Category Archives: other

แนะนำ 5 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ Email Marketing ทำอย่างไรเพื่อกระตุ้นการขายได้สบายๆ

มาทราบกันถึง 5 สิ่งที่เจ้าของแบรนด์ควรรู้ในการทำ Email Marketing เพื่อกระตุ้นการขายที่ยั่งยืนให้กับธุรกิจ

การทำธุรกิจออนไลน์ในปัจจุบันให้พบกับความสำเร็จได้จำเป็นต้องอาศัยเทคนิคหรือกลยุทธ์มากมายในด้านการตลาด ที่สามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ และควรมีเครื่องมืออย่าง Marketing Automation อีกทั้งแบรนด์ต่างๆ ยังต้องมีช่องทางที่หลากหลาย เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่แตกต่างกันอย่างมีประสิทธิภาพ เจ้าของธุรกิจหลายท่านอาจนึกถึง Social Media หรือเว็บไซต์ออนไลน์เป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตามการส่ง Email Marketing ก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่น่าสนใจมากในปัจจุบัน

วันนี้ Connect X จึงขอมาแนะนำถึง 5 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ Email Marketing ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ และกระตุ้น Conversion ให้ธุรกิจ

การตลาดผ่าน Email เป็นอย่างไร?

Email หรือ Electronic Mail ที่เข้ามาแทนที่การส่งจดหมายผ่านไปรษณีย์นั้นถือได้ว่าเป็นหนึ่งในช่องทางแรกๆ ของการโฆษณาในยุคที่สื่อดิจิทัลกำลังพัฒนา และยังเป็นช่องทางการสนทนาระหว่างบุคคลและการทำงานในทุกๆ วันอีก  ด้วยเหตุนี้นักธุรกิจและนักการตลาดจึงไม่รอช้าที่จะทำการประชาสัมพันธ์แบรนด์ สินค้าและบริการผ่านช่องทางนี้นั่นเอง

การเริ่มทำ Email Marketing สอดคล้องกับสถิติต่างๆ ทั่วโลกเช่น

  • ในปี 2019 มีผู้ใช้อีเมลทั่วโลกกว่า 3.9 พันล้านคน คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 4.3 พันล้านภายในปี 2023
  • 81% ของธุรกิจขนาดเล็กยังคงใช้อีเมลเป็นช่องทางการหาลูกค้าหลัก
  • 49% ผู้บริโภคต้องการรับอีเมลจากแบรนด์ที่ตนเองชอบ

ในปัจจุบันนี้ก็มีอีเมลการตลาดหลากหลายรูปแบบ อาทิ Behavioral Email, Inaugural Emails, Promotional Email, ฯลฯ ที่มีตัวช่วยอย่างระบบ CRM ที่คอยเก็บข้อมูลต่างๆ และ Marketing Automation สำหรับส่งอีเมลประชาสัมพันธ์ให้แก่ลูกค้าแบบอัตโนมัติ

5 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ Email Marketing กระตุ้นการขายให้ธุรกิจ

มาถึงเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับการทำ Email Marketing เพื่อให้ธุรกิจสามารถสร้างยอด Conversion กระตุ้นการขายผ่านช่องทางอีเมลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้ง 5 ข้อจะมีอะไรบ้างนั้น? มาดูพร้อมกันเลย

1. การวางกลยุทธ์นั้นต้องเหมาะสมกับแคมเปญ

“แคมเปญการตลาดของคุณมีเป้าหมายอะไร?” ก่อนที่จะเริ่มส่งอีเมลไปยังกลุ่มลูกค้า อย่างน้อยคุณจะต้องตั้งเป้าหมายก่อนว่า อีเมลที่จะส่งไปนี้ทำขึ้นเพื่ออะไร  รวมไปถึงการกำหนดยอด Conversion Rate ที่คาดหวังไว้ด้วย ว่ามีเปอร์เซ็นต์ที่มีผู้เปิดอ่านเท่าไหร่ หรือจำนวนคลิกเท่าไหร่ ทั้งนี้ก็เพื่อนำมาวิเคราะห์ในภายหลังว่า ผลลัพธ์เป็นไปตามที่คาดเอาไว้หรือไม่ และควรแก้ไขจุดบกพร่องตรงไหนบ้าง

ยกตัวอย่างเช่น การส่ง Promotional Email นำเสนอโปรโมชัน ซึ่งอีเมลแบบนี้จะเน้นการสร้างยอดขายและโฟกัสไปที่การคลิกลิงก์ไปยังหน้า Landing Page ส่วนการส่ง Newsletter การนำเสนอข่าวและคอนเทนต์ใหม่ๆ ของแบรนด์ เพื่อสร้างการรับรู้แบรนด์ (Brand Awareness) เป็นต้น

2. สร้างความประทับใจผ่านการ Personalization

หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ Email Marketing ประสบความสำเร็จ คือการสร้างเนื้อหาอีเมลที่ตรงใจเฉพาะบุคคลหรือการ Personalize ตามสิ่งที่ลูกค้าคนนั้นๆ สนใจนั่นเอง เพื่อสร้างความประทับใจและความรู้สึกพิเศษ ให้รู้สึกว่าอีเมลดังกล่าวเขียนมาเพื่อพวกเขาโดยเฉพาะ

อาจจะเริ่มโดยการเขียนชื่อของลูกค้าในอีเมล หรือส่งคอนเทนต์ที่ตรงกับความสนใจลูกค้า ซึ่งในการส่ง Personalized Email เช่นนี้ ระบบ CDP หรือ ระบบ CRM ที่มี Marketing Automation นั้นสามารถช่วยเก็บรวบรวมข้อมูลลูกค้า ทั้งพฤติกรรมและความสนใจ ช่วยให้วิเคราะห์เนื้อหาที่เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายได้ อย่างไรก็ตามในการเก็บข้อมูลลูกค้านั้นจำเป็นต้องปฏิบัติตาม พรบ. PDPA ด้วย

3. ทำ A/B Testing วัดประสิทธิภาพเนื้อหา

การได้ทราบถึงจุดบกพร่องหรือข้อผิดพลาดในแคมเปญ แบรนด์สามารถนำข้อเสียเหล่านั้นมาปรับปรุงและสร้างเนื้อหาที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม การทดสอบระบบการส่งอีเมล หรือทดลองนำเสนอคอนเทนต์ในรูปแบบที่แตกต่างกัน เพื่อหาสิ่งที่ผู้รับต้องการมากที่สุด ก็จะส่งผลให้ผลลัพธ์การเปิดอ่านเพิ่มมากขึ้น และนำไปสู่ Conversion Rate ที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการทำ A/B Testing

A/B Testing คือการส่งคอนเทนต์ที่แตกต่างกันไปให้กับผู้อ่านกลุ่มเดียวกัน และทำการเปรียบเทียบว่า คอนเทนต์แนวไหนมีผู้เปิดอีเมลอ่านมากกว่ากัน ซึ่งการทดสอบแบบนี้ ก็สามารถทำได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนชื่อหัวข้ออีเมล เปลี่ยนภาพกราฟิก การเปลี่ยนเนื้อหาภายใน หรือแม้กระทั่งภาษาการเขียนที่ใช้ในประโยค Call to Action ทำการทดสอบไปเรื่อยๆ และสังเกตว่าเป้าหมายของคุณชอบหรือสนใจอีเมลแบบไหนมากกว่ากัน

4. Call To Action สำคัญไฉน

จากข้อข้างต้น หากผู้อ่านเกิดชื่นชอบคอนเทนต์หรือสนใจโปรโมชันในอีเมลนั้นแล้ว แต่ไม่รู้ว่าจะต้องทำอะไรต่อไปหรือต้องเข้าไปซื้อสินค้าจากที่เว็บไซต์ไหน ก็อาจทำให้แบรนด์สูญเสีย Conversion และโอกาสในการขายไปได้ ดังนั้นปุ่ม Call To Action (CTA) หรือข้อความกระตุ้นการกระทำจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ Email Marketing ขาดไม่ได้เลยทีเดียว

โดยภายในอีเมลนั้น คุณสามารถที่จะทำปุ่ม CAT ได้ ขึ้นอยู่วัตถุประสงค์ อาทิ Book Now สำหรับการจองบริการ, ปุ่ม Visit Us เพื่อนำลูกค้าไปยังเว็บไซต์ หรือปุ่ม Buy Now เป็นทางลัดให้ลูกค้าที่สนใจได้ซื้อสินค้าในทันทีนั่นเอง

5. เครื่องมือทันสมัย ตอบโจทย์ธุรกิจให้รุ่ง

อย่างที่ Connect X คอยบอกเสมอว่าเครื่องมือ Marketing Automation จะช่วยเหลือแบรนด์ให้การทำการตลาดให้ง่ายยิ่งขึ้นได้ ซึ่งเจ้าของธุรกิจก็ควรเลือกใช้แพลตฟอร์มที่มีฟีเจอร์ครอบคลุมการตลาดทั้งหมด สร้าง Centralized Process เพื่อการดำเนินงานที่ไหลลื่นกว่า ใช้เวลาน้อยกว่า และทรงประสิทธิภาพกว่าเดิม โดยเฉพาะ CDP หรือ Customer Data Platform ที่ครอบคลุมรอบด้านของการตลาดออนไลน์

Connect X เป็นเครื่องมือ CDP และ Marketing Automation ที่ช่วยวิเคราะห์และเก็บข้อมูลลูกค้าอย่างเป็นระบบ รู้ลึกถึง Customer Insight แบบ 360° สามารถ Integrate กับ API ได้หลากหลาย ส่วนในด้านการตลาด Connect X ก็สามารถรวบรวมช่องทางการสื่อสารไว้ได้ในที่เดียว ไม่ว่าจะเป็น Facebook Messenger หรือ LINE Official Account อีกทั้งยังรองรับ Customer Journey แบบ Cross Channel นั่นคือหากลูกค้าไม่เปิดอ่านอีเมล ระบบจะทำการส่งข้อความหรือโปรโมชันต่างๆ ไปผ่านช่องทางอื่นๆ ให้อัตโนมัติ รับรองว่ายอด Conversion เพิ่มขึ้นสูงอย่างแน่นอน

ในบทความนี้ ทุกท่านก็ได้ทราบถึง 5 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ Email Marketing ไปแล้ว และหากสนใจเครื่องมือสุดล้ำที่จะช่วยให้การตลาดเป็นไปอย่างราบรื่น สามารถติดต่อพวกเรา Connect X ตามรายละเอียดด้านล่างได้เลย

สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

อัปเดต 5 เทรนด์ Email Marketing ที่ผู้ประกอบการต้องรู้ในปี 2022

เชื่อว่าใครที่มีประสบการณ์ในการทำการตลาดออนไลน์คงรู้กันดีว่า ตลอดปี 2022 ที่ผ่านมา ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเกิดขึ้นของเทคโนโลยีใหม่ๆ มากมาย ส่งผลให้โลกของการตลาดออนไลน์มีการแข่งขันที่สูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ผู้ประกอบการมือใหม่หลายคนอาจเกิดความรู้สึกกังวล เพราะไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นใช้เครื่องมือไหนหรือวิธีการใดที่จะสามารถตอบสนองความต้องการตามพฤติกรรมของผู้บริโภคสมัยใหม่ได้

แน่นอนว่าหากต้องการประสบความสำเร็จในการทำการตลาดออนไลน์ จำเป็นต้องรู้จักใช้กลยุทธ์ที่หลากหลาย หนึ่งในนั้นคือการรู้จักเข้าหากลุ่มเป้าหมายที่ต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อที่จะสร้างความสัมพันธ์ต่อกันในระยะยาว ปัจจุบันหนึ่งในกลยุทธ์ดังกล่าวที่มีประสิทธิภาพในการสื่อสารระหว่างแบรนด์และกลุ่มเป้าหมายคือการทำ Email Marketing ดังนั้นในบทความนี้ Connct X จะพาทุกคนมาอัปเดต 5 เทรนด์ Email Marketing เพื่อให้แน่ใจว่ากลยุทธ์การตลาดออนไลน์จะประสบความสำเร็จตลอดปี 2022 ถ้าพร้อมแล้ว ไปดูกันเลย

อัปเดต 5 เทรนด์ Email Marketing ในปี 2022

1.รองรับตลาดมือถือ

หากเป็นสมัยก่อนเมื่อพูดถึงกลยุทธ์การทำ Email Marketing มักจะครอบคลุมแค่เพียงการแสดงผลบนเดสก์ท็อปเท่านั้น แต่ในปัจจุบันต้องยอมรับว่าเทรนด์การใช้งานอุปกรณ์มือถือหรือสมาร์ทโฟนต่างๆ เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ขาดไปไม่ได้ของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตยุคใหม่ แต่ข้อควรระวังสำหรับแบรนด์และนักการตลาดในการใช้กลยุทธ์ Email Marketing คืออีเมลจะต้องมีความน่าสนใจที่มากขึ้นกว่าเดิม ไม่ว่าจะใช้การดึงดูดด้วยเนื้อหา วิธีการนำเสนอ หรือข้อมูลเชิงลึกต่างๆ ที่ตรงกับความต้องการของผู้อ่านมากขึ้น เพราะด้วยการใช้งานมือถือของผู้บริโภคก็พร้อมที่จะลบทิ้งทันทีหากพบว่าเนื้อหาในอีเมลไม่สามารถดึงดูดใจได้

2.วิดีโอคอนเทนต์

หลายคนที่มีประสบการณ์การทำการตลาดออนไลน์ คงรู้ดีว่าเทรนด์ของวิดีโอคอนเทนต์กำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น โดยเฉพาะ Short Video หรือคลิปวิดีโอสั้นๆ ซึ่งใครที่ต้องการยอด Engagement ไม่ว่าจะในแพลตฟอร์มใดก็ตามจำเป็นที่จะต้องใช้วิดีโอคอนเทนต์เป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญ ดังนั้นในการทำ Email Marketing ในปี 2022 นี้ก็คงหนีไม่พ้น การผลิตวิดีโอคอนเทนต์ อย่างคลิปสั้นๆ เพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคยุคใหม่ได้ง่ายขึ้น อย่างการแนะนำสินค้า สาธิตการใช้งาน หรือการแก้ปัญหาต่างๆ ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคนั่นเอง

3.ผสมผสานความ Minimal และ Interactive

อีกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญของกลยุทธ์ Email Marketing คือการใส่ใจในทุกข้อความที่จะปรากฎต่อหน้าผู้รับชม เพราะอย่าลืมว่าการส่งอีเมลเป็นการสื่อสารระหว่างผู้ให้และผู้รับ ดังนั้นการเพิ่มแรงจูงใจในการเปิดอ่านจะเป็นการเพิ่มโอกาสให้แบรนด์ของคุณแซงหน้าคู่แข่งในตลาดได้อย่างแน่นอน

เหนือสิ่งอื่นใดในปี 2022 การสร้างอัตลักษณ์ของแบรนด์เป็นสิ่งสำคัญ ประกอบกับเทรนด์ฮิต Minimal Style ที่ชนะแทบทุกสิ่งในตอนนี้ ซึ่งหนีไม่พ้นกับการทำ Email Marketing ที่การเขียนในแบบนี้จะช่วยให้ผู้อ่านรู้สึกสะอาดตา มีความกระชับ และมีการเรียบเรียงให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่ายที่สุด อย่างไรก็ตาม ไม่ควรที่จะใช้การเขียนแบบเรียบง่ายเพียงอย่างเดียว การใช้ Interactive Emails เพื่อช่วยกระตุ้นการตอบสนองของผู้รับชมก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ควรทำควบคู่กันไป เช่น การมีภาพแบบ Carousels เพื่อการนำเสนอสินค้า มีภาพอนิเมชั่นเพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าคลิกหน้า Landing Page เป็นต้น

4.ให้ความสำคัญกับ Data Privacy

ในปี 2022 ปฏิเสธไม่ได้ว่าเทรด์ในการเก็บข้อมูลของแบรนด์และนักการตลาดเปลี่ยนไปอย่างมหาศาล  ด้วยความสำคัญของ Data Privacy หรือความเป็นส่วนตัวของข้อมูล ที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการทำการตลาดออนไลน์โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำ Email Marketing

อย่างในประเทศไทยเองก็เริ่มมีการประกาศใช้ข้อบังคับกฎหมาย PDPA ที่ให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ทำให้ทั้งแบรนด์และนักการตลาดจำเป็นที่จะต้องศึกษาและให้ความสำคัญกับข้อกฎหมายดังกล่าวไปพร้อมกับการทำกลยุทธ์การตลาดให้มีประสิทธิภาพ ที่สำคัญคือการเก็บข้อมูลต้องได้รับอนุญาตจากลูกค้าก่อนเสมอ รวมไปถึงข้อมูลต้องสามารถเปิดเผยได้อย่างโปร่งใส รับรองว่าผลลัพธ์ที่ได้จะทำให้แบรนด์เติบโตได้อย่างยั่งยืนอย่างแน่นอน

5.เลือกใช้เครื่องมือที่ตอบโจทย์

การทำการตลาดออนไลน์ให้มีประสิทธิภาพ ในปัจจุบันไม่ใช่แค่การรู้ใจลูกค้าเพียงอย่างเดียว แต่ต้องสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าในทันทีให้ได้ด้วย แน่นอนว่าหนึ่งในตัวเลือกที่เหมาะสมของแบรนด์และนักการตลาด คือการเลือกใช้แพลตฟอร์ม Marketing Automation ที่ถูกออกแบบมาเพื่อการตลาดออนไลน์โดยเฉพาะ ที่ต้องมีฟีเจอร์ต่างๆ อย่าง ระบบ CRM ที่เข้ามาเป็นตัวช่วยในการทำการตลาดออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงข้อมูลลูกค้า การเก็บข้อมูลและสร้างฐานข้อมูลต่างๆ เพื่อนำไปใช้ในการบริหารความสัมพันธ์ในระยะยาวกับลูกค้าหรือนำไปสร้างแคมเปญการตลาดในช่องทางแพลตฟอร์มต่างๆ อีกทั้งยังเป็นการลดต้นทุน ทั้งในเรื่องของเวลาและเงินลงทุนในระยะยาวอีกด้วย บอกได้เลยว่าหากเลือกเครื่องมือที่ตอบโจทย์การทำงานและความต้องการของลูกค้าได้จริงผลลัพธ์มีแต่ได้ไม่มีเสียอย่างแน่นอน

ทิ้งท้าย

เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับเทรนด์ใหม่ๆ ที่ Connect X ได้นำมาฝากกันในวันนี้ ขอบอกเลยว่า การเรียนรู้และศึกษาเทรนด์ใหม่ๆ ในโลกของการตลาดออนไลน์เป็นข้อบังคับขั้นพื้นฐานสำหรับแบรนด์และนักการตลาดมือใหม่ทุกคน หากไม่อยากให้คู่แข่งนำหน้า ต้องรู้จักใช้เทคนิค “รู้เขารู้เรา” เพื่อให้สามารถนำหน้าคู่แข่งของคุณอยู่เสมอ รับรองได้เลยว่าเทรนด์ 5 ข้อด้านบนสามารถนำไปปรับใช้กับแผนการตลาดออนไลน์ได้ทันที

สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

เอาชนะตลาด E-Commerce ด้วยกลยุทธ์การตลาดผ่านระบบ Marketing Automation

ใครที่กำลังเริ่มต้นประกอบธุรกิจ E-Commerce ต้องไม่พลาดที่จะรู้จักระบบ Marketing Automation เพื่อให้แน่ใจว่าแบรนด์จะสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ตรงจุด

ตอนนี้เรากำลังเดินทางเข้าสู่ในช่วงท้ายปี 2022 แล้ว ซึ่งก็ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งปีที่เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในแทบทุกกลุ่มอุตสาหกรรม ไม่เว้นแม้แต่ในโลกการตลาดออนไลน์ ที่แบรนด์ต่างๆ ต้องหาเครื่องมือใหม่ๆ เข้ามาเป็นตัวช่วยท่ามกลางการแข่งขันที่สูงเพิ่มขึ้นอย่างไม่มีท่าทีว่าจะลดลงในเร็ววัน โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) ที่มีความจำเป็นต้องอาศัยข้อมูลเชิงลึกต่างๆ เพื่อสร้างสรรค์แคมเปญการตลาดให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างตรงจุดมากขึ้น

สำหรับแบรนด์และนักการตลาดมือใหม่ที่กำลังเริ่มต้นธุรกิจ E-Commerce และกำลังมองหาเทคโนโลยีหรือเครื่องมือที่จะเข้ามาช่วยให้การทำการตลาดสะดวกรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพการทำงานที่เพิ่มขึ้น การใช้เครื่องมืออย่างระบบการขายอัตโนมัติหรือ Marketing Automation ก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่เหมาะสม เพราะว่าสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันส่งผลให้หลายธุรกิจต้องรู้จักปรับตัวให้ไวมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ลองนึกภาพดูว่าหากคู่แข่งของคุณมีการปรับตัวได้ไวกว่าอย่างการเริ่มใช้ระบบ CRM, Sales Automation หรือใช้ AI Automation ต่างๆ กันไปแล้ว แต่หากว่าหลังบ้านธุรกิจของคุณยังคงยึดติดกับระบบการขายแบบดั้งเดิมอยู่ บอกได้เลยว่าอีกไม่นานคงอาจจะต้องเตรียมตัวบอกลาธุรกิจของคุณในเร็ววันเลย

ดังนั้นในบทความนี้ Connect X จะพาทุกคนไปรู้จักกับการใช้เครื่องมือ Marketing Automation ในธุรกิจ E-Commerce ให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างยอดขายอย่างก้าวกระโดด ถ้าพร้อมแล้ว ไปดูกันเลย

Marketing Automation คืออะไร?

สำหรับใครที่มีประสบการณ์การทำงานในสาย Digital Marketing คงคุ้นเคยกับคำว่า Marketing Automation กันเป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเทคโนโลยีในปัจจุบันเริ่มเข้ามามีบทบาทในแวดวงการตลาดออนไลน์มากขึ้น ใครที่ไม่รู้จักเชื่อว่าหลายคนคงเคยเจอ Marketing Automation กันโดยไม่รู้ตัว อย่างเช่นการช้อปปิ้งออนไลน์ตามแพลตฟอร์ม E-Commerce ต่างๆ ไม่ว่าจะบนแอปฯ หรือบนเว็บไซต์ก็ตาม ในบางครั้งคุณอาจมีความรู้สึกสงสัยว่า “ทำไมแพลตฟอร์มเหล่านี้ถึงรู้ว่าเรากำลังมองหาสินค้าอะไรอยู่?” หรือบางทีก็มีอีเมลเสนอโปรโมชันพิเศษเข้ามาในจังหวะเวลาที่กำลังนึกถึงสินค้านั้นๆ อยู่แบบพอดิบพอดี ทำให้ในที่สุดก็ต้องเสียเงินให้กับร้านค้านั้นไปแบบไม่รู้ตัว ใครที่เคยผ่านประสบการณ์ต่างๆ เหล่านี้มาแล้ว บอกได้เลยว่าคุณกำลังตกอยู่ในวังวนของกลยุทธ์การตลาดผ่านระบบ Marketing Automation ไปเรียบร้อยแล้ว

ในทางเทคนิค ระบบ Marketing Automation ที่นักการตลาดนิยมใช้กันจะมีหลักการปฏิบัติที่เข้าใจไม่ยาก คือการใช้ซอฟต์แวร์ที่ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะ ให้มีหน้าที่เข้ามาช่วยจัดกิจกรรมทางการตลาดโดยอัตโนมัติ โดยจะเริ่มจากการเก็บข้อมูลเชิงลึกของลูกค้า ผ่านวิธีการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการคลิกอ่านบทความ การสมัครสมาชิก ดาวน์โหลด ข้อมูลคุ้กกี้ (Cookies) และอื่นๆ จากนั้นระบบ  AI จะเข้ามาช่วยประมวลผลข้อมูลและเลือกนำเสนอคอนเทนต์หรือสร้างแคมเปญ ต่างๆ ที่ตรงใจกลุ่มเป้าหมายในจังหวะและเวลาที่เหมาะสมที่มีโอกาสในการขายสินค้าได้มากที่สุดนั่นเอง

เอาชนะตลาด E-Commerce ด้วย Marketing Automation

อย่างที่บอกว่าระบบการขายอัตโนมัตินี้โดดเด่นอย่างมากในการเก็บข้อมูลของกลุ่มเป้าหมายและนำเสนอคอนเทนต์หรือสร้างแคมเปญการตลาดที่ตรงใจลูกค้าได้แบบ Real-Time จึงเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่เหมาะสมในการนำมาใช้กับธุรกิจแบบ E-Commerce ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

ลองมาดูประโยชน์ 3 ข้อ ในการทำ Marketing Automation กัน

  • รวมทุกช่องทางการสื่อสารไว้ที่เดียว – ในปัจจุบันผู้บริโภคในตลาด E-Commerce ทั่วไป มีการใช้ช่องทางการติดต่อสื่อสารในแพลตฟอร์มที่หลากหลาย ดังนั้นระบบ Automation ส่วนมาก จึงมีการออกแบบให้รองรับการรวบรวมข้อมูลของกลุ่มเป้าหมายจากช่องทางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Messenger, LINE, Instagram ฯลฯ เพื่อให้เก็บรวมในที่เดียวกัน เพื่อให้แบรนด์หรือนักการตลาดเห็นภาพรวม และเข้าใจความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้มากยิ่งขึ้น ส่งผลให้การวิเคราะห์หาข้อมูลเชิงลึกต่างๆ สามารถทำได้ง่าย แม่นยำ และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • ลดภาระการทำงานและเพิ่มประสิทธิภาพ 2 เท่า – ธุรกิจ E-Commerce เป็นอีกหนึ่งตลาดที่มีแนวโน้มการแข่งขันที่สูงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องมีการควบคุมต้นทุนให้อยู่ในกรอบเสมอ โดยการใช้ระบบ Marketing Automation เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่สามารถช่วยลดต้นทุนได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างเช่น หน้าที่การเก็บข้อมูลหรือสถิติในเว็บไซต์ต่างๆ ที่อาจจะเคยใช้พนักงานในการดูแลส่วนนี้ แต่เมื่อใช้ระบบนี้เข้ามาช่วยก็สามารถจัดการหน้าที่ดังกล่าวได้แบบเบ็ดเสร็จ ลดการทำงานที่ซ้ำซ้อน อาจมีการใช้เพียงแค่ไม่กี่คนในการมอนิเตอร์ระบบเท่านั้น พูดได้เลยว่าสามารถควบคุม Sale Process ได้ตั้งแต่ต้นจนจบ
  • วางแผนงานในระยะยาวได้ง่ายขึ้น – การทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายให้มากที่สุดเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญในการทำการตลาดออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเก็บรวบรวมข้อมูลนำมาต่อยอดและพัฒนากลยุทธ์การตลาดในแนวทางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาเว็บไซต์ ทำ Content Marketing หรือเป็นการสื่อสารในวิธีการอื่นๆ  ดังนั้นระบบการขายอัตโนมัติจึงเป็นเครื่องมือที่เหมาะสมที่สุดเพื่อให้แบรนด์ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ

ทิ้งท้าย

จบไปแล้วสำหรับข้อมูลดีๆ ของการใช้งานระบบ Marketing Automation ในธุรกิจ E-Commerce ที่ Connect X ได้นำมาฝากกันในวันนี้ เชื่อว่าผู้ประกอบการมือใหม่หลายคนคงพอเห็นภาพรวมของระบบการขายอัตโนมัตินี้กันไปไม่มากก็น้อย สำหรับใครที่กำลังมองหา Marketing Platform ที่จะเข้ามาเป็นตัวช่วยทำการตลาดออนไลน์ให้กับธุรกิจอยู่ ก็อย่าลืมพิจารณาเครื่องมือที่สามารถรองรับความซับซ้อนของ Customer Journey ในปัจจุบัน เพราะการ Go Online ให้กับธุรกิจในยุคนี้เป็นเรื่องสำคัญที่จะมองข้ามไปไม่ได้

สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

Omni Channel กลยุทธ์การตลาดที่ทุกธุรกิจต้องใช้ในปัจจุบัน

พื้นฐานและกลยุทธ์ของ Omnichannel ทำไมมันถึงสำคัญอย่างมากในยุคปัจจุบัน (Digital)

ในบทความนี้จะมาแชร์ให้เพื่อนๆเกี่ยวกับพื้นฐานของกลยุทธ์ Omnichannel ว่าทำไมมันถึงสำคัญมีความสำคัญอย่างมากในปี 2022 และเพื่อให้เห็นภาพของแบรนด์ที่เป็นผู้นำ ในบทความนี้จะแสดงให้เห็นถึงสถิติแบบ Omni-channel เพื่อใช้สำหรับการตลาดและประสบการณ์ของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นบริษัทใหม่หรือบริษัทที่มั่นคงและมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับลูกค้าของบริษัท

การเริ่มต้นแนวทางแบบ Omnichannel ด้วยข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญ ในการสร้างกลยุทธ์ Omnichannel จะต้องทำแผนที่เส้นทาง(Customer Journey) ที่ลูกค้าใช้ระบุแพลตฟอร์มและ Touchpoint ที่ผู้ใช้งานหรือลูกค้ากำลังเข้าชม Omnichannel ทำให้การเชื่อมต่อกับแบรนด์ง่ายขึ้นและเพิ่มประสิทธิภาพเส้นทางของลูกค้า(Customer Journey) จากในอดีตที่เคยมีประสบการณ์ที่แยกจากกันสำหรับทุกช่องทางที่ลูกค้าใช้ ประสบการณ์แบบ Omnichannel จะสร้างประสบการณ์ที่สอดคล้องกันตลอดทั้งเส้นทางของลูกค้า(Customer Journey) จากประสบการณ์ที่ราบรื่น ลูกค้าเกือบ 80 เปอร์เซ็นต์จึงชอบกลยุทธ์แบบ Omnichannel มากไปกว่านั้นกุลยุทธ์ Omnichannel ยังมีอัตราการรักษาลูกค้าไว้สูงกว่าแคมเปญแบบช่องทางเดียวถึง 90% เมื่อเทียบกับแคมเปญที่เน้นการตลาดช่องทางเดียว

https://www.dmit.co.th/en/zendesk-updates-en/what-omnichannel-customer-service-really-means/

Omnichannel marketing คืออะไร?

Ominichannel เป็นการผสมผสานระหว่างช่องทางต่างๆ เข้าด้วยกันดังเช่นในภาพข้างล่าง ซึ่งใช้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้าและเส้นทางของลูกค้า (Customer Journey) เพื่อช่วยให้ลูกค้านั้นได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดตั้งแต่การกดมาเจอหน้าสินค้า กระบวนการระหว่างซื้อ จนกระทั่งซื้อสินค้า การตลาดแบบช่องทาง Omni ใช้มุมมองที่เน้นผู้บริโภคเป็นศูนย์กลางของกลยุทธ์ทางการตลาด ผู้บริโภคสามารถโต้ตอบกับแบรนด์ต่างๆ ผ่านช่องทางต่างๆ มากมาย ตั้งแต่โซเชียลมีเดียไปจนถึงสายด่วนบริการลูกค้า(call center) แนวทางแบบ Omnichannel ช่วยให้มั่นใจว่าผู้บริโภคจะได้รับประสบการณ์เชิงบวกและสม่ำเสมอในแต่ละช่องทาง

ขอยกตัวอย่างในเคสของ KFC โดยก่อนที่เราจะถึงร้านเราสามารถสั่งอาหารผ่านตัวแอพลิเคชั่นของ KFC โดยใช้ส่วนลดคูปองออนไลน์แต่เราเลือกที่จะไปจ่ายเงินที่ร้านและรับอาหารที่ร้านได้

ข้อดีและประโยชน์ของการทำ Omnichannel

ในปัจจุบันแบรนด์ส่วนใหญ่ยอมรับว่าวิธีการแบบ Omnichannel นั้นสามารถให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดแม้ว่าการนำรูปแบบกลยุทธ์ Omnichannel ไปใช้นั้นไม่ได้ง่ายแต่เมื่อทำอย่างถูกต้องแล้วกุลยุทธ์นี้จะมีประโยชน์มาก ผู้บริโภคทุกวันนี้คุ้นเคยกับการถูกส่งข้อความจากแบรนด์ต่างๆ ไม่ว่าจะผ่านช่องทางแอพลิเคชั่น sms หรือ E-mail และด้วยเหตุนี้การสร้างการมีส่วนร่วมกับลูกค้าจากทุกช่องทางนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญทำให้ลูกค้าไม่พลาดข่าวสารโปรโมชั่นใหม่ๆจากทางแบรนด์ เราจึงขอแบ่งเป็นข้อดีย่อยๆมาดังนี้

ประสบการณ์ผู้ใช้ที่ดีขึ้น : หมายความว่า omnichannel จะมุ่งเน้นไปที่ประสบการณ์ส่วนบุคคลทำให้เวลาที่แบรนด์ยิงแคมเปญออกไปผ่านสื่อช่องทางต่างๆเช่น แอพลิเคชั่น sms หรือ E-mail จะทำให้ผู้บริโภครู้สึกราวกับว่าแบรนด์ได้รู้จักตัวตนของเขาและรู้สึกมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับทางแบรนด์เพราะไม่ว่าลูกค้าจะสะดวกตอบกลับทางแบรนด์จากช่องทางไหนทางแบรนด์ก็สามารถรับรู้ได้ว่าคุณคือใคร

รายได้ที่เพิ่มขึ้น – อย่างที่ได้บอกไปในข้อข้างบนว่าแนวทางแบบ Omnichannel นั้นส่งเสริมให้ลูกค้ามีส่วนร่วมกับแบรนด์ผ่านช่องทางติดต่อหลากหลายช่องทาง การมีส่วนร่วมที่เพิ่มขึ้นและหลากหลายเหล่านี้ในแต่ละขั้นตอนของเส้นทางผู้ซื้อ(Customer Journey) สามารถช่วยเพิ่มรายได้ให้กับบริษัทจริง มีงานวิจัยแสดงให้เห็นแล้วว่าลูกค้าที่มีส่วนร่วมกับ Touchpoints หลายจุดมักจะมี Value มากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ การส่งข้อความที่ตรงเป้าหมายจะทำให้เกิดความภักดีต่อแบรนด์ ทำให้มีโอกาสมากขึ้นที่ลูกค้าจะซื้อของจากแบรนด์ของเราอีกครั้ง(เกิด Loytalty ซื้อซ้ำ)

ข้อมูลและการระบุแหล่งที่มาที่ดีขึ้น – การเป็น Omnichannel อย่างแท้จริงไม่ควรทำแค่สู่ประสบการณ์ของผู้ใช้กับแบรนด์ของเราท่านั้น แต่ควรรวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลของเราด้วย ด้วยการติดตามการมีส่วนร่วมผ่านช่องทางต่างๆ แบรนด์ต่างๆ จะเข้าใจมากขึ้นว่าเส้นทางของลูกค้าเป็นอย่างไร เมื่อใดและที่ใดที่ผู้บริโภคต้องการมีส่วนร่วม และแคมเปญใดที่สร้างมูลค่าได้มากที่สุด ข้อมูลทั้งหมดนี้สามารถนำกลับไปสู่กลยุทธ์ของคุณเพื่อสร้างแคมเปญที่ตรงเป้าหมายมากขึ้นและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายด้านสื่อ

What Is Omnichannel? {Examples, Pros & Cons, Strategy}

ก่อนจบ

หลังจากอ่านบทความจบแล้วทางทีมงาน ConnectX หวังว่าทุกท่านจะเข้าใจมากยิ่งขึ้นว่าการตลาดแบบ Omnichannel คืออะไร และเหตุใดจึงมีความสำคัญต่อแบรนด์และองค์กรทั่วโลก ปัจจุบันทุกบริษัทมีเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของตนเอง มีวิธีการที่ชัดเจนในการดึงดูดความสนใจของลูกค้าและสร้างรายได้ อย่างไรก็ตามเนื่องจากการรักษาลูกค้าในช่องทางเดียวในปัจจุบันค่อนข้างจำกัด การใช้วิธีการแบบ omnichannel จึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในปัจจุบันนั่นเอง

สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

Customer Journey มีความสำคัญอย่างไรกับการทำการตลาด

Connect-X จะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับ Customer Journey ในยุคปัจจุบันว่ามีความสำคัญอย่างไร

เพื่อนๆที่อ่านบทความนี้คงเคยได้ยินเกี่ยวกับกระบวนการทางการตลาดที่เรียกว่า Customer journey แต่ทราบหรือไม่ว่าคำเหล่านี้หมายถึงอะไรกันแน่ ? วันนี้ทาง ConnectX เลยเขียนบทความที่เกี่ยวกับ Customer Journey มาให้ได้อ่านกันค่ะ

อย่างแรกเราจะต้องเข้าใจเส้นทางของลูกค้ากันก่อน

การเดินทางของลูกค้า(Customer Journey) คือแผนที่เส้นทางที่ลูกค้าใช้ตั้งแต่การเข้ามาเลือกซื้อจนกระทั่งปิดการขาย เส้นทางของลูกค้า(Customer Journey) สามารถคดเคี้ยวและวนเวียนไม่เหมือนกับช่องทางการตลาดแบบเดิมในอดีตที่ยังไม่มีการขายแบบออนไลน์ ยิ่งลูกค้าเลือกซื้อขายของนานเท่าไหร่ เส้นทางของลูกค้า(Customer Journey) โดยเฉลี่ยก็จะยิ่งยาวขึ้นและซับซ้อนมากยิ่งขึ้นแต่นั้นก็เป็นข้อดีทำให้เรามีข้อมูลที่สามารถเก็บเพิ่มและนำไปวิเคราะห์ได้เพิ่มมากยิ่งขึ้น

การติดตามการเดินทางของลูกค้า(Customer Journey) อาจเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก ต้องใช้ข้อมูลมากมายในการค้นหาว่าลูกค้ากำลังทำอะไรอยู่ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อบางอย่างและอยู่ในขั้นตอนกระบวนการไหนแล้วในระหว่างซื้อ จึงเป็นการยากที่จะสร้างภาพที่แม่นยำ 100 เปอร์เซ็นต์(Customer Journey Map) แต่ถ้าเรามีข้อมูลที่เพียงพอ การศึกษาเส้นทางในการซื้อของลูกค้าจะมีเป็นประโยชน์มาก อย่างที่เกริ่นไปก่อนหน้าเพราะเราสามารถนำ Customer journey ที่ได้ไปวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงเส้นทางการเข้ามาของลูกค้าการซื้อของลูกค้ารวมทั้งกระทั่งช่องทางการปิดการขายว่าทำไมลูกค้าถึงได้เลือกซื้อผ่านช่องทางนี้ ช่องทางที่ลูกค้าได้เลือกซื้อดีกว่าช่องทางอื่นอย่างไรจึงนำไปสู่การทำ Personalize marketing ซึ่งการที่ดู Customer journey แน่นอนว่าคุณจะต้องดูทีละคนเก็บรวบรวมข้อมูล Data ของลูกค้าที่มีความเหมือนกันคล้ายคลึงกันแล้วจัดทำ segmentation เพื่อนำไปสู่การทำ Personalize marketing ต่อไป

Modern Consumer Journey: Everything You Need to Know

การเดินทางของลูกค้า (Customer Journey)

1. Awareness (การรับรู้)

การรับรู้หมายถึงสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการไปยังกลุ่มเป้าหมาย ในระหว่างขั้นตอนAwareness การเดินทางของผู้บริโภค(Customer journey)มีความสำคัญอย่างมากลูกค้าจะค้นหาโซลูชันและพบกับแบรนด์และผลิตภัณฑ์ที่มากมายแต่เราจะทำอย่างไรให้ลูกค้าเกิดความสนใจและหยุดที่เรา

ดังนั้นสิ่งที่เราต้องรู้ในขั้นตอนของ Awareness คือ

สิ่งที่ผู้บริโภคกำลังทำ: ในขั้นตอนนี้ ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะทำการค้นหาข้อมูลและเปรียบเทียบจากหลายแหล่ง ซึ่งอาจรวมถึงการค้นหาวิธีแก้ไขปัญหาจากKeyword ที่สำคัญ การอ่านโพสต์ในบล็อกและบทความข่าวหรือการเรียกดูฟอรัมออนไลน์

แบรนด์สามารถทำอะไรได้บ้าง: ลูกค้าหรือผู้บริโภคจะต้องตั้งคำถามเสมอว่าแบรนด์หรือสินค้าที่จะเลือกซื้อมานั้นจะช่วยแก้ไขปัญหาและตอบโจทย์เราอย่างไรเมื่อซื้อสินค้าหรือบริการแล้ว

อย่างไรก็ตามเราคงไม่อยากที่จะให้ลูกค้าเข้าถึงการรับรู้ถึงแบรนด์เพียงอย่างเดียวนั่นจึงนำไปสู่ข้อถัดไปก็คือให้ลูกค้าเกิดการพิจราณา(Consideration) แบรนด์หรือสินค้าของเรา

2. Consideration (การพิจารณา)

ในขั้นตอนนี้แบรนด์จะให้ความสำคัญอย่างมากกับโปรโมชั่นในระหว่างขั้นตอนการพิจารณา(Consideration) นี่คือจุดที่ลูกค้าเริ่มมองหาทางเลือกอื่นนอกเหนือจากการซื้อในอดีตหรือร้านเดิมที่เคยซื้อหรือใช้บริการ ในระหว่างขั้นตอนนี้สินค้าหรือบริการของเราจะต้องพยายามโน้มน้าวให้ผู้ที่มีโอกาสเป็นลูกค้าหรือมีโอกาสจะซื้อรวมเราไว้ในรายการตัวเลือกร้านที่จะซื้อเพื่อพิจราณาต่อไป

แบรนด์ของเรามักจะได้รับการพิจารณา(Consideration) ควบคู่ไปกับแบรนด์อื่นๆอย่างแน่นอนดังนั้นเราจึงต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าทุกๆ Journey ของลูกค้าจะต้องสร้างความประทับใจให้กับลูกค้า

ณ จุดนี้ ผู้บริโภคจะมีการพูดคุยโต้ตอบโดยตรงกับแบรนด์ และเราจะต้องพยายามให้ลูกค้าอยู่บน Customer journey ของเราให้ได้

ถึงตรงนี้ลูกค้าสามารถทำการค้นหาแบรนด์และผลิตภัณฑ์เฉพาะ เปรียบเทียบคู่แข่ง ซึ่งอาจรวมถึงการดูข้อกำหนดและคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์และบริการอย่างใกล้ชิด การตรวจสอบนโยบายการสนับสนุนลูกค้า และการดูรีวิวจาก KOL หรือ Influencer

สิ่งที่แบรนด์สามารถทำได้คือ ให้ความสำคัญกับประสบการณ์ผู้ใช้ (UX) เพิ่มประสิทธิภาพ UX อย่างต่อเนื่องในทุกๆ Touchpoint รวมถึงธุรกรรมอีคอมเมิร์ซและหน้าคำอธิบายโดยต้องง่ายรวดเร็วและกระชับ

ตัวอย่างเช่น คนๆ หนึ่งรู้ตัวว่ากำลังหิวและสามารถมองหาร้านอาหารในแอปอย่าง Google Maps ได้

สมมติว่าธุรกิจของเรามีองค์ประกอบที่ครบตามที่ Google maps ให้ใส่ เช่น มีข้อมูลเกี่ยวกับประเภทอาหารที่ขาย เมนู รูปภาพของสถานที่และอาหาร หมายเลขโทรศัพท์ และคำวิจารณ์เชิงบวกจากลูกค้าที่จริงใจ ในกรณีนี้ เราอาจทำให้ลูกค้าคิดว่าเราเป็นทางเลือกที่ยอดเยี่ยมสำหรับสิ่งที่พวกเขากำลังมองหาร้านอาหารดีดีสักที่

3. Purchase (การซื้อ)

เมื่อลูกค้าได้รับข้อมูลได้มากระดับหนึ่งและพิจราณาแล้วว่ารู้สึกมั่นใจว่าสินค้านี้ดีเเละจะตอบโจทย์ความพึงพอใจของลูกค้าได้ จึงตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการนั้นๆ

ในขั้นตอนการซื้อนั้น ผู้ให้บริการหรือผู้ที่ขายสินค้าจะต้องทำอย่างไรก็ได้ที่จะให้ลูกค้าสะดวกสบายในการจ่ายเงินมากที่สุด ตัวอย่างเช่น ลูกค้ามีช่องทางการชำระเงินที่หลากหลาย Ex. บัตรเครดิต บัตรเดบิต โอนผ่านบัญชีธนาคาร ชำระผ่านตัวกลางอย่างเช่น Shopeepay หรือ ผู้ให้บริการบางรายในปัจจุบันสามารถให้ลูกค้าเลือกผ่อนชำระได้ และมากไปกว่านั้นสามารถจ่ายเป็นคริปโตได้อีกด้วย

ดังนั้นขั้นตอนการซื้อหลังจากที่ลูกค้าพิจราณาแล้วจึงมีความสำคัญอย่างมากถ้าเกิดในระหว่างการซื้อสินค้าของลูกค้าเกิดเว็บล่ม ระบบไม่ทำงานอาจทำให้ลูกค้าบางรายเกิดการเปลี่ยนใจไปซื้อสินค้าจากแบรนด์คู่แข่งไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อมแทน

4. Retention (การใช้บริการซ้ำหรือการซื้อซ้ำ)

ในขั้นตอน Retention หมายถึง เมื่อลูกค้าเกิดความพึงพอใจใน Customer journey ตั้งแต่ Awareness Consideration และ Purchase แต่ไม่ใช่แค่นั้นเมื่อลูกค้าได้ลองใช้บริการหรือสินค้าแล้วและเกิดความพึงพอใจต่อ Product หรือ Service ก็สามารถทำให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำได้เช่นกัน ดังนั้นแบรนด์ควรมีช่องทางการสื่อสารกับลูกค้า เพื่อแจ้งโปรโมชั่น ข่าวสารส่วนลด รวมถึงสินค้าและบริการใหม่ๆ เพื่อช่วยกระตุ้นให้กลับมาซื้อซ้ำ และควรที่จะขอข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าไว้ด้วยเช่น E-mail เพื่อทำ E-mail marketing ส่งโปรโมชั่นส่วนลดต่างๆให้กับลูกค้า

และมากไปกว่านั้นประสบการณ์หลังการขายก็เป็นสิ่งสำคัญอย่างมากที่จะทำให้ลูกค้ากลับมาใช้บริการซ้ำหรือซื้อซ้ำ การให้บริการหลังการขายที่ดีจะทำให้เกิดการบอกต่อแบบปากต่อปากลูกค้าจะไปแนะนำเพื่อนหรือครอบครัวให้ใช้บริการหรือซื้อสินค้าของเราต่อไปเราเรียกว่า Advocacy

5. Advocacy (การบอกต่อหรือการสนับสนุน)

การที่จะเกิด Advocacy ได้ต้องมาจาก Customer experience ที่ดี อย่างที่บอกไปในข้อ 4 ว่า เมื่อลูกค้าได้รับประสบการณ์หลังการขายที่ดีจะทำให้เกิดการตลาดแบบบอกต่อแบบปากต่อปากการตลาดแบบปากต่อปากหรือบอกต่อ คือหนึ่งในวิธีทำการตลาดที่ทรงพลังมากที่สุด ลูกค้าจะไปแนะนำเพื่อนหรือครอบครัวให้ใช้บริการหรือซื้อสินค้าของเราต่อไป ซึ่งสามารถดึงดูดลูกค้าใหม่ๆมายังแบรนด์ได้ หลายๆคนตัดสินใจซื้อตามรีวิวจากเพื่อนร่วมงานหรือ KOL & Influencer เมื่อคนหนึ่งบอกเพื่อนคนหรือสองคนและคนอื่นๆ

เราสามารถที่จะจัดเป็นแคมเปญด้านการตลาดได้อีกด้วยอย่างเช่น Referrals แคมเปญ หมายถึงถ้าลูกค้าใช้สินค้าเราและคิดว่าดีขอให้ลูกค้าบอกต่อเพื่อนหรือคนในครอบครัวของลูกค้าและเมื่อลูกค้าบอกต่อแล้วเกิดการซื้อถึง 5 คนขึ้นไปโดยอ้างอิงจากชื่อของลูกค้าทางเราจะมี Vouncher เงินสดให้กับลูกค้ามูลค่า 1,000 บาทเพื่อใช้ซื้อของของทางแบรนด์เรา

โดยการที่จะทำ advocacy ได้นั้น เราต้องคำนึงถึงสิ่งสำคัญคือเส้นทางของการโฆษณาประชาสัมพันธ์ รวมถึงบริการต่างๆ ว่าสอดคล้องกับเส้นทางของลูกค้าหรือไม่ ดังนั้นเราก็ต้องย้อนกลับไปดูข้างบนเรื่อง Customer Journey การที่เราสามารถเข้าใจเส้นทางข้างลูกค้าจะทำให้เราเข้าไปอยู่ในเส้นทางของลูกค้าซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการขายและการบอกต่อเพื่อให้ผู้อื่นมาซื้อเช่นเดียวกันกับตัวลูกค้า

https://www.superoffice.com/blog/customer-journey/

สรุปสั้นๆจากบทความ

การที่เราสามารถรู้ Customer Journey ของลูกค้าได้นั้นมีความสำคัญอย่างมากในการทำการตลาดปัจจุบัน เพื่อปรับปรุงและแก้ไขข้อบกพร่องของเราเองเพื่อทำให้เกิดความประทับกับลูกค้าได้มากที่สุดตั้งแต่การเห็นสินค้าหรือแบรนด์ การพิจราณาเปรียบกับคู่แข่ง การซื้อสินค้าและการบริการหลังการขาย ไปจนถึงการซื้อซ้ำหรือบอกต่อของลูกค้า ทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวมานี้เราสามารถที่จะนำไปทำ Personalize marketing ได้จากข้อมูล journey โดยการแบ่ง segmentation และยิง ads แคมเปญหรือโปรโมชั่น

สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

รู้จักกับ “Social Chat” ระบบรวมแชทที่รวมทุกช่องทางไว้ในที่เดียว

แนะนำว่าระบบรวมแชทคืออะไร พร้อมบอกต่อฟีเจอร์ Social Chat ของ Connect X มีคุณสมบัติและประโยชน์ต่อแบรนด์อย่างเหนือขั้น

ปัจจุบันช่องทางการซื้อขายในรูปแบบ Social Commerce เป็นช่องทางที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก แบรนด์ต่างๆ จึงเริ่มปรับตัวและวางกลยุทธ์ทางการตลาดในด้านนี้มากขึ้น โดยเฉพาะการตลาดบน Social Media ที่หากแบรนด์ใดการตลาดบนโซเชียลมีเดียได้ดี ก็จะเป็นที่รู้จักและสามารถเพิ่มยอดขายได้มากขึ้น เนื่องจากเป็นช่องทางที่ผู้คนนิยมใช้งานมมากที่สุดในปัจจุบันนั่นเอง

ในยุคโซเชียลแบบนี้ สิ่งที่ไม่ควรมองข้ามเลยก็คือระบบการจัดการ ที่สามารถสนับสนุนธุรกิจให้บริการได้อย่างทันท่วงที รวดเร็วทันใจเหมาะกับพฤติกรรมผู้บริโภคในยุคสมัยปัจจุบัน ดังนั้น Connect X ขอชวนมาทำความรู้จัก “ระบบรวมแชท” ที่ช่วยอำนวยความสะดวกทั้งด้านการบริการและการจัดการภายในธุรกิจ ช่วยสร้างความประทับใจให้และสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้า อีกทั้งยังปิดการขาย เพิ่มกำไรได้ไวด้วย

ทำความรู้จักกับระบบรวมแชท

“ระบบรวมแชท” คือ โปรแกรมที่สามารถรวมแชทจากช่องทางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Facebook Messenger, LINE, Instagram ให้มาอยู่ในหน้าจอเดียวกัน เพื่อสร้างความสะดวกสบายให้กับธุรกิจผู้ให้บริการ ในการตอบคำถามลูกค้า บอกโปรโมชัน และปิดการขายได้ง่ายดาย

ทั้งนี้ยังมีฟีเจอร์ต่างๆ ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพิ่มเติม ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามผู้ให้บริการหรือผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ (Software Developer) แต่ละเจ้า ระบบรวมแชทไม่เพียงช่วยให้เหล่าแอดมินตอบลูกค้าได้ง่ายและรวดเร็วเท่านั้น แต่ยังสามารถช่วยเหลือในด้านการบริหารจัดการภายในธุรกิจได้อีกด้วย

Social Chat ระบบรวมแชทจาก Connect X พร้อมฟีเจอร์สุดปัง

ตอบกลับลูกค้าจากทุก Platform ยอดฮิต ได้ในหน้าจอเดียว สามารถเก็บข้อมูลของลูกค้าและสามารถติดตามได้ว่าลูกค้าทักมาจากช่องทางใด เคยติดต่อจากแพลตฟอร์มไหนมาก่อน เคยสนใจสินค้าอะไร ทำให้แอดมินตอบคำถามและให้คำแนะนำได้ตรงใจลูกค้ามากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้ปิดการขายและสร้างความประทับใจได้รวดเร็วกว่า

โดย Social Chat ของ Connect X รองรับช่องทางการแชทยอดนิยมมากมายอย่าง Facebook Messenger, LINE OA, Instagram, Website (Live Chat) ไปจนถึง Pantip (Social Listening) พร้อมฟีเจอร์แน่นๆ เพื่อช่วยเหลือแบรนด์อย่างรอบด้าน ได้แก่

  • Ticket Management – สามารถแชทลูกค้าจัดได้อย่างเป็นระบบและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้สูงสุด ทุกข้อความที่ลูกค้าทักเข้ามาใหม่ จะถูกส่งไปหาแอดมินที่ถูกแบ่งหน้าที่เอาไว้ หรือสามารถปรับแต่งได้ตามความเหมาะสมกับสถานการณ์ เพิ่มประสิทธิภาพในทุกการตอบกลับ แก้ปัญหาลูกค้าได้ทันที ปิดการขายได้เร็วกว่า
  • Agent Routing – แก้ไขปัญหาแอดมินตอบแชทช้า ด้วยการจัดการเส้นทางให้มีการตอบกลับ 2 รูปแบบ
  • Channel: ตั้งค่าให้แอดมินแยกตอบตามช่องทาง Social Media
  • Most Available: ตั้งค่าให้แอดมินที่ว่างที่สุดเป็นคนตอบแชทล่าสุดก่อน

นอกจากนี้ยังสามารถวัด Performance การทำงานของแอดมินแต่ละคนได้ ว่ามีการตอบกลับรวดเร็วแค่ไหน มีจำนวนในการตอบกลับเท่าไหร่ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและวัดผลได้เป็นอย่างดี

  • Customer Activity – สามารถเห็นทุกความเคลื่อนไหวของลูกค้า ตั้งแต่ก่อนที่ลูกค้าจะติดต่อมาในหน้าจอเดียว เช่น ลูกค้า Add LINE มาจาก โฆษณา (Ads) ตัวไหน และรู้ได้ว่าลูกค้าสนใจสินค้าอะไรก่อนที่จะทักเข้ามา ทำให้ทุกข้อความที่ตอบกลับไปสามารถสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าได้มากกว่า จนลูกค้าติดใจอยากกลับมาซื้ออีกครั้ง เพราะอยากได้รับประสบการณ์ดีๆ แบบนี้อีก
  • Marketing Automation – ช่วยสร้างการเข้าถึงลูกค้าด้วยแคมเปญการตลาดที่สร้าง Customer Journey ให้กับกลุ่มลูกค้าเก่าและกลุ่มลูกค้าใหม่ที่มีกิจกรรมหรือความสนใจคล้ายกัน โดยสามารถสร้าง Journey ในช่องทางที่หลากหลาย เช่น Email, SMS, Facebook, LINE, Web Push notification หรือ Mobile Push notification ซึ่งออกแบบได้ทั้งการส่งแบบ Recurring ตามเงื่อนไขของ Data เช่น Happy Birthday Campaign หรือ Campaign ตามเทศกาลสำคัญอื่นๆ
  • Collect Data to Re-Marketing – สามารถเก็บรายละเอียดบันทึกการขาย (Order) ในหน้าเดียวกันได้ ทำให้ข้อมูลลูกค้าและการขายจากช่องทางต่างๆ ถูกบันทึกเก็บไว้ที่เดียวกันแบบ Unify Customer Data เพื่อนำไปสร้าง แคมเปญหรือทำการ Retargeting ใน Channel อื่นๆต่อไป
  • Pantip Social Listening – ระบบที่เข้ามาช่วยสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์ในสังคมออนไลน์ โดยสามารถสร้าง Engagement และรับมือกับทุกดราม่าในกระทู้ได้ทันท่วงที ด้วยการจับ Keyword ในกระทู้ Pantip ให้แอดมินตอบกลับได้ทันที ทุกครั้งที่มีลูกค้าพูดถึงแบรนด์

จากที่กล่าวมาทั้งหมด เห็นได้ว่า Social Chat ระบบรวมแชทจาก Connect X เป็นเครื่องมือที่ช่วยบริหารจัดการแบรนด์ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และช่วยสร้างประสบการณ์ในการใช้บริการสุดประทับใจให้กับลูกค้าได้ไม่เหมือนใคร เพราะมีฟีเจอร์สุดเจ๋ง พร้อมยกระดับให้แบรนด์ของคุณสร้างยอดขายจนขึ้นเป็นแนวหน้าในอุตสาหกรรมเลยทีเดียว

สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

5 ขั้นตอนวางกลยุทธ์การตลาดด้วยระบบ CRM (Customer Relationship Management) เพื่อธุรกิจยุคใหม่

ใครที่อยู่ในแวดวง Tech หรือ Online Marketing คงคุ้นเคยกับระบบ Customer Relationship Management (CRM) ที่เป็นเครื่องมือที่ช่วยบริหารการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ โดยอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาเป็นตัวกลางระหว่างแบรนด์กับลูกค้าได้เป็นอย่างดี เนื่องจากในปัจจุบัน โลกมีธุรกิจใหม่ๆ เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่การตลาดออนไลน์จะมีการแข่งขันที่สูงขึ้นไปด้วย ผู้ประกอบการมือใหม่จำเป็นที่จะต้องมีเครื่องมือหรือตัวช่วยที่สามารถเข้าใจความต้องการของลูกค้าได้จริง และสามารถสื่อสารความต้องการได้อย่างตรงจุด

โดยระบบ Customer Relationship Management (CRM) เป็นเทคโนโลยีที่มีคอนเซปต์คือ  “การสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวกับลูกค้า ผ่านการเก็บข้อมูลเชิงลึก” จึงทำให้ธุรกิจรู้ได้ว่าอะไรคือสิ่งที่เหมาะสมต่อความต้องการของลูกค้า เพื่อที่จะนำเสนอสินค้าหรือบริการที่ตอบโจทย์ได้จริง เพราะว่าเทรนด์การบริโภคของผู้คนในยุคนี้เปลี่ยนไปอยู่เสมอ การตัดสินใจที่ผิดพลาดเพียงหนึ่งครั้งอาจส่งผลเสียที่ยากเกินแก้ไขได้ในระยะยาว ฉะนั้นแบรนด์ไหนที่ปรับตัวได้ไวรู้จักเลือกใช้เทคโนโลยีเข้ามาเป็นตัวช่วยได้ก่อน ก็จะได้เปรียบกว่าคู่แข่งในตลาดออนไลน์

ดังนั้นในวันนี้ Connect X จะพาผู้ประกอบการมือใหม่ทุกคนมาดู 5 ขั้นตอนวางกลยุทธ์การตลาดด้วยระบบ CRM เพื่อธุรกิจยุคใหม่กัน ถ้าพร้อมแล้ว ไปดูกันเลย

มารู้จักระบบ CRM ให้มากขึ้น

Customer Relationship Management หรือที่หลายคนเรียกกันว่า ระบบ CRM แท้ที่จริงแล้วเป็นเครื่องมือสำหรับการทำการตลาดออนไลน์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถค้นหากลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ ในขณะเดียวกันก็รักษาฐานลูกค้าเดิมให้อยู่กับแบรนด์ไปนานๆ ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบแคมเปญในช่องทางต่างๆ ทั้งการทำ Email Marketing ไปจนถึงการทำ Personalized Marketing ซึ่งเป็นการคิดแคมเปญหรือคอนเทนต์ที่ถูกจริตกับกลุ่มเป้าหมายที่แบรนด์ต้องการ โดยทั้งหมดจะอิงจากการเก็บข้อมูลเชิงลึกของลูกค้าผ่านพฤติกรรมการเข้าชมเว็บไซต์หรือประวัติการเข้าชมและซื้อสินค้า และตามแนวทางอื่นๆ ที่สำคัญคือการเก็บข้อมูลเหล่านี้ต้องเป็นไปตาม PDPA เพื่อให้ถูกต้องตามหลักข้อกฎหมายที่ต้องให้ความเป็นส่วนตัวต่อข้อมูลของลูกค้าให้มากที่สุด

โดยระบบบริหารความสัมพันธ์ลูกค้าหรือ CRM นี้ หากใช้อย่างถูกต้องจะส่งผลให้กลุ่มลูกค้าเกิดความประทับใจและเป็นการสร้าง Brand Loyalty ให้กับองค์กรในระยะยาว พูดง่ายๆ คือเครื่องมือนี้ไม่ได้เน้นเพียงแค่การขายเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงการเก็บรวบรวมและจัดการกับข้อมูลของลูกค้าเพื่อให้สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อแบรนด์ในแง่ของการพัฒนาและปรับปรุงแผนการตลาดออนไลน์ให้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นในอนาคตนั่นเอง

5 ขั้นตอนวางกลยุทธ์การตลาดด้วยระบบ CRM

สำหรับแบรนด์หรือนักการตลาดมือใหม่ที่กำลังสนใจในการใช้เครื่องมือ CRM แต่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรดี ConnectX จะมาแนะนำเทคนิคพื้นฐานที่ต้องรู้ เริ่มจาก

1.เก็บข้อมูลให้รอบด้าน

เหนือสิ่งอื่นใดหากต้องการให้เครื่องมือ CRM สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด แบรนด์หรือองค์กรจำเป็นที่จะต้องมีการสร้างฐานข้อมูลของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้มองเห็นภาพรวมทุกการ “ติดต่อ (Connect)” ของลูกค้าครบทุกมิติ โดยไม่ว่าจะในแผนกใดของแบรนด์ก็ตามจำเป็นที่จะต้องมีฐานข้อมูลลูกค้าชุดเดียวกัน เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าถึงข้อมูลลูกค้าทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นฝ่ายขาย ฝ่ายบริการ ฝ่ายการตลาด เป็นต้น พูดง่ายๆ ว่าหากแบรนด์หรือองค์กรสามารถจับคู่ทุกข้อมูลของลูกค้าให้รวมเป็นหนึ่งเดียวได้ ก็จะทำให้การทำงานในขั้นต่อไปมีความสะดวกและลดปัญหาต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในระยะยาวได้ด้วยนั่นเอง

2.ใช้ AI และ Big Data ให้สอดคล้องกับธุรกิจยุคใหม่

ต้องยอมรับว่าในปัจจุบันเทคโนโลยีสมัยใหม่มีความสามารถที่มีประสิทธิภาพเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ สอดคล้องกับเทรนด์การทำการตลาดออนไลน์ในปัจจุบันที่ไม่ใช่แค่รู้ใจลูกค้าเพียงเท่านั้น แต่แบรนด์ยังต้องตอบสนองความต้องการต่างๆ ของลูกค้าในทันที ดังนั้นการเลือกใช้เครื่องมือ CRM ที่มีระบบ AI ในการช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกหรือคาดการณ์ข้อมูลต่างๆ นับว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่จะขาดไปไม่ได้ เพราะระบบ AI จะช่วยให้งานของแบรนด์ลดน้อยลงแต่สามารถสื่อสารได้ตอบโจทย์ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้ตรงจุดมากขึ้น เหมือนยิงปืนนัดเดียวได้นกถึงสองตัวนั่นเอง

3.กำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัด

หากแบรนด์เลือกใช้เครื่องมือที่มีเทคโนโลยี AI หรือ Big Data แล้ว นั่นหมายถึงการคาดการณ์กลุ่มเป้าหมายที่มีแนวโน้มจะเปลี่ยนเป็นลูกค้าของแบรนด์ก็จะเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น โดยอาจจะเริ่มต้นการทำ Audience Segmentation หรือการแบ่งกลุ่มลูกค้าเพื่อให้สามารถทำการตลาดแบบ Hyper-Personalization ซึ่งจะเป็นการเจาะลึกพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายได้ลึกมากขึ้น

4.สื่อสารให้ตรงจุด

ในขั้นตอนนี้ถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด เนื่องจากจะเป็นการสื่อสารและโต้ตอบกับลูกค้าผ่านข้อมูลเชิงลึกที่ได้เก็บรวบรวมมาในตอนแรก อย่างที่บอกว่าในปัจจุบันกลุ่มลูกค้าสมัยใหม่ต้องการบริการแบบเฉพาะบุคคลเพิ่มมากขึ้น และมีความคาดหวังให้แบรนด์ช่วยนำเสนอสินค้าและบริการที่จะตอบโจทย์ความต้องการให้ได้มากที่สุด ถือได้ว่าเป็นความท้าทายที่แบรนด์ยุคใหม่ต้องเผชิญ พูดง่ายๆ ว่านอกเหนือจากการแข่งขันกับแบรนด์ต่างๆ ด้วยกันเองแล้ว แบรนด์ยังต้องพยายามพิชิตใจลูกค้าให้ได้อีกด้วย อย่างไรก็ตามข้อควรระวังคืออย่าให้การสื่อสารกลายเป็นการสร้างความรำคาญให้แก่ลูกค้าแทน ไม่เช่นนั้นแทนที่จะได้ยอดขายสินค้าเพิ่มขึ้นอาจจะกลายเป็นยอดคอมเมนต์ในด้านลบมากขึ้นแทน

5.ประเมินผลและพัฒนากลยุทธ์อยู่เสมอ

เพื่อเป็นการปรับปรุงประสบการณ์ลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น การตรวจสอบและคอยประเมินผลลัพธ์อย่างสม่ำเสมอจึงเป็นสิ่งสำคัญ อย่าลืมว่าโลกในตอนนี้ถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ทำให้ความต้องการของลูกค้าในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาขึ้นอยู่กับกระแสใหม่ๆ ที่อาจส่งผลต่อความคิดความต้องการของกลุ่มลูกค้า หรือเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่สามารถตอบโจทย์ได้มากกว่า ดังนั้นแบรนด์หรือองค์กรควรที่จะต้องหมั่นตรวจสอบถึงความเปลี่ยนแปลงต่างๆ เหล่านี้เพื่อคอยประเมินผลและปรับปรุงอยู่เสมอ เพื่อให้แน่ใจว่ากลยุทธ์การตลาดออนไลน์ของแบรนด์พร้อมที่จะแข่งขันกับคู่แข่งและสามารถพิชิตความต้องการของลูกค้าได้มากที่สุด

ทิ้งท้าย

ต้องบอกว่าแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จในปัจจุบัน โดยส่วนมากแล้วมี Business Model ที่สอดคล้องกับเทรนด์ของ Digital Transformation ในโลกธุรกิจยุคปัจจุบันที่มีการผสานเทคโนโลยีดิจิทัลเข้าไปในทุกอณูของแบรนด์หรือองค์กรอย่างเต็มรูปแบบ โดยเฉพาะในการทำงานด้านการตลาดที่ต้องอาศัยเครื่องมือใหม่ๆ เข้ามาช่วยให้การทำงานมีความลื่นไหลและมีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น อย่างการใช้เครื่องมือที่ช่วยในการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ก็ถือได้ว่าเป็นหัวใจหลักของการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน ซึ่งการมีเครื่องมือที่ดีก็เปรียบเสมือนกับการที่แบรนด์มีแขนและขาเพิ่มขึ้น นำไปสู่รายได้ที่เพิ่มขึ้นและผลกำไรที่มากขึ้นในระยะยาว

สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

ทำความรู้จัก Loyalty Program การสานสัมพันธ์ลูกค้าที่แบรนด์ยุคนี้ต้องมี

ปัจจุบันแบรนด์สินค้าและธุรกิจต่างก็แข่งขันกันเพื่อเข้าหาลูกค้าอย่างดุเดือดมากขึ้นทุกปี นักการตลาดยุคใหม่จึงต้องหาวิธีในการเพิ่มยอดขาย ขยายธุรกิจ และรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้า ซึ่งหนึ่งในกลยุทธ์ที่หลายแบรนด์ชอบใช้ก็คือ Loyalty Program นั่นเองครับ

บทความนี้ Connect X จะมาแนะนำ Loyalty Program ให้ทุกคนได้ทำความเข้าใจกันแบบง่ายๆ ครับ

Loyalty Program คืออะไร

Loyalty Program คือ โปรแกรมที่จะช่วยรักษาความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์และลูกค้า หากแปลเป็นไทยก็คือ ‘โปรแกรมความภักดี’ จุดเด่นของโปรแกรมนี้อยู่ที่การทำให้ลูกค้ารู้สึกเหมือนเป็นคนพิเศษกว่าลูกค้าทั่วไป ส่งผลให้เกิด Customer Retention หรือการกลับมาซื้อซ้ำไม่เปลี่ยนใจไปหาแบรนด์อื่น และสร้าง Customer Loyalty ได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย ท้ายที่สุดจะทำให้ธุรกิจเติบโตในระยะยาวนั่นเองครับ

Loyalty Program เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า หรือที่เรารู้จักกันว่า ระบบ CRM (Customer Relationship Management) ซึ่ง Loyalty Program ที่เราเห็นได้กันบ่อยๆ ก็คือ ระบบสมาชิก บัตรสะสมแต้ม Cashback หรือกิจกรรมอื่นๆ ที่กระตุ้นให้ลูกค้ากลับมาซื้อสินค้าและใช้บริการซ้ำ

นอกจากนี้ยังมีสถิติที่น่าสนใจ อย่างเช่น บริษัทที่มีกลยุทธ์ Loyalty Program ที่ดีจะสามารถสร้าง Revenue ได้เร็วกว่าคู่แข่งมากถึง 2.5 เท่า (อ้างอิง)

Loyalty Program ทำงานยังไง

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า Loyalty Program นั้นเป็นส่วนหนึ่งของ CRM ดังนั้นขั้นในการเริ่มต้นทำโปรแกรมความภักดี ได้แก่

  1. รวบรวมข้อมูลลูกค้า (Customer’s Database) ธุรกิจอาจเริ่มจากการชักชวนให้ลูกค้าสมัครเข้ามาเป็นสมาชิก เพื่อลงทะเบียนข้อมูลอย่างเช่น ชื่อ นามสกุล เพศ วันเกิด ข้อมูลติดต่อเช่น ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ หรือ E-mail และสามารถเสนอของตอบแทนเล็กๆ น้อยๆ เป็นการแลกเปลี่ยนขอข้อมูลเหล่านั้น
  2. แบ่งกลุ่มลูกค้า (Segmentation) เราก็จะสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาจัดเป็นกลุ่มลูกค้าแต่ละกลุ่มได้หลากหลายรูปแบบ เพื่อสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมกับสร้างโปรโมชันตอบโจทย์ความต้องการที่ต่างกันของลูกค้าแต่ละกลุ่ม
  3. มีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า (Interaction) เมื่อแบ่งกลุ่มและมีข้อมูลลูกค้าครบถ้วนแล้ว แบรนด์จะสามารถทำ Personalized Marketing, Remarketing รวมไปถึงการทำการตลาดและมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าได้อย่างแม่นยำครับ

Loyalty Program ส่งผลดีต่อธุรกิจอย่างไร

จะเห็นได้ว่า Loyalty Program นั้นจะใช้ประโยชน์จากข้อมูลของลูกค้า ซึ่งก็แน่นอนว่าจะให้ประโยชน์ต่อธุรกิจอย่างแน่นอน ดังนี้

  • สามารถดูแล จัดกลุ่มลูกค้าได้อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ Loyalty Program จะประมวลผลข้อมูลจากระบบฐานข้อมูลลูกค้า ทำให้เข้าใจถึงความแตกต่างของลูกค้าแต่ละกลุ่มได้ ช่วยให้คุณสามารถวางแผนการตลาดหรือสร้างแคมเปญการตลาดที่จะเหมาะสมสำหรับลูกค้าแต่ละกลุ่มได้
  • ลูกค้ากลับมาใช้บริการอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นระบบสะสมคะแนนหรือสมาชิกที่มอบส่วนลดและสิทธิพิเศษ ก็จะทำให้ลูกค้าติดใจ ยิ่งหากมี Loyalty Program ที่มีประสิทธิภาพ ก็จะทำให้ลูกค้าไม่หันไปใช้บริการแบรนด์อื่นๆ
  • นำไปสู่ Brand Loyalty ที่เรียกได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญต่อการพัฒนาแบรนด์ในอนาคตอย่างมาก เพราะลูกค้าจะมีทัศนคติที่ดีต่อแบรนด์ มีความยินดีที่จะพูดคุยเกี่ยวกับแบรนด์ที่ตนชอบ รวมถึงการออกตัวปกป้องแบรนด์ที่เขารักเมื่อมีข่าวเสียหายเกิดขึ้นด้วย

ตัวอย่าง Loyalty Program

หากผู้ถึงแต่ทฤษฎีเพียงอย่างเดียวก็อาจจะไม่เห็นภาพใช่ไหมครับ ถ้าอย่างนั้นเรามาดูตัวอย่าง Loyalty Program ของแบรนด์ในไทยที่แสนจะใกล้ตัวกันเลย

  • All Member (7-Eleven) เซเว่นคงเป็นร้านสะดวกซื้อที่ทุกคนต้องเข้าไปกันแทบทุกวัน ที่มีระบบสมาชิกอย่าง All Member ที่ลูกค้าต้องสมัครหากต้องการสิทธิพิเศษต่างๆ อย่างเช่น ส่วนลดของสินค้าในร้าน หรือสะสมคะแนนที่สามารถใช้แทนเงินสดได้ ซึ่งข้อมูลของลูกค้าที่แบรนด์ได้เก็บรวบรวมมา ก็สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในอนาคตทางการตลาดได้อีก
  • Starbucks Rewards (Starbucks) ใครที่เป็นชาวสตาร์บัคส์คงจะไม่พลาด Starbucks Rewards อย่างแน่นอน ที่จะใช้ระบบสะสมแต้มจำนวน ‘ดาว’ จากการซื้อแต่ละครั้ง และแบ่ง Tier ลูกค้าออกเป็น 3 ระดับ (Welcome, Green, Gold level) ซึ่งทั้งสามระดับก็ได้รับสิทธิพิเศษที่แตกต่างกัน ยิ่งระดับสูง สิทธิพิเศษที่จะได้รับก็ยิ่งดีมากขึ้นครับ เป็นการกระตุ้นให้ลูกค้ากลับมาซื้อสินค้าอยู่เรื่อยๆ เพื่อเป็นการอัป Tier ของตัวเองนั่นเอง

นอกจากตัวอย่างข้างต้น ก็ยังมีธุรกิจต่างๆ มากมายที่มี Loyalty Program อันน่าดึงดูดใจ แล้วท่านมีส่วนร่วมกับโปรแกรมของแบรนด์ไหนอยู่บ้างหรือเปล่า?

Connect X กับ Loyalty Connect

Connect X ที่เป็น CDP สำหรับธุรกิจยุค Digital ที่มาพร้อมกับ Loyalty Connect มีฟีเจอร์ต่างๆ มากมายที่รองรับการทำ Loyalty Program  ไม่ว่าจะเป็น

  • ระบบเก็บ Point ที่สามารถช่วยจัดการ Point และถ้าทางลูกค้ามีระบบสะสมคะแนนอยู่แล้ว ก็สามารถนำมาเชื่อมต่อกับ Connect X ได้โดยง่าย
  • Tier ที่จะจัดลำดับลูกค้าตามจำนวน Point ที่มี สามารถแบ่งได้เป็น Bronze, Silver, Diamond และยังสามารถส่งแคมเปญให้กับกลุ่มลูกค้าที่เป็น Potential Customer ได้อีกด้วย
  • สามารถเซ็ต Point ในระบบ Connect X ได้ทั้งรูปแบบการเก็บ Point และการแลก Pointไ
    • Point Earn เช่น ลูกค้าซื้อสินค้ามูลค่า รวม 2,000 บาท ได้ 20 Point, จับฉลากได้ 100 Point
    • Point Burn เซต Rewards เวลาลูกค้าแลกสิทธิ์ เช่น 1,000 Point แลก Gift Card หรือ 500 Point แลก Discount Coupon
  • API Connect สามารถเชื่อมต่อระบบการแลก Point ได้ในหลายระบบเช่น POS, Website และ Application
  • Marketing Automation เมื่อลูกค้ามีการใช้ Point ข้อมูล จะถูกส่งมาที่ระบบ Connect X เพื่อทำ Marketing Automation ต่อได้ทันทีหรือจะส่ง ข้อความแจ้งเตือนให้ลูกค้ากลับมาซื้อภายหลังก็ทำได้เช่นกัน
  • Point หมดอายุ ทางแบรนด์สามารถกำหนดวันหมดอายุของ Point ของลูกค้าได้จากในระบบ Connect X ได้โดยตรง  และสามารถเซ็ต Marketing Automation ให้แจ้งเตือนหาลูกค้าได้เมื่อใกล้ถึงวันหมดอายุเพื่อส่งแคมเปญให้มาแลกหรือซื้อของ หรือ ส่งข้อความแจ้งเตือนลูกค้าให้กลับมาซื้อซ้ำ เช่น ส่ง SMS แจ้งเตือนให้ลูกค้าที่มี Point จำนวน 900 ขึ้นไปให้มาช้อปให้ครบ 1,000 Point เพื่อแลกแต้มเป็น Gift Card
  • Gift Management เมื่อแบรนด์มีแคมเปญแลกของสามารถเซ็ตของรางวัลและจำนวน Point ที่ลูกค้าต้องใช้แลกใน Connect X ได้เลย

Loyalty Program นั้นมีความสำคัญมากต่อการตลาดในยุคดิจิทัลนี้ เพื่อเป็นการรักษาฐานลูกค้าเดิมให้อยู่กับแบรนด์ไปนานๆ รวมถึงดึงดูดให้ลูกค้าใหม่เข้ามาเป็น Loyalty Customer ส่งเสริมการเติบโตของธุรกิจครับผม

สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

จริงหรือไม่? 3 เรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับ PDPA เปลี่ยนความคิดด่วน

เพราะข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญ กฎหมาย PDPA จึงเกิดขึ้นเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล แต่หลายคนก็ยังสงสัยหรือเข้าใจผิดเกี่ยวกับ PDPA อยู่ ดังนั้นมาไขข้อสงสัยกันดีกว่า

พอกฎหมาย PDPA (Personal Data Protection Act) ได้ประกาศบังคับใช้อย่างเป็นทางการไปเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ทำให้ผู้ประกอบการและภาคธุรกิจต้องปรับตัวกันยกใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการขอความยินยอมในการเก็บข้อมูล การจัดทำนโยบายความเป็นส่วนตัว การนำข้อมูลไปใช้ ไปจนถึงการกำกับดูแลข้อมูล

สำหรับการขอความยินยอมหรือ Consent เพื่อเก็บข้อมูลจากลูกค้าถือเป็นกุญแจสำคัญในการทำ Digital Marketing ซึ่งหลากหลายธุรกิจต่างก็ต้องหาข้อมูลอย่างเคร่งครัดเกี่ยวกับข้อห้าม PDPA ว่าอะไรที่สามารถทำได้หรือทำไม่ได้ แต่สำหรับมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มศึกษาก็ต้องเจอกับรายละเอียดข้อมูลมากมายที่อาจทำให้สับสนได้ง่ายๆ

3 เรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับ PDPA ต้องเคลียร์ ไม่ให้สับสน

เชื่อว่าทั้งผู้บริโภคและเจ้าของธุรกิจหลายๆ คนยังมีเรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับ PDPA อยู่ไม่น้อย ดังนั้น Connect X จะมาไขข้อสงสัยต่างๆ เกี่ยวกับพ.ร.บ. ฉบับนี้ให้กระจ่าง ตามมาดูกันได้เลย!

1. ข้อห้าม PDPA มีเพียงผู้ประกอบการหรือธุรกิจเท่านั้นที่ต้องทำตาม

จากชื่อ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หลายคนจึงเข้าใจว่ามีเพียงแค่ธุรกิจเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบและต้องปฏิบัติตามข้อบังคับต่างๆ ของ PDPA อย่างไรก็ตาม ต้องบอกว่ากฎหมายนี้ให้การคุ้มครองข้อมูลอย่างครอบคลุม เพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับเจ้าของข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทร อีเมล เลขบัตรประชาชน ข้อมูลลายนิ้วมือ เลขบัญชีธนาคาร หรือข้อมูลอื่นๆ ที่สามารถใช้ระบุตัวตนของเจ้าของข้อมูลได้ทั้งช่องทางออฟไลน์และออนไลน์

โดยการบังคับใช้ PDPA มีผลกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง คือ เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Subject) ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Collector) และผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processor) พูดง่ายๆ ว่าทั้งภาครัฐ เอกชน กิจการ และผู้บริโภคต่างก็ต้องปฏิบัติตามข้อกฎหมายนี้ด้วยกันทั้งหมด ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น ในกรณีที่ซื้อสินค้าออนไลน์แล้วมีการติดต่อพ่อค้าแม่ค้าโดยตรง เราจะได้เลขบัญชีเพื่อโอนจ่ายเงิน จากนั้นต้องแจ้งสลิป พร้อมชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทร สำหรับจัดส่งสินค้า ซึ่งข้อมูลทั้งหมดนี้ถือว่าเป็นข้อมูลส่วนบุคคล เท่ากับว่าพ่อค้าแม่ค้าและเราก็ต้องปฏิบัติตาม PDPA ทั้งคู่ ไม่นำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว เป็นต้น

2. ธุรกิจต้องได้รับความยินยอม (Consent) จากเจ้าของข้อมูลทุกครั้ง

สำหรับ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ยังมีบทบัญญัติเกี่ยวกับหลักการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลตามกฎหมาย PDPA ในมาตรา 24 ซึ่งมีหลักการเกี่ยวกับเรื่องความยินยอม (Consent) ก่อนที่แบรนด์หรือนักการตลาดจะนำข้อมูลไปเก็บในระบบ CRM หรือนำไปประกอบแคมเปญต่างๆ ก็ต้องขอความยินยอมก่อน เช่น การขอ Cookie Consent เพื่อจัดเก็บไฟล์คุกกี้และข้อมูลของผู้เข้าชมเว็บไซต์ แต่ไม่ได้แปลว่าธุรกิจจะต้องขออนุญาตทุกครั้งที่ต้องเก็บข้อมูล

จริงหรือไม่? 3 เรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับ PDPA เปลี่ยนความคิดด่วน

ในความจริงแล้ว เจ้าของข้อมูลต้องให้ความยินยอม (Consent) ต่อผู้ควบคุมข้อมูลตามที่แจ้งไว้ตั้งแต่แรกเพียงครั้งเดียวเท่านั้น อาทิ เมื่อสมัครสมาชิกผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน หลังจากกรอกรายละเอียดแล้ว จะมีข้อความหรือเอกสารให้อ่านพร้อมปุ่มกด “ยินยอม” หรือ “ยอมรับ” เพื่ออนุญาตให้ธุรกิจเก็บรวบรวมข้อมูลนั่นเอง ซึ่งจะเป็นการทำเพียงครั้งเดียว ไม่จำเป็นต้องกดยินยอมทุกครั้งเมื่อเข้าสู่ระบบ สำหรับมุมมองของธุรกิจนั้น การขอความยินยอมเพียงครั้งเดียวนี้ก็เป็นการอำนวยความสะดวกให้สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลของผู้ใช้งานหรือลูกค้าได้ต่อเนื่องและมีฐานข้อมูลครบถ้วน สามารถใช้ในการทำการตลาดหรือเพื่อปรับปรุง Marketing Automation ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้นั่นเอง

 

นอกจากนี้ ยังมีกรณีต่างๆ ที่ข้อมูลจะถูกเก็บรวบรวมได้ โดยได้รับข้อยกเว้น PDPA หรือไม่จำเป็นต้องขอความยินยอมดังนี้

  • กรณีป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพของเจ้าของข้อมูล รวมไปถึงการใช้ข้อมูลเพื่อประโยชน์สาธารณะ เช่น ป้องกันโรคระบาด ซึ่งผู้ควบคุมสามารถเก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผย ข้อมูลส่วนบุคคลได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอม
  • การปฏิบัติตามสัญญา ไม่ต้องขอความยินยอม
  • ปฏิบัติภารกิจของรัฐ ตามมาตรา 24(4) หากจำเป็นต่อการดำเนินภารกิจของรัฐเพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือเป็นการใช้อำนาจรัฐ การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อการนั้น ไม่ต้องขอความยินยอม อย่างไรก็ตาม แม้ไม่ต้องขอความยินยอม แต่ผู้ควบคุมยังคงมีหน้าที่ในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และคำนึงถึงความได้สัดส่วนความจำเป็นในการใช้ข้อมูล และผลกระทบต่อความเป็นส่วนตัวของเจ้าของข้อมูล
  • ปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่ต้องขอความยินยอม มาตรา 24(6)

 

3. การโพสต์รูปโซเชียลโดยมีใบหน้าผู้อื่นติดมาด้วย ถือว่าผิดกฎหมาย PDPA

ใจความสำคัญของ PDPA คือการปกป้องความเป็นส่วนตัว ซึ่งก็รวมไปถึงรูปถ่ายหรือวิดีโอที่มีใบหน้าของเจ้าของข้อมูลด้วย หลายคนเข้าใจว่าการที่ใครสักคนโพสต์รูปบนโซเชียลแล้วมีใบหน้าเราติดไปถือว่าเป็นการละเมิดพ.ร.บ. ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ “ผิด” จนกลายเป็นประเด็นร้อนในโลกโซเชียลกันไปแล้ว

จริงๆ แล้ว การที่ผู้ถ่ายรูปหรือคลิปวิดีโอบังเอิญถ่ายติดใบหน้าของคนอื่นไปโดยไม่ได้เจตนา หรือไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ถูกถ่ายก็สามารถทำได้โดยไม่ผิดหลัก PDPA ส่วนในกรณีที่ได้นำรูปถ่ายหรือคลิปไปโพสต์บนโซเชียลก็สามารถทำได้ ถ้าเป็นการทำเพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว ไม่นำไปใช้เพื่อผลประโยชน์หรือทำกำไร และทำให้เจ้าของข้อมูลเสื่อมเสียชื่อเสียงหรือทำให้เกิดอันตราย

เรื่องการติดตั้งกล้องวงจรปิด ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่หลายคนกังวลว่า หากถ่ายติดใบหน้าคนอื่นจะเป็นการทำผิดพ.ร.บ. หรือเปล่า ซึ่งถ้าเป็นการติดภายในบริเวณบ้านเพื่อรักษาความปลอดภัย ก็ไม่จำเป็นต้องทำป้ายแจ้งเตือน หมดห่วงได้เพราะไม่ผิดต่อข้อกฎหมายแน่นอน

สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

PDPA ในมุมมองของ SME ต้องเตรียมพร้อมด้านไหนบ้าง?

เมื่อ PDPA ถูกบังคับใช้อย่างเป็นทางการ ธุรกิจเล็กใหญ่ต้องปรับตัวให้สามารถแข่งขันและอยู่รอดได้ แล้วธุรกิจ SME เปิดใหม่ต้องเตรียมพร้อมด้านไหนบ้าง? มาหาคำตอบกัน

การตลาดและแบรนด์ต่างๆ ถูกขับเคลื่อนด้วยข้อมูล เพื่อทำการเก็บรวบรวมและประเมินผลข้อมูลในการเข้าถึงความต้องการของลูกค้า กล่าวได้ว่าทุกวันนี้เป็นยุค “Data Driven” อย่างชัดเจน ทั้งยังมีระบบต่างๆ เกิดขึ้นมาสนับสนุน เช่น ระบบ AI, Marketing Automation, CRM หรือ CPD ฯลฯ ช่วยให้ธุรกิจดำเนินกิจกรรมทางการตลาดได้สะดวก รวดเร็ว และแม่นยำมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม หลังจากวันที่ 1 มิ.ย. พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา ได้มีการบังคับใช้ “PDPA” หรือ “พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562” ส่งผลให้ธุรกิจ SME และผู้ประกอบการต้องปรับตัวกันยกใหญ่ แล้วแบรนด์ต่างๆ ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้างเพื่อรับมือกับ PDPA?

ทำความเข้าใจ PDPA

เชื่อว่าด้วยกระแสของพรบ. ฉบับนี้ ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตหลายคนคงทราบกันอยู่แล้วว่าคืออะไร แต่สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่พึ่งเริ่มศึกษา PDPA นั้นย่อมาจาก Personal Data Protection Act ซึ่งหน้าที่ของมันเป็นก็ตามชื่อเลย คือการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลต่างๆ ที่องค์กรได้เก็บรวบรวมหรือครอบครองไว้

พูดง่ายๆ ว่า ข้อดีของ PDPA คือความสามารถในการปกป้องข้อมูลของผู้บริโภคหรือลูกค้าเป็นหลัก ซึ่งถ้าถามว่าข้อเสียหากไม่มี PDPA คืออะไร? ก็ตอบได้ว่าเจ้าของข้อมูลอาจถูกละเมิด ข้อมูลถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด หรือมีผู้ไม่ประสงค์ดีนำข้อมูลไปใช้เพื่อผลประโยชน์ทางพาณิชย์ได้นั่นเอง

แม้จะฟังดูเป็นเรื่องดี แต่ในมุมมองของธุรกิจแล้วก็ถือเป็นเรื่องน่าปวดหัวเลยทีเดียว เพราะพรบ. นี้ส่งผลให้บริษัทต้องเปลี่ยนนโยบายการจัดเก็บข้อมูลให้มีมาตรฐานมากขึ้น ทั้งส่วนของเอกสารแบบออฟไลน์และดิจิทัล รวมไปถึงการตรวจสอบนโยบาย Privacy Policy และ Cookies Consent ในการเก็บข้อมูล เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการฟ้องร้องในภายหลัง

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ PDPA ที่นี่

หน้าที่ของธุรกิจที่มีต่อข้อมูลลูกค้าในยุค PDPA

แบรนด์และธุรกิจมีหน้าที่สำคัญในการดูแลข้อมูลของลูกค้า ในฐานะ Data Controller และ Data Processer โดยมีหน้าที่ดังนี้

  • จัดระเบียบข้อมูลและจำแนกความสำคัญของข้อมูล
  • นำข้อมูลไปใช้งานอย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการใช้ข้อมูลเพื่อปรับปรุงเว็บไซต์ บริการด้านการตลาด หรือคัดเลือกสิ่งที่ตอบโจทย์ความต้องการในการใช้งาน
  • การนำข้อมูลไปใช้ในการวิเคราะห์สำหรับการทำงานต่อไป
  • การให้ความคุ้มครองและป้องกันข้อมูล

PDPA ในมุมมองของ SME ต้องเตรียมพร้อมด้านไหนบ้าง?

สิ่งที่ธุรกิจ SME ต้องเตรียมพร้อม รับกฎหมาย PDPA

มาถึงคำถามที่เจ้าของแบรนด์หลายๆ คนสงสัย ซึ่งก็ต้องมีการเตรียมตัวในหลายๆ ด้าน  Connect X ขอยกตัวอย่างมาให้ 5 ข้อ ดังนี้

1.ตั้ง Budget ให้พร้อม

ในการบริหารข้อมูลทั้งในรูปแบบเอกสารและข้อมูลดิจิทัลนั้นมีค่าใช้จ่าย เช่น เครื่องเซิร์ฟเวอร์ (Server) สำหรับเก็บข้อมูล ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสหรือ Ransomware และแพลตฟอร์มสำหรับจัดการข้อมูล นอกจากนี้อาจมีค่าใช้จ่ายในด้านของการปรึกษานักกฎหมายอีกด้วย

2.แต่งตั้ง DPO เพื่อดูแลข้อมูล

DPO หรือ Data Protection Officer คือเจ้าหน้าที่ที่จะเข้ามาดูแลและให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลทั้งหมดในองค์กร เพื่อให้การจัดการข้อมูลเป็นไปตามกฎของ PDPA และประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐด้วยนั่นเอง

3.กำหนดประเภทข้อมูลและวัตถุประสงค์

อย่างที่กล่าวไปว่าธุรกิจต้องปรับโครงสร้างการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคล ให้จัดเก็บเพียงเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ไม่สอบถามหรือขอข้อมูลที่ละเอียดอ่อนหากไม่จำเป็น

4.ทบทวน Data Protection Policy

สำหรับธุรกิจที่ไม่ได้มีการร่างนโยบายหรือมาตรการป้องกันข้อมูลที่ครอบคลุมมากนัก ก็ควรที่จะตรวจสอบและทบทวนใหม่เพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้ปลอดภัยที่สุด พร้อม จัดทำเอกสารมาตรการความปลอดภัยและดำเนินการจริง เพื่อใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงว่าบริษัทมีการดำเนินการตามเกณฑ์

5.ค้นหาแพลตฟอร์ม CRM หรือ CPD ที่สอดคล้องกับ PDPA

ระบบ Customer Relationship Management (CRM) หรือ Customer Data Platform (CDP) ล้วนเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้แบรนด์บริหารความสัมพันธ์และจัดการข้อมูลของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งธุรกิจก็ควรเลือกใช้ระบบ CRM หรือ CDP ที่ใช้งานง่าย ครอบคลุม และปลอดภัย หากมีฟีเจอร์เด็ดๆ เสริมด้านการตลาดอย่าง Marketing Automation, Personalized Marketing, ระบบ AI หรืออื่นๆ จะยิ่งช่วยให้จัดการข้อมูลต่างๆ ของผู้บริโภคและลูกค้าเป็นไปได้อย่างราบรื่น

ทั้ง 5 ข้อนี้ก็เป็นเพียงการเตรียมพร้อมเบื้องต้นสำหรับการรับมือ PDPA แล้วยังมีด้านอื่นๆ ที่ขอแนะนำให้เจ้าของธุรกิจศึกษาอย่างละเอียดและเข้าใจ เพื่อนำมาปรับใช้กับธุรกิจอย่างถูกต้อง และสามารถนำข้อมูลต่างไปใช้ในการตลาดได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

ส่วนท่านใดกำลังที่กำลังมองหาตัวช่วยเก็บและบริหารข้อมูลที่สอดคล้องกับ PDPA อย่างแพลตฟอร์ม CDP จาก Connect X และระบบ Marketing Automation ในตัว สามารถส่งแคมเปญทางการตลาดและสร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าได้หลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็น SMS, Email, Social Media และเว็บไซต์ มอบประสบการณ์แบบ Personalized แก่รายบุคคล ทั้งยังช่วยวิเคราะห์และวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดได้เหมาะสม เพื่อสร้างความประทับใจและประสบการณ์การใช้งานที่ไม่ซ้ำใคร

สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาระบบ CRM ดีๆ สักอัน หรือต้องการคำปรึกษาก่อนตัดสินใจ Connect X ก็พร้อมจะช่วย ด้วยแพลตฟอร์ม CDP ที่มาพร้อมกับระบบ CRM, Marketing Automation และรองรับกฎหมาย PDPA เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

เริ่มต้นสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้าได้แล้ววันนี้ด้วย Connect X Marketing Platform ที่มาพร้อม CDP & Marketing Automation

Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย