Category Archives: other

ทำไมต้องมีระบบ CDP (Customer Data Platform) ถึงแม้ว่าจะมีระบบ CRM อยู่แล้ว ?

ในวันนี้ทางทีมงาน ConnectX จะมาเขียนถึงความแตกต่างระหว่างระบบ CDP (Customer Data Platform) กับระบบ CRM ว่ามีข้อแตกต่างกันอย่างไรและทำไมเราควรจะมีระบบ CDP เพิ่ม

 

เริ่มแรกเลยเราต้องเข้าใจเป้าหมายของทั้งสองอย่างนี้ก่อนระหว่าง CDP (Customer Data Platform) กับ CRM ถึงแม้ว่า CRM และ CDP จะมีความคล้ายคลึงกัน

โดยเราจะไปเริ่มกันที่ตัว CRM กันก่อนเลย

CRM นั้นได้รับการพัฒนาขึ้นก่อนและถือเป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับลูกค้ากลุ่ม B2B มาเป็นระยะเวลานาน โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยให้บริษัทได้ลูกค้าใหม่และรักษาลูกค้าเดิมไว้ โดยระบบ CRM นั้นจะทำให้การจัดการโต้ตอบแบบส่วนตัวและโดยตรงได้ง่ายยิ่งขึ้น 

เป้าหมายและจุดประสงค์ของระบบ CRM หลักๆก็คือการช่วยปรับปรุงการโต้ตอบกับลูกค้าเก่าและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า(Loyalty) แพลตฟอร์ม CRM มาพร้อมกับคุณสมบัติและเครื่องมือหลายอย่างเพื่อช่วยให้เราสามารถติดตามประวัติการซื้อและความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้ากับบริษัท มากไปกว่านั้นยังช่วยติดตามสถานะของผู้ที่มีโอกาสเป็นลูกค้าเพื่อแจ้งเตือนลูกค้า ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้ทีมขายของติดต่อกับลูกค้าและกลุ่มเป้าหมายในเวลาที่เหมาะสมเพื่อปิดการขายเพิ่ม

นอกจากนี้ ยังช่วยให้ทีมการตลาดใช้แคมเปญแบบส่งความทางการตลาดส่วนบุคคลที่สอดคล้องกับลูกค้าเฉพาะราย (Personailzed Marketing) เพื่อกระตุ้นให้มีลูกค้ากลุ่มเป้าหมายและเกิด Conversion มากขึ้น

ต่อมาเราจะมาพูดถึงในส่วนของ CDP (Customer Data Platform) 

จากบทความที่แล้วที่เราได้เขียนไป “ข้อดีของระบบ CDP ที่จะช่วยเพิ่มการทำไรมากยิ่งขึ้น” ถ้าเพื่อนๆคนไหนอยากอ่านแบบเต็มๆสามารถคลิ๊กเข้าไปได้เลยค่ะ

Customer Data Platform หรือ CDP เป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยเก็บรวบรวมข้อมูลลูกค้าให้มาอยู่ในที่ที่เดียว เป็นโซลูชันที่ใช้ซอฟต์แวร์ซึ่งมีหน้าที่หลักๆก็คือช่วยในการรวมข้อมูลประเภทต่างๆ เกี่ยวกับข้อมูลประชากร พฤติกรรม และการโต้ตอบกับธุรกิจของเราไม่ว่าลูกค้าจะสื่อสารมาจากช่องทางไหนตัว CDP ก็จะเก็บรวบรวมข้อมูลของลูกค้าไว้ได้ทั้งหมดถึงแม้ว่าจะเป็น Unknown customer ก็ตาม มากไปกว่านั้นตัว CDP ยังช่วยให้เราสามารถสร้างโปรไฟล์ลูกค้าของแต่ละคนเพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์เจาะลึกเพื่อนำไปทำ Personalized marketing ได้อีกด้วย

https://medium.com/@useinsider/what-is-a-customer-data-platform-cdp-and-how-does-it-compare-to-crm-dmp-and-personalization-7fa407795066

ข้อดีของของ CDP

  • CDP สามารถรวมกับระบบ API ต่างๆ ได้ เช่น POS หรือ ERP
  • CDP เก็บข้อมูลในแหล่งเดียวได้ ทำให้วิเคราะห์ได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น 
  • CDP สามารถเปิดเผยลักษณะของลูกค้าเพื่อใช้ทำการตลาดแบบ Personalized Marketing
  • CDP เก็บข้อมูลที่เป็นบริบท ประวัติย้อนหลัง และข้อมูลทั่วไปของลูกค้า แยกเป็นสัดส่วนได้แบบชัดเจน

ทิ้งท้าย

ทั้ง CDP และ CRM จะช่วยให้การดำเนินธุรกิจต่างๆภายในองค์กรทำงานได้ง่ายขึ้นและช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเป็นตัวช่วยตัดสินใจได้ดีขึ้นซึ่งเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจในระยะยาว (Long term plan) ขึ้นอยู่กับความต้องการเฉพาะของบริษัท

สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

แนะนำ 5 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ Email Marketing ทำอย่างไรเพื่อกระตุ้นการขายได้สบายๆ

มาทราบกันถึง 5 สิ่งที่เจ้าของแบรนด์ควรรู้ในการทำ Email Marketing เพื่อกระตุ้นการขายที่ยั่งยืนให้กับธุรกิจ

การทำธุรกิจออนไลน์ในปัจจุบันให้พบกับความสำเร็จได้จำเป็นต้องอาศัยเทคนิคหรือกลยุทธ์มากมายในด้านการตลาด ที่สามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ และควรมีเครื่องมืออย่าง Marketing Automation อีกทั้งแบรนด์ต่างๆ ยังต้องมีช่องทางที่หลากหลาย เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่แตกต่างกันอย่างมีประสิทธิภาพ เจ้าของธุรกิจหลายท่านอาจนึกถึง Social Media หรือเว็บไซต์ออนไลน์เป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตามการส่ง Email Marketing ก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่น่าสนใจมากในปัจจุบัน

วันนี้ Connect X จึงขอมาแนะนำถึง 5 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ Email Marketing ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ และกระตุ้น Conversion ให้ธุรกิจ

การตลาดผ่าน Email เป็นอย่างไร?

Email หรือ Electronic Mail ที่เข้ามาแทนที่การส่งจดหมายผ่านไปรษณีย์นั้นถือได้ว่าเป็นหนึ่งในช่องทางแรกๆ ของการโฆษณาในยุคที่สื่อดิจิทัลกำลังพัฒนา และยังเป็นช่องทางการสนทนาระหว่างบุคคลและการทำงานในทุกๆ วันอีก  ด้วยเหตุนี้นักธุรกิจและนักการตลาดจึงไม่รอช้าที่จะทำการประชาสัมพันธ์แบรนด์ สินค้าและบริการผ่านช่องทางนี้นั่นเอง

การเริ่มทำ Email Marketing สอดคล้องกับสถิติต่างๆ ทั่วโลกเช่น

  • ในปี 2019 มีผู้ใช้อีเมลทั่วโลกกว่า 3.9 พันล้านคน คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 4.3 พันล้านภายในปี 2023
  • 81% ของธุรกิจขนาดเล็กยังคงใช้อีเมลเป็นช่องทางการหาลูกค้าหลัก
  • 49% ผู้บริโภคต้องการรับอีเมลจากแบรนด์ที่ตนเองชอบ

ในปัจจุบันนี้ก็มีอีเมลการตลาดหลากหลายรูปแบบ อาทิ Behavioral Email, Inaugural Emails, Promotional Email, ฯลฯ ที่มีตัวช่วยอย่างระบบ CRM ที่คอยเก็บข้อมูลต่างๆ และ Marketing Automation สำหรับส่งอีเมลประชาสัมพันธ์ให้แก่ลูกค้าแบบอัตโนมัติ

5 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ Email Marketing กระตุ้นการขายให้ธุรกิจ

มาถึงเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับการทำ Email Marketing เพื่อให้ธุรกิจสามารถสร้างยอด Conversion กระตุ้นการขายผ่านช่องทางอีเมลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้ง 5 ข้อจะมีอะไรบ้างนั้น? มาดูพร้อมกันเลย

1. การวางกลยุทธ์นั้นต้องเหมาะสมกับแคมเปญ

“แคมเปญการตลาดของคุณมีเป้าหมายอะไร?” ก่อนที่จะเริ่มส่งอีเมลไปยังกลุ่มลูกค้า อย่างน้อยคุณจะต้องตั้งเป้าหมายก่อนว่า อีเมลที่จะส่งไปนี้ทำขึ้นเพื่ออะไร  รวมไปถึงการกำหนดยอด Conversion Rate ที่คาดหวังไว้ด้วย ว่ามีเปอร์เซ็นต์ที่มีผู้เปิดอ่านเท่าไหร่ หรือจำนวนคลิกเท่าไหร่ ทั้งนี้ก็เพื่อนำมาวิเคราะห์ในภายหลังว่า ผลลัพธ์เป็นไปตามที่คาดเอาไว้หรือไม่ และควรแก้ไขจุดบกพร่องตรงไหนบ้าง

ยกตัวอย่างเช่น การส่ง Promotional Email นำเสนอโปรโมชัน ซึ่งอีเมลแบบนี้จะเน้นการสร้างยอดขายและโฟกัสไปที่การคลิกลิงก์ไปยังหน้า Landing Page ส่วนการส่ง Newsletter การนำเสนอข่าวและคอนเทนต์ใหม่ๆ ของแบรนด์ เพื่อสร้างการรับรู้แบรนด์ (Brand Awareness) เป็นต้น

2. สร้างความประทับใจผ่านการ Personalization

หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ Email Marketing ประสบความสำเร็จ คือการสร้างเนื้อหาอีเมลที่ตรงใจเฉพาะบุคคลหรือการ Personalize ตามสิ่งที่ลูกค้าคนนั้นๆ สนใจนั่นเอง เพื่อสร้างความประทับใจและความรู้สึกพิเศษ ให้รู้สึกว่าอีเมลดังกล่าวเขียนมาเพื่อพวกเขาโดยเฉพาะ

อาจจะเริ่มโดยการเขียนชื่อของลูกค้าในอีเมล หรือส่งคอนเทนต์ที่ตรงกับความสนใจลูกค้า ซึ่งในการส่ง Personalized Email เช่นนี้ ระบบ CDP หรือ ระบบ CRM ที่มี Marketing Automation นั้นสามารถช่วยเก็บรวบรวมข้อมูลลูกค้า ทั้งพฤติกรรมและความสนใจ ช่วยให้วิเคราะห์เนื้อหาที่เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายได้ อย่างไรก็ตามในการเก็บข้อมูลลูกค้านั้นจำเป็นต้องปฏิบัติตาม พรบ. PDPA ด้วย

3. ทำ A/B Testing วัดประสิทธิภาพเนื้อหา

การได้ทราบถึงจุดบกพร่องหรือข้อผิดพลาดในแคมเปญ แบรนด์สามารถนำข้อเสียเหล่านั้นมาปรับปรุงและสร้างเนื้อหาที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม การทดสอบระบบการส่งอีเมล หรือทดลองนำเสนอคอนเทนต์ในรูปแบบที่แตกต่างกัน เพื่อหาสิ่งที่ผู้รับต้องการมากที่สุด ก็จะส่งผลให้ผลลัพธ์การเปิดอ่านเพิ่มมากขึ้น และนำไปสู่ Conversion Rate ที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการทำ A/B Testing

A/B Testing คือการส่งคอนเทนต์ที่แตกต่างกันไปให้กับผู้อ่านกลุ่มเดียวกัน และทำการเปรียบเทียบว่า คอนเทนต์แนวไหนมีผู้เปิดอีเมลอ่านมากกว่ากัน ซึ่งการทดสอบแบบนี้ ก็สามารถทำได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนชื่อหัวข้ออีเมล เปลี่ยนภาพกราฟิก การเปลี่ยนเนื้อหาภายใน หรือแม้กระทั่งภาษาการเขียนที่ใช้ในประโยค Call to Action ทำการทดสอบไปเรื่อยๆ และสังเกตว่าเป้าหมายของคุณชอบหรือสนใจอีเมลแบบไหนมากกว่ากัน

4. Call To Action สำคัญไฉน

จากข้อข้างต้น หากผู้อ่านเกิดชื่นชอบคอนเทนต์หรือสนใจโปรโมชันในอีเมลนั้นแล้ว แต่ไม่รู้ว่าจะต้องทำอะไรต่อไปหรือต้องเข้าไปซื้อสินค้าจากที่เว็บไซต์ไหน ก็อาจทำให้แบรนด์สูญเสีย Conversion และโอกาสในการขายไปได้ ดังนั้นปุ่ม Call To Action (CTA) หรือข้อความกระตุ้นการกระทำจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ Email Marketing ขาดไม่ได้เลยทีเดียว

โดยภายในอีเมลนั้น คุณสามารถที่จะทำปุ่ม CAT ได้ ขึ้นอยู่วัตถุประสงค์ อาทิ Book Now สำหรับการจองบริการ, ปุ่ม Visit Us เพื่อนำลูกค้าไปยังเว็บไซต์ หรือปุ่ม Buy Now เป็นทางลัดให้ลูกค้าที่สนใจได้ซื้อสินค้าในทันทีนั่นเอง

5. เครื่องมือทันสมัย ตอบโจทย์ธุรกิจให้รุ่ง

อย่างที่ Connect X คอยบอกเสมอว่าเครื่องมือ Marketing Automation จะช่วยเหลือแบรนด์ให้การทำการตลาดให้ง่ายยิ่งขึ้นได้ ซึ่งเจ้าของธุรกิจก็ควรเลือกใช้แพลตฟอร์มที่มีฟีเจอร์ครอบคลุมการตลาดทั้งหมด สร้าง Centralized Process เพื่อการดำเนินงานที่ไหลลื่นกว่า ใช้เวลาน้อยกว่า และทรงประสิทธิภาพกว่าเดิม โดยเฉพาะ CDP หรือ Customer Data Platform ที่ครอบคลุมรอบด้านของการตลาดออนไลน์

Connect X เป็นเครื่องมือ CDP และ Marketing Automation ที่ช่วยวิเคราะห์และเก็บข้อมูลลูกค้าอย่างเป็นระบบ รู้ลึกถึง Customer Insight แบบ 360° สามารถ Integrate กับ API ได้หลากหลาย ส่วนในด้านการตลาด Connect X ก็สามารถรวบรวมช่องทางการสื่อสารไว้ได้ในที่เดียว ไม่ว่าจะเป็น Facebook Messenger หรือ LINE Official Account อีกทั้งยังรองรับ Customer Journey แบบ Cross Channel นั่นคือหากลูกค้าไม่เปิดอ่านอีเมล ระบบจะทำการส่งข้อความหรือโปรโมชันต่างๆ ไปผ่านช่องทางอื่นๆ ให้อัตโนมัติ รับรองว่ายอด Conversion เพิ่มขึ้นสูงอย่างแน่นอน

ในบทความนี้ ทุกท่านก็ได้ทราบถึง 5 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ Email Marketing ไปแล้ว และหากสนใจเครื่องมือสุดล้ำที่จะช่วยให้การตลาดเป็นไปอย่างราบรื่น สามารถติดต่อพวกเรา Connect X ตามรายละเอียดด้านล่างได้เลย

สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

อัปเดต 5 เทรนด์ Email Marketing ที่ผู้ประกอบการต้องรู้ในปี 2022

เชื่อว่าใครที่มีประสบการณ์ในการทำการตลาดออนไลน์คงรู้กันดีว่า ตลอดปี 2022 ที่ผ่านมา ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเกิดขึ้นของเทคโนโลยีใหม่ๆ มากมาย ส่งผลให้โลกของการตลาดออนไลน์มีการแข่งขันที่สูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ผู้ประกอบการมือใหม่หลายคนอาจเกิดความรู้สึกกังวล เพราะไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นใช้เครื่องมือไหนหรือวิธีการใดที่จะสามารถตอบสนองความต้องการตามพฤติกรรมของผู้บริโภคสมัยใหม่ได้

แน่นอนว่าหากต้องการประสบความสำเร็จในการทำการตลาดออนไลน์ จำเป็นต้องรู้จักใช้กลยุทธ์ที่หลากหลาย หนึ่งในนั้นคือการรู้จักเข้าหากลุ่มเป้าหมายที่ต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อที่จะสร้างความสัมพันธ์ต่อกันในระยะยาว ปัจจุบันหนึ่งในกลยุทธ์ดังกล่าวที่มีประสิทธิภาพในการสื่อสารระหว่างแบรนด์และกลุ่มเป้าหมายคือการทำ Email Marketing ดังนั้นในบทความนี้ Connct X จะพาทุกคนมาอัปเดต 5 เทรนด์ Email Marketing เพื่อให้แน่ใจว่ากลยุทธ์การตลาดออนไลน์จะประสบความสำเร็จตลอดปี 2022 ถ้าพร้อมแล้ว ไปดูกันเลย

อัปเดต 5 เทรนด์ Email Marketing ในปี 2022

1.รองรับตลาดมือถือ

หากเป็นสมัยก่อนเมื่อพูดถึงกลยุทธ์การทำ Email Marketing มักจะครอบคลุมแค่เพียงการแสดงผลบนเดสก์ท็อปเท่านั้น แต่ในปัจจุบันต้องยอมรับว่าเทรนด์การใช้งานอุปกรณ์มือถือหรือสมาร์ทโฟนต่างๆ เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ขาดไปไม่ได้ของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตยุคใหม่ แต่ข้อควรระวังสำหรับแบรนด์และนักการตลาดในการใช้กลยุทธ์ Email Marketing คืออีเมลจะต้องมีความน่าสนใจที่มากขึ้นกว่าเดิม ไม่ว่าจะใช้การดึงดูดด้วยเนื้อหา วิธีการนำเสนอ หรือข้อมูลเชิงลึกต่างๆ ที่ตรงกับความต้องการของผู้อ่านมากขึ้น เพราะด้วยการใช้งานมือถือของผู้บริโภคก็พร้อมที่จะลบทิ้งทันทีหากพบว่าเนื้อหาในอีเมลไม่สามารถดึงดูดใจได้

2.วิดีโอคอนเทนต์

หลายคนที่มีประสบการณ์การทำการตลาดออนไลน์ คงรู้ดีว่าเทรนด์ของวิดีโอคอนเทนต์กำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น โดยเฉพาะ Short Video หรือคลิปวิดีโอสั้นๆ ซึ่งใครที่ต้องการยอด Engagement ไม่ว่าจะในแพลตฟอร์มใดก็ตามจำเป็นที่จะต้องใช้วิดีโอคอนเทนต์เป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญ ดังนั้นในการทำ Email Marketing ในปี 2022 นี้ก็คงหนีไม่พ้น การผลิตวิดีโอคอนเทนต์ อย่างคลิปสั้นๆ เพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคยุคใหม่ได้ง่ายขึ้น อย่างการแนะนำสินค้า สาธิตการใช้งาน หรือการแก้ปัญหาต่างๆ ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคนั่นเอง

3.ผสมผสานความ Minimal และ Interactive

อีกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญของกลยุทธ์ Email Marketing คือการใส่ใจในทุกข้อความที่จะปรากฎต่อหน้าผู้รับชม เพราะอย่าลืมว่าการส่งอีเมลเป็นการสื่อสารระหว่างผู้ให้และผู้รับ ดังนั้นการเพิ่มแรงจูงใจในการเปิดอ่านจะเป็นการเพิ่มโอกาสให้แบรนด์ของคุณแซงหน้าคู่แข่งในตลาดได้อย่างแน่นอน

เหนือสิ่งอื่นใดในปี 2022 การสร้างอัตลักษณ์ของแบรนด์เป็นสิ่งสำคัญ ประกอบกับเทรนด์ฮิต Minimal Style ที่ชนะแทบทุกสิ่งในตอนนี้ ซึ่งหนีไม่พ้นกับการทำ Email Marketing ที่การเขียนในแบบนี้จะช่วยให้ผู้อ่านรู้สึกสะอาดตา มีความกระชับ และมีการเรียบเรียงให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่ายที่สุด อย่างไรก็ตาม ไม่ควรที่จะใช้การเขียนแบบเรียบง่ายเพียงอย่างเดียว การใช้ Interactive Emails เพื่อช่วยกระตุ้นการตอบสนองของผู้รับชมก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ควรทำควบคู่กันไป เช่น การมีภาพแบบ Carousels เพื่อการนำเสนอสินค้า มีภาพอนิเมชั่นเพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าคลิกหน้า Landing Page เป็นต้น

4.ให้ความสำคัญกับ Data Privacy

ในปี 2022 ปฏิเสธไม่ได้ว่าเทรด์ในการเก็บข้อมูลของแบรนด์และนักการตลาดเปลี่ยนไปอย่างมหาศาล  ด้วยความสำคัญของ Data Privacy หรือความเป็นส่วนตัวของข้อมูล ที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการทำการตลาดออนไลน์โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำ Email Marketing

อย่างในประเทศไทยเองก็เริ่มมีการประกาศใช้ข้อบังคับกฎหมาย PDPA ที่ให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ทำให้ทั้งแบรนด์และนักการตลาดจำเป็นที่จะต้องศึกษาและให้ความสำคัญกับข้อกฎหมายดังกล่าวไปพร้อมกับการทำกลยุทธ์การตลาดให้มีประสิทธิภาพ ที่สำคัญคือการเก็บข้อมูลต้องได้รับอนุญาตจากลูกค้าก่อนเสมอ รวมไปถึงข้อมูลต้องสามารถเปิดเผยได้อย่างโปร่งใส รับรองว่าผลลัพธ์ที่ได้จะทำให้แบรนด์เติบโตได้อย่างยั่งยืนอย่างแน่นอน

5.เลือกใช้เครื่องมือที่ตอบโจทย์

การทำการตลาดออนไลน์ให้มีประสิทธิภาพ ในปัจจุบันไม่ใช่แค่การรู้ใจลูกค้าเพียงอย่างเดียว แต่ต้องสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าในทันทีให้ได้ด้วย แน่นอนว่าหนึ่งในตัวเลือกที่เหมาะสมของแบรนด์และนักการตลาด คือการเลือกใช้แพลตฟอร์ม Marketing Automation ที่ถูกออกแบบมาเพื่อการตลาดออนไลน์โดยเฉพาะ ที่ต้องมีฟีเจอร์ต่างๆ อย่าง ระบบ CRM ที่เข้ามาเป็นตัวช่วยในการทำการตลาดออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงข้อมูลลูกค้า การเก็บข้อมูลและสร้างฐานข้อมูลต่างๆ เพื่อนำไปใช้ในการบริหารความสัมพันธ์ในระยะยาวกับลูกค้าหรือนำไปสร้างแคมเปญการตลาดในช่องทางแพลตฟอร์มต่างๆ อีกทั้งยังเป็นการลดต้นทุน ทั้งในเรื่องของเวลาและเงินลงทุนในระยะยาวอีกด้วย บอกได้เลยว่าหากเลือกเครื่องมือที่ตอบโจทย์การทำงานและความต้องการของลูกค้าได้จริงผลลัพธ์มีแต่ได้ไม่มีเสียอย่างแน่นอน

ทิ้งท้าย

เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับเทรนด์ใหม่ๆ ที่ Connect X ได้นำมาฝากกันในวันนี้ ขอบอกเลยว่า การเรียนรู้และศึกษาเทรนด์ใหม่ๆ ในโลกของการตลาดออนไลน์เป็นข้อบังคับขั้นพื้นฐานสำหรับแบรนด์และนักการตลาดมือใหม่ทุกคน หากไม่อยากให้คู่แข่งนำหน้า ต้องรู้จักใช้เทคนิค “รู้เขารู้เรา” เพื่อให้สามารถนำหน้าคู่แข่งของคุณอยู่เสมอ รับรองได้เลยว่าเทรนด์ 5 ข้อด้านบนสามารถนำไปปรับใช้กับแผนการตลาดออนไลน์ได้ทันที

สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

เอาชนะตลาด E-Commerce ด้วยกลยุทธ์การตลาดผ่านระบบ Marketing Automation

ใครที่กำลังเริ่มต้นประกอบธุรกิจ E-Commerce ต้องไม่พลาดที่จะรู้จักระบบ Marketing Automation เพื่อให้แน่ใจว่าแบรนด์จะสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ตรงจุด

ตอนนี้เรากำลังเดินทางเข้าสู่ในช่วงท้ายปี 2022 แล้ว ซึ่งก็ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งปีที่เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในแทบทุกกลุ่มอุตสาหกรรม ไม่เว้นแม้แต่ในโลกการตลาดออนไลน์ ที่แบรนด์ต่างๆ ต้องหาเครื่องมือใหม่ๆ เข้ามาเป็นตัวช่วยท่ามกลางการแข่งขันที่สูงเพิ่มขึ้นอย่างไม่มีท่าทีว่าจะลดลงในเร็ววัน โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) ที่มีความจำเป็นต้องอาศัยข้อมูลเชิงลึกต่างๆ เพื่อสร้างสรรค์แคมเปญการตลาดให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างตรงจุดมากขึ้น

สำหรับแบรนด์และนักการตลาดมือใหม่ที่กำลังเริ่มต้นธุรกิจ E-Commerce และกำลังมองหาเทคโนโลยีหรือเครื่องมือที่จะเข้ามาช่วยให้การทำการตลาดสะดวกรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพการทำงานที่เพิ่มขึ้น การใช้เครื่องมืออย่างระบบการขายอัตโนมัติหรือ Marketing Automation ก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่เหมาะสม เพราะว่าสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันส่งผลให้หลายธุรกิจต้องรู้จักปรับตัวให้ไวมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ลองนึกภาพดูว่าหากคู่แข่งของคุณมีการปรับตัวได้ไวกว่าอย่างการเริ่มใช้ระบบ CRM, Sales Automation หรือใช้ AI Automation ต่างๆ กันไปแล้ว แต่หากว่าหลังบ้านธุรกิจของคุณยังคงยึดติดกับระบบการขายแบบดั้งเดิมอยู่ บอกได้เลยว่าอีกไม่นานคงอาจจะต้องเตรียมตัวบอกลาธุรกิจของคุณในเร็ววันเลย

ดังนั้นในบทความนี้ Connect X จะพาทุกคนไปรู้จักกับการใช้เครื่องมือ Marketing Automation ในธุรกิจ E-Commerce ให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างยอดขายอย่างก้าวกระโดด ถ้าพร้อมแล้ว ไปดูกันเลย

Marketing Automation คืออะไร?

สำหรับใครที่มีประสบการณ์การทำงานในสาย Digital Marketing คงคุ้นเคยกับคำว่า Marketing Automation กันเป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเทคโนโลยีในปัจจุบันเริ่มเข้ามามีบทบาทในแวดวงการตลาดออนไลน์มากขึ้น ใครที่ไม่รู้จักเชื่อว่าหลายคนคงเคยเจอ Marketing Automation กันโดยไม่รู้ตัว อย่างเช่นการช้อปปิ้งออนไลน์ตามแพลตฟอร์ม E-Commerce ต่างๆ ไม่ว่าจะบนแอปฯ หรือบนเว็บไซต์ก็ตาม ในบางครั้งคุณอาจมีความรู้สึกสงสัยว่า “ทำไมแพลตฟอร์มเหล่านี้ถึงรู้ว่าเรากำลังมองหาสินค้าอะไรอยู่?” หรือบางทีก็มีอีเมลเสนอโปรโมชันพิเศษเข้ามาในจังหวะเวลาที่กำลังนึกถึงสินค้านั้นๆ อยู่แบบพอดิบพอดี ทำให้ในที่สุดก็ต้องเสียเงินให้กับร้านค้านั้นไปแบบไม่รู้ตัว ใครที่เคยผ่านประสบการณ์ต่างๆ เหล่านี้มาแล้ว บอกได้เลยว่าคุณกำลังตกอยู่ในวังวนของกลยุทธ์การตลาดผ่านระบบ Marketing Automation ไปเรียบร้อยแล้ว

ในทางเทคนิค ระบบ Marketing Automation ที่นักการตลาดนิยมใช้กันจะมีหลักการปฏิบัติที่เข้าใจไม่ยาก คือการใช้ซอฟต์แวร์ที่ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะ ให้มีหน้าที่เข้ามาช่วยจัดกิจกรรมทางการตลาดโดยอัตโนมัติ โดยจะเริ่มจากการเก็บข้อมูลเชิงลึกของลูกค้า ผ่านวิธีการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการคลิกอ่านบทความ การสมัครสมาชิก ดาวน์โหลด ข้อมูลคุ้กกี้ (Cookies) และอื่นๆ จากนั้นระบบ  AI จะเข้ามาช่วยประมวลผลข้อมูลและเลือกนำเสนอคอนเทนต์หรือสร้างแคมเปญ ต่างๆ ที่ตรงใจกลุ่มเป้าหมายในจังหวะและเวลาที่เหมาะสมที่มีโอกาสในการขายสินค้าได้มากที่สุดนั่นเอง

เอาชนะตลาด E-Commerce ด้วย Marketing Automation

อย่างที่บอกว่าระบบการขายอัตโนมัตินี้โดดเด่นอย่างมากในการเก็บข้อมูลของกลุ่มเป้าหมายและนำเสนอคอนเทนต์หรือสร้างแคมเปญการตลาดที่ตรงใจลูกค้าได้แบบ Real-Time จึงเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่เหมาะสมในการนำมาใช้กับธุรกิจแบบ E-Commerce ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

ลองมาดูประโยชน์ 3 ข้อ ในการทำ Marketing Automation กัน

  • รวมทุกช่องทางการสื่อสารไว้ที่เดียว – ในปัจจุบันผู้บริโภคในตลาด E-Commerce ทั่วไป มีการใช้ช่องทางการติดต่อสื่อสารในแพลตฟอร์มที่หลากหลาย ดังนั้นระบบ Automation ส่วนมาก จึงมีการออกแบบให้รองรับการรวบรวมข้อมูลของกลุ่มเป้าหมายจากช่องทางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Messenger, LINE, Instagram ฯลฯ เพื่อให้เก็บรวมในที่เดียวกัน เพื่อให้แบรนด์หรือนักการตลาดเห็นภาพรวม และเข้าใจความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้มากยิ่งขึ้น ส่งผลให้การวิเคราะห์หาข้อมูลเชิงลึกต่างๆ สามารถทำได้ง่าย แม่นยำ และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • ลดภาระการทำงานและเพิ่มประสิทธิภาพ 2 เท่า – ธุรกิจ E-Commerce เป็นอีกหนึ่งตลาดที่มีแนวโน้มการแข่งขันที่สูงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องมีการควบคุมต้นทุนให้อยู่ในกรอบเสมอ โดยการใช้ระบบ Marketing Automation เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่สามารถช่วยลดต้นทุนได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างเช่น หน้าที่การเก็บข้อมูลหรือสถิติในเว็บไซต์ต่างๆ ที่อาจจะเคยใช้พนักงานในการดูแลส่วนนี้ แต่เมื่อใช้ระบบนี้เข้ามาช่วยก็สามารถจัดการหน้าที่ดังกล่าวได้แบบเบ็ดเสร็จ ลดการทำงานที่ซ้ำซ้อน อาจมีการใช้เพียงแค่ไม่กี่คนในการมอนิเตอร์ระบบเท่านั้น พูดได้เลยว่าสามารถควบคุม Sale Process ได้ตั้งแต่ต้นจนจบ
  • วางแผนงานในระยะยาวได้ง่ายขึ้น – การทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายให้มากที่สุดเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญในการทำการตลาดออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเก็บรวบรวมข้อมูลนำมาต่อยอดและพัฒนากลยุทธ์การตลาดในแนวทางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาเว็บไซต์ ทำ Content Marketing หรือเป็นการสื่อสารในวิธีการอื่นๆ  ดังนั้นระบบการขายอัตโนมัติจึงเป็นเครื่องมือที่เหมาะสมที่สุดเพื่อให้แบรนด์ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ

ทิ้งท้าย

จบไปแล้วสำหรับข้อมูลดีๆ ของการใช้งานระบบ Marketing Automation ในธุรกิจ E-Commerce ที่ Connect X ได้นำมาฝากกันในวันนี้ เชื่อว่าผู้ประกอบการมือใหม่หลายคนคงพอเห็นภาพรวมของระบบการขายอัตโนมัตินี้กันไปไม่มากก็น้อย สำหรับใครที่กำลังมองหา Marketing Platform ที่จะเข้ามาเป็นตัวช่วยทำการตลาดออนไลน์ให้กับธุรกิจอยู่ ก็อย่าลืมพิจารณาเครื่องมือที่สามารถรองรับความซับซ้อนของ Customer Journey ในปัจจุบัน เพราะการ Go Online ให้กับธุรกิจในยุคนี้เป็นเรื่องสำคัญที่จะมองข้ามไปไม่ได้

สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

Omni Channel กลยุทธ์การตลาดที่ทุกธุรกิจต้องใช้ในปัจจุบัน

พื้นฐานและกลยุทธ์ของ Omnichannel ทำไมมันถึงสำคัญอย่างมากในยุคปัจจุบัน (Digital)

ในบทความนี้จะมาแชร์ให้เพื่อนๆเกี่ยวกับพื้นฐานของกลยุทธ์ Omnichannel ว่าทำไมมันถึงสำคัญมีความสำคัญอย่างมากในปี 2022 และเพื่อให้เห็นภาพของแบรนด์ที่เป็นผู้นำ ในบทความนี้จะแสดงให้เห็นถึงสถิติแบบ Omni-channel เพื่อใช้สำหรับการตลาดและประสบการณ์ของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นบริษัทใหม่หรือบริษัทที่มั่นคงและมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับลูกค้าของบริษัท 

การเริ่มต้นแนวทางแบบ Omnichannel ด้วยข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญ ในการสร้างกลยุทธ์ Omnichannel จะต้องทำแผนที่เส้นทาง(Customer Journey) ที่ลูกค้าใช้ระบุแพลตฟอร์มและ Touchpoint ที่ผู้ใช้งานหรือลูกค้ากำลังเข้าชม Omnichannel ทำให้การเชื่อมต่อกับแบรนด์ง่ายขึ้นและเพิ่มประสิทธิภาพเส้นทางของลูกค้า(Customer Journey) จากในอดีตที่เคยมีประสบการณ์ที่แยกจากกันสำหรับทุกช่องทางที่ลูกค้าใช้ ประสบการณ์แบบ Omnichannel จะสร้างประสบการณ์ที่สอดคล้องกันตลอดทั้งเส้นทางของลูกค้า(Customer Journey) จากประสบการณ์ที่ราบรื่น ลูกค้าเกือบ 80 เปอร์เซ็นต์จึงชอบกลยุทธ์แบบ Omnichannel มากไปกว่านั้นกุลยุทธ์ Omnichannel ยังมีอัตราการรักษาลูกค้าไว้สูงกว่าแคมเปญแบบช่องทางเดียวถึง 90% เมื่อเทียบกับแคมเปญที่เน้นการตลาดช่องทางเดียว

https://www.dmit.co.th/en/zendesk-updates-en/what-omnichannel-customer-service-really-means/

Omnichannel marketing คืออะไร?

Ominichannel เป็นการผสมผสานระหว่างช่องทางต่างๆ เข้าด้วยกันดังเช่นในภาพข้างล่าง ซึ่งใช้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้าและเส้นทางของลูกค้า (Customer Journey) เพื่อช่วยให้ลูกค้านั้นได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดตั้งแต่การกดมาเจอหน้าสินค้า กระบวนการระหว่างซื้อ จนกระทั่งซื้อสินค้า การตลาดแบบช่องทาง Omni ใช้มุมมองที่เน้นผู้บริโภคเป็นศูนย์กลางของกลยุทธ์ทางการตลาด ผู้บริโภคสามารถโต้ตอบกับแบรนด์ต่างๆ ผ่านช่องทางต่างๆ มากมาย ตั้งแต่โซเชียลมีเดียไปจนถึงสายด่วนบริการลูกค้า(call center) แนวทางแบบ Omnichannel ช่วยให้มั่นใจว่าผู้บริโภคจะได้รับประสบการณ์เชิงบวกและสม่ำเสมอในแต่ละช่องทาง 

ขอยกตัวอย่างในเคสของ KFC โดยก่อนที่เราจะถึงร้านเราสามารถสั่งอาหารผ่านตัวแอพลิเคชั่นของ KFC โดยใช้ส่วนลดคูปองออนไลน์แต่เราเลือกที่จะไปจ่ายเงินที่ร้านและรับอาหารที่ร้านได้

ข้อดีและประโยชน์ของการทำ Omnichannel

ในปัจจุบันแบรนด์ส่วนใหญ่ยอมรับว่าวิธีการแบบ Omnichannel นั้นสามารถให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดแม้ว่าการนำรูปแบบกลยุทธ์ Omnichannel ไปใช้นั้นไม่ได้ง่ายแต่เมื่อทำอย่างถูกต้องแล้วกุลยุทธ์นี้จะมีประโยชน์มาก ผู้บริโภคทุกวันนี้คุ้นเคยกับการถูกส่งข้อความจากแบรนด์ต่างๆ ไม่ว่าจะผ่านช่องทางแอพลิเคชั่น sms หรือ E-mail และด้วยเหตุนี้การสร้างการมีส่วนร่วมกับลูกค้าจากทุกช่องทางนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญทำให้ลูกค้าไม่พลาดข่าวสารโปรโมชั่นใหม่ๆจากทางแบรนด์ เราจึงขอแบ่งเป็นข้อดีย่อยๆมาดังนี้

ประสบการณ์ผู้ใช้ที่ดีขึ้น : หมายความว่า omnichannel จะมุ่งเน้นไปที่ประสบการณ์ส่วนบุคคลทำให้เวลาที่แบรนด์ยิงแคมเปญออกไปผ่านสื่อช่องทางต่างๆเช่น แอพลิเคชั่น sms หรือ E-mail จะทำให้ผู้บริโภครู้สึกราวกับว่าแบรนด์ได้รู้จักตัวตนของเขาและรู้สึกมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับทางแบรนด์เพราะไม่ว่าลูกค้าจะสะดวกตอบกลับทางแบรนด์จากช่องทางไหนทางแบรนด์ก็สามารถรับรู้ได้ว่าคุณคือใคร

รายได้ที่เพิ่มขึ้น – อย่างที่ได้บอกไปในข้อข้างบนว่าแนวทางแบบ Omnichannel นั้นส่งเสริมให้ลูกค้ามีส่วนร่วมกับแบรนด์ผ่านช่องทางติดต่อหลากหลายช่องทาง การมีส่วนร่วมที่เพิ่มขึ้นและหลากหลายเหล่านี้ในแต่ละขั้นตอนของเส้นทางผู้ซื้อ(Customer Journey) สามารถช่วยเพิ่มรายได้ให้กับบริษัทจริง มีงานวิจัยแสดงให้เห็นแล้วว่าลูกค้าที่มีส่วนร่วมกับ Touchpoints หลายจุดมักจะมี Value มากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ การส่งข้อความที่ตรงเป้าหมายจะทำให้เกิดความภักดีต่อแบรนด์ ทำให้มีโอกาสมากขึ้นที่ลูกค้าจะซื้อของจากแบรนด์ของเราอีกครั้ง(เกิด Loytalty ซื้อซ้ำ)

ข้อมูลและการระบุแหล่งที่มาที่ดีขึ้น – การเป็น Omnichannel อย่างแท้จริงไม่ควรทำแค่สู่ประสบการณ์ของผู้ใช้กับแบรนด์ของเราท่านั้น แต่ควรรวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลของเราด้วย ด้วยการติดตามการมีส่วนร่วมผ่านช่องทางต่างๆ แบรนด์ต่างๆ จะเข้าใจมากขึ้นว่าเส้นทางของลูกค้าเป็นอย่างไร เมื่อใดและที่ใดที่ผู้บริโภคต้องการมีส่วนร่วม และแคมเปญใดที่สร้างมูลค่าได้มากที่สุด ข้อมูลทั้งหมดนี้สามารถนำกลับไปสู่กลยุทธ์ของคุณเพื่อสร้างแคมเปญที่ตรงเป้าหมายมากขึ้นและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายด้านสื่อ

What Is Omnichannel? {Examples, Pros & Cons, Strategy}

ก่อนจบ

หลังจากอ่านบทความจบแล้วทางทีมงาน ConnectX หวังว่าทุกท่านจะเข้าใจมากยิ่งขึ้นว่าการตลาดแบบ Omnichannel คืออะไร และเหตุใดจึงมีความสำคัญต่อแบรนด์และองค์กรทั่วโลก ปัจจุบันทุกบริษัทมีเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของตนเอง มีวิธีการที่ชัดเจนในการดึงดูดความสนใจของลูกค้าและสร้างรายได้ อย่างไรก็ตามเนื่องจากการรักษาลูกค้าในช่องทางเดียวในปัจจุบันค่อนข้างจำกัด การใช้วิธีการแบบ omnichannel จึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในปัจจุบันนั่นเอง

สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

Customer Journey มีความสำคัญอย่างไรกับการทำการตลาด

Connect-X จะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับ Customer Journey ในยุคปัจจุบันว่ามีความสำคัญอย่างไร

เพื่อนๆที่อ่านบทความนี้คงเคยได้ยินเกี่ยวกับกระบวนการทางการตลาดที่เรียกว่า Customer journey แต่ทราบหรือไม่ว่าคำเหล่านี้หมายถึงอะไรกันแน่ ? วันนี้ทาง ConnectX เลยเขียนบทความที่เกี่ยวกับ Customer Journey มาให้ได้อ่านกันค่ะ

อย่างแรกเราจะต้องเข้าใจเส้นทางของลูกค้ากันก่อน

การเดินทางของลูกค้า(Customer Journey) คือแผนที่เส้นทางที่ลูกค้าใช้ตั้งแต่การเข้ามาเลือกซื้อจนกระทั่งปิดการขาย เส้นทางของลูกค้า(Customer Journey) สามารถคดเคี้ยวและวนเวียนไม่เหมือนกับช่องทางการตลาดแบบเดิมในอดีตที่ยังไม่มีการขายแบบออนไลน์ ยิ่งลูกค้าเลือกซื้อขายของนานเท่าไหร่ เส้นทางของลูกค้า(Customer Journey) โดยเฉลี่ยก็จะยิ่งยาวขึ้นและซับซ้อนมากยิ่งขึ้นแต่นั้นก็เป็นข้อดีทำให้เรามีข้อมูลที่สามารถเก็บเพิ่มและนำไปวิเคราะห์ได้เพิ่มมากยิ่งขึ้น

การติดตามการเดินทางของลูกค้า(Customer Journey) อาจเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก ต้องใช้ข้อมูลมากมายในการค้นหาว่าลูกค้ากำลังทำอะไรอยู่ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อบางอย่างและอยู่ในขั้นตอนกระบวนการไหนแล้วในระหว่างซื้อ จึงเป็นการยากที่จะสร้างภาพที่แม่นยำ 100 เปอร์เซ็นต์(Customer Journey Map) แต่ถ้าเรามีข้อมูลที่เพียงพอ การศึกษาเส้นทางในการซื้อของลูกค้าจะมีเป็นประโยชน์มาก อย่างที่เกริ่นไปก่อนหน้าเพราะเราสามารถนำ Customer journey ที่ได้ไปวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงเส้นทางการเข้ามาของลูกค้าการซื้อของลูกค้ารวมทั้งกระทั่งช่องทางการปิดการขายว่าทำไมลูกค้าถึงได้เลือกซื้อผ่านช่องทางนี้ ช่องทางที่ลูกค้าได้เลือกซื้อดีกว่าช่องทางอื่นอย่างไรจึงนำไปสู่การทำ Personalize marketing ซึ่งการที่ดู Customer journey แน่นอนว่าคุณจะต้องดูทีละคนเก็บรวบรวมข้อมูล Data ของลูกค้าที่มีความเหมือนกันคล้ายคลึงกันแล้วจัดทำ segmentation เพื่อนำไปสู่การทำ Personalize marketing ต่อไป

Modern Consumer Journey: Everything You Need to Know

การเดินทางของลูกค้า (Customer Journey)

1. Awareness (การรับรู้)

การรับรู้หมายถึงสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการไปยังกลุ่มเป้าหมาย ในระหว่างขั้นตอนAwareness การเดินทางของผู้บริโภค(Customer journey)มีความสำคัญอย่างมากลูกค้าจะค้นหาโซลูชันและพบกับแบรนด์และผลิตภัณฑ์ที่มากมายแต่เราจะทำอย่างไรให้ลูกค้าเกิดความสนใจและหยุดที่เรา

ดังนั้นสิ่งที่เราต้องรู้ในขั้นตอนของ Awareness คือ

สิ่งที่ผู้บริโภคกำลังทำ: ในขั้นตอนนี้ ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะทำการค้นหาข้อมูลและเปรียบเทียบจากหลายแหล่ง ซึ่งอาจรวมถึงการค้นหาวิธีแก้ไขปัญหาจากKeyword ที่สำคัญ การอ่านโพสต์ในบล็อกและบทความข่าวหรือการเรียกดูฟอรัมออนไลน์

แบรนด์สามารถทำอะไรได้บ้าง: ลูกค้าหรือผู้บริโภคจะต้องตั้งคำถามเสมอว่าแบรนด์หรือสินค้าที่จะเลือกซื้อมานั้นจะช่วยแก้ไขปัญหาและตอบโจทย์เราอย่างไรเมื่อซื้อสินค้าหรือบริการแล้ว

อย่างไรก็ตามเราคงไม่อยากที่จะให้ลูกค้าเข้าถึงการรับรู้ถึงแบรนด์เพียงอย่างเดียวนั่นจึงนำไปสู่ข้อถัดไปก็คือให้ลูกค้าเกิดการพิจราณา(Consideration) แบรนด์หรือสินค้าของเรา

2. Consideration (การพิจารณา)

ในขั้นตอนนี้แบรนด์จะให้ความสำคัญอย่างมากกับโปรโมชั่นในระหว่างขั้นตอนการพิจารณา(Consideration) นี่คือจุดที่ลูกค้าเริ่มมองหาทางเลือกอื่นนอกเหนือจากการซื้อในอดีตหรือร้านเดิมที่เคยซื้อหรือใช้บริการ ในระหว่างขั้นตอนนี้สินค้าหรือบริการของเราจะต้องพยายามโน้มน้าวให้ผู้ที่มีโอกาสเป็นลูกค้าหรือมีโอกาสจะซื้อรวมเราไว้ในรายการตัวเลือกร้านที่จะซื้อเพื่อพิจราณาต่อไป

แบรนด์ของเรามักจะได้รับการพิจารณา(Consideration) ควบคู่ไปกับแบรนด์อื่นๆอย่างแน่นอนดังนั้นเราจึงต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าทุกๆ Journey ของลูกค้าจะต้องสร้างความประทับใจให้กับลูกค้า

ณ จุดนี้ ผู้บริโภคจะมีการพูดคุยโต้ตอบโดยตรงกับแบรนด์ และเราจะต้องพยายามให้ลูกค้าอยู่บน Customer journey ของเราให้ได้

ถึงตรงนี้ลูกค้าสามารถทำการค้นหาแบรนด์และผลิตภัณฑ์เฉพาะ เปรียบเทียบคู่แข่ง ซึ่งอาจรวมถึงการดูข้อกำหนดและคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์และบริการอย่างใกล้ชิด การตรวจสอบนโยบายการสนับสนุนลูกค้า และการดูรีวิวจาก KOL หรือ Influencer

สิ่งที่แบรนด์สามารถทำได้คือ ให้ความสำคัญกับประสบการณ์ผู้ใช้ (UX) เพิ่มประสิทธิภาพ UX อย่างต่อเนื่องในทุกๆ Touchpoint รวมถึงธุรกรรมอีคอมเมิร์ซและหน้าคำอธิบายโดยต้องง่ายรวดเร็วและกระชับ

ตัวอย่างเช่น คนๆ หนึ่งรู้ตัวว่ากำลังหิวและสามารถมองหาร้านอาหารในแอปอย่าง Google Maps ได้

สมมติว่าธุรกิจของเรามีองค์ประกอบที่ครบตามที่ Google maps ให้ใส่ เช่น มีข้อมูลเกี่ยวกับประเภทอาหารที่ขาย เมนู รูปภาพของสถานที่และอาหาร หมายเลขโทรศัพท์ และคำวิจารณ์เชิงบวกจากลูกค้าที่จริงใจ ในกรณีนี้ เราอาจทำให้ลูกค้าคิดว่าเราเป็นทางเลือกที่ยอดเยี่ยมสำหรับสิ่งที่พวกเขากำลังมองหาร้านอาหารดีดีสักที่

3. Purchase (การซื้อ)

เมื่อลูกค้าได้รับข้อมูลได้มากระดับหนึ่งและพิจราณาแล้วว่ารู้สึกมั่นใจว่าสินค้านี้ดีเเละจะตอบโจทย์ความพึงพอใจของลูกค้าได้ จึงตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการนั้นๆ

ในขั้นตอนการซื้อนั้น ผู้ให้บริการหรือผู้ที่ขายสินค้าจะต้องทำอย่างไรก็ได้ที่จะให้ลูกค้าสะดวกสบายในการจ่ายเงินมากที่สุด ตัวอย่างเช่น ลูกค้ามีช่องทางการชำระเงินที่หลากหลาย Ex. บัตรเครดิต บัตรเดบิต โอนผ่านบัญชีธนาคาร ชำระผ่านตัวกลางอย่างเช่น Shopeepay หรือ ผู้ให้บริการบางรายในปัจจุบันสามารถให้ลูกค้าเลือกผ่อนชำระได้ และมากไปกว่านั้นสามารถจ่ายเป็นคริปโตได้อีกด้วย

ดังนั้นขั้นตอนการซื้อหลังจากที่ลูกค้าพิจราณาแล้วจึงมีความสำคัญอย่างมากถ้าเกิดในระหว่างการซื้อสินค้าของลูกค้าเกิดเว็บล่ม ระบบไม่ทำงานอาจทำให้ลูกค้าบางรายเกิดการเปลี่ยนใจไปซื้อสินค้าจากแบรนด์คู่แข่งไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อมแทน

4. Retention (การใช้บริการซ้ำหรือการซื้อซ้ำ)

ในขั้นตอน Retention หมายถึง เมื่อลูกค้าเกิดความพึงพอใจใน Customer journey ตั้งแต่ Awareness Consideration และ Purchase แต่ไม่ใช่แค่นั้นเมื่อลูกค้าได้ลองใช้บริการหรือสินค้าแล้วและเกิดความพึงพอใจต่อ Product หรือ Service ก็สามารถทำให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำได้เช่นกัน ดังนั้นแบรนด์ควรมีช่องทางการสื่อสารกับลูกค้า เพื่อแจ้งโปรโมชั่น ข่าวสารส่วนลด รวมถึงสินค้าและบริการใหม่ๆ เพื่อช่วยกระตุ้นให้กลับมาซื้อซ้ำ และควรที่จะขอข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าไว้ด้วยเช่น E-mail เพื่อทำ E-mail marketing ส่งโปรโมชั่นส่วนลดต่างๆให้กับลูกค้า

และมากไปกว่านั้นประสบการณ์หลังการขายก็เป็นสิ่งสำคัญอย่างมากที่จะทำให้ลูกค้ากลับมาใช้บริการซ้ำหรือซื้อซ้ำ การให้บริการหลังการขายที่ดีจะทำให้เกิดการบอกต่อแบบปากต่อปากลูกค้าจะไปแนะนำเพื่อนหรือครอบครัวให้ใช้บริการหรือซื้อสินค้าของเราต่อไปเราเรียกว่า Advocacy

5. Advocacy (การบอกต่อหรือการสนับสนุน)

การที่จะเกิด Advocacy ได้ต้องมาจาก Customer experience ที่ดี อย่างที่บอกไปในข้อ 4 ว่า เมื่อลูกค้าได้รับประสบการณ์หลังการขายที่ดีจะทำให้เกิดการตลาดแบบบอกต่อแบบปากต่อปากการตลาดแบบปากต่อปากหรือบอกต่อ คือหนึ่งในวิธีทำการตลาดที่ทรงพลังมากที่สุด ลูกค้าจะไปแนะนำเพื่อนหรือครอบครัวให้ใช้บริการหรือซื้อสินค้าของเราต่อไป ซึ่งสามารถดึงดูดลูกค้าใหม่ๆมายังแบรนด์ได้ หลายๆคนตัดสินใจซื้อตามรีวิวจากเพื่อนร่วมงานหรือ KOL & Influencer เมื่อคนหนึ่งบอกเพื่อนคนหรือสองคนและคนอื่นๆ

เราสามารถที่จะจัดเป็นแคมเปญด้านการตลาดได้อีกด้วยอย่างเช่น Referrals แคมเปญ หมายถึงถ้าลูกค้าใช้สินค้าเราและคิดว่าดีขอให้ลูกค้าบอกต่อเพื่อนหรือคนในครอบครัวของลูกค้าและเมื่อลูกค้าบอกต่อแล้วเกิดการซื้อถึง 5 คนขึ้นไปโดยอ้างอิงจากชื่อของลูกค้าทางเราจะมี Vouncher เงินสดให้กับลูกค้ามูลค่า 1,000 บาทเพื่อใช้ซื้อของของทางแบรนด์เรา

โดยการที่จะทำ advocacy ได้นั้น เราต้องคำนึงถึงสิ่งสำคัญคือเส้นทางของการโฆษณาประชาสัมพันธ์ รวมถึงบริการต่างๆ ว่าสอดคล้องกับเส้นทางของลูกค้าหรือไม่ ดังนั้นเราก็ต้องย้อนกลับไปดูข้างบนเรื่อง Customer Journey การที่เราสามารถเข้าใจเส้นทางข้างลูกค้าจะทำให้เราเข้าไปอยู่ในเส้นทางของลูกค้าซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการขายและการบอกต่อเพื่อให้ผู้อื่นมาซื้อเช่นเดียวกันกับตัวลูกค้า

https://www.superoffice.com/blog/customer-journey/

สรุปสั้นๆจากบทความ

การที่เราสามารถรู้ Customer Journey ของลูกค้าได้นั้นมีความสำคัญอย่างมากในการทำการตลาดปัจจุบัน เพื่อปรับปรุงและแก้ไขข้อบกพร่องของเราเองเพื่อทำให้เกิดความประทับกับลูกค้าได้มากที่สุดตั้งแต่การเห็นสินค้าหรือแบรนด์ การพิจราณาเปรียบกับคู่แข่ง การซื้อสินค้าและการบริการหลังการขาย ไปจนถึงการซื้อซ้ำหรือบอกต่อของลูกค้า ทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวมานี้เราสามารถที่จะนำไปทำ Personalize marketing ได้จากข้อมูล journey โดยการแบ่ง segmentation และยิง ads แคมเปญหรือโปรโมชั่น

สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

รู้จักกับ “Social Chat” ระบบรวมแชทที่รวมทุกช่องทางไว้ในที่เดียว

แนะนำว่าระบบรวมแชทคืออะไร พร้อมบอกต่อฟีเจอร์ Social Chat ของ Connect X มีคุณสมบัติและประโยชน์ต่อแบรนด์อย่างเหนือขั้น

ปัจจุบันช่องทางการซื้อขายในรูปแบบ Social Commerce เป็นช่องทางที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก แบรนด์ต่างๆ จึงเริ่มปรับตัวและวางกลยุทธ์ทางการตลาดในด้านนี้มากขึ้น โดยเฉพาะการตลาดบน Social Media ที่หากแบรนด์ใดการตลาดบนโซเชียลมีเดียได้ดี ก็จะเป็นที่รู้จักและสามารถเพิ่มยอดขายได้มากขึ้น เนื่องจากเป็นช่องทางที่ผู้คนนิยมใช้งานมมากที่สุดในปัจจุบันนั่นเอง

ในยุคโซเชียลแบบนี้ สิ่งที่ไม่ควรมองข้ามเลยก็คือระบบการจัดการ ที่สามารถสนับสนุนธุรกิจให้บริการได้อย่างทันท่วงที รวดเร็วทันใจเหมาะกับพฤติกรรมผู้บริโภคในยุคสมัยปัจจุบัน ดังนั้น Connect X ขอชวนมาทำความรู้จัก “ระบบรวมแชท” ที่ช่วยอำนวยความสะดวกทั้งด้านการบริการและการจัดการภายในธุรกิจ ช่วยสร้างความประทับใจให้และสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้า อีกทั้งยังปิดการขาย เพิ่มกำไรได้ไวด้วย

ทำความรู้จักกับระบบรวมแชท

“ระบบรวมแชท” คือ โปรแกรมที่สามารถรวมแชทจากช่องทางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Facebook Messenger, LINE, Instagram ให้มาอยู่ในหน้าจอเดียวกัน เพื่อสร้างความสะดวกสบายให้กับธุรกิจผู้ให้บริการ ในการตอบคำถามลูกค้า บอกโปรโมชัน และปิดการขายได้ง่ายดาย

ทั้งนี้ยังมีฟีเจอร์ต่างๆ ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพิ่มเติม ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามผู้ให้บริการหรือผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ (Software Developer) แต่ละเจ้า ระบบรวมแชทไม่เพียงช่วยให้เหล่าแอดมินตอบลูกค้าได้ง่ายและรวดเร็วเท่านั้น แต่ยังสามารถช่วยเหลือในด้านการบริหารจัดการภายในธุรกิจได้อีกด้วย

Social Chat ระบบรวมแชทจาก Connect X พร้อมฟีเจอร์สุดปัง

ตอบกลับลูกค้าจากทุก Platform ยอดฮิต ได้ในหน้าจอเดียว สามารถเก็บข้อมูลของลูกค้าและสามารถติดตามได้ว่าลูกค้าทักมาจากช่องทางใด เคยติดต่อจากแพลตฟอร์มไหนมาก่อน เคยสนใจสินค้าอะไร ทำให้แอดมินตอบคำถามและให้คำแนะนำได้ตรงใจลูกค้ามากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้ปิดการขายและสร้างความประทับใจได้รวดเร็วกว่า

โดย Social Chat ของ Connect X รองรับช่องทางการแชทยอดนิยมมากมายอย่าง Facebook Messenger, LINE OA, Instagram, Website (Live Chat) ไปจนถึง Pantip (Social Listening) พร้อมฟีเจอร์แน่นๆ เพื่อช่วยเหลือแบรนด์อย่างรอบด้าน ได้แก่

  • Ticket Management – สามารถแชทลูกค้าจัดได้อย่างเป็นระบบและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้สูงสุด ทุกข้อความที่ลูกค้าทักเข้ามาใหม่ จะถูกส่งไปหาแอดมินที่ถูกแบ่งหน้าที่เอาไว้ หรือสามารถปรับแต่งได้ตามความเหมาะสมกับสถานการณ์ เพิ่มประสิทธิภาพในทุกการตอบกลับ แก้ปัญหาลูกค้าได้ทันที ปิดการขายได้เร็วกว่า
  • Agent Routing – แก้ไขปัญหาแอดมินตอบแชทช้า ด้วยการจัดการเส้นทางให้มีการตอบกลับ 2 รูปแบบ
  • Channel: ตั้งค่าให้แอดมินแยกตอบตามช่องทาง Social Media
  • Most Available: ตั้งค่าให้แอดมินที่ว่างที่สุดเป็นคนตอบแชทล่าสุดก่อน

นอกจากนี้ยังสามารถวัด Performance การทำงานของแอดมินแต่ละคนได้ ว่ามีการตอบกลับรวดเร็วแค่ไหน มีจำนวนในการตอบกลับเท่าไหร่ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและวัดผลได้เป็นอย่างดี

  • Customer Activity – สามารถเห็นทุกความเคลื่อนไหวของลูกค้า ตั้งแต่ก่อนที่ลูกค้าจะติดต่อมาในหน้าจอเดียว เช่น ลูกค้า Add LINE มาจาก โฆษณา (Ads) ตัวไหน และรู้ได้ว่าลูกค้าสนใจสินค้าอะไรก่อนที่จะทักเข้ามา ทำให้ทุกข้อความที่ตอบกลับไปสามารถสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าได้มากกว่า จนลูกค้าติดใจอยากกลับมาซื้ออีกครั้ง เพราะอยากได้รับประสบการณ์ดีๆ แบบนี้อีก
  • Marketing Automation – ช่วยสร้างการเข้าถึงลูกค้าด้วยแคมเปญการตลาดที่สร้าง Customer Journey ให้กับกลุ่มลูกค้าเก่าและกลุ่มลูกค้าใหม่ที่มีกิจกรรมหรือความสนใจคล้ายกัน โดยสามารถสร้าง Journey ในช่องทางที่หลากหลาย เช่น Email, SMS, Facebook, LINE, Web Push notification หรือ Mobile Push notification ซึ่งออกแบบได้ทั้งการส่งแบบ Recurring ตามเงื่อนไขของ Data เช่น Happy Birthday Campaign หรือ Campaign ตามเทศกาลสำคัญอื่นๆ
  • Collect Data to Re-Marketing – สามารถเก็บรายละเอียดบันทึกการขาย (Order) ในหน้าเดียวกันได้ ทำให้ข้อมูลลูกค้าและการขายจากช่องทางต่างๆ ถูกบันทึกเก็บไว้ที่เดียวกันแบบ Unify Customer Data เพื่อนำไปสร้าง แคมเปญหรือทำการ Retargeting ใน Channel อื่นๆต่อไป
  • Pantip Social Listening – ระบบที่เข้ามาช่วยสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์ในสังคมออนไลน์ โดยสามารถสร้าง Engagement และรับมือกับทุกดราม่าในกระทู้ได้ทันท่วงที ด้วยการจับ Keyword ในกระทู้ Pantip ให้แอดมินตอบกลับได้ทันที ทุกครั้งที่มีลูกค้าพูดถึงแบรนด์

จากที่กล่าวมาทั้งหมด เห็นได้ว่า Social Chat ระบบรวมแชทจาก Connect X เป็นเครื่องมือที่ช่วยบริหารจัดการแบรนด์ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และช่วยสร้างประสบการณ์ในการใช้บริการสุดประทับใจให้กับลูกค้าได้ไม่เหมือนใคร เพราะมีฟีเจอร์สุดเจ๋ง พร้อมยกระดับให้แบรนด์ของคุณสร้างยอดขายจนขึ้นเป็นแนวหน้าในอุตสาหกรรมเลยทีเดียว

สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

5 ขั้นตอนวางกลยุทธ์การตลาดด้วยระบบ CRM (Customer Relationship Management) เพื่อธุรกิจยุคใหม่

ใครที่อยู่ในแวดวง Tech หรือ Online Marketing คงคุ้นเคยกับระบบ Customer Relationship Management (CRM) ที่เป็นเครื่องมือที่ช่วยบริหารการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ โดยอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาเป็นตัวกลางระหว่างแบรนด์กับลูกค้าได้เป็นอย่างดี เนื่องจากในปัจจุบัน โลกมีธุรกิจใหม่ๆ เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่การตลาดออนไลน์จะมีการแข่งขันที่สูงขึ้นไปด้วย ผู้ประกอบการมือใหม่จำเป็นที่จะต้องมีเครื่องมือหรือตัวช่วยที่สามารถเข้าใจความต้องการของลูกค้าได้จริง และสามารถสื่อสารความต้องการได้อย่างตรงจุด

โดยระบบ Customer Relationship Management (CRM) เป็นเทคโนโลยีที่มีคอนเซปต์คือ  “การสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวกับลูกค้า ผ่านการเก็บข้อมูลเชิงลึก” จึงทำให้ธุรกิจรู้ได้ว่าอะไรคือสิ่งที่เหมาะสมต่อความต้องการของลูกค้า เพื่อที่จะนำเสนอสินค้าหรือบริการที่ตอบโจทย์ได้จริง เพราะว่าเทรนด์การบริโภคของผู้คนในยุคนี้เปลี่ยนไปอยู่เสมอ การตัดสินใจที่ผิดพลาดเพียงหนึ่งครั้งอาจส่งผลเสียที่ยากเกินแก้ไขได้ในระยะยาว ฉะนั้นแบรนด์ไหนที่ปรับตัวได้ไวรู้จักเลือกใช้เทคโนโลยีเข้ามาเป็นตัวช่วยได้ก่อน ก็จะได้เปรียบกว่าคู่แข่งในตลาดออนไลน์

ดังนั้นในวันนี้ Connect X จะพาผู้ประกอบการมือใหม่ทุกคนมาดู 5 ขั้นตอนวางกลยุทธ์การตลาดด้วยระบบ CRM เพื่อธุรกิจยุคใหม่กัน ถ้าพร้อมแล้ว ไปดูกันเลย

มารู้จักระบบ CRM ให้มากขึ้น

Customer Relationship Management หรือที่หลายคนเรียกกันว่า ระบบ CRM แท้ที่จริงแล้วเป็นเครื่องมือสำหรับการทำการตลาดออนไลน์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถค้นหากลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ ในขณะเดียวกันก็รักษาฐานลูกค้าเดิมให้อยู่กับแบรนด์ไปนานๆ ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบแคมเปญในช่องทางต่างๆ ทั้งการทำ Email Marketing ไปจนถึงการทำ Personalized Marketing ซึ่งเป็นการคิดแคมเปญหรือคอนเทนต์ที่ถูกจริตกับกลุ่มเป้าหมายที่แบรนด์ต้องการ โดยทั้งหมดจะอิงจากการเก็บข้อมูลเชิงลึกของลูกค้าผ่านพฤติกรรมการเข้าชมเว็บไซต์หรือประวัติการเข้าชมและซื้อสินค้า และตามแนวทางอื่นๆ ที่สำคัญคือการเก็บข้อมูลเหล่านี้ต้องเป็นไปตาม PDPA เพื่อให้ถูกต้องตามหลักข้อกฎหมายที่ต้องให้ความเป็นส่วนตัวต่อข้อมูลของลูกค้าให้มากที่สุด

 

โดยระบบบริหารความสัมพันธ์ลูกค้าหรือ CRM นี้ หากใช้อย่างถูกต้องจะส่งผลให้กลุ่มลูกค้าเกิดความประทับใจและเป็นการสร้าง Brand Loyalty ให้กับองค์กรในระยะยาว พูดง่ายๆ คือเครื่องมือนี้ไม่ได้เน้นเพียงแค่การขายเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงการเก็บรวบรวมและจัดการกับข้อมูลของลูกค้าเพื่อให้สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อแบรนด์ในแง่ของการพัฒนาและปรับปรุงแผนการตลาดออนไลน์ให้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นในอนาคตนั่นเอง

5 ขั้นตอนวางกลยุทธ์การตลาดด้วยระบบ CRM

สำหรับแบรนด์หรือนักการตลาดมือใหม่ที่กำลังสนใจในการใช้เครื่องมือ CRM แต่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรดี ConnectX จะมาแนะนำเทคนิคพื้นฐานที่ต้องรู้ เริ่มจาก

1.เก็บข้อมูลให้รอบด้าน

เหนือสิ่งอื่นใดหากต้องการให้เครื่องมือ CRM สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด แบรนด์หรือองค์กรจำเป็นที่จะต้องมีการสร้างฐานข้อมูลของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้มองเห็นภาพรวมทุกการ “ติดต่อ (Connect)” ของลูกค้าครบทุกมิติ โดยไม่ว่าจะในแผนกใดของแบรนด์ก็ตามจำเป็นที่จะต้องมีฐานข้อมูลลูกค้าชุดเดียวกัน เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าถึงข้อมูลลูกค้าทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นฝ่ายขาย ฝ่ายบริการ ฝ่ายการตลาด เป็นต้น พูดง่ายๆ ว่าหากแบรนด์หรือองค์กรสามารถจับคู่ทุกข้อมูลของลูกค้าให้รวมเป็นหนึ่งเดียวได้ ก็จะทำให้การทำงานในขั้นต่อไปมีความสะดวกและลดปัญหาต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในระยะยาวได้ด้วยนั่นเอง

2.ใช้ AI และ Big Data ให้สอดคล้องกับธุรกิจยุคใหม่

ต้องยอมรับว่าในปัจจุบันเทคโนโลยีสมัยใหม่มีความสามารถที่มีประสิทธิภาพเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ สอดคล้องกับเทรนด์การทำการตลาดออนไลน์ในปัจจุบันที่ไม่ใช่แค่รู้ใจลูกค้าเพียงเท่านั้น แต่แบรนด์ยังต้องตอบสนองความต้องการต่างๆ ของลูกค้าในทันที ดังนั้นการเลือกใช้เครื่องมือ CRM ที่มีระบบ AI ในการช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกหรือคาดการณ์ข้อมูลต่างๆ นับว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่จะขาดไปไม่ได้ เพราะระบบ AI จะช่วยให้งานของแบรนด์ลดน้อยลงแต่สามารถสื่อสารได้ตอบโจทย์ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้ตรงจุดมากขึ้น เหมือนยิงปืนนัดเดียวได้นกถึงสองตัวนั่นเอง

3.กำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัด

หากแบรนด์เลือกใช้เครื่องมือที่มีเทคโนโลยี AI หรือ Big Data แล้ว นั่นหมายถึงการคาดการณ์กลุ่มเป้าหมายที่มีแนวโน้มจะเปลี่ยนเป็นลูกค้าของแบรนด์ก็จะเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น โดยอาจจะเริ่มต้นการทำ Audience Segmentation หรือการแบ่งกลุ่มลูกค้าเพื่อให้สามารถทำการตลาดแบบ Hyper-Personalization ซึ่งจะเป็นการเจาะลึกพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายได้ลึกมากขึ้น

4.สื่อสารให้ตรงจุด

ในขั้นตอนนี้ถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด เนื่องจากจะเป็นการสื่อสารและโต้ตอบกับลูกค้าผ่านข้อมูลเชิงลึกที่ได้เก็บรวบรวมมาในตอนแรก อย่างที่บอกว่าในปัจจุบันกลุ่มลูกค้าสมัยใหม่ต้องการบริการแบบเฉพาะบุคคลเพิ่มมากขึ้น และมีความคาดหวังให้แบรนด์ช่วยนำเสนอสินค้าและบริการที่จะตอบโจทย์ความต้องการให้ได้มากที่สุด ถือได้ว่าเป็นความท้าทายที่แบรนด์ยุคใหม่ต้องเผชิญ พูดง่ายๆ ว่านอกเหนือจากการแข่งขันกับแบรนด์ต่างๆ ด้วยกันเองแล้ว แบรนด์ยังต้องพยายามพิชิตใจลูกค้าให้ได้อีกด้วย อย่างไรก็ตามข้อควรระวังคืออย่าให้การสื่อสารกลายเป็นการสร้างความรำคาญให้แก่ลูกค้าแทน ไม่เช่นนั้นแทนที่จะได้ยอดขายสินค้าเพิ่มขึ้นอาจจะกลายเป็นยอดคอมเมนต์ในด้านลบมากขึ้นแทน

5.ประเมินผลและพัฒนากลยุทธ์อยู่เสมอ

เพื่อเป็นการปรับปรุงประสบการณ์ลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น การตรวจสอบและคอยประเมินผลลัพธ์อย่างสม่ำเสมอจึงเป็นสิ่งสำคัญ อย่าลืมว่าโลกในตอนนี้ถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ทำให้ความต้องการของลูกค้าในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาขึ้นอยู่กับกระแสใหม่ๆ ที่อาจส่งผลต่อความคิดความต้องการของกลุ่มลูกค้า หรือเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่สามารถตอบโจทย์ได้มากกว่า ดังนั้นแบรนด์หรือองค์กรควรที่จะต้องหมั่นตรวจสอบถึงความเปลี่ยนแปลงต่างๆ เหล่านี้เพื่อคอยประเมินผลและปรับปรุงอยู่เสมอ เพื่อให้แน่ใจว่ากลยุทธ์การตลาดออนไลน์ของแบรนด์พร้อมที่จะแข่งขันกับคู่แข่งและสามารถพิชิตความต้องการของลูกค้าได้มากที่สุด

ทิ้งท้าย

ต้องบอกว่าแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จในปัจจุบัน โดยส่วนมากแล้วมี Business Model ที่สอดคล้องกับเทรนด์ของ Digital Transformation ในโลกธุรกิจยุคปัจจุบันที่มีการผสานเทคโนโลยีดิจิทัลเข้าไปในทุกอณูของแบรนด์หรือองค์กรอย่างเต็มรูปแบบ โดยเฉพาะในการทำงานด้านการตลาดที่ต้องอาศัยเครื่องมือใหม่ๆ เข้ามาช่วยให้การทำงานมีความลื่นไหลและมีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น อย่างการใช้เครื่องมือที่ช่วยในการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ก็ถือได้ว่าเป็นหัวใจหลักของการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน ซึ่งการมีเครื่องมือที่ดีก็เปรียบเสมือนกับการที่แบรนด์มีแขนและขาเพิ่มขึ้น นำไปสู่รายได้ที่เพิ่มขึ้นและผลกำไรที่มากขึ้นในระยะยาว

สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

ระวัง 3 สิ่งนี้! ก่อน Marketing Automation จะทำร้ายลูกค้า

การตลาดออนไลน์ในยุคนี้สามารถทำได้ง่ายมากกว่าแต่ก่อน เนื่องจากมีแพลตฟอร์มและเครื่องมือมากมายที่พัฒนาขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกกับธุรกิจ หนึ่งในนั้นคือการใช้ Marketing Automation ที่สามารถทำการตลาดได้รวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการทำ Lead Scoring จัดกลุ่มลูกค้า (Segmentation) ส่งโปรโมชันและประชาสัมพันธ์ ไปจนถึงการบริการความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้า ฯลฯ ทั้งหมดล้วนทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเก่าอย่างเห็นได้ชัด

แม้จะมีข้อดีและประโยชน์มากขนาดนี้ แต่หากใช้งาน Marketing Automation อย่างไม่ระมัดระวังก็อาจจะเป็นการทำร้ายลูกค้าแทน ทั้งด้านความรู้สึกและประสบการณ์ที่ได้จากแบรนด์ สงสัยแล้วใช่ไหมว่า ข้อควรระวังของ Marketing Automation มีอะไรบ้าง? ตาม Connect X มาดูคำตอบกัน! ซึ่งอย่างแรก มาดูข้อดีของ Marketing Automation กันเลย

ข้อดีที่ทำให้ใครๆ ต่างใช้ Marketing Automation

Marketing Automation หรือ “ระบบการตลาดแบบอัตโนมัติ” ก็คือแพลตฟอร์มหรือซอฟต์แวร์ที่ออกแบบมาเพื่อทำการตลาดออนไลน์ ซึ่งฟังก์ชันและฟีเจอร์นับไม่ถ้วน แต่โดยทั่วไปแล้วมักจะมีฟีเจอร์ที่ช่วยในการตลาดด้านต่างๆ อาทิ

  • การเข้าถึง Potential Customer
  • การเก็บข้อมูลของลูกค้าและสร้างฐานข้อมูลให้กับธุรกิจ
  • ช่วยบริหารความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์และลูกค้า ซึ่งมักมาพร้อมกับระบบ CRM
  • สร้างและส่งแคมเปญการตลาด เช่น Email Marketing, SMS, Web Push Notification รวมไปถึงการโฆษณาบนสื่อ Social Media ยอดฮิตต่างๆ
  • ช่วย Save Cost ทั้งด้านเงินลงทุนและเวลาในการสร้างแคมเปญการตลาดให้ประสบความสำเร็จ

นอกจากนี้ระบบ AI ที่ทำงานแบบอัตโนมัติยังช่วยลดภาระงานที่ซ้ำซ้อนอย่างการสร้าง Report การ Tracking ไปจนถึงการตอบกลับแชทข้อความของลูกค้า จึงสามารถลดความผิดพลาดที่เกิดจากคน (Human Error) ได้เป็นอย่างดี เห็นแล้วใช่ไหมว่าระบบ Marketing Automation นั้นเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจมากแค่ไหน โดยเฉพาะธุรกิจใหม่หรือ SME ที่มีงบประมาณไม่มาก ก็สามารถใช้ระบบการตลาดแบบอัตโนมัตินี้อัปเกรดตัวเองได้ให้แข่งขันกับแบรนด์ใหญ่ๆ ในตลาดได้

คราวนี้มาศึกษาข้อควรระวังต่างๆ กันเลย

3 ข้อควรระวังของ Marketing Automation

ก่อนที่ระบบ Marketing Automation จะช่วยแบรนด์ได้ดีอย่างที่กล่าวไปข้างต้น แต่ในหลายๆ กรณีก็อาจจะมีปัญหาเกิดขึ้นจากการใช้งาน ทำให้แบรนด์ต้องปวดหัวกับการหาโซลูชัน

ยกตัวอย่างเช่น ระบบตอบกลับอัตโนมัติไม่สามารถตอบคำถามของลูกค้าได้จริงๆ ทำให้แอดมินต้องมาตอบเอง ซึ่งทำให้เกิดปัญหาการทำงานซ้ำซ้อน หรือการยิงโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย แต่กลับไม่มี Lead กลับเข้ามา เพราะแคมเปญนั้นๆ ไม่ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้า และปัญหาร้อยแปดที่อาจเกิดขึ้นได้ไม่เว้นแต่ละวัน สุดท้ายแล้วหลายๆ แบรนด์ไล่ตามการทำ Marketing Automation เพื่อหวังทำกำไร แต่กลับกลายเป็นว่าได้ผลลัพธ์เหมือนเดิม ซึ่งมี 3 ข้อควรระวังในการใช้งานระบบการตลาดแบบอัตโนมัติดังนี้

1. ไม่ทำความเข้าใจผู้บริโภคก่อนเริ่มทำแคมเปญ

ความสะดวกสบายในการทำงาน คือ สิ่งที่ธุรกิจส่วนมากต้องการจาก Marketing Automation เพื่อลดภาระของตัวผู้ประกอบการที่ต้องดูแลในส่วนอื่นๆ ด้วย อย่างไรก็ตาม ตัว Marketing Automation นั้นเป็นเพียงแค่ “ระบบ” เท่านั้น จึงไม่ได้เข้าใจว่าผู้บริโภคตอนนั้นอยากได้อะไร เช่น เวลามีปัญหาร้ายแรงหรือเร่งด่วน ลูกค้าก็อยากคุยกับคนที่เข้าใจถึงปัญหามากกว่า ดังนั้นการจะทำ Marketing Automation ให้มีประสิทธิภาพ คือการทำความเข้าใจ Customer Journey ของลูกค้าเสียก่อน เพื่อที่จะออกแบบการใช้งาน Marketing Automation ให้ถูกต้องและแม่นยำ สร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ที่เข้ามาใช้บริการได้นั่นเอง

2. แบรนด์พึ่งพาระบบ Marketing Automation มากเกินไป

การปล่อยให้ระบบ Marketing Automation ดูแลลูกค้าของเราหรือทำการตลาดแทนคนมากเกินไป มักเป็นข้อผิดพลาดที่ทำให้หลายๆ แบรนด์เคยสะดุดมาแล้ว เพราะแทนที่จะช่วยให้ลูกค้าสะดวกสบายขึ้นกลับทำให้ลำบากแทน เช่น มีการส่งโปรโมชันที่ลูกค้าคนนั้นๆ ไม่ได้สนใจ ระบบ AI ตอบแชทที่เป็นคำถามซับซ้อนไม่ได้ เป็นต้น ซึ่งต้องขอบอกว่า Marketing Automation ในปัจจุบันยังไม่มีความฉลาดหรือมีสัญชาตญาณที่เข้าใจมนุษย์ขึ้นมา ไม่สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เหมือนกับมนุษย์เรา ดังนั้นก่อนที่จะนำระบบนี้เข้ามาช่วยในการทำการตลาด แบรนด์ต้องมีการวางแผนในจุดต่างๆ ให้รอบคอบก่อน พร้อมทดสอบการใช้งานก่อนนำไปใช้จริง

3.  ข้อมูล (Data) ที่มียังน้อยไป

เข้าใจว่าเจ้าของแบรนด์ต่างต้องการให้ Marketing Automation ทำงานที่ซ้ำซ้อนแทน เช่น การยิงโฆษณาหรือแคมเปญการตลาด แต่บ่อยครั้งที่ธุรกิจมี “ข้อมูล” น้อยเกินไป ส่งผลให้กิจกรรมทางตลาดไม่มีประสิทธิภาพมากพอที่จะดึงดูดลูกค้า ระบบเรียนรู้ได้อย่างจำกัดและตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าไม่ได้ ทำให้เจ้าของแบรนด์มักเข้าใจผิดว่าระบบหรือแพลตฟอร์มที่ใช้นั้นไม่มีคุณภาพ ซึ่งแบรนด์และนักการตลาดต้องกลับมาย้อนดูว่า Data ของตัวเองนั้นมีใช้อย่างเพียงพอหรือไม่ Data ดังกล่าวนั้นถูกหรือไม่ เตรียมป้อน Data ทุกอย่างให้ระบบหรือยัง เพื่อทำให้ระบบสามารถต่อยอดและแสดงประสิทธิภาพให้ได้อย่างเต็มที่

ทั้ง 3 ข้อควรระวังของ Marketing Automation นี้เป็นสิ่งที่เจ้าของแบรนด์และนักการตลาดต้องทบทวนเสมอ ก่อนที่จะจำระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้งานกับธุรกิจ เพื่อให้แน่ใจได้ว่าแบรนด์จะสามารถสร้างแคมเปญการตลาดได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ กระตุ้นการขาย และเพิ่มกำไรให้ธุรกิจสามารถแข่งขันในตลาดที่มีการแข่งขันสูงอย่างปัจจุบันได้

แล้วผู้ให้บริการระบบ Marketing Automation เก่งๆ มีใครบ้าง? ไม่ต้องไปหาที่ไหนไกล เพราะ Connect X นั้นเป็น Marketing Platform ที่มาพร้อมกับ CDP (Customer Data Platform) ช่วยเก็บข้อมูลลูกค้าแบบ 360 องศาและระบบ Marketing Automation ที่มี AI แสนฉลาด สามารถเรียนรู้และรู้ใจลูกค้าได้ง่ายๆ ประกอบกับเครื่องมือสื่อสารการตลาดแบบ Real-Time ช่วยเพิ่มยอดขายกับธุรกิจอย่างรวดเร็วทันใจ หาจากที่ไหนไม่ได้อีกแล้ว!

สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

ข้อดีของโปรแกรม CDP และ CRM และบริษัทควรเลือกใช้อันนี้ดี

เรามาดูข้อดีของโปรแกรม CDP และ CRM กันดีกว่าว่าบริษัทของเรานั้นเหมาะกับโปรแกรมไหนมากกว่ากัน

Customer data platform (CDP) และ Customer relationship management (CRM)

ทั้งสองอย่างนี้มักจะทำให้คนนั้นสับสนอยู่เสมอ เนื่องจากทั้งสองแพลตฟอร์มจัดเก็บบันทึกข้อมูลของลูกค้าเหมือนกัน และทำให้ธุรกิจสามารถใช้ข้อมูลเชิงลึกของลูกค้าได้ แต่อย่างไรก็ตาม ความเป็นจริงแล้ว แพลตฟอร์มทั้งสองตัวนี้ มีวิธีแก้ปัญหาที่แตกต่างกันอยู่มาก ในบทความนี้จะนำเพื่อนๆไปดูความแตกต่างระหว่าง CDP และ CRM ว่าแพลตฟอร์มไหนกันแน่ที่เหมาะกับองค์กรหรือบริษัทของเรา

CRM ได้รับการพัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรกเพื่อเป็นเครื่องมือ B2B เพื่อช่วยให้ทีมได้ลูกค้าใหม่และรักษาลูกค้าที่มีอยู่โดยทำให้ง่ายต่อการจัดการการและโต้ตอบส่วนตัวกับลูกค้าโดยตรง เนื่องจากหน้าที่หลักของเซลล์และทีมบริการหลังการขายมีบทบาทในการติดต่อกับลูกค้าโดยตรงโปรแกรม CRM จะมาช่วยตอบโจทย์ตรงนี้ แต่สุดท้ายแล้วข้อมูลส่วนใหญ่ที่อยู่ใน CRM จะต้องถูก Import แบบ Manual

ในทางกลับกัน แรกเริ่มเดิมทีนั้น CDP ได้รับการพัฒนาเพื่อเติมเต็มความต้องการของบริษัท B2C ที่ต้องการระบบที่คล้ายคลึงกับ CRM และมีระบบ Automation ที่สามารถช่วยในการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคการค้าปลีกได้รับประโยชน์จาก CDP เป็นอย่างมากเนื่องจากระบบ CDP สามารถรวมข้อมูลจากหลายแหล่งเข้าด้วยกันโดยอัตโนมัติและสร้างโปรไฟล์ลูกค้า มากไปกว่านั้นยังสามารถจัดการแบ่งแยก Segment ของลูกค้าเพื่อให้ง่ายต่อการทำ Automation

https://www.mparticle.com/blog/cdp-vs-crm/

แล้ว CDP กับ CRM อันไหนเหมาะกับองค์กรของเรามากกว่ากันนะ ?

CRM จะบอกได้ถึงประวัติการซื้อขายและการติดต่อกับทีม Sale ส่วน CDP นั้นจะเก็บข้อมูลตั้งแต่เมื่อลูกค้าคลิกเข้ามาดูสินค้า ว่ามาจากช่องทางไหน เห็นสินค้าจากโฆษณาอะไร ลูกค้าคลิกเข้ามาดูสินค้ารึเปล่า ทำให้เกิดข้อมูลเชิงลึกมากกว่าครับ

หลายบริษัทมักจะเริ่มต้นด้วย CRM ก่อนที่จะคิดได้ว่าในบางครั้ง CRM ไม่สามารถที่จะเก็บข้อมูลแบบ realtime ได้ ตัวอย่างเช่น ลูกค้าได้มีการคลิ๊กเข้ามาดูที่หน้าเว็บและมีการกด Subscribe กรอกข้อมูลลงทะเบียนไว้บนหน้าเว็บแต่ท้ายที่สุดลูกค้ากดซื้อสินค้าบนโซเชียลมีเดียแทนที่บนหน้าเว็บไซต์ระบบ CDP จะเก็บข้อมูลทุกอย่างแบบอัตโนมัติเห็น Customer journey พฤติกรรมของลูกค้า นอกจากนี้ CRM ยังไม่สนับสนุนการตลาดแบบเรียลไทม์ แต่อันที่จริงแล้วบริษัทสามารถที่จะมี ทั้งระบบ CRM และ CDP ได้ไม่แปลก

https://www.insiderintelligence.com/chart/255511/which-marketing-solutions-do-marketing-professionals-worldwide-plan-invest-most-2022-of-respondents

สรุป

ไม่ว่าองค์กรของท่านจะใช้ซอฟแวร์ CDP หรือ CRM ทั้งสองโปรแกรมนี้ล้วนแล้วดีทั้งสิ้นอยู่ที่ว่าองค์กรของเรา งานของเรา หรือทีมของเราเหมาะกับโปรแกรมไหนมากกว่ากัน ถ้าท่านใดสนใจต้องการอ่านเรื่อง CRM และ CDP เพิ่มเติมสามารถอ่านได้ที่ลิงค์ด้านล่างนี้เลย

สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย