PDPA คืออะไร? เจาะลึกข้อจำกัดที่ธุรกิจต้องรู้ก่อนนำข้อมูลลูกค้าไปใช้งาน

Connect X จะมาแนะนำว่า PDPA คืออะไร หรือ พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลคืออะไร ครอบคลุมข้อมูลอะไรบ้าง ผู้ใช้บริการมีสิทธิในด้านใด และองค์กรธุรกิจต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

ทุกวันนี้ “ข้อมูล (Data)” มีประโยชน์มากสำหรับการต่อยอดทางธุรกิจในยุคปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นด้านกลยุทธ์ กิจกรรมทางการตลาด หรือตัวช่วยในด้านระบบการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relationship Management: CRM) และการบริหารความเสี่ยง รวมทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการให้ใช้งานได้สะดวก รวดเร็ว และเพิ่มโอกาสในการได้รับโปรโมชันดีๆ อีกด้วย

ในเว็บไซต์และแพลตฟอร์มซื้อ-ขายต่างๆ ล้วนมีการเก็บข้อมูลของลูกค้าเอาไว้ ยิ่งสามารถเก็บได้ละเอียดและมีจำนวนมากเท่าใด ก็จะยิ่งเป็นประโยชน์ให้ต่อยอดได้มากขึ้นเท่านั้น แต่การเก็บข้อมูลเหล่านี้ก็มีขอบเขตจำกัดอยู่ ว่าจะสามารถเก็บข้อมูลได้แค่ไหนและนำไปใช้อะไรได้บ้าง จะถูกกำหนดด้วยกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค วันนี้ Connect X จะพาไปเจาะลึกว่า พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA ว่าคืออะไร และมีข้อจำกัดอะไรที่องค์กรธุรกิจหรือร้านค้าควรทราบ

PDPA คืออะไร?

กฎหมาย PDPA (Personal Data Protection Act) หรือ พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.​ 2562 คือ กฎหมายที่ช่วยคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภค ให้สามารถจัดเก็บหรือนำไปใช้ประโยชน์ได้ตามความยินยอมเท่านั้น ไม่สามารถเก็บข้อมูลหรือนำไปใช้โดยไม่แจ้งให้ผู้บริโภคทราบ และ/หรือได้รับความยินยอมในฐานะเจ้าของข้อมูลก่อน ซึ่งมาพร้อมกับมาตรการเยียวยาหากผู้บริโภคถูกละเมิดสิทธิ์ไม่ว่าจะเกิดจากองค์กรภายในประเทศหรือต่างประเทศ หากองค์กรธุรกิจหรือร้านค้าไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย PDPA จะมีความผิดตามกฎหมาย โดยมีบทลงโทษทั้งในทางแพ่ง อาญา หรือโทษปรับทางปกครองสูงสุด 5 ล้านบาท จำคุกสูงสุด 1 ปี รวมถึงต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนอีกด้วย

ข้อมูลอะไรบ้างที่ PDPA คุ้มครอง

ข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป (Personal Data) ประกอบด้วย

  • ชื่อ-นามสกุล
  • หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน, เลขหนังสือเดินทาง, เลขใบอนุญาตขับขี่
  • หมายเลขโทรศัพท์, อีเมล, ที่อยู่
  • วันเดือนปีเกิด, อายุ, น้ำหนักส่วนสูง, สัญชาติ
  • รูปถ่าย, ประวัติการทำงาน และอายุ
  • ข้อมูลทางการศึกษา, ข้อมูลทางการเงิน, ข้อมูลทางการแพทย์
  • ทะเบียนรถยนต์, โฉนดที่ดิน, ทะเบียนบ้าน
  • ข้อมูลบนอื่นๆ บนอินเทอร์เน็ตที่สามารถระบุตัวตนได้ เช่น Username /Password, Cookies, IP address และ GPS Location

ข้อมูลที่มีความอ่อนไหว (Sensitive Personal Data) ประกอบด้วย

  • เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์
  • ความคิดเห็นทางการเมือง
  • ความเชื่อในลัทธิ, ศาสนา หรือปรัชญา
  • พฤติกรรมทางเพศ
  • ประวัติอาชญากรรม
  • ข้อมูลด้านสุขภาพ ความพิการ เช่น โรคประจำตัว, การฉีดวัคซีน, ใบรับรองแพทย์
  • ข้อมูลสหภาพแรงงาน
  • ข้อมูลพันธุกรรม
  • ข้อมูลชีวภาพ เช่น ลายนิ้วมือ, แบบจำลองใบหน้า, ข้อมูลม่านตา

ทั้งนี้ ข้อมูลบริษัทไม่ถือว่าเป็นข้อมูลที่ได้รับการคุ้มครองจาก PDPA เพราะไม่ถือว่าเป็นข้อมูลส่วนบุคคล และสำหรับข้อมูลที่มีความอ่อนไหว อาจส่งผลต่อเจ้าของข้อมูลในวงกว้าง ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของสังคม, ความเป็นอยู่ และการทำงาน จึงมีการกำหนดโทษหนักกว่าการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป ซึ่งอาจนำไปสู่โทษทางอาญาได้อีกด้วย

PDPA คุ้มครองสิทธิของผู้ใช้บริการด้านใดบ้าง?

  • สิทธิได้รับการแจ้งให้ทราบและขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล – ผู้ให้บริการจะต้องบอกให้ทราบถึงวัตถุประสงค์ในการเก็บข้อมูลและการนำไปใช้ และต้องได้รับความยินยอมจากผู้ใช้บริการก่อนเสมอ
  • สิทธิในการขอรับและโอนย้ายข้อมูลส่วนบุคคล – ผู้ใช้บริการสามารถขอรับสำเนาข้อมูลจากผู้ให้บริการ และหากมีการโอนย้ายข้อมูลจากผู้ควบคุมรายแรกไปยังผู้ควบคุมรายอื่นได้ แต่จะต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย สัญญา หรือละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น
  • สิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล – ผู้ใช้บริการสามารถคัดค้านการเก็บรวบรวม, ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้ โดยสามารถร้องขอต่อผู้ควบคุมข้อมูลผ่านแบบฟอร์มที่ผู้ให้บริการจัดไว้ หรือติดต่อกับผู้ดูแลระบบเมื่อไหร่ก็ได้
  • สิทธิขอให้ลบหรือทำลายและระงับการใช้ข้อมูล – หากข้อมูลที่ถูกจัดเก็บหมดความจำเป็นในการใช้งานตามวัตถุประสงค์ หรือมีการนำไปเผยแพร่ต่อสาธารณะหรือถูกเข้าถึงได้ง่าย ผู้ใช้บริการมีสิทธิขอให้ผู้ควบคุมลบหรือทำลายข้อมูลส่วนบุคคล หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ โดยผู้ควบคุมข้อมูลต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายและการดำเนินการนั้น
  • สิทธิในการขอให้แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล – ผู้ใช้บริการมีสิทธิในการขอแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลให้มีความถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดได้ โดยการแก้ไขดังกล่าวจะต้องเป็นไปด้วยความสุจริต และไม่ขัดต่อหลักกฎหมาย ไม่ว่าจะแก้ไขผ่านหน้าข้อมูลสมาชิก หรือติดต่อกับผู้ควบคุมระบบ
  • สิทธิในการร้องเรียน – หากมีการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล มีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นจากผู้ควบคุม, ผู้ประมวลผล, ลูกจ้าง และผู้รับจ้างของผู้ควบคุม ผู้ใช้บริการสามารถร้องเรียนได้ และมีสิทธิในการเรียกค่าสินไหมทดแทนทางศาลได้

องค์กรธุรกิจและร้านค้าจะต้องทำอย่างไรเมื่อ PDPA ถูกบังคับใช้

  • เตรียมเอกสารเพื่อบันทึกกิจกรรมการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Record of Processing หรือ ROP) เป็นเอกสารที่ใช้บันทึกรายละเอียดการจัดเก็บข้อมูล โดยระบุว่ามีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร และมีใครเกี่ยวข้องบ้าง
  • เตรียมแบบฟอร์มเพื่อให้ผู้ใช้บริการขอใช้สิทธิบนเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถขอสิทธิการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวได้ในทุกช่องทาง และต้องมีการดำเนินการตามคำร้องภายใน 30 วัน
  • แจ้งให้ผู้ใช้บริการทราบเกี่ยวกับนโยบายความเป็นส่วนตัวหรือ Privacy Policy และแจ้งวัตถุประสงค์ในการนำไปใช้ให้เข้าใจได้ง่าย มีเงื่อนไขอะไรบ้าง รวมถึงระยะเวลาในการจัดเก็บข้อมูล และต้องขอรับการยินยอมก่อนทุกครั้ง โดยที่จะต้องไม่เก็บข้อมูลมากกว่าความจำเป็นในการใช้ต่อธุรกิจ
  • การขอคำยินยอมในการใช้ Cookie ธุรกิจ หรือแต่ละเว็บไซต์จะต้องมีการแจ้งเตือนผ่านแบนเนอร์ (Cookie Consent Banner) เพื่อขอความยินยอมจากผู้ใช้บริการในการจัดเก็บข้อมูลของผู้ใช้งานออนไลน์ รวมถึงประเภทข้อมูลที่ถูกจัดเก็บ
  • การเก็บข้อมูลจะต้องจัดเก็บอย่างเหมาะสมและปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลที่มีความอ่อนไหวจะต้องเก็บรักษาให้รัดกุมที่สุด และจัดตั้ง DPO (Data Protection Officer) หรือเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัยของข้อมูลภายในและภายนอกองค์กร
  • การแจ้งเตือนผู้ใช้บริการหากข้อมูลเกิดการรั่วไหล จะต้องมีการแจ้งต่อผู้ใช้บริการ และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งจะมีการประเมินความเสียหาย และวิธีการเยียวยาเจ้าของข้อมูล

จากที่ Connect X ได้แนะนำไปแล้วว่า PDPA คืออะไร และครอบคลุมข้อมูลอะไรบ้าง รวมทั้งเรื่องที่องค์กรธุรกิจควรต้องรู้ ซึ่งกฎหมาย PDPA เกี่ยวกับธุรกิจจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มิ.ย. 65 นี้ องค์กรธุรกิจควรเตรียมตัวรับมือ ปรับตัว และสร้างความเข้าใจให้กับคนในองค์กรให้ตระหนักถึงความสำคัญของการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า รวมทั้งประเมินความเสี่ยงต่อการใช้ข้อมูลดังกล่าว และวางระบบที่สามารถรองรับให้สามารถบริหารจัดการข้อมูลได้ง่ายและปลอดภัยให้เร็วที่สุด ซึ่งแพลตฟอร์ม CDP ของ Connect X เป็นแพลตฟอร์มที่มีเครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูลลูกค้าเอาไว้ในที่เดียวกันและมี Marketing Automation คอยช่วยเรื่องการตลาดแบบอัตโนมัติด้วย ทั้งยังมีการรองรับ PDPA ผู้ประกอบการจึงไม่ต้องกังวลว่าพบปัญหาระหว่างการทำธุรกิจ และไม่ผ่านเกณฑ์ของ PDPA

สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

    Yearly Budget

    How do you know us?

    Our Latest Blog Posts