๆ ของ PDPA อย่างไรก็ตาม ต้องบอกว่ากฎหมายนี้ให้การคุ้มครองข้อมูลอย่างครอบคลุม เพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับเจ้าของข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทร อีเมล เลขบัตรประชาชน ข้อมูลลายนิ้วมือ เลขบัญชีธนาคาร หรือข้อมูลอื่นๆ ที่สามารถใช้ระบุตัวตนของเจ้าของข้อมูลได้ทั้งช่องทางออฟไลน์และออนไลน์

โดยการบังคับใช้ PDPA มีผลกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง คือ เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Subject) ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Collector) และผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processor) พูดง่ายๆ ว่าทั้งภาครัฐ เอกชน กิจการ และผู้บริโภคต่างก็ต้องปฏิบัติตามข้อกฎหมายนี้ด้วยกันทั้งหมด ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น ในกรณีที่ซื้อสินค้าออนไลน์แล้วมีการติดต่อพ่อค้าแม่ค้าโดยตรง เราจะได้เลขบัญชีเพื่อโอนจ่ายเงิน จากนั้นต้องแจ้งสลิป พร้อมชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทร สำหรับจัดส่งสินค้า ซึ่งข้อมูลทั้งหมดนี้ถือว่าเป็นข้อมูลส่วนบุคคล เท่ากับว่าพ่อค้าแม่ค้าและเราก็ต้องปฏิบัติตาม PDPA ทั้งคู่ ไม่นำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว เป็นต้น

2. ธุรกิจต้องได้รับความยินยอม (Consent) จากเจ้าของข้อมูลทุกครั้ง

สำหรับ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ยังมีบทบัญญัติเกี่ยวกับหลักการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลตามกฎหมาย PDPA ในมาตรา 24 ซึ่งมีหลักการเกี่ยวกับเรื่องความยินยอม (Consent) ก่อนที่แบรนด์หรือนักการตลาดจะนำข้อมูลไปเก็บในระบบ CRM หรือนำไปประกอบแคมเปญต่างๆ ก็ต้องขอความยินยอมก่อน เช่น การขอ Cookie Consent เพื่อจัดเก็บไฟล์คุกกี้และข้อมูลของผู้เข้าชมเว็บไซต์ แต่ไม่ได้แปลว่าธุรกิจจะต้องขออนุญาตทุกครั้งที่ต้องเก็บข้อมูล

ในความจริงแล้ว เจ้าของข้อมูลต้องให้ความยินยอม (Consent) ต่อผู้ควบคุมข้อมูลตามที่แจ้งไว้ตั้งแต่แรกเพียงครั้งเดียวเท่านั้น อาทิ เมื่อสมัครสมาชิกผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน หลังจากกรอกรายละเอียดแล้ว จะมีข้อความหรือเอกสารให้อ่านพร้อมปุ่มกด “ยินยอม” หรือ “ยอมรับ” เพื่ออนุญาตให้ธุรกิจเก็บรวบรวมข้อมูลนั่นเอง ซึ่งจะเป็นการทำเพียงครั้งเดียว ไม่จำเป็นต้องกดยินยอมทุกครั้งเมื่อเข้าสู่ระบบ สำหรับมุมมองของธุรกิจนั้น การขอความยินยอมเพียงครั้งเดียวนี้ก็เป็นการอำนวยความสะดวกให้สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลของผู้ใช้งานหรือลูกค้าได้ต่อเนื่องและมีฐานข้อมูลครบถ้วน สามารถใช้ในการทำการตลาดหรือเพื่อปรับปรุง Marketing Automation ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้นั่นเอง

นอกจากนี้ ยังมีกรณีต่างๆ ที่ข้อมูลจะถูกเก็บรวบรวมได้ โดยได้รับข้อยกเว้น PDPA หรือไม่จำเป็นต้องขอความยินยอมดังนี้

  • กรณีป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพของเจ้าของข้อมูล รวมไปถึงการใช้ข้อมูลเพื่อประโยชน์สาธารณะ เช่น ป้องกันโรคระบาด ซึ่งผู้ควบคุมสามารถเก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผย ข้อมูลส่วนบุคคลได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอม
  • การปฏิบัติตามสัญญา ไม่ต้องขอความยินยอม
  • ปฏิบัติภารกิจของรัฐ ตามมาตรา 24(4) หากจำเป็นต่อการดำเนินภารกิจของรัฐเพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือเป็นการใช้อำนาจรัฐ การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อการนั้น ไม่ต้องขอความยินยอม อย่างไรก็ตาม แม้ไม่ต้องขอความยินยอม แต่ผู้ควบคุมยังคงมีหน้าที่ในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และคำนึงถึงความได้สัดส่วนความจำเป็นในการใช้ข้อมูล และผลกระทบต่อความเป็นส่วนตัวของเจ้าของข้อมูล
  • ปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่ต้องขอความยินยอม มาตรา 24(6)

3. การโพสต์รูปโซเชียลโดยมีใบหน้าผู้อื่นติดมาด้วย ถือว่าผิดกฎหมาย PDPA

ใจความสำคัญของ PDPA คือการปกป้องความเป็นส่วนตัว ซึ่งก็รวมไปถึงรูปถ่ายหรือวิดีโอที่มีใบหน้าของเจ้าของข้อมูลด้วย หลายคนเข้าใจว่าการที่ใครสักคนโพสต์รูปบนโซเชียลแล้วมีใบหน้าเราติดไปถือว่าเป็นการละเมิดพ.ร.บ. ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ “ผิด” จนกลายเป็นประเด็นร้อนในโลกโซเชียลกันไปแล้ว

จริงๆ แล้ว การที่ผู้ถ่ายรูปหรือคลิปวิดีโอบังเอิญถ่ายติดใบหน้าของคนอื่นไปโดยไม่ได้เจตนา หรือไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ถูกถ่ายก็สามารถทำได้โดยไม่ผิดหลัก PDPA ส่วนในกรณีที่ได้นำรูปถ่ายหรือคลิปไปโพสต์บนโซเชียลก็สามารถทำได้ ถ้าเป็นการทำเพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว ไม่นำไปใช้เพื่อผลประโยชน์หรือทำกำไร และทำให้เจ้าของข้อมูลเสื่อมเสียชื่อเสียงหรือทำให้เกิดอันตราย

เรื่องการติดตั้งกล้องวงจรปิด ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่หลายคนกังวลว่า หากถ่ายติดใบหน้าคนอื่นจะเป็นการทำผิดพ.ร.บ. หรือเปล่า ซึ่งถ้าเป็นการติดภายในบริเวณบ้านเพื่อรักษาความปลอดภัย ก็ไม่จำเป็นต้องทำป้ายแจ้งเตือน หมดห่วงได้เพราะไม่ผิดต่อข้อกฎหมายแน่นอน

ทั้งหมดนี้ก็เป็นข้อสงสัยหลักๆ ที่หลายคนยังมีอยู่ หวังว่าบทความนี้จะสามารถไขข้อสงสัยได้ไม่มากก็น้อย สำหรับธุรกิจและเจ้าของแบรนด์ทุกท่านต้องไม่ลืมที่จะค้นหา “เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูล” หรือ “Data Protection Officer (DPO)” เพื่อเข้ามาดูแลกฎหมาย PDPA ภายในองค์กรและตรวจสอบนโยบายการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า

ที่สำคัญ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบรนด์ควรมีระบบ CDP หรือระบบ CRM ที่เป็นไปตาม PDPA เพื่อรักษาและปกป้องข้อมูลของลูกค้า รวมถึงเป็นการหลีกเลี่ยงการฟ้องร้องที่อาจเกิดขึ้นได้หากเกิดข้อผิดพลาดขึ้นนั่นเอง

สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM หรือต้องการคำปรึกษา ทาง Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

Omni Channel Marketing กลยุทธ์ทางการตลาดที่คุณไม่ควรพลาดในปี 2023

Omni Channel Marketing คืออะไร มีคุณสมบัติอย่างไร ทำไมถึงเหมาะกับปี 2022 มาหาคำตอบไปพร้อมกันในบทความนี้ ที่ Connect-X

Omni Channel Marketing กลยุทธ์ทางการตลาดที่คุณไม่ควรพลาดในปี 2023

การซื้อขายผ่านช่องทางใดช่องทางเดียว อาจไม่ตอบโจทย์ลูกค้ายุคปัจจุบันอีกต่อไป เนื่องจากตัวเลือกที่มีมากขึ้น การขายผ่านหน้าร้านเพียงอย่างเดียวทำให้ยอดขายตก ขายได้ไม่มากเหมือนแต่ก่อน หลายๆ แบรนด์จึงหันมาปรับตัว โดยเปลี่ยนไปขายสินค้าและบริการในรูปแบบออนไลน์มากขึ้น

อย่างไรก็ตาม แม้จะขายสินค้าและบริการในตลาดโลกออนไลน์ ก็อาจไม่สามารถให้ประสบการณ์กับลูกค้าได้เพียงพอ และยังมีข้อจำกัดอีกหลายอย่าง อาทิ ไม่สามารถตรวจสอบคุณภาพสินค้าหรือทดลองใช้สินค้าได้ ทำให้ลูกค้าไม่สามารถตัดสินใจซื้อสินค้าได้ทันที แม้จะมีกลยุทธ์การตลาดที่ดีแค่ไหน แต่สามารถรวบรวมช่องทางการซื้อขายให้กับลูกค้าได้ ย่อมดีต่อธุรกิจอย่างแน่นอน

วันนี้ Connect X ขอแนะนำ Omni Channel Marketing กลยุทธ์การตลาดที่จะเข้ามาช่วยธุรกิจของคุณไม่ว่าจะมีประเภทธุรกิจแบบใด มีขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ Omni Channel Marketing จะช่วยเพิ่มยอดขายและให้บริการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถดึงลูกค้ารายใหม่เข้ามาเพิ่ม พร้อมสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าเก่าด้วยประสบการณ์การใช้งานที่ดี อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างแบรนด์ให้มีภาพลักษณ์ที่ดีและน่าจดจำอีกด้วย

Omni Channel คืออะไร 

Omni Channel คือ กลยุทธ์ทางการตลาดรูปแบบหนึ่งที่เป็นการ “ผสาน” ช่องทางการสื่อสารและการให้บริการลูกค้าเข้าเป็นหนึ่งเดียวกัน โดยมีการเชื่อมโยงกันทั้งรูปแบบออฟไลน์และออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นช่องทางหน้าร้าน ผ่าน Social Media, Website, Email, แอปพลิเคชัน หรือแพลตฟอร์มอื่นๆ โดยมีการเก็บข้อมูลการใช้งาน ความพึงพอใจ ประวัติการสั่งซื้อจากทุกช่องทางเข้ามาไว้เป็นข้อมูลกลางที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายและรวดเร็ว เพื่อให้ธุรกิจร้านค้าสามารถนำข้อมูลไปศึกษาและวิเคราะห์ พัฒนาสินค้าและบริการที่ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าแบบ Personalized ได้ง่ายขึ้น และไม่ว่าลูกค้าจะใช้บริการจากช่องทางไหน ก็จะได้รับประสบการณ์แบบไร้รอยต่อได้นั่นเอง (Seamless Customer Experience)

กล่าวคือการใช้ Omni Channel Marketing จะช่วยให้ธุรกิจร้านค้าของคุณ มีความสามารถในการตอบสนองลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุด โดยเป็นการเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงสินค้าและบริการได้หลากหลายช่องทาง รวมทั้งแพลตฟอร์ม Omni Channel ต่างๆ ยังเชื่อมโยงข้อมูลของลูกค้าอย่างรอบด้านผ่านทุกช่องทางการขาย ลูกค้าสามารถสอบถามข้อมูลของสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ก่อน แล้วไปทดลองใช้งานหรือขอดูตัวอย่างสินค้าจริงได้ เพื่อประกอบการตัดสินใจและซื้อได้ทันที โดยพนักงานหน้าร้านจะได้รับข้อมูลของลูกค้ามาแบบเดียวกันกับพนักงานฝ่ายบริการลูกค้าออนไลน์ ทำให้สามารถตอบสนองความต้องการและสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น

เหตุผลที่ธุรกิจควรเลือกใช้แพลตฟอร์มการตลาดแบบ Omni Channel

  • User Quality Data มีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้บริโภคได้อย่างละเอียด และเชื่อมต่อข้อมูลกันอย่างเป็นระบบ เพื่อให้สามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปต่อยอดให้เกิด Conversation Rate ที่สูงขึ้นและสร้าง Hyper-Personalization เพื่อประสบการณ์ของผู้บริโภค
  • Create Consistency Across Channel – สามารถสร้างมั่นคงและเชื่อมโยงการสื่อสารกับลูกค้าได้ทุกช่องทางแบบเรียลไทม์
  • Drive Revenue – ช่วยเพิ่มยอดขายให้สูงขึ้น เนื่องจากมีช่องทางให้เข้าถึงมากมาย จึงเหมาะกับไลฟ์สไตล์ที่หลากหลาย และยังช่วยเปลี่ยนลูกค้าใหม่ให้กลายเป็นลูกค้าประจำได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
  • Improve Customer Experience – ปรับปรุงประสบการณ์ของผู้บริโภคให้ดีกว่าเดิม โดยที่ผู้บริโภคสามารถเลือกดูข้อมูลเพิ่มเติมจากช่องทางที่หลากหลายเพื่อประกอบการตัดสินใจได้ง่ายขึ้น สามารถสั่งซื้อและชำระเงินได้ง่ายหลากหลายช่องทางตามความสะดวกของแต่ละคน
  • Increase Brand Loyalty – สร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์และกระตุ้นพฤติกรรมการซื้อได้มากยิ่งขึ้นได้มากขึ้น เนื่องจากมีการรีวิวสินค้าจากหลายช่องทาง

สุดยอด Platform ที่ตอบโจทย์ Omni Channel Marketing พร้อมฟีเจอร์สุดปัง

การใช้ Omni Channel Marketing ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด จะต้องมี แพลตฟอร์ม อย่างเช่น CDP (Customer Data Platform) ที่ช่วยเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าจากทุกช่องทาง และ Marketing Automation ที่เครื่องมือทำการตลาดแบบอัตโนมัติ ซึ่ง Connect X เป็นแพลตฟอร์มที่ครบครันและตอบโจทย์กลยุทธ์ธุรกิจแบบ Omni Channel ได้มากที่สุด

สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

CDP คืออะไร? แนะนำเครื่องมือทางการตลาดที่ทุกแบรนด์ควรมี

แนะนำว่า CDP หรือ Customer Data Platform คืออะไร สามารถเก็บข้อมูลอะไรได้บ้าง มีประโยชน์ที่จะช่วยเหลือแบรนด์ได้อย่างไร พร้อมแนะนำ Platform ของ Connect X ว่าน่าใช้อย่างไร

พฤติกรรมของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การเพิ่มยอดขายและสร้างความภักดีต่อแบรนด์ (Brand Lyoalty) ได้นั้น จะต้องใช้เครื่องมือทางการตลาดที่เหมาะสม ซึ่งอาศัยการบริการแบบเฉพาะเจาะจงและการเข้าถึงผู้บริโภคอย่างตรงจุด นับเป็นกระแสการตลาดที่มาแรงสุดๆ ในปี 2022 เพราะประสบการณ์ของลูกค้านั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เป็นปัจจัยช่วยให้เกิดการตัดสินใจเลือกใช้บริการสินค้าต่างๆ ได้มากขึ้น แบรนด์ที่สามารถเข้าถึงความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและตรงจุดที่สุด ก็ถือว่ามีชัยไปกว่าครึ่งแล้ว

วันนี้ Connect X ขอแนะนำ CDP หรือ Customer Data Platform เครื่องมือที่จะเข้ามาช่วยให้แบรนด์ให้สามารถเพิ่มยอดขาย สร้างการบริการที่มีประสิทธิภาพ สามารถสร้างความประทับใจให้กับผู้บริโภคได้ ไม่ว่าจะดึงดูดลูกค้าใหม่ๆ เข้ามาใช้บริการ หรือรักษาฐานลูกค้าเดิมเอาไว้ได้อย่างเหนียวแน่น

CDP คืออะไร?

CDP หรือ Customer Data Platform คือเครื่องมือทางการตลาดรูปแบบหนึ่ง ในลักษณะของ Digital Platform ที่ช่วยรวบรวมข้อมูล (Data) ของลูกค้าจากทุกช่องทางมาไว้ในที่เดียวกัน สามารถวิเคราะห์ข้อมูลทำให้นักการตลาดรู้ลึกถึง Customer Insight จึงทำให้สามารถสร้างกลยุทธ์การตลาดที่หลากหลาย รวมทั้งยังสามารถทำการตลาดแบบ Personalized Marketing ได้อย่างแม่นยำ

CDP (Customer Data Platform) เก็บข้อมูลแบบไหนได้บ้าง

  • ข้อมูลธุรกรรมและคำสั่งซื้อ – รวบรวมข้อมูลจากระบบการซื้อขาย E-Commerce จากแพลตฟอร์มต่างๆ ซึ่งสามารถเก็บรายละเอียดเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้งาน หรือความสนใจต่อสินค้าได้ เช่น สนใจสินค้าประเภทใด ไม่สนใจสินค้าประเภทใด และสินค้าที่กลับมาซื้อซ้ำ เป็นต้น
  • ข้อมูลด้านพฤติกรรมบนเว็บไซต์และมือถือ – สามารถเก็บข้อมูลของสินค้า การบริการ และหมวดหมู่ของสินค้าได้จากการเยี่ยมชมเว็บไซต์ หรือเมื่อลูกค้ามีการปฏิสัมพันธ์กับเว็บไซต์เหล่านั้นด้วยการคลิกดูเพิ่มเติม หรือใช้ระยะเวลารับชมสินค้า และอื่นๆ ซึ่งจะช่วยให้นักการตลาดวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้บริโภคในอนาคตได้
  • ข้อมูลส่วนบุคคล – เช่น เพศ อายุ อาชีพ รายได้ ไลฟ์สไตล์ เป็นต้น ช่วยให้แบรนด์สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ตรงจุดมากขึ้น แต่ต้องเป็นไปตามความยินยอมของลูกค้า และปฏิบัติตามข้อกำหนดของ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA)
  • ข้อมูลสินค้าและบริการ – การเก็บข้อมูลด้านราคาและสินค้าภายในคลัง ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกในการบริหารจัดการ และสามารถตอบสนองต่อผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว

ข้อดีของ CDP มีอะไรบ้าง ช่วยแบรนด์ได้อย่างไร?

  • รวบรวมข้อมูลให้เป็นหนึ่งเดียว

ไม่ว่าแบรนด์ของคุณจะมีแพลตฟอร์มหรือช่องทางในการขายมากแค่ไหน CDP จะช่วยรวบรวมข้อมูลในทุกๆ ช่องทางมาไว้ในที่เดียว  ไม่ว่าจะเป็น เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซหรือสื่อโซเชียลอย่าง LINE, Facebook และ Instagram โดยนำมาจัดเรียงให้เป็นกลุ่มอย่างมีระเบียบ เพื่อความสะดวกในการใช้งาน และประหยัดเวลาในการบริหารจัดการข้อมูลลูกค้า

  • เพิ่มยอดขายได้อย่างเห็นผล

เมื่อแบรนด์ของคุณมีข้อมูลของลูกค้า เช่น ข้อมูลติดต่อ ข้อมูลพฤติกรรมและความสนใจแล้ว ก็สามารถพัฒนากิจกรรมทางการตลาดได้อย่างตรงจุดแบบ Personalized และตอบสนองต่อกระแสที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะทำให้สามารถเข้าถึงลูกค้าใหม่ๆ ได้มากยิ่งขึ้น และไม่ละทิ้งลูกค้าเดิมไว้ข้างหลัง

  • ผลักดันศักยภาพในการแข่งขัน

ทุกวันนี้ใครๆ ก็หันมาทำการตลาดแบบออนไลน์ แต่ไม่ใช่ทุกแบรนด์ที่จะประสบความสำเร็จ ซึ่งหากแบรนด์ของคุณมีข้อมูลในมือก็สามารถทำให้วางกลยุทธ์ทางการตลาดที่เหมาะสม สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าและผู้บริโภคได้เหนือกว่าคู่แข่ง

  • กระตุ้นความภักดีต่อแบรนด์

หากสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าได้ โอกาสที่ลูกค้าจะกลับมาซื้อใหม่ย่อมเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน และถ้าหากสามารถให้บริการแบบเฉพาะเจาะจงจะยิ่งสร้างประสบการณ์และความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า โดยใช้ข้อมูลที่รวบรวมมาทำให้เกิดการตลาดแบบ Personalize Marketing ให้ความรู้สึกพิเศษ ซึ่งความภักดีต่อแบรนด์ก็จะค่อยๆ ก่อตัวมากยิ่งขึ้น

  • สร้างการบริการที่มีประสิทธิภาพ

เมื่อมีข้อมูลก็สามารถตอบสนองการบริการและแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด ตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ กล่าวคือตั้งแต่การเริ่มโฆษณา ขั้นตอนการซื้อขาย และการบริการหลังการขาย รับรองว่าสามารถสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าได้อย่างแน่นอน

สุดยอด Customer Data Platform จาก Connect X

การรวบรวม วิเคราะห์ และปรับใช้ข้อมูลให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด จำเป็นต้องมี CDP (Customer Data Platform) ที่ดี ใช้งานง่าย ตอบโจทย์และแก้ไขปัญหาของแบรนด์ได้ ซึ่ง Connect X เป็น CDP Platform ที่ครบครันและตอบโจทย์คุณได้มากที่สุด โดยมีตัวอย่างฟีเจอร์ที่เป็นประโยชน์ต่อแบรนด์มากมาย อาทิ

  • Real-time Marketing Automation ช่วยให้แบรนด์ของคุณสามารถสร้าง Customer Journey พร้อมบริการส่ง SMS, Email Marketing และการยิงโฆษณาผ่านสื่อออนไลน์ต่างๆ แบบอัตโนมัติ เช่น Facebook, Line, Twitter, Instragram หรือ Pantip ได้แบบ Real-Time อีกด้วย
  • Customer Single View ช่วยให้มองเห็นภาพรวมทุกการเชื่อมต่อของลูกค้ากับแบรนด์ในมุมมองเดียว และสามารถสื่อสารทางการตลาดได้อย่างเฉพาะเจาะจงและแม่นยำ ไม่ว่าลูกค้าจะติดต่อมาจากช่องทางออนไลน์ ออฟไลน์ หรือ Omni-Channel
  • API-Connect ช่วยให้แบรนด์สามารถเชื่อมต่อ (Integrate) กับทุกฐานข้อมูลลูกค้าในระบบหลังบ้านเพื่อเข้าถึงทุกข้อมูลของลูกค้าแบบศูนย์กลางเดียว เช่น พฤติกรรมการซื้อสินค้า แคมเปญโปรโมชันที่ลูกค้าแต่ละคนชื่นชอบ สินค้าที่ซื้อเป็นประจำ เป็นต้น
  • ระบบ AI ที่ช่วยให้แบรนด์รู้ใจลูกค้าถึง Insight ช่วยจัดลำดับลูกค้าที่มีโอกาสซื้อสินค้าสูงที่สุด ทำให้แบรนด์สามารถทำแคมเปญการตลาดได้แม่นยำยิ่งขึ้น

เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

แนะนำ 3 เทรนด์สำคัญของระบบ Customer Relationship Management ที่น่าจับตามองในปี 2022

3 เทรนด์สำคัญของระบบ Customer Relationship Management ที่น่าจับตามองในปี 2022 จะมีอะไรบ้าง มาดูกันเลย

สำหรับการทำธุรกิจ “ข้อมูล” คือกุญแจสำคัญของการวางกลยุทธ์ทางการตลาด หากไม่มีเครื่องมือดีๆ คอยจัดเก็บข้อมูลของลูกค้าในเชิงลึก ย่อมไม่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างตรงจุด ด้วยเหตุนี้ทุกธุรกิจจึงควรมีการบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า (Customer Relationship Management) หรือระบบ CRM ในการจัดเก็บข้อมูล โดยในปี 2022 ที่จะถึงนี้ Customer Relationship Management Trend ได้มีแนวทางใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้น โดยวันนี้ Connect X ขอแนะนำ 3 เทรนด์สำคัญที่น่าจับตามองที่สุดในปี 2022

1. การพัฒนาซอฟต์แวร์ของระบบ Customer Relationship Management ให้รองรับการใช้งานบนมือถือ

เริ่มต้นกันที่เทรนด์แรก คงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าโควิด-19 ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการทำงานของทุกธุรกิจทั่วโลก ส่งผลให้ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา บริษัทหลายแห่งได้มีการปรับเปลี่ยนให้พนักงานทำงานแบบ Work From Home ซึ่งแน่นอนว่าในช่วงแรกในการทำงานมีความติดขัด เนื่องจากต้องปรับตัวให้ชินกับระบบการทำงานแบบใหม่ แต่หลังจากผ่านไประยะเวลาหนึ่ง หลายธุรกิจก็สามารถปรับตัวได้ดีขึ้น และเริ่มมีการยกระดับการทำงานให้สะดวกมากขึ้นผ่านการทำงานบน Cloud และการทำงานจากระยะไกล (Remote Working)

ทางฝั่งของระบบ CRM เองก็เริ่มมีการปรับตัวเช่นเดียวกัน โดยมีแนวโน้มว่าในปี 2022 จะมีการพัฒนาให้ซอฟต์แวร์ของระบบ CRM ให้เข้ามาอยู่บนโทรศัพท์มือถือมากขึ้น เพื่อรองรับการทำงานระยะไกลและการทำงานแบบออนไลน์ อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีนี้ยังคงเป็นที่ถูกจับตามองว่าจะมีความปลอดภัยในระดับใด  เพราะข้อมูลของลูกค้าเป็นข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อน และต้องได้รับการป้องกันในระดับสูง แต่ระบบความปลอดภัยของมือถือ สามารถถูกเจาะระบบได้ง่ายกว่าฮาร์ดแวร์แบบอื่น จึงต้องคอยดูกันต่อไปว่าในอนาคตจะมีบริษัทไหนสามารถแก้จุดอ่อนในเรื่องนี้ได้ และจะทำให้ผู้ใช้งานมั่นใจในความปลอดภัยได้หรือไม่

2. เพิ่ม AI เข้ามาในระบบ Customer Relationship Management

เทรนด์ต่อมาคือการเพิ่ม AI เข้ามาในระบบ Customer Relationship Management เพื่อช่วยวิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงแบ่งหมวดหมู่การจัดเก็บข้อมูลให้ละเอียดยิ่งขึ้น โดยการเพิ่ม AI เข้ามา ซึ่งข้อดีของ AI ไม่เพียงช่วยพัฒนาระบบ CRM ให้มีคุณภาพและใช้งานได้ดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังช่วยทุ่นแรงให้กับนักการตลาดมากขึ้นอีกด้วย เพราะไม่ต้องคอยจัดการข้อมูลด้วยตัวเองทั้งหมดอีกต่อไป แต่มี AI คอยคัดแยกและวิเคราะห์ให้ เรียกว่าเป็นเทรนด์สำคัญที่มีประโยชน์ต่อผู้ใช้งานเป็นอย่างมาก ถ้าหากไม่อยากตกเทรนด์นี้ต้องเลือกแพลตฟอร์มที่มี AI คอยช่วยเหลือในการใช้งานด้วยถึงจะเกิดประสิทธิภาพที่สุด

3. เทคโนโลยีการจดจำเสียง การเก็บข้อมูลแนวใหม่ของระบบ Customer Relationship Management

ตลอดหลายปีที่ผ่านมา เทคโนโลยีการจดจำเสียง (Voice Recognition) ได้รับความนิยมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Alexa จาก Amazon หรือ Siri จาก Apple ส่งผลให้ในปี 2022 การจัดเก็บข้อมูลของลูกค้าจะไม่ได้จำกัดอยู่เพียงการเก็บข้อมูลจากพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ หรือความสนใจของลูกค้าอีกต่อไป แต่จะมีการจัดเก็บข้อมูลผ่านเทคโนโลยีการจดจำเสียงด้วย เนื่องจากการวิเคราะห์ผ่านน้ำเสียง จะทำให้คุณทราบถึงอารมณ์ความรู้สึก รวมถึงข้อมูลอีกหลายอย่างที่ละเอียดกว่าการเก็บข้อมูลในแบบเดิมๆ ถ้าอยากตามเทรนด์นี้ให้ทัน ควรเริ่มวิเคราะห์ความคุ้มค่าของเทคโนโลยีนี้ตั้งแต่เนิ่นๆ ว่าธุรกิจของคุณควรใช้งานเทคโนโลยีนี้หรือไม่ และเทคโนโลยีนี้จะคุ้มค่ากับการลงทุนแค่ไหน ตอนนี้ทุกอย่างขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของคุณแล้ว

ระบบ CRM กับพ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ข้อจำกัดของการเก็บข้อมูลที่ทุกธุรกิจต้องเตรียมตัวรับมือ

หลายคนคงทราบกันดีอยู่แล้วว่าระบบ CRM คือ การบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า ผ่านการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ รวมถึงจัดการปัญหาต่างๆ ที่ส่งผลต่อการขาย และช่วยปรับปรุงให้ธุรกิจของคุณมีวิธีการขายที่ดีขึ้น เพื่อสร้าง Brand Royalty ให้ลูกค้ากลับมาซื้อสินค้าของเราอีกครั้ง ทว่าในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ประเทศไทยจะมีผลบังคับใช้พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA ส่งผลให้ทุกธุรกิจไม่สามารถเก็บข้อมูลลูกค้าได้อย่างอิสระเหมือนเมื่อก่อน นี่จึงเป็นเหตุผลที่คุณต้องเลือกแพลตฟอร์มผู้ให้บริการที่รองรับ PDPA ด้วย จะได้ไม่เกิดปัญหาในอนาคต และสามารถผ่านเกณฑ์ PDPA ได้อย่างราบรื่น สำหรับใครที่อยากทราบข้อมูลวิธีการผ่านเกณฑ์ PDPA ให้ละเอียดขึ้น สามารถอ่านต่อได้ที่นี่

ส่วนใครที่กำลังมองหาแพลตฟอร์มที่พร้อมก้าวทันตามเทรนด์ในปี 2022  Connect X คือแพลตฟอร์มที่พร้อมรองรับ PDPA และมีเครื่องมือเก็บข้อมูลลูกค้าเอาไว้ในที่เดียวกัน (CDP) ที่มาพร้อมกับระบบ CRM ในตัว นอกจากนี้ยังมี Marketing Automation กับ AI อัจฉริยะที่คอยช่วยเรื่องการตลาดแบบอัตโนมัติด้วย ทุกคนจึงสามารถมั่นใจได้ว่า Connect X มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย และพร้อมที่จะช่วยให้คุณทำการตลาดได้ง่ายขึ้น

บทความอื่นๆที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ระบบ CRM (Customer Relationship Management)

สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย